Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Term Cesarean section with non reassuring Fetal heart rate, นศพต.สาธินี …
Term Cesarean section with non reassuring Fetal heart rate
การประเมินมารดาหลังคลอดตามหลัก 13 B
Background
หญิงหลังคลอด อายุ 20 ปี G1P0000 GA 39+6 wks by date ,1st ANC at GA 9 wk by date,EDC by U/S 26/3/65,total ANC 5 ครั้ง ฝากครรภ์ครั้งสุดท้าย 13/12/64 ระดับการศึกษา ม.6 ไม่ได้ประกอบอาชีพ น้ำหนักก่อนตั้งครรภภ์ 56 kg ส่วนสูง151 ขณะตั้งครรภ์ 65 kg
BMI ก่อนตั้งครรภภ์ 25.39 kg/m^2 ( overweight )
น้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ตาม BMI เท่ากับ 7-11.5 kg ซึ่งในมารดา TWG : 9 kg ซึ่งปกติตามเกณฑ์
Chief complaint : เจ็บครรภ์คลอด 5 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการตั้งครรภ์
ปัจจุบัน G1 term C/S เพศหญิง 2510 g APGAR 9,10,10 no complication
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
มารดาเป็นโรคความดันโลหิตสูง
ประวัติการคลอดปัจจุบัน
ทารกคลอดวันที่ 19 มีนาคม 2565 เวลา10.13 น. Apgar score 9,10,10 น้ำหนักรก 540 gm น้ำหนักทารกแรกเกิด 2510 gm
Body condition
Day 2 : มารดาหลังคลอด รูปร่างท้วม รู้สึกตัวดี สีหน้ายิ้มเเย้ม อ่อนเพลีย conjunctiva สีชมพู sclera สีขาว ปากไม่แห้ง เหงือกไม่บวม ไม่มีฟันผุ เต้านมทั้งสองข้างสมมาตร ไม่คัดตึง คลำไม่พบก้อนที่เต้านม ลานนมนิ่ม หัวนมปกติยาว 0.5 cm Latch score 9 คะแนน น้ำนมไหล 2+ ( 2-3 หยด ) นำลูกเข้าเต้าได้ ลูกดูดดี มดลูกหดรัดตัวดี วัดระดับยอดมดลูกไม่ได้เนื่องจากผ่าตัด Low transverse cesarean section มีแผลผ่าตัดแนวบิกินี่ ( Tranverse incision ) ปิด top gauze น้ำคาวปลาสีแดง 60 ml ไม่มีกลิ่นเหม็น ลุกไปปัสสาวะได้เอง ปัสสาวะสีเหลือง ไม่มีตะกอน อุจจาระ 1 ครั้ง ขาไม่มีบวม no pitting edema pain score = 5 คะแนน
Day 3 : มารดาหลังคลอด รูปร่างท้วม รู้สึกตัวดี สีหน้ายิ้มเเย้ม อ่อนเพลีย conjunctiva สีชมพู sclera สีขาว ปากไม่แห้ง เหงือกไม่บวม ไม่มีฟันผุ เต้านมทั้งสองข้างสมมาตร ไม่คัดตึง คลำไม่พบก้อนที่เต้านม ลานนมนิ่ม หัวนมปกติยาว 0.5 cm Latch score 8 คะแนน น้ำนมไหล 2+ ( 2-3 หยด ) นำลูกเข้าเต้าได้ ลูกดูดดี มดลูกหดรัดตัวดี วัดระดับยอดมดลูกไม่ได้เนื่องจากผ่าตัด Low transverse cesarean section มีแผลผ่าตัดแนวบิกินี่ ( Tranverse incision ) ปิด top gauze น้ำคาวปลาสีแดง 40 ml ไม่มีกลิ่นเหม็น ลุกไปปัสสาวะได้เอง ปัสสาวะสีเหลือง ไม่มีตะกอน ยังไม่อุจจาระ ขาไม่มีบวม no pitting edema pain score = 4 คะแนน
Body temperature & blood pressure
Day 0 11.15น. V/S BT : 36.5 C, PR 83 bpm, RR 18 bpm, BP 109/94 mmHg, pain score 2 คะแนน
