Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
B-21 Dx.previous C/S with GDMA1 with Maternal obesity with Eldery…
B-21
Dx.previous C/S with GDMA1 with Maternal obesity with Eldery pregnancy
ข้อมูลส่วนตัว
อาการสำคัญ : นัดมาผ่าตัดคลอดและทำTR
อาการปัจจุบัน :
-1 wks ก่อนมารพ.มีท้องแข็งเกร็งทุกๆ3-4ชม. นานครั้งละ2-3นาที
PV:OS closed NST:Reactive คาดว่าน่าจะเป็น Threaten preterm labor จึง admit ได้รับ Bricanyl หลังจากนั้น NST:Reactive,No UC,PV:OS closed จึงให้Discharge นัด F/U 1 week
-วันที่17 มาตามนัดเพื่อผ่าคลอด มีท้องแข็งทุกๆ1ชม.นานครั้งละ 3-4นาที มีปวดหน่วงท้องน้อยเล็กน้อย ลูกดิ้นดี ไม่มีน้ำเดิน ไม่มีมูกเลือด ไม่มีจุกแน่นลิ้นปี่ ตาพร่า เวียนศีรษะ
ประวัติส่วนตัว : หญิงหลังคลอดอายุ 42 ปี G4P1021 GA 38+2 wks by date ส่วนสูง 155cm. น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ 95.2kg BMI 39.63 kg/m2 น้ำหนักหลังการตั้งครรภ์ 105.1kg
ระดับการศึกษา ปวส อาชีพค้าขาย รายได้เฉลี่ย 30,000บาท/เดือน อาศัยอยู่กับสามี
ปฏิเสธการเจ็บป่วยในครอบครัว
ปฏิเสธการแพ้ยา
ประวัติการตั้งครรภ์
G1(2541) FT C/S due to CPD male BBW 3,100gm ,no complication
G2 Ectopic precnancy 6 month S/P ผ่าตัด รพ.นครธน
G3 Abortion (Preg 3 month) S/P D&C at รพ.เพชรเกษม
การตั้งครรภ์ปัจจุบัน
G4 GA38+2 wks FT C/S 17/03/65 เวลา 09.58น.
BBW 2,590 gm APGAR 9,10,10
GDMA1
-โรคเบาหวานคือความผิดปกติในกระบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานโดยกระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับอินซูลินที่สร้างจากตับอ่อนเพื่อใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อน้ำตาลไม่ถูกใช้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าปกติ
-พยาธิสภาพ
โรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์มีความผิดปกติของการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตเนื่องจากมีความไม่สมดุลย์ระหว่างความต้องการและการสร้างหรือการใช้อินซูลินในร่างกาย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติอาจเป็นโรคเรื้อรังก่อนตั้งครรภ์หรือเป็นขณะตั้งครรภ์เนื่องจากมีการทำลายอินซูลินโดยรกและฮอร์โมนจากรกซึ่งจะมีฤทธิ์ต้านอินซูลินทำให้การเผาผลาญในร่างกายผิดปกติ
-สาเหตุ
มีประวัติคนในครอบครัเป็นโรคเบาหวาน BMI > 27
มีประวัติคลอดก่อนกำหนด
มีประวัติเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์
มีประวัติเป็นความดันโลหิตเรื้อรัง
อายุมากกว่า35ปี
คลอดทารกหนัก 4000กรัม
การวินิจฉัย
ซักประวัติ : บุคคลในครอบครัวเป็นเบาหวาน ประวัติการตั้งครรภ์ในอดีต
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ : ตรวจระดับน้ำตาลในปัสสาวะ, ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด, OGTT oral glucose tolerance 95-190-165-145
การรักษา
ควบคุมระดับน้ำตาลกูโคตในเลือดให้อยู่ระหว่าง 80-120 mg% ตลอดการตั้งครรภ์
ตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์
Obesity
โรคอ้วน (Obesity) หรือภาวะน้ำหนักเกิน (Overweight) คือโรคที่มีไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกายมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน
