กิจกรรมการพยาบาล 1. ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกทุก 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ก่อนให้ยาและหลังให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
2.ดูแลให้สารน้ำตามแผนการรักษา โดยพิจารณาจาการหดรัดตัวของมดลูก โดยให้ RLS 1000 ml IV drip rate 100 ml/hr และ 5% DN/2 1000 ml + Syntocinon 10 U IV drip infusion pump rate 12 ml/hr titrate keep good UC
- ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ในระยะ 15 นาทีแรกของการให้ยาเพื่อประเมินความไวของมดลูกต่อยา ถ้าปกติต่อไปประเมินทุก 30 นาทีและทุกครั้งหลังปรับจำนวนหยด 2-3 นาที
- เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวมดลูก ดังนี้
4.1 ภาวะ hyponatremia คือ ภาวะที่มีระดับ โซเดียมในเลือดต่ำกว่า 135 mEq/L โซเดียมในเลือดได้ระดับต่ำเกิดในกรณีที่ผู้คลอดได้รับยาทางหลอดเลือดดำในปริมาณที่มากและได้รับเป็นระยะเวลานานอาจทำให้Syntocinon ออกฤทธิ์ต่อvasopressin receptor ที่ไต ส่งผลให้เกิดการคั่งของน้ำและเกิดภาวะโซเดียมต่ำตามมาได้ โดยควรประเมินอาการแสดง ได้แก่ ผู้คลอดจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ง่วงซึม ความรู้สึกตัวลดลง สับสน ชัก ให้รีบรายงานแพทย์
4.2 ภาวะ hypotension เกิดในกรณีที่ผู้คลอดได้รับยาทางหลอดเลือดดำปริมาณที่มากและมีอัตราที่เร็วเกินไปส่งผลต่อการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด จากการกระตุ้น กลไกของไนตริกออกไซด์ ทำให้มีหลอดเลือดส่วน ปลายขยายตัว ความดันโลหิตต่ำลงได้ มีการเพิ่มขึ้นของอัตรา การเต้นของหัวใจและ stroke volume ควรให้การพยาบาลคือดูแลการได้รับยาผ่านทาง infusion pump เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิด tachysystloe (การหดรัดตัวของมดลูกมีมากกว่า 5 ครั้งใน 10 นาที) และ hypotension ที่อาจเกิดขึ้นได้
4.3 ภาวะ water intoxication เกิดในกรณีที่ผู้คลอดได้รับยาเป็นเวลานาน มีผลต่อระบบขับถ่ายน้ำและเกลือแร่ อาจทำให้ปริมาณปัสสาวะลดน้อยลง อัตราการกรองของไตลดลง การขับถ่ายเกลือ โซเดียม โพแทสเชียม คลอไรด์ลด ลง synthocinon มีฤทธิ์ antidiuretic จะทำให้การดูดซึมน้ำกลับจากกรวยไตเพิ่มขึ้นได้ เกิดอาการ water intoxication ที่รุนแรง และอาการชักโคม่าจนถึงเสียชีวิตเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยที่ได้รับยาโดยปล่อยเข้าหลอดเลือดช้าๆ นานกว่า 24 ชั่วโมง
4.4) ภาวะ tetanic contraction และ uterine rupture อาจเกิดในกรณีที่ผู้คลอดได้รับยาในปริมาณที่สูงเกินไป ต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีการหดรัดตัวของมดลูกที่ผิดปกติ คือ duration มากกว่า 90 วินาที และ interval น้อยกว่า 2 นาที หรือหดรัดตัวไม่คลาย ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะมดลูกแตกได้ จึงต้องประเมินการหดรัดตัวของมดลูกทุก 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ก่อนให้ยาและหลังให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
- ประเมินเสียงหัวใจทารกในครรภ์ทุกๆ 30 นาที เพื่อสามารถประเมินทารกขาดออกซิเจน เพราะมดลูกจะมีการหดรัดตัวแรง และถี่ขึ้น ทำให้เลือดที่ไปยังรกอาจลดน้อยลงมาก
- ถ้าพบสิ่งผิดปกติ เช่น Interval น้อยกว่า 2 นาที Duration นานเกิน 90 วินาที หรือเสียงหัวใจทารกผิดปกติให้หยุดยาทันที ให้ผู้คลอดนอนตะแคงซ้าย ให้ออกซิเจน ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์และประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ทุก 5 นาที และรายงานแพทย์ถ้าไม่ดีขึ้น