Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 แนวคิดและหลักการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น และสิทธิเด็ก, กัญญารัตน์…
บทที่ 1 แนวคิดและหลักการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น และสิทธิเด็ก
การดูแลเด็กและวัยรุ่นโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง (Family Centered Care)
บทบาทของพยาบาลในการดูแลครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
3.มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยเด็กและสมาชิกในครอบครัว
ประสานและส่งต่อกับพยาบาลในชุมชนเกี่ยวกับการดูแลเด็กป่วยและสมาชิกในครอบครัว
ป้องกันภาวะวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นได้และส่งเสริมให้เด็กและครอบครัวดูแลการเจ็บป่วยขั้นต้นได้
ส่งเสริมทางด้านจิตใจให้เด็กและสมาชิกครอบครัวมีการปรับตัวต่อภาวะวิกฤตได้
1.มีความรู้เกี่ยวกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการปกติ รวมทั้งระบบของครอบครัว มีการวางแผนการพยาบาล โดยใช้กระบวนการพยาบาลมาใช้
การดูแลโดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
การเจ็บป่วยของเด็กแต่ละวัยพยาบาลให้การดูแลเด็กและสมาชิกในครอบครัว
พยาบาลผู้ดูแลเด็กป่วย ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาให้ความรู้แก่บิดามารดาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคมของเด็กรวมทั้งการดูแลสุขภาพ
ส่งเสริมการปรับตัวของเด็กกับพี่น้องบิดามารดาและครอบครัว
ส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งส่งเสริมให้เด็กใช้ชีวิตด้วยการใช้อุปกรณ์ ในการช่วยเหลือขณะมีการเจ็บป่วยในภาวะวิกฤตและระยะเรื้อรังอย่างปกติสุข เกี่ยวกับการป้องกันความผิดปกติ
บทบาทของครอบครัวต่อเด็กเจ็บป่วย
มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
สัมพันธภาพและความรู้สึกระหว่างเด็กป่วยและสมาชิกในครอบครัว
5.การปรับตัวของเด็กป่วยและสมาชิกในครอบครัว
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเจ็บป่วยมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กแต่ละวัย
บิดามารดาต้องมีความรู้ความเข้าใจในการเจ็บป่วยของเด็กเกี่ยวกับสาเหตุการเจ็บป่วยการได้รับการดูแลและการรักษา
การติดต่อกับผู้ให้บริการแก่เด็กและครอบครัว
บทบาทพยาบาลในการดูแลปัญหา และส่งเสริมสุขภาพของเด็กและวัยรุ่น
การส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น ทำได้อย่างไร ?
5.บทบาทของพ่อแม่ในการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กเป็นบทบาทหลัก และเป็นพื้นฐานสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการเด็ก หลักสำคัญคือความสัมพันธ์ที่ดีของพ่อแม่
1.การส่งเสริมสุขภาพจิตวัยรุ่น ต้องเริ่มตั้งแต่เด็กให้มีการพัฒนาเด็กทุกด้านไปพร้อมๆกัน ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
3.การส่งเสริมพัฒนาการเด็กจึงต้องการความร่วมมือกันของหลายฝ่าย เริ่มต้นจากที่บ้าน สานต่อที่โรงเรียน และสังคมรอบๆตัวเด็ก
2.เด็กได้รับอิทธิพลจากผู้ที่อยู่ใกล้ชิด เริ่มต้นจากพ่อแม่ พี่น้อง ญาติใกล้ชิด เพื่อน เพื่อนบ้าน เมื่อเด็กเข้าโรงเรียนก็ได้รับอิทธิพลจากครูและเพื่อนนักเรียน รุ่นพี่รุ่นน้อง และจากสังคมสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็ก
4.ตัวอย่างของการช่วยกันส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กที่ดี คือช่วยกันสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อเด็ก มีความปลอดภัย เมื่อเห็นเหตุการณ์ที่เด็กมีความลำบากเดือดร้อน ควรหาทางช่วยเหลือ แก้ไข
บทบาทหน้าที่ของพยาบาลเด็ก
1.เป็นผู้นำทางความรู้ ความชำนาญ และจริยธรรม ในการปฏิบัติงาน ทางการพยาบาลเด็ก
2.มีความเข้าใจในการเจริญเติบโต พัฒนาการและ ธรรมชาติที่แตกต่าง ของเด็กในแต่ละวัย
6.บทบาทในด้านการรักษาพยาบาล โดยมีความรู้ เพื่อให้ตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง และทันท่วงที
4.สามารถประเมินปัญหาของผู้ป่วยที่วิกฤต และคุกคามต่อชีวิตได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ
มีทักษะในการดูแล ทั้งเด็กปกติ และผู้ป่วยเด็ก
5.มีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพได้ดี เพื่อการให้คำแนะนำเด็กและครอบครัว ในการดูแลสุขภาพตนเอง
บทบาทในการฟื้นฟูสภาพแบบองค์รวม ทั้งระยะพักฟื้น และหลังการเจ็บป่วย หรือเมื่อได้รับความพิการ
สิทธิเด็ก และนโยบายชาติที่เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและวัยรุ่น
พลังแห่งอนุสัญญา
“เด็ก” คือบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี (เว้นแต่กฎหมายของประเทศจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น) เป็นผู้ที่ต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิด้านต่างๆ ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
สิทธิเด็กที่ผู้ใหญ่ต้องรู้
2.สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา (Right of Development)
1.ได้รับบริการพัฒนาปฐมวัย และได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อที่หลากหลาย โดยมีพ่อแม่เป็นผู้คอยช่วยแนะนำ
2.ขณะที่เด็กที่มีความจำเป็นพิเศษ เช่น เด็กพิการ ก็ต้องได้รับการดูแลให้มีชีวิตที่ปกติสุข ได้รับโอกาสพัฒนาและการศึกษาที่เหมาะสม ให้สามารถเติบโตพึ่งพาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ ตลอดจนมีส่วนร่วมในชุมชน
3.สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง (Right of Protection)
1.สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการใช้ความรุนแรงทั้งร่างกายและจิตใจ และยังรวมไปถึงการคุ้มครองจากการใช้แรงงานผิดกฎหมาย การทำงานอันตราย หรือขัดขวางการศึกษา
2.ในเรื่องสารเสพติดก็เช่นกัน เด็กๆ จะต้องได้รับการคุ้มครองจากสารอันตราย สารมีพิษ และสิ่งเสพติดต่างๆ
3.สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการล่วงละเมิด และการทารุณกรรมทุกรูปแบบ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการใช้แรงงานเด็กเพื่อแสวงหาผลประโยชน์
1.สิทธิที่จะมีชีวิตรอด (Right of Survival)
1.เริ่มตั้งแต่เมื่อแรกเกิดเด็กๆ มีสิทธิที่จะมีชีวิตรอด ได้รับการจดทะเบียนเกิด มีสิทธิที่จะมีชื่อ ได้สัญชาติ และได้รับการเลี้ยงดูจากบิดามารดาของตน ไม่ถูกแยกจากครอบครัว
2.ได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างเหมาะสม
3.รัฐมีหน้าที่ประกันสิทธิเหล่านี้ และจัดหาบริการพื้นฐานต่างๆ เพื่อให้เด็กๆ ได้มีชีวิตรอด และเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็น การสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานในยามเจ็บป่วย
5.ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชน ที่สะอาด ตลอดจนโอกาสเข้าถึงการพัฒนาต่อไปในอนาคต ฯลฯ
4.ในด้านโภชนาการ ก็ต้องมีอาหารที่ดีมีประโยชน์ที่เหมาะสำหรับเด็ก มีน้ำดื่มที่สะอาด
สิทธิที่จะมีส่วนร่วม (Right of Participation)
เด็กและเยาวชนแทบทุกคนมีศักยภาพที่ไม่สามารถมองข้ามได้เลย ในขณะที่ภาครัฐมีหน้าที่ที่จะเอื้ออำนวยและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนตั้งแต่ระดับชุมชนเป็นต้นไป
ความคิดเห็นดังกล่าวของเด็กจะต้องได้รับการพิจารณาอย่างจริงจังตามสมควรแก่อายุและวุฒิภาวะของเด็กคนนั้น
การแสดงออกทั้งในด้านความคิดและการกระทำ รวมถึงการตัดสินใจที่มีผลกระทบต่ออนาคตของตนเอง
การพยาบาลเด็กเมื่อเจ็บป่วย
หลักการพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเด็ก
การพยาบาลเด็กเป็นการดูแลรักษาพยาบาลแบบองค์รวม คือ ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและพัฒนาการด้วยความเอื้ออาทร
การส่งเสริมสุขภาพ
การฟื้นฟูสภาพ
การป้องกัน
การรักษาพยาบาล
การสื่อสารกับเด็กวัยต่างๆ
เด็กอายุ 1 เดือน
ความเข้าใจภาษา : เด็กๆ จะตอบสนองต่อเสียงดังๆ เช่น สะดุ้ง ขยับตัว
การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ จะส่งเสียงร้องเมื่อรู้สึกหิว หรือไม่สบายตัว
เด็กอายุ 2-3 เดือน
ความเข้าใจภาษา : เด็กๆ มีความสนใจเสียงพูดของคน มีการเคลื่อนไหวตัวเมื่อได้ยินเสียงคุณพ่อคุณแม่ เด็กๆ จะยิ้มและนิ่งฟัง
การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ จะทำเสียงอ้อแอ้ (Babbling) เมื่อเขารู้สึกพอใจ/ไม่พอใจ
