Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Ectopic pregnancy นศพต.สุชาดา สุระสังข์ เลขที่ 66 - Coggle Diagram
Ectopic pregnancy
นศพต.สุชาดา สุระสังข์ เลขที่ 66
พยาธิสภาพ
ความหมาย
การตั้งครรภ์นอกมดลูก หมายถึง
การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสมแล้ว
นอกโพรงมดลูก
กลไกการเกิด
การตั้งครรภ์นอกมดลูกเกือบทั้งหมดเกิดขึ้นที่ท่อนำไข่ โดยเฉพาะส่วน ampulla เมื่อมีการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในท่อนำไข่ trophoblast จะแบ่งตัวและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในท่อนำไข่ บางครั้งจะทะลุผ่าน mucosa lumina propia และลุกลามถึงชั้นกล้ามเนื้อจนถึงชั้น serosa เมื่อลุกลามถึงหลอดเลือดจะทำให้มีเลือดออกในท่อนำไข่ เกิดการการบวมโตขึ้นและมีการยืดของ serosa ทำให้เกิดอาการปวดท้อง เมื่อท่อนำไข่แตกจะมีการตกเลือดในช่องท้อง ถ้าตัวอ่อนฝังตัวอยู่ใน interstitium การเเตกของท่อนำไข่จะเกิดช้าถึงอายุครรภ์ 12-16 Wks เนื่องจากมีกล้ามเนื้อล้อมรอบหนา
สาเหตุ
สาเหตุการตั้งครรภ์นอกมดลูกเกิดได้จากหลายสาเหตุ
ความผิดปกติของท่อนำไข่ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่ขัดขวางและหน่วงเหนี่ยวไม่ให้ไข่ที่ถูกผสมแล้วเดินทางเข้าสู่โพรงมดลูกได้
มีเนื้องอกเบียดท่อนำไข่
มีประวัติท้องนอกมดลูก
การอักเสบเรื้อรังของท่อนำไข่
การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน/มีประวัติ
การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
การคุมกำเนิดโดยการใส่ห่วง และการรับประทานยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนหรือยาคุมฉุกเฉิน
การใช้เทคโนโลยีช่วยมีบุตร
สาเหตุของผู้ป่วย
ไม่ทราบประวัติการติดเชื้อ
ไม่มีประวัติ STD
เนื่องจากผู้ป่วยผ่านการตั้งครรภ์มาแล้ว 2 ครั้ง คลอด FT No complications = ไม่มีประวัติท้องนอกมดลูก
TVS : ไม่พบก้อนเนื้องอก
ไม่เคยใช้ยาคุมกำเนิดทั้งชนิดเม็ดและการใส่ห่วง
ไม่มีการใช้เทคโนโลยีช่วยมีบุตร เนื่องจากเศรษฐานะครอบครัวอยู่ระดับปานกลาง
เนื่องจากไม่พบสาเหตุของการตั้งครรภ์นอกมดลูก จึงคาดว่าอาจเกิดจากการ fertilization ของไข่และอสุจิที่ผสมกันเร็ว ก่อนถึงบริเวณ ampula ทำให้เกิดการแบ่งตัวเป็น blastocyst และฝังตัวก่อนเดินทางถึงโพรงมดลูก
อาการและอาการแสดง
อาการ :check:
ขาดประจำเดือน
ปวดท้องน้อย เริ่มปวดแบบตื้อๆ เปลี่ยนเป็นปวดบิด และกดเจ็บบริเวณปีกมดลูก
มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
ปวดร้าวที่หัวไหล่
อาการหน้ามืดเป็นลม
ช็อกจากการเสียเลือด
ผู้ป่วยมีอาการ
ขาดประจำเดือน เป็นเวลา 1 เดือน (LMP 20/01/65)
ผล UPT = positive
มีเลือดออกกระปิปกระปอย (06/03/65)
ปวดท้องน้อย เหมือนปวดประจำเดือน
อาการเเสดง :check:
อาการกดเจ็บบริเวณหน้าท้อง
ถ้ามีการเสียเลือดมากอาจมีอาการช็อค ความดันโลหิตต่ำ pulse pressure แคบ และชีพจรเร็วเบา
การตรวจภายในอาจพบ-อาการแสดงของการตั้งครรภ์ เช่น ปากมดลูกมีสีคล้ำ มดลูกนุ่ม แต่อาจไม่พบก็ได้โดยเฉพาะในรายที่มีการเสียเลือดมากจนซีด
เจ็บเมื่อโยกปากมดลูก
