Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Phylum Hemichordata - Coggle Diagram
Phylum Hemichordata
Class Enteropneusta
เอนเทอโรนิวสต์ หรือหนอนลูกโอ๊ค (acorn worm)
มีประมาณ 75 ชนิด ฝังตัวอยู่ตามพื้นท้องน้ำที่อ่อนนุ่ม อยู่ระ
-หว่างกลุ่มของสาหร่ายหรืออยู่ใต้ก้อนหินส่วนใหญ่อยู่ในเขตน้ำ
-ขึ้นน้ำลง มีเพียงไม่กี่ชนิดที่ดำรงชีวิตอยู่ในเขตน้ำลึก ชนิดที่รู้
จักทั่วไปคือ Saxipendium coranatum หรือหนอนสปาเก๊ตตี้
(Spaghetti worm) เป็นชนิดอยู่ร่วมกับสัตว์อื่น ๆ ซึ่งมีรายงาน
พบในหลุมความร้อนของเกาะกาลาปาโกส ขนาดของเอนเทอโรนิว
-สต์อาจเล็ก ความยาวเพียงไม่กี่เซนติเมตร บางชนิดยาวกว่า 2
เมตร เอนเทอโรนิวสต์ดำรงชีวิตแบบตัวเดี่ยว
ลักษณะทั่วไป
การแบ่งส่วนร่างกายออกเป็น 3 บริเวณ คือ งวงหรือ
โพรบอสซิส (proboscis) ปลอกหรือคอลลาร์ (collar) และส่วน
ลำตัว (trunk)
งวงหรือโพรบอสซิสอาจดูคล้ายลิ้นหรือลูกโอ๊ค มีซีลอม
ภายในงวงคือ โพรโทซิส (protocoel) เป็นช่องเดี่ยวขนาดเล็ก
งวงมีกล้ามเนื้อหนาทำให้เหมาะสมแก่การขุดพื้นทราย ใต้อิพิเดอร์
-มิสเป็นกล้ามเนื้อรอบวง เมื่อกล้ามเนื้อรอบวงหดตัว งวงจะยาว
ออก ส่วนปลายงวงฝังลงไปในโคลนหรือทราย เมื่อกล้ามเนื้อรอบ
วงเริ่มคลายตัวจากส่วนปลาย ในขณะที่กล้ามเนื้อตามยาว ซึ่งเป็น
ชั้นถัดจากล้ามเนื้อรอบวงจะหดตัว
ภาพลักษณะลำตัวพื้นฐานของหนอนลูกโอ๊ค Saccoglossus kawalevskii (ก.)เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ (ข.)โพรงภายในลำตัว
ระบบทางเดินอาหาร
ท่อทางเดินอาหารเป็นท่อตรงยาวจากปากถึงทวารหนัก
กล้ามเนื้อที่ท่อทางเดินอาหารมีน้อยมาก อาหารไหลเคลื่อนไปได้
ด้วยการทำงานของซีเลีย ปากเปิดเข้าสู่ท่ออุ้งปากที่อยู่ในคอลลาร์
มีไดเวอร์ทิคูลัมยื่นออกจากด้านหลังของอุ้งปากไปด้านหน้าถัดจาก
อุ้งปากเป็นฟาริงซ์อยู่ตอนต้นของส่วนลำตัว ทั้งอุ้งปากและฟาริงซ์
เกิดจากการเว้าลงของเอคโทเดิร์ม ฟาริงซ์ยึดอยู่กับสันบาง ๆ
-
-
Class Pterobranchia
ลักษณะทั่วไป
ทอโรแบรนช์มีการแบ่งส่วนออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรกเรียกว่า แผ่นเซ
-ฟาลิค (Cephalic shield) หรือแผ่นอุ้งปาก (Buccal shield) หรือแผ่นปาก (oral
shied) ส่วนต่อไปคือ คอลลาร์ (Collar) มีการเจริญยื่นออกไปเป็นแขน (Arm) ที่มี
การแตกแขนงขนนกเป็นหนวดหรือเทนทาเคิล (Tentacle)
ภาพ โคโลนีของเทอโรแบรนช์ Rhabdopleura sp.
-
ลักษณะทั่วไป
แบ่งเป็น 2 คลาส คือ เอนเทอโรนิวสทา
(Enteropneusta) และ เทอโรแบรนเคีย
(Pterobranchia) ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่าง
มาก อย่างไรก็ดี เอนเทอโรนิวสทา และเทอโรแบรนเคีย
ก็มีลักษณะจำเพาะร่วมกันหลายประการ คือ การมีแขน
ของอุ้งปาก (Diverticulum buccal cavity) ยาว
ไปด้านหน้าของหัวทำให้เข้าใจผิดมานานว่าเป็นโนโทคอร์ด
ที่โฮโมโลกัสกับโนโทคอร์ดของยูโรคอร์ดาทา (Urochordata)
เซฟาโลคอร์ดาทา (Cephalochordata) และเวอร์ทีบราทา
(Vertebrata) และเป็นที่มาของชื่อไฟลัม ลักษณะรูปร่าง
ของทั้งสองกลุ่มมีการแบ่งส่วนชัดเจนเป็น 8 บริเวณ และใน
แต่ละบริเวณมีซีลอมอยู่ ประการสุดท้ายคือ ฟาริงซ์ของเอน
-เทอโรนิวสทาทุกชนิด และเทอโรแบรนเคียบางชนิดมีช่อง
เปิดของเหงือก (gill slit) เป็นช่องขนาดเล็กเปิดออกด้าน
ข้างของฟาริงซ์ ดังนั้น ชิ้นส่วนอาหารที่ถูกกรองไว้ภายใน
ฟาริงซ์จะข้นขึ้น