โรคอ้วน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหลอดเลือดตีบ โรคข้อเข่าเสื่อม ประจำเดือนผิดปกติ และโรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) คืออาการที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญพลังงานในร่างกายผิดปกติ ทำให้เกิดการสะสมไขมันบริเวณช่องท้องและอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ลำไส้ กระเพาะอาหาร และที่อื่นๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นเหตุของโรคเรื้อรังต่างๆ
น้ำหนักที่ควรเพิ่ม
หญิงตั้งครรภ์ ควรมีน้ำหนักขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับน้ำหนัก และ BMI เดิม ก่อนตั้งครรภ์
ภาวะแทรกซ้อนของทารกและเด็กที่คลอดจากมารดาที่มีภาวะอ้วนในขณะตั้งครรภ์ (Fetal complications and childhood morbidities)
ภาวะอ้วนในหญิงตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงแก่ทารกตัวโตมากกว่าปกติและมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ โดยพบว่าทารกกลุ่มนี้มีส่วนของไขมันมากกว่าเด็กที่เกิดจากหญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวปกติ และมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดกลุ่มโรคของเมตาบอลิกและภาวะอ้วนในเด็ก
หาก BMI < 18.5 น้ำหนักควรขึ้น 12.5-18 กิโลกรัม ตลอดการตั้งครรภ์
BMI 18.5-24.9 น้ำหนักควรขึ้น 11.5-16 กิโลกรัม ตลอดการตั้งครรภ์
BMI 25-29.9 น้ำหนักควรขึ้น 7-11.5 กิโลกรัม ตลอดการตั้งครรภ์
BMI > 30 น้ำหนักควรขึ้นเพียง 5-9 กิโลกรัม ตลอดการตั้งครรภ์
Elderly pregnancy
การตั้งครรภ์ที่แม่มีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไปแล้ว ทางการแพทย์ถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ในแม่ที่อายุมาก ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ที่มีผลกระทบทั้งในแม่และลูก ในปัจจุบันเนื่องจากสภาพสังคม การศึกษาที่สูงขึ้น หน้าที่การงานรับผิดชอบมากขึ้น ทำให้แม่ตั้งครรภ์ในกลุ่มนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้หญิงในกลุ่มนี้ที่อยากมีลูก ควรจะต้องดูแลร่างกาย จิตใจ และเตรียมรับมือกับโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้มากกว่าปกติ ในขณะที่ตั้งครรภ์
ข้อบ่งชี้ที่แนะนำให้ตรวจคัดกรองได้แก่
2.สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุ ≥ 35 ปี
1.มีหลักฐานจาก ultrasound พบว่าทารกมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโครโมโซมผิดปกติ
3.มีประวัติบุตรคนก่อนเป็นทารกที่มีโครโมโซมผิดปกติ
3.เคยตรวจคัดกรองด้วยวิธีอื่น เช่น triple หรือ quadruple test แล้วพบว่าทารกมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโครโมโซมผิดปกติ
4สตรีตั้งครรภ์หรือสามีตรวจพบเป็น balanced Robertsonian translocation ของโครโมโซมคู่ที่21หรือ13
การประเมินหลังคลอดตามหลัก 13B
Background
ประวัติส่วนตัว : หญิงหลังคลอดอายุ 42 ปี G4P1021 GA 38+2 wks by date ส่วนสูง 155cm. น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ 95.2kg BMI 39.63 kg/m2 น้ำหนักหลังการตั้งครรภ์ 105.1kg
ระดับการศึกษา ปวส อาชีพค้าขาย รายได้เฉลี่ย 30,000บาท/เดือน อาศัยอยู่กับสามี
Body condition
Day4 หลังคลอด