Day 1 13.30น. V/S BT : 37.0 C, PR 84 bpm, RR 18 bpm, BP 120/70 mmHg, pain score 4 คะแนน
Day 2 9.30น. V/S BT : 37.7 C, PR 110 bpm, RR 18 bpm, BP 125/68 mmHg, pain score 5 คะแนน
Day 3 7.30น. V/S BT : 37.1 C, PR 96 bpm, RR 18 bpm, BP 108/73 mmHg, pain score 4 คะแนน
4.Breast & lactation
Day 2 เต้านมทั้ง 2 ข้างสมมาตร ไม่คัดตึง คลำไม่พบก้อนที่เต้านม ลานนมนิ่ม หัวนมปกติยาว 0.5 ซม. หัวนมไม่แตก น้ำนมไหล 2+ Lath score 9 คะแนน
( L = 2 อมถึงลานนม A = 2 ได้ยินเสียงกลืนน้ำนมชัดเจน T = 1 หัวนมสั้น C = 2 สุขสบายขณะให้นมบุตร H = 2 อุ้มบุตรได้ )
Day 3 เต้านมทั้ง 2 ข้างสมมาตร ไม่คัดตึงเต้านมเล็กน้อย คลำไม่พบก้อนที่เต้านม ลานนมนิ่ม หัวนมปกติยาว 0.5 ซม. หัวนมแตก เจ็บเวลาทารกดูด น้ำนมไหล 2+ Lath score 8 คะแนน
( L = 2 อมถึงลานนม A = 2 ได้ยินเสียงกลืนน้ำนมชัดเจน T = 1 หัวนมสั้น แตกข้างขวา C = 1 หัวนมแตกข้างขวา H = 2 อุ้มบุตรได้ )
Belly & fundus
Day 0 - Day 3 มดลูกหดรัดตัวดี วัดระดับยอดมดลูกไม่ได้เนื่องจากผ่าตัด Low transverse cesarean section / Uterus was open by low transverse incision then extended the incision by instead of finger
Bladder
Day 2 off retain foley's catheter ลุกปัสสาวะได้เอง ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม ไม่มีตะกอน
Day 0 retain foley's catheter ต่อ urine bag
Day 3 ลุกปัสสาวะได้เอง ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม ไม่มีตะกอน 4 ครั้ง/วัน
Bleeding & lochia
Day 2 น้ำคาวปลาสีแดง lochia rubra 60 ml/day on pad
Day 3 น้ำคาวปลาสีแดง lochia rubra 40 ml/day on pad
Bottom
Day 2-3 มีแผลผ่าตัด Low transverse cesarean section ปิด top gauze ไม่มีเลือดซึม
Bowel movement
Day 2 : อุจจาระ 1 ครั้ง
Day 3 :ยังไม่มีอุจจาระ
Blues
Day 2 มารดานำทารกเข้าเต้า วางทารกบนเตียงนอนข้างมารดา และสามารถปรับตัวเข้าหาทารกได้ ให้ความสนใจกับทารก
Day 3 มารดานำทารกเข้าเต้า วางทารกบนเตียงนอนข้างมารดา และสามารถปรับตัวเข้าหาทารกได้ ให้ความสนใจกับทารก กังวลเรื่องการอุ้มเด็กดูดนม
Bonding & attachment
Day 2 มารดามีปฏิสัมพันธ์กับทารกดี ติดต่อโทรศัพท์กับสามีบ่อยครั้ง
Day 3 มารดามีปฏิสัมพันธ์กับทารกดี ติดต่อโทรศัพท์กับครอบครัวบ่อยครั้ง
Belief model
มารดามีความเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน และต่อเนื่องจนกว่าน้ำนมจะหยุดไหล จะช่วยให้ทารกมีภูมิคุ้มกันที่ดี
Baby
ทารกเพศหญิง คลอดวันที่ 19 มีนาคม 2565 เวลา 10.13น. คลอดแบบ Cesarean section น้ำหนัก 2510 gm ความยาว 50 cm. Apgar score ที่ 1,5,10 = 9,10,10 no problem at birth
การตรวจร่างกายทารก
ศีรษะ : สมมาตร ไม่มี caput succedaneum ไม่มี cephal hematoma
ใบหน้า : สมมาตร หน้าไม่แบน หางตาไม่ชี้ขึ้น ใบหูบนอยