Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การเจริญเติบโตและพัฒนาการ, กัญญารัตน์ ภู่แจ้ง เลขที่ 51…
บทที่ 2 การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
พัฒนาการ
2.1 ลักษณะของพัฒนาการ
พัฒนาการเด็ก คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงลักษณะและพฤติกรรมที่มีทิศทางและรูปแบบที่แน่นอน จากช่วงระยะเวลาหนึ่งไปสู่อีระยะหนึ่ง ผ่านกระบวนการเรียนรู้ จนสู่วุฒิภาวะ
พัฒนาการด้านอารมณ์ (Emotional Development)
เป็นความสามารถในการแสดงความรู้สึก
ควบคุมการแสดงออกของอารมณ์อย่างเหมาะสม ในอารมณ์ต่างๆ เช่น ยิ้ม, ร้องไห้, หัวเราะ, กลัว, เศร้า, เสียใจ, โกรธ
รวมถึงการสร้างความรู้สึกที่ดี การนับถือตนเอง (self esteem)
พัฒนาการด้านสติปัญญา (Cognitive Development)
เป็นกระบวนการทางจิตใจ (mental processes) ที่เราใช้คิด เรียนรู้ หาเหตุผล แก้ไขปัญหา และสื่อสาร ประกอบด้วย
พัฒนาการด้านภาษา (Language Development)
พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor Development)
เป็นความสามารถในการเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ กับตนเอง
พัฒนาการด้านสังคม (Social Development)
เป็นความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น เข้าใจผู้อื่น (personal-social)
สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน (self help, self care)
รู้จักผิดชอบชั่วดี ประกอบด้วย
พัฒนาการด้านสังคม (Social Development)
พัฒนาการด้านคุณธรรม (Moral Development)
พัฒนาการด้านร่างกาย (Physical Development)
เป็นความสามารถของร่างกายในการทรงตัวและการเคลื่อนไหว โดยการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross Motor Development) เช่น
วิ่ง, กระโดด, ปีนป่าย
การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก มือและตาประสานกันในการทำกิจกรรมต่างๆ (Fine Motor - Adaptive Development) เช่น
ระบายสี, ใช้ช้อน, ติดกระดุม
2.2 ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการ
ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม
ภาวะโภชนาการ การได้รับสารอาหารที่ร่างกายต้องการเป็นปัจจัยสำคัญในการปูพื้นฐานสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง
สถานภาพของครอบครัว จุดเริ่มต้นของชีวิตเด็กทุกคนมาจากครอบครัว
สภาพสังคม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันกันอย่างสูง
ลักษณะการอบรมเลี้ยงดู พ่อแม่เป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโอย่างเต็มที่และมีความพร้อม ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
สื่อมวลชน ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้การติดต่อ สื่อสารเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์สื่อมวลชนเข้ามามีอิทธิพลต่อการได้รับข้อมูลข่าวสารในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นอย่างมาก
ปัจจัยทางพันธุกรรม
ลักษณะความผิดปกติ (Abnormality) โรคภัยไข้เจ็บหลายชนิดสามารถ
ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม และมีผลทำให้เกิดความบกพร่องทางร่างกาย
พื้นฐานทางอารมณ์
นักจิตวิทยากลุ่มหนึ่ง (Thoman and Chess, 1977) เชื่อว่าการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กส่วนหนึ่งเป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด
ระดับวุฒิภาวะ พันธุกรรมเป็นตัวกำหนดสภาวะและอัตราการ
เจริญเติบโตของเด็กในระยะเวลาที่เหมาะสม
ชนิดของกลุ่มเลือด (Blood type)
เด็กจะได้รับชนิดของกลุ่มเลือดจากพ่อและ แม่ ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น 4 กลุ่ม คือ A ,B , AB และ O
ความสามารถทางสมอง (Intellectual Ability) การเจริญเติบโตของสมองอยู่
ภายใต้เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของเด็กตั้งแต่ในครรภ์มารดา
เพศ (Sex)
การรวมตัวของโครโมโซมคู่ที่ 23 จากพ่อและแม่จะเป็นตัวตั้งแต่ระยะปฏิสนธิ
ลักษณะทางกายภาพ (Physical Appearance) เด็กจะได้รับการถ่ายทอด โครงร่างและลักษณะทางกายภาพต่างๆจากพ่อและแม่ ได้แก่ รูปร่าง (ขนาด ความสูง น้ำหนัก สัดส่วนของร่างกาย)
2.4 เครื่องมือคัดกรองพัฒนาการ DSPM
การประเมินพัฒนาการเด็ก สามารถทำตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual: DSPM) ซึ่งนำมาจากผลการศึกษาพัฒนาการเด็กโดยใช้เกณฑ์เด็กไทย
คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย DSPM จะประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 5 ปี 11 เดือน 29 วัน ใน 5 ด้าน คือ
Gross motor (GM) หมายถึง พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
Fine Motor (FM) หมายถึง พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา
Expressive Language (EL) หมายถึง พัฒนาการด้านการใช้ภาษา
Receptive Language (RL) หมายถึง พัฒนาการด้านการเข้าใจภาษา
Personal and Social (PS) หมายถึง พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม
2.3 การส่งเสริมพัฒนาการแก่เด็กวัยต่างๆ
ช่วงวัยทารก (0-1 ปี)
2.ตัวอย่างเช่น การยิ้ม หัวเราะให้ลูก ตบมือ เล่นจ๊ะเอ๋ เล่นจักจี้ เล่นปูไต่ ง่ายๆเพียงเท่านี้ ลูกวัยนี้ก็สามารถยิ้ม หัวเราะได้อย่างสนุกสนาน และเป็นการกระตุ้นพัฒนาการด้านอารมณ์สังคม การสื่อสารได้ดี
3.การอ่านเล่านิทานให้ลูกฟังตั้งแต่เล็กๆ สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ช่วง 4-6 เดือน
1.เป็นวัยที่สร้างความผูกพันไว้เนื้อเชื่อใจต่อโลกและผู้เลี้ยงดู ของเล่นชิ้นแรกของลูกวัยนี้ ก็คือ คุณพ่อคุณแม่
วัยเตาะแตะ (2-3 ปี)
2.มีกิจกรรมชวนลูกร้องเพลง เคลื่อนไหวตามจังหวะ
3.ของเล่นอาจจะเป็นกลุ่มที่เริ่มมีกลไกง่ายๆ เช่น กดปุ่มมีเสียง ของเล่นที่มีสีและรูปทรงต่างๆ ตุ๊กตา ชุดสัตว์ ชุดรถ บล็อกไม้ สีเทียนขีดเขียน ระบายสี
1.ค่อยๆฝึกให้ลูกทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเอง เช่น กินข้าว แต่งตัว แปรงฟัน เล่นทำงานบ้าน จะทำให้เค้ามีความภาคภูมิใจในตัวเอง
4.มีการเล่นบทบาทสมมติง่ายๆ เช่น อาบน้ำ ป้อนข้าว ให้น้องตุ๊กตา ส่วนการเล่านิทาน ในวัยนี้จะชอบนิทานที่มีคำคล้องจอง คำกลอน
วัยอนุบาล (3-5 ปี)