cul-de-sac โป่งและกดเจ็บ ในรายที่มีเลือดออกในช่องท้อง
ผู้ป่วยมีอาการ
หน้าท้อง soft, no tenderness, no guarding, no-tender
PV : Os closed, no cervix motion tenderness (ไม่มีเจ็บเมื่อโยกปากมดลูก)
การวินิจฉัย
Transvaginal Ultrasonography
อัลตราซาวด์ทางช่องคลอด
สามารถยืนยันการวินิจฉัยได้เมื่อเห็น ถุงการตั้งครรภ์(gestational sac)ร่วมกับถุงไข่แดง(York sac )ที่อายุครรภ์ 5-6 สัปดาห์ ,ตัวอ่อน(embryo) หรือพบทั้งคู่ที่ปีกมดลูก และการตรวจนี้สามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ในมดลูกได้เมื่อระดับ b-hCG สูงเพียง 1,500 mIU/mlการทำอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด ตามปกติควรเห็นถุงการตั้งครรภ์ในมดลูก หากไม่พบในมดลูก อาจทำให้นึกถึงการตั้งครรภ์นอกมดลูก
ผู้ป่วย
ทำ TVS พบ complex 1.4 cm Lt. (Gestational sac) คือพบก้อนที่ปีกมดลูกด้านซ้าย
Serum Human Chorionic Gonadotropin
serum hCG
วัดเชิงคุณภาพ เป็นการตรวจหาว่าตั้งครรภ์หรือไม่
ระดับ HCG ที่น้อยกว่า 5 mIU/mL ถือเป็นผลลบหมายความว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
วัดเชิงปริมาณ โดยจะวัดปริมาณ HCG ในเลือด เพื่อดูระดับของฮอร์โมน โดยประเมินจาก Discriminatory level คือค่าของ serum hCGที่มากกว่าค่าที่กำหนดไว้ ค่าดังกล่าวคือ 3,500 mIU/ml ถ้าน้อยกว่าให้ตรวจซ้ำใน 48 ชม. ต่อมา เพราะในการตั้งครรภ์ปกติระดับ serum hCG จะเพิ่ม 2 เท่าทุกๆ 2-4 วัน แต่ในการตั้งครรภ์ผิดปกติ การเพิ่ม 2 เท่าจะใช้เวลานานกว่า ดังนั้นการตรวจวัดระดับ serum hCG เป็นระยะๆจะช่วยวินิจฉัยการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
ผู้ป่วยตรวจ serum hCG = 25,039.38
Abdominal ultrasound
การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางหน้าท้อง สามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ภายในมดลูกได้เมื่อระดับ b-hCG สูงถึง 5,000-6,000 mIU/ml การตรวจไม่พบการตั้งครรภ์ภายในมดลูกเมื่อระดับ hCG สูงเพียงพอ ทำให้เพิ่มความเชื่อถือของการวินิจฉัยภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก
ซักประวัติ
Culdocentesis เพื่อวินิจฉัยเลือดออกในช่องท้อง โดยการใช้เข็มเจาะผ่านผนังช่องคลอด ตำแหน่ง posterior fornix เข้าไปใน cul-de-sac จะได้เลือด เนื่องจากท่อนำไข่แตก
การรักษา
แบบใช้ยา
Methotrexate
มีกลไกในการยับยั้งกระบวนการ DNA synthesis,การซ่อมแซม,และการแบ่งตัวของเซลล์ ทำให้มีผลกับเนื้อเยื่อที่มีการแบ่งตัวตลอดเวลา เช่น ไขกระดูก เยื่อบุทางเดินอาหาร เยื่อบุทางเดินหายใจและรก และฝ่อไปเอง
การบริหารยา 3 แบบ จะใช้แบบไหนขึ้นกับระดับของ serum hCG และการตัดสินใจของผู้ป่วยหลังรับข้อมูลผลดีผลเสียของการบริหารยาแต่ละแบบ
Two dose
ให้ methotrexate 50mg/m2 ฉีด IM ในวันที่ 1
ให้ methotrexate 50mg/m2 ฉีด IM ในวันที่ 4
วัดระดับ serum hCG วันที่ 4 และวันที่ 7
หากระดับลดลงมากกว่า 15% ,วัดระดับ serum hCG ทุก1สัปดาห์จนกว่าระดับจะเท่ากับสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์