มารดาอายุ42ปี รู้สึกตัวดี ช่วยเหลือตนเองได้ ไม่ซีด conjunctiva สีชมพู เต้มนมสมมาตรกันทั้งสองข้าง เต้มนมมีอาการคัดตึงเต้านม ลานนมแข็ง น้ำนมไหลน้อยมาก มีแผลผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องแนว Transverse แผลไม่บวม แผลแนบชิดสนิทกันดี น้ำคาวปลาเป็นแบบ Locia serosa 20 ml pain score = 1
Body temperature & blood pressure
21/03/65 (10.00)
BT 36.4
PR 70 bpm
RR 18 bpm
BP 139/76 mmHg
Pain score 1
Breast & Lactation
21/03/65 day4
เต้านมทั้งสองข้างสมมาตรกัน ไม่มีตุ่มหรือผื่น มีรอยแผลเล็กน้อย ที่เต้านมด้านขวา หัวนมสั้น แต่ไม่บุ๋ม มีอาการคัดตึงเต้านม น้ำนมไหลน้อย latch score 6
Belly and fundus
ไม่สามารถวัดระดับยอดมดลูกได้ เนื่องจากผ่าตัดคลอด
มดลูกหดรัดตัวได้ดี
Bladder
ปัสสาวะได้เอง 3ครั้งต่อวัน
Bleeding&locia
เปลี่ยนผ้าอนามัยวันละ2แผ่น น้ำคาวปลาออกมาแผ่นละ 30ml/day
Bowel movement
อุจจาระวันละ1 ครั้ง ช่วงเช้า
Blues
มีความกังวลที่จะเลี้ยงดูบุตร เนื่องจากกลัวบุตรจะได้รับนมไม่เพียงพอ เพราะนมแม่ไหลน้อยมาก กลัวกลับบ้านไปจะเลี้ยงดูลูกไม่ได้ เพราะมารดาลุกนั่งลำบาก และอยู่บ้านกับสามีแค่สองคน กลัวไม่มีใครช่วยเลี้ยงลูก เนื่องจากสามีทำงานนอกบ้าน
Believe
มารดาตั้งใจจะให้นมบุตรด้วยนมของตนเอง ถ้าหากบุตรได้รับนมไม่พอก็จะ ให้นมผสม
Baby
ทารกเพศชาย คลอดเวลา09.58น. วันที่ 17/03/65
c/s น้ำหนัก 2590กรัม Apgar score 9,10,10
Bonding&attachment
มารดาหลังคลอดดูแลเอาใจใส่ทารกดีมาก มีการนำทารกเข้าเต้า พูดคุยกับทารก
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 1 เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดคลอด
ข้อมูลสนับสนุน มารดาได้รับยาระงับความรู้สึกเข้าช่องไขสันหลัง Spinal block
วัตถุประสงค์ : ให้มารดาปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนหลังได้รับยาระงับความรู้สึกเข้าช่องไขสันหลัง
เกณฑ์การประเมินผล :
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติคือ ไม่ต่ำกว่า 90/60 mmHg ชีพจรไม่เกิน 120 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 16-24 ครั้ง/นาที
ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ
ผิวไม่ซีด เล็บมือเล็บเท้าไม่เขียว
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความรู้สึกตัวโดยเรียกชื่อ สถานที่ เวลา ทุก30นาที เพื่อดูความรู้สึกตัวของมารดา
2.จัดท่าให้นอนราบหนุนหมอน คะแคงตัวได้ 6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการปวดศีรษะและเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน อาการปวดจะบรรเทาเมื่อได้นอนราบ ถ้ามีภาวะขาดน้ำในระดับรุนแรงหลังคลอด จะทำให้อัตราปวดศีรษะมากขึ้น
3.วัดและบันทึกสัญญารชีพทุก 15นาที จำนวน 4ครั้ง ทุก30 นาที 2 ครั้ง และทุก1 ชั่วโมง จนกว่าจะคงที่ติดต่อกัน2 ครั้งและทุก4ชั่วโมง จนครบ24ชั่วโมงแรกเพื่อประเมินภาวะการทำงานของระบบหายใจ
4.สังเกตภาวะของการขาดออกซิเจน เช่น กระสับกระส่าย เล็บมือเท้าเขียว หายใจลำบาก ถ้าพบรายงานแพทย์
5.ดูแลให้มารดาได้รับสารน้ำตามแผนการรักษาของแพทย์
การประเมินผล :
สัญญาณชีพอยู่ในระดับปกติ ความดันโลหิตไม่ต่ำกว่า90/60 mmHg ชีพจรไม่เกิน 120 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 16-24 ครั้ง/นาที
ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ
ผิวไม่ซีด เล็บมือเล็บเท้าไม่เขียว
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 2 มารดาหลังคลอดมีอาการวิตกกังวลเนื่องจากน้ำนมไม่ไหลพอในการเลี้ยงบุตร
ข้อมูลสนับสนุน
OD : ตรวจพบเต้านมคัดตึง หัวนมสั้น Latch score 6 คะแนน น้ำนมไม่ไหล
SD : มารดาสีหน้าวิตกกังวลเวลาพูดถึงเรื่องน้ำนม และบอกว่าน้ำนมไหลน้อย กลัวลูกกินไม่พอ
เกณฑ์การประเมินผล
น้ำนมไหลได้ดีขึ้น
มารดามีสีหน้าที่ดีขึ้น
เต้มนมคัดน้อยลง
ทารกได้รับนมอย่างเพียงพอ
กิจกรรมการพยาบาล
1.ทำการประคบอุ่นเต้านม เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดี หลอดเลือดขยาย และน้ำนมไหลได้ง่ายขึ้น
สร้างสัมพันธภาพกับมารดา แสดงท่าทางเป็นมิตร เปิดโอกาสให้มารดาได้ซักถาม
3.แนะนำท่าที่ใช้ในการให้นมบุตรของมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดคือ ท่าside lying หรือท่าอุ้ม football hold เพื่อความสะดวกในการให้ และไม่เป็นท่าที่กระทบกับแผล
4.แนะนำให้มารดาใช้เครื่องปั๊มน้ำนม หากน้ำนมยังไม่มีการไหล
การประเมินผล
น้ำนมไหลได้ดีขึ้น
มารดาคัดตึงเต้านมลดลง
มีสีหน้าวิตกกังวล
การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน D-Medthod
D-Diagnosis :
Dx.previous C/S with GDMA1 with Maternal obesity with Eldery pregnancy
M-Medicine
Home med
Paracetamol 500mg tab q 6 hr prn รับประทานครั้งละ1เม็ก เมื่อมีไข้
Ibuprofen 400mg 1x3 po pc รับประทานครั้งละ1เม็ด หลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น
Air-X 1x3 po pc รับประทานครั้งละ1เม็ด เช้า กลางวัน เย็น บรรเทาอาการท้องอืด
Nataral 1x1 po pc วิตามินรวมสำหรับแม่หลังคลอด
รับประทานครั้งละ1 เม็ด หลังอาหารตอนเช้า
Matilium 10mg 2x3 po pc
Omeprazole 20 mg 1x1 po ac รับประทานครั้งละ1เม็ด ก่อนอาหารเช้า
E-Environment
จัดสิ่งแวดล้อมในห้องนอนเพื่อเอื้อต่อการพักผ่อนของมารดา อากาศควรถ่ายเทสะดวก หากไม่มีเครื่องปรับอากาศให้เปิดหน้าต่างเพื่อระบายลมเข้าออกตัวบ้าน เนื่องจากมารดาหลังคลอดต้องได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ เพราะต้องดูแลบุตร
T-Treatment
แนะนำเรื่องการประคบอุ่นที่เต้านมเมื่อมีอาการคัดตึงเต้านม แนะนำท่าที่ให้นมบุตรสำหรับแม่ที่ผ่าตัดคลอดคือท่า Side lying และท่า football hold เพื่อไม่ให้เป็นการกระทบถึงแผลผ่าตัดคลอด
H-Health
แนะนำให้รักษาความสะอาดของแผลผ่าตัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อในภายหลัง ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ให้สะอาด แนะนำให้เช็ดจากหน้าไปหลัง
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ควรนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย6-8ชั่วโมง เพราะต้องดูแลลูก และเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูได้เร็ว
แนะนำให้มารดางดการมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด6สัปดาห์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและให้มดลูกได้เข้าอู่
O-Outpatient
แนะนำให้มารดามาตรวจตามนัด เพื่อดูแผล และประเมินร่างกายในวันที่ 25มีนาคม 2565 และติดตามภาวะตัวเหลืองของทารก
D-Diet
แนะนำให้มารดารับประทานอาหารให้ครบทั้ง5หมู่ เน้นโปรตีนเป็นหลัก แนะนำให้บุตรดูดนมมารดาถึง6เดือน หลังจากนั้นกินอาหารเสริมตามวัยพร้อมนมแม่จนถึงอายุ 2ปี