2.สำหรับนิทานในวัยนี้ เด็กๆยังคงชอบนิทานคำกลอน นิทานที่มีเรื่องราวตัวละคร เหตุการณ์ อาจจะลองผลัดกันเป็นคนฟัง คนเล่า ตั้งคำถามชวนให้เด็กคิด คาดเดาจากนิทาน หรือในชีวิตประจำวัน
3.ฝึกให้ลูกสังเกต จัดกลุ่มสิ่งที่เหมือนกัน รู้จักเปรียบเทียบสิ่งที่แตกต่าง เช่น ขนาดเล็ก-ใหญ่ สั้น-ยาว
1.เริ่มเล่นกับเพื่อนได้สนุกขึ้น เช่น เล่นสมมติมีธีม มีตัวละครเจ้าหญิงเจ้าชาย ครูนักเรียน
4.ฝึกให้ลูกช่วยทำงานบ้านง่ายๆร่วมกัน เช่น รดน้ำต้นไม้ ล้างรถ กวาดบ้าน
วัยประถม (6-12 ปี)
2.การออกกำลังกาย เลือกกีฬาที่เด็กชอบ เช่น ว่ายน้ำ เทควันโด ฟุตบอล
3.การมีกิจกรรมท่องเที่ยว ธรรมชาติ การเดินทาง ตั้งแคมป์ เที่ยวพิพิธภัณฑ์
4.ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการวางแผน การจัดการ แก้ไขปัญหา เป็นการพัฒนาของทักษะสมองขั้นสูง
1.การเล่นวัยนี้อาจจะซับซ้อนมากขึ้น มีกติกา เช่น เกมกระดาน ต่อจิ๊กซอว์ ต่อเลโก้ วาดรูป
การเจริญเติบโต
การประเมินการเจริญเติบโต
การเติบโต (growth) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงด้านขนาดของร่างกาย และอวัยวะซึ่งเกิดจากการ เพิ่มจำนวนเซลล์ การเพิ่มขนาดของเซลล์ และ matrix จึงสามารถประเมินการเติบโตได้โดยการชั่งน้ำหนัก วัดความยาวหรือส่วนสูง ความหนาเส้นรอบวง เปรียบเทียบ สัดส่วน และจำนวนฟัน เป็นต้น
การซักประวัติการเจริญเติบโต
สำหรับวัยเรียนตอนปลายหรือวัยรุ่น ควรถามด้วยว่ามีการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างลักษณะทางเพศและเสียงหรือไม่ เด็กหญิงควรถามประวัติการมีประจำเดือนด้วย
ขอดูสมุดบันทึกสุขภาพ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวและส่วนสูงในระยะที่ผ่านมา
ถ้าไม่มีสมุดบันทึกสุขภาพ หรือมีแต่ไม่ได้ลงบันทึกไว้ควรถามดูว่าเด็กเติบโตดีสม่ำเสมอหรือไม่ อาจเปรียบเทียบขนาดตัวเด็กกับพี่น้อง หรือเด็กที่มีอายุใกล้เคียงกัน
ถามว่าเด็กมีน้ำหนักแรกเกิดเท่าไร หรือดูจากสมุดบันทึกสุขภาพของเด็ก
การประเมินการเจริญเติบโต และการแปลผล ดัชนีของการเจริญเติบโตในเด็กที่ใช้ทั่วไป ได้แก่
เส้นรอบศีรษะ (แรกเกิด 35 cms, 1 ปี 47 cms, 3 ปี 50 cms, 9 ปี 55 cms)
ฟัน (ฟันน้ำนมเริ่มขึ้น 6-10 เดือน ครบ 20 ซี่ เมื่ออายุ 2 1/2 ปี, ฟันแท้เริ่มขึ้น 6 ปี)
1.น้ำหนัก (แรกเกิด 3 kgs 1 ปี x 3, 3 ปี x 4, 5 ปี x 6) หรือ (อายุเป็นปี x 2 + 8 kgs) น้ำหนักตัวที่เหมาะกับอายุอย่างคร่าวๆ
ส่วนสูง (แรกเกิด 50 cms, 1 ปี 75 cms, 2 ปี 87.5 cms, 4 ปี 100 cms และ 10 ปี 130 cms)
การเจริญเติบโตของอวัยวะเพศ (Secondary sex characteriatics)
การเจริญเติบโตของกระดูก (Bone age)
บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการเจริญเติบโต
เป็นผู้ส่งเสริมบทบาทของบิดามารดา
เป็นผู้ประยุกต์หลักการทฤษฎีและวิธีการที่เกี่ยวข้องกับมารดาและเด็ก
เป็นผู้ส่งเสริมการเข้าถึงเครือข่าย ซึ่งบทบาทของพยาบาลนี้สามารถช่วยให้เด็กปฐมวัยเติบโตด้วยคุณภาพและมีความสุข อันเป็นพฤติกรรมที่ดีของเยาวชนของชาติในอนาคต
เป็นผู้ให้คำแนะนำและส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
กัญญารัตน์ ภู่แจ้ง เลขที่ 51 รหัสนักศึกษา 631001404152