เด็กอายุ 5-6 เดือน
การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ เริ่มมีการเล่นเสียง (vocal play) เช่น มามา ดาดา ซึ่งอาจจะไม่มีความหมายใดๆ แต่เป็นการเรียกร้องความสนใจ และบอกความต้องการบางอย่าง
ความเข้าใจภาษา : เด็กๆ สามารถแยกทิศทางของเสียง เขาสามารถหันศีรษะไปตามเสียงที่เรียกหรือเสียงดังต่างๆ ได้
เด็กอายุ 9 เดือน
ความเข้าใจภาษา : เด็กๆ สามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เช่น สวัสดี บ๊ายบาย
การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ เริ่มพูดตาม และเลียนเสียงของคนอื่น มีการทำเสียงต่างๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจ
เด็กอายุ 10-12 เดือน
ความเข้าใจภาษา : เด็กๆ สามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้มากขึ้น สามารถเข้าใจคำพูดที่ได้ยินบ่อยๆ
การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ เริ่มพูดคำแรกที่มีความหมาย เช่นคำว่า “หม่ำ” , “แม่”
เด็กอายุ 1.6 ปี
ความเข้าใจภาษา : เด็กๆ สามารถทำตามคำสั่งที่ยากขึ้น เข้าใจคำห้ามง่ายๆ
การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ สามารถพูดเป็นคำที่มีความหมายได้ ประมาณ 10-50 คำ (ส่วนใหญ่จะเป็นคำ 1 พยางค์)
เด็กอายุ 2-2.6 ปี
ความเข้าใจภาษา : เด็กๆ รู้จักและเข้าใจคำศัพท์ได้ถึง 500 คำ สามารถทำตามคำสั่งที่มี 2 ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกันได้ เด็กๆ สามารถรู้ชื่อคนในครอบครัว
การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ สามารถพูดประโยคสั้นๆ 2-3 พยางค์ได้ พูสามารถพูดโต้ตอบกับเราได้
เด็กอายุ 2.6-3 ปี
ความเข้าใจภาษา : เด็กๆ เข้าใจคำศัพท์มากขึ้น แยกแยะระหว่างสิ่งที่เป็นอันใหญ่และอันเล็ก
การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ สามารถพูดประโยคยาวขึ้น มีคำศัพท์ที่ดูได้ราวๆ 900 คำ สามารถพูดเล่าเรื่องที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ อีกทั้งยังบอกชื่อและหน้าที่ของวัตถุสิ่งของนั้นได้
เด็กอายุ 3-4 ปี
ความเข้าใจภาษา : สามารถเข้าใจคำสั่งที่เป็นประโยคยาวๆ ได้ เช่น กินข้าวเสร็จก่อนแล้วดูการ์ตูนได้นะคะ และเข้าใจคำวิเศษณ์ อย่างเช่น คำว่า “เก่ง” , “สวย” , “ใหญ่” , “เล็ก”
การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ สามารถพูดคุยและตอบได้มากขึ้น สามารถสนทนาเป็นประโยคยาวๆ 3-4 คำได้ แต่ยังพูดไม่ชัดเท่าไหร่
เด็กอายุ 5-6 ปี
ความเข้าใจภาษา : สามารถเข้าใจลำดับเกี่ยวกับเวลาก่อนและหลัง หรือเมื่อวานนี้ได้ สามารถท่องพยัญชนะได้ เริ่มรู้จักความหมายของป้ายหรือสัญลักษณ์ที่พบเห็นได้
การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ สามารถเล่าเรื่องที่คุ้นเคย หรือพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้อื่นได้ สามารถเล่าเรื่องลำดับเหตุการณ์ในอดีตและปัจจุบันที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ มีการใช้ไวยากรณ์ที่ใกล้เคียงกับผู้ใหญ่อีกด้วย
เด็กอายุ 6 ปี
ความเข้าใจภาษา : เสามารถเข้าใจว่าสิ่งของมีคุณลักษณะเหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร เช่นปากกากับดินสอ หรือหมากับแมว ต่างกันอย่างไร
การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ สามารถพูดประโยคยาวๆ 6-8 คำ ได้ มีการใช้คำเปรียบเทียบ ขนาด รูปร่าง และลักษณะนั้นเอง
เด็กอายุ 4-5 ปี
ความเข้าใจภาษา : สามารถเข้าใจประโยคที่มีคำสั่ง 2-3 ขั้นตอนได้ มีการเข้าใจรูปประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกันได้
การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ สามารถพูดให้คนอื่นเข้าใจได้ดี มีการขยายคำได้มากขึ้น มีการพูดประโยคที่ยาวคล้ายกับผู้ใหญ่
หลักปฏิบัติการพยาบาลเด็ก
2.การดูแลด้านร่างกายตามลักษณะของโรคและความผิดปกติที่เกิดขึ้น
3.การพยาบาลโดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
1.การดูแลพัฒนาจิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณของเด็ก
4.การส่งเสริมสุขภาพให้คงอยู่
กัญญารัตน์ ภู่แจ้ง เลขที่ 51 รหัสนักศึกษา 631001404152