หากระดับลดลงน้อยกว่า 15% ให้ยาซ้ำในวันที่ 7 และวัดระดับ serum hCG วันที่ 11
หากระดับลดลงมากกว่า 15% ระหว่างวันที่ 7 และ11,วัดระดับ serum hCG ทุก1สัปดาห์จนกว่าระดับจะเท่ากับสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์
หากระดับลดลงน้อยกว่า 15% ระหว่างวันที่ 7 และ11,ให้ methotrexate 50mg/m2เข้า IM ในวันที่11และวัด serum hCG วันที่ 14
หากระดับserum hCG ไม่ลดหลังจากการให้ methotrexate 4 ครั้ง,พิจารณาผ่าตัด
Fixed multiple dose
ให้ methotrexate 1mg/kg ฉีดเข้า IM วันที่1,3,5,7สลับกับ folinic acid 0.1mg/kg ฉีดเข้า IM วันที่2,4,6,8
วัดระดับ serum hCG วันที่ฉีดmethotrexate และวัดระดับ serum hCG จนลดลง 15% เมื่อเทียบกับค่าก่อนหน้า
หากลดลงมากว่า 15%,หยุดการให้ methotraxateและวัดระดับ serum hCG ทุกอาทิตย์จนกว่าระดับจะเท่ากับสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์
หากระดับ serum hCG ไม่ลดลงหลังจากการให้ยา 4ครั้ง,พิจารณาการผ่าตัด
Single dose
เหมาะกับค่า serum hCG น้อยหรือคงที่
1.ให้ methotrexate 50mg/m2 ฉีดเข้า IM ในวันที่ 1
2.วัดระดับ serum hCG วันที่ 4 และวันที่ 7
หากระดับลดลงมากกว่า 15% ,วัดระดับ serum hCG ทุก1สัปดาห์จนกว่าระดับจะเท่ากับสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์ (< 5 mIU/mL)
หากระดับลดลงน้อยกว่า 15%,ให้ methotrexate 50mg/m2 ฉีดเข้า IM อีกครั้งและวัดระดับserum hCG
หากระดับserum hCG ไม่ลดหลังจากการให้ methotrexate 2ครั้ง,พิจารณาผ่าตัด
การตรวจติดตามหลังการรักษาด้วยยา methotrexate
จำเป็นต้องได้รับการตรวจติดตามระดับserum hCGจนกว่าระดับจะเท่ากับสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์ โอกาสการล้มเหลวของการรักษาด้วยยาพบว่าสูงขึ้นหากระดับserum hCGระหว่างวันที่4และ7ลดลงน้อยกว่า15% โดยทั่วไประยะเวลาที่ระดับserum hCGจะกลับมาปกติใช้เวลาหลังได้รับยาประมาณ 2-4สัปดาห์และมากสุดได้ถึง 8สัปดาห์
ผลข้างเคียงขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลาที่ได้รับยาโดยผลข้างเคียงที่พบบ่อยในรายที่ได้รับยาแบบ multiple dose ได้แก่อาการคลื่นไส้อาเจียนและแผลบริเวณปาก อาการที่มักพบประมาณ 2-3 วันหลังได้ยาคืออาการปวดท้องที่คาดว่าเกิดจากการแยกของการตั้งครรภ์นอกมดลูกออกจากผนังท่อนำไข่เรียกว่า separation pain และผู้ที่รักษาด้วยยา มีโอกาสเกิดการแตกของท่อนำไข่ได้
คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาด้วยยา methotrexate
ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยา folic acidหรือNSAIDเนื่องจากมีผลลดประสิทธิภาพของยาmethotrexate
หลีกการมีเพศสัมพันธ์ การตรวจภายในและการอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดโดยไม่จำเป็นเพราะเพิ่มโอกาสการแตกของก้อน
หลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ขณะทำการรักษาและอย่างน้อย1รอบการตกไข่หลังการได้รับยาmethotrexate หรือแนะนำให้ชะลอการตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือนหลังรับยา
มักทำในรายที่
ขนาดก้อน < 3.5 cm
ไม่พบหัวใจเด็ก
