Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Muscle injury - Coggle Diagram
Muscle injury
STRAINS
การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหรือเอ็นยึดระหว่างกระดูกกับกล้ามเนื้อ (tendon) ซึ่งอาจเกิดจากการหดตัวอย่างรุนแรงทันทีทันใด จนทำให้หลอดเลือดฝอยบริเวณใยกล้ามเนื้อฉีกขาดมักเป็นผลจากการใช้านมากเกินไป ทำให้เกิดการล้า ส่วนใหญ่เกิดเกิดบริเวณต้นขาและน่อง พบมากในนักกีฬา
ระดับความรุนแรง 3 ระดับ
A First-Degree (Mild) Strain ระดับ1 บาดเจ็บเล็กน้อย ไม่มีการฉีกขาดของเอ็น ผู้ป่วยจะมีอาการปวด กดเจ็บ กล้ามเนื้อเกร็ง
A Second-Degree (Moderate) Strain ระดับ2 บาดเจ็บปานกลาง ผู้ป่วยจะมีอาการปวด กดเจ็บ บวม ชีด ขยับส่วนที่บาดเจ็บไม่ได้เป็นเวลานาน
A Third-Degree (Severe) Strain ระดับ 3 บาดเจ็บรุนแรง เนื่องจากมีการฉีกขาดของเอ็นและกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยปวดมาก บวมและมีรอยฟกช้ำจากเลือดออก
-
-
-
-
นานเกิน 24 – 48 ชั่วโมง ผู้บาดเจ็บเริ่มทุเลาแล้ว จะใช้ความร้อนและวิธีทางกายภาพบำบัด โดยใช้หลัก “HEAT”
H = Hot ใช้ความร้อนประคบ โดยเฉพาะความร้อนลึก(เป็นเครื่องมือทางกายภาพบำบัด) หรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนก็ได้ ทุกครั้งที่ประคบร้อนต้องมีผ้าหรือแผ่นหุ้มป้องกันไม่ให้ผิวหนังสัมผัสกับถุงความร้อนโดยตรง เนื่องงจากทำให้ผ ิวหนังระคายเคือง
-
A = Advanced Exercise ระยะหลังๆ บริหารให้มากขึ้นให้กล้ามเนื้อทำงานมากขึ้น อาจมีผู้ช่วยในการบริหารส่วนที่บาดเจ็บ หรือใช้อุปกรณ์ช่วยในการออกกำลังกาย
T = Training for Rehabilitation เป็นการฝึกเพื่อช่วยฟื้นสภาพจากการบาดเจ็บให้กลับสู่สภาพปกติ ฝึกซ้อมกิจกรรมที่เคยทำก่อนได้รับบาดเจ็บ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดโดยตรง
SPRAIN
ระดับความรุนแรง 3 ระดับ
A First-Degree (Mild) Sprain ระดับ 1 บาดเจ็บเล็กน้อย หมายถึง เอ็นบางเส้นยืดแต่ไม่เสียความมั่นคง จะมีอาการปวด ตึง บวมเล็กน้อย
A First-Degree (Moderate) Sprain ระดับ 2 บาดเจ็บปานกลาง หมายถึง เอ็นบางส่วนฉีกขาดทำให้สูญเสียความมั่นคงเล็กน้อย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตึงมากขึ้น บวม ขยับส่วนที่บาดเจ็บไม่ได้
A First-Degree (Severe) Sprainร ะดับ 3 บาดเจ็บรุนแรง หมายถึง เอ็นที่ยึดข้ออย่างน้อย 1 เส้น ฉีกขาดอย่างสมบูรณ์ ทำให้ข้อเสียความมั่นคง มักเกิดร่วมกับข้อเคลื่อนหลุด อาการปวดจะรุนแรงขึ้น ขยับส่วนที่เจ็บไม่ได้เลย
การบาดเจ็บของเอ็นยึดข้อและเยื่อหุ้มข้อ หรือเอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก สาเหตุุมาจากข้อบิดหรือเมื่อข้อและเอ็นยืดข้อถูกใช้งานมากว่าปกติ พบทั้งผู้บาดเจ็บที่เป็นนักกีฬาและที่ไม่ใช่นักกีฬา มักเกิดบริเวณข้อเท้า เข่า ข้อมือและไหล่
-
-
Muscle contusion กล้ามเนื้ออาจเกิดการชอกช้ำได้จากถูกของแข็งมากระแทก พบบ่อยในบริเวณกล้ามเนื้อหน้าขา กล้ามเนื้อหน้าท้อง และ กล้ามเนื้อหัวไหล่
-
ภาวะแทรกซ้อนงคือ myositis ossificans ซึ่งมีการสร้าง