GA < 6 wks
ยังไม่มีการ rupture
serum hCG < 15,000
ผู้ป่วย
ขนาดก้อน 1.4 cm
คาดการ GA 6+3 wks
serum hCG = 25,038.39
ผู้ป่วยยังไม่มีการ rupture
แบบผ่าตัด
จะทำในรายที่ v/s ไม่คงที่ มีอาการแสดงของการแตกของท่อนำไข่ มีเลือดออกในช่องท้อง รวมถึงมีข้อห้ามใช้ยาหรือการใช้ยามีโอกาสล้มเหลวสูง
ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง
(Exploratory Laparotomy)
การผ่าตัดเปิดหน้าท้องมักทำในรายที่สัญญาณชีพไม่คงที่และมีเลือดออกในช่องท้องปริมาณมาก
ผู้ป่วย
แพทย์เลือกทำ Explorotory Laparotomy
ผ่าตัดส่องกล้อง
(Laparoscopy)
การผ่าตัดส่องกล้องแบบsalpingectomy
คือการตัดท่อนำไข่ข้างที่มีการตั้งครรภ์นอกมดลูก
การผ่าตัดผ่านกล้องแบบ salpingostomy
คือการผ่าตัดนำชิ้นส่วนการตั้งครรภ์นอกมดลูกออกโดยเหลือท่อนำไข่ไว้
การตัดสินใจเลือกการผ่าตัดแบบใดต้องคำนึงถึงหลายปัจจัยอันได้แก่ อาการของผู้ป่วย ความต้องการมีบุตรในอนาคต รวมไปถึงความเสียหายของท่อนำไข่
ข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 26 ปี G3P2A0
น้ำหนัก 44 kg. ส่วนสูง 158 cm. BMI 17.63
ปฏิเสธโรคประจำตัว ปฏิเสธการเจ็บป่วยในครอบครัว
LMP : 20/1/65 × 8 day ผ้าอนามัย 2 แผ่น/วัน
Last SI : 23/1/65
Vital sign : T = 36.5 c , PR = 113 bpm. , BP = 110/74 mmHg.
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล : ลิ่มเลือดออกทางช่องคลอด 2 วันก่อนมาโรงพยาบาล
การเจ็บป่วยในปัจจุบัน :
15 วัน ก่อนมาโรงพยาบาลมีประจำเดือนมา 5 วันกะปิบกระปอย
6 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการเลือดออกจากช่องคลอด หลังจากยกของหนัก มาพบแพทย์ได้ volta กับ biocalm มีประจำเดือนมาปกติ 1-2 แผ่น ไม่มีไข้ มีอาการปวดบริเวณท้องน้อย
2 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีก้อนชิ้นเนื้อปนเลือดสีขาว อาการปวดดีขึ้น ไม่มีตกขาว ไม่คัน ไม่มีปวดท้องน้อย ไม่มีปัสสาวะแสบขัด ไม่มีปัสสาวะบ่อย
ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดในอดีต :
ปี 2559 FT NL No complications
ปี 2562 FT NL No complications
Lab
CBC :
Hb = 12.7
Hct = 38.6
WBC = 7,590
Platelet = 396,000
Neutrophil = 80
Lymphocyte = 16.3
Electrolyte :
Na = 136
K = 3.45
Cl = 102
HCO3 = 24.6
Bun = 8.7
Cr = 0.54
UPT = positive
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ก่อนผ่าตัด
ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิด ectopic rupture เนื่องจากมีการท้องนอกมดลูก
2.สังเกตอาการซีด เหงื่อออก ใจสั่น หน้ามืด ตาลาย
เป็นลม เพื่อประเมินภาวะช็อก
3.ดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดคำ คือ RLS 1000 ml IV drip rate 100 ml/hr ตามแผนการรักษา
กิจกรรมการพยาบาล
1.บันทึกความดันโลหิต ชีพจร และการหายใจทุก 1 ชั่วโมง เพื่อสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีภาวะช็อกสูญเสียเลือดในช่อง ท้อง ถ้าความดันโลหิต < 90/60 มิลลิเมตรปรอท ชีพจร >=120 ครั้งต่อนาที อัตราการหายใจ >=30 ครั้งต่อนาที ให้รายงานแพทย์ สังเกตความรุนแรงของการตกเลือดในช่องท้อง (intemal hemorhage) เช่น อาการปวดท้องมากขึ้น (abdominal pain) อาการปวดร้าวไปที่ไหล่ อาการท้องอืด โป้งนูนและอาการกดเจ็บที่ท้อง(rebound tenderess)
4.ติดตามผลserial Hct. ถ้าลดต่ำลงมากกว่า 3 หรือ น้อยกว่า 30% แสดงว่ามีการเสียเลือดไปมากในช่องท้อง ให้รายงานแพทย์และเตรียมให้เลือด บันทึกจำนวนปัสสาวะทุก 4 ชั่วโมง ถ้าต่ำกว่า 30 มิลลิลิตรต่อชั่วโมงให้รายงานแพทย์ เตรียมผ่าตัดฉุกเฉิน
ข้อมูลสนับสนุน
SD: -
OD:-GA 6 Wks.+4 day
-LMP 20/01/65 x 8 วัน
-TVS พบ complex 1.4 cm ด้าน Lt
-มีเลือดออกกระปิปกระปอย (06/03/65)
-มีอาการปวดบริเวณท้องน้อย มีก้อนขาวๆออกมาอาการดีขึ้น 2 วันก่อนมาโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์ : ป้องกันภาวะเเทรกซ้อนจากการเกิด
ectopic rupture
เกณฑ์การประเมิน
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ(ความดันโลหิตไม่น้อยกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอทชีพจร 60-100 ครั้ง/นาที หายใจ 16-20 ครั้ง/นาที )
ระดับความรู้สึกตัวดี ไม่มีอาการแสดงของภาวะช็อก ได้แก่ กระสับกระส่าย เหงื่อออกตัวเย็น
การประเมินผล
ผู้ป่วยรู้สึกตัวดีไม่มีกระสับกระส่าย ไม่มีเหงื่อออกหรือตัวเย็น หายใจปกติ 18 bpm ชีพจรสม่ำเสมอ 86 bpm ความดันโลหิต 118/74 mmHg. Pain score 0
การเตรียมผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด
กิจกรรการพยาบาล
1.งดอาหารและน้ำ after midnight เพื่อป้องกันการสำลักอาหารเข้าไปในหลอดลมขณะดมยาผ่าตัด และให้สารน้ำทดแทน คือ RLS 1000 ml IV drip rate 100 ml/hr
ตามแผนการรักษา
2.ดูแลให้ผู้ป่วยหรือญาติลงชื่อในใบยินยอมเข้ารับการทำการผ่าตัด โดยอธิบายให้ทราบถึงความจำเป็นในการลงชื่อในใบยินยอม และอธิบายวิธีการรักษาและขั้นตอนดูแลหลังผ่าตัด
เตรียมเลือดเพื่อชดเชยการสูญเสียเลือด
4.เตรียมบริเวณหน้าท้องที่จะทำผ่าตัด ไม่ต้องสวนล้างช่องคลอดและสวนอุจจาระ เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้มีเลือดออกเพิ่มมากขึ้น ถ้าไม่มีเลือดออกสามารถสวนอุจจาระได้
วัตถุประสงค์ เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนทำผ่าตัด
เกณฑ์การประเมิน : ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด
การประเมินผล
ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเป็นอย่างดี
และได้ขอย้ายโรงพยาบาลเพื่อไปรักษาตามสิทธิที่โรงพยาบาลกลาง
ข้อมสนับสนุน :
SD : -
OD : ผู้ป่วย Dx. เป็น Ectopic pregnancy และมี orderเข้ารับการผ่าตัดแบบ exploratory laparotomy
ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการและการรักษาด้วยการผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน
SD : -
OD: ผู้ป่วยมีสีหน้าวิตกกังวลเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์นอกมดลูกและมี orderเข้ารับการผ่าตัดแบบ exploratory laparotomy
วัตถุประสงค์: ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวลและเข้าใจแผนการรักษา
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยมีสีหน้าคลายความวิตกกังวล
ผู้ป่วยเข้าใจแผนการรักษา
กิจกรรมการพยาบาล
1.สร้างสัมพันธภาพพูดคุยและซักถามผู้ป่วยเพื่อเปิดโอกาส
ให้ผู้ป่วยบอกความรู้สึกและความวิตกกังวล
2.ให้ข้อมูลเรื่องการผ่าตัดและสาเหตุ จากการตั้งครรภ์นอกมดลูก
เพื่อให้เข้าใจการดําเนินของโรคและเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
3.อธิบายเหตุผลในการเตรียมความพร้อมด้านร่างกายให้ผู้ป่วยทราบ ได้แก่ การเตรียมบริเวณผ่าตัด การเจาะเลือด การงดน้ําและอาหาร การให้สารน้ําทางหลอดเลือดดำ
4.ให้ข้อมูลถึงการให้ยาระงับความรู้สึกขณะผ่าตัด การให้ยาระงับปวดหลังออกจากห้องผ่าตัด และการดูแลเพื่อลดความกังวลแก่ผู้ป่วย
การประเมินผล
ผู้ป่วยเข้าใจพยาธิสภาพของโรคและความจําเป็นที่ต้องผ่าตัด และคลายความวิตกกังวลสีหน้าผ่อนคลายขึ้น
5.ให้กำลังใจและเห็นใจ โดยการใช้คำพูดที่สุภาพและการสัมผัสที่นุ่มนวลเพื่อให้ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวล
6.จัดสภาพแวดล้อมให้เงียบสงบ อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อให้ผู้ป่วยพักผ่อนได้เพียงพอ
การให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดเมื่อกลับบ้าน
ให้คําแนะนําการปฏิบัติตัวขณะกลับไปอยู่บ้าน ได้แก่
การดูแลแผลผ่าตัด ระวังไม่ให้แผลถูกน้ำ อาบน้ำได้แต่ไม่ควรฟอกสบู่เพราะจะทำให้พลาสเตอร์ปิดแผลมีรอยเปิดและน้ำจะซึมเข้า ถ้าแผลเปียกน้ำให้รีบมารพ. เพื่อทำความสะอาดแผล
การตัดไหมเมื่อแพทย์นัดมาตามนัด
การพักผ่อนอย่างเพียงพอ
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ทานประเภทโปรตีนเพื่อส่งเสริมการหายของแผล และอาหารที่มีกากใยสูงป้องกันอาการท้องผูก ซึ่งจะทำให้ต้องเบ่งและจะทำให้แผลปริ
ช่วง 1-2 สัปดาห์แรกให้เดินไปมาระยะใกล้ๆ ค่อยๆเพิ่มระยะทางขึ้นเรื่อยๆ และไม่ควรทำงานหนัก
การรับประทานยาตามคําสั่งแพทย์
ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ในระยะ 6 สัปดาห์หลังผ่าตัด หรือก่อนการมาตรวจตามนัด เพื่อป้องกันเลือดออกและการติดเชื้อทางช่องคลอด
การทําจิตใจให้เบิกบานแจ่มใส ไม่เครียด
ให้คําแนะนําเรื่องการเว้นระยะการมีบุตรไปก่อนเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูสภาพก่อนตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
โดยให้คุมกําเนิดอย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปี
ให้คําแนะนําเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์นอกมดลูกซ้ำ โดยการสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ตกขาวมีกลิ่นเหม็น สีเหลืองปนหนองจํานวนมาก คันในช่องคลอด หากมีอาการเหล่านี้ควรรับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกเพื่อป้องกันการอักเสบติดเชื้อ
ที่อาจลุกลามไปยังท่อนําไข่ จนทําให้ท่อนําไข่ตีบตันหรือเกิดพังผืด
อันเป็นสาเหตุของการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
แนะนําสังเกตอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ก่อนวันนัดเช่น มีไข้สูง ปวดท้องมาก แผลอักเสบ บวมแดง หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด และการมาตรวจตามนัด