เนื้อเยื่อกระดูกหรือกระดูกอ่อนในกล้ามเนื้อที่เคยบาดเจ็บ จากการตรวจร่างกายอาจคลําได้ก้อนแข็งภายในกล้ามเนื้อที่เคยได้รับบาดเจ็บและลดองศาการเคลื่อนไหวของข้อที่กล้ามเนื้อนั้นทอดผาน
ภาวะแทรกซ้อน
Compartment Syndrome หรือ ภาวะความดันในช่องปิดของกล้ามเนื้อสูงขึ้น คือภาวะช่องปิดกล้ามเนื้อมีความดันสะสมในระดับที่เป็นอันตราย เนื่องจากพังผืดไม่ขยายตัวอันเป็นผลมาจากการบวมภายในช่องปิดของกล้ามเนื้อ ซึ่งมักพบบริเวณขา แขน และท้อง ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น ปวด บวม หรือแสบร้อน ความดันที่สูงขึ้นอาจปิดกั้นการลำเลียงออกซิเจน สารอาหาร และการไหลเวียนของเลือดไปยังช่องปิดกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจทำให้เซลล์บริเวณนั้นตายและเกิดการขาดเลือดเฉพาะที่ได้
Acute Compartment Syndrome หรือ ภาวะความดันในช่องปิดของกล้ามเนื้อสูงแบบฉับพลัน เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด โดยภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันหลังจากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง
Chronic Compartment Syndrome หรือภาวะความดันในช่องปิดของกล้ามเนื้อสูงแบบเรื้อรัง โดยปกติแล้วมักไม่ส่งผลอันตราย มักเกิดขึ้นบริเวณก้น ต้นขา ขาส่วนล่าง โดยเฉพาะบริเวณหน้าแข้ง ความหนักและความถี่ของการออกกำลังกายเป็นอีกปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยง
การวินิจฉัย
2 Early signs อาการแสดงเริ่มต้น :
- Pain – อาการปวดแบบแสบร้อนรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ แม้ได้รับยาบรรเทาอาการปวดก็ตาม แต่อาการก็ยังไม่ทุเลา สามารถประเมินได้จากการสังเกตหรือการสอบถาม
- Paresthesia – อาการชา อ่อนแรง เกิดจากระบบประสาทส่วนปลายถูกกดหรือขาดเลือดไปเลี้ยง สามารถประเมินได้จากการรับสัมผัสบริเวณส่วนต้นและส่วนปลายของอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ
3 Classic signs อาการแสดงทั่วไป :
- Pallor – การซีด เกิดจากเลือดไปเลี้ยงส่วนปลายลดลง สามารถประเมินได้จากสีผิว ริมฝีปาก เปลือกตา และเล็บ
- Paralysis – อาการอัมพาตของกล้ามเนื้อ เกิดจากระบบประสาทและหลอดเลือดส่วนปลายขาดเลือดไปเลี้ยง สามารถประเมินได้จากการเคลื่อนไหวหรือขยับนิ้ว
- Pulseless – ไม่มีชีพจร สามารถประเมินได้จากการคลำชีพจรส่วนปลายของส่วนที่ผิดปกติ
- Pressure Intracompartment pressure >35-40 mmhg.
-
Mangement
- การลดความดันภายในช่องกล้ามเนื้อ ได้แก่ การคลายผ้ายืด การคลายเฝือก
- การจัดท่านอนโดยให้อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บยกสูงขึ้น เพื่อเพิ่มการไหลกลับของเลือดดําเข้าสู่หัวใจ และป้องกันอาการบวม
- การเฝ้าระวัง (monitoring) ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อ
สูง การประเมินซ้ำ (reassessment)นการทำหน้าที่ของ
เส้นประสาทและหลอดเลือด(neurovascularassessment) ทุก 30 และ 60 นาที
- Surgical consultation แพทย์เจ้าของไข้อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด
อย่างเร่งด่วน (fasciotomy) เป็นวิธีการรักษาที่สามารถ
และระบายความดันในช่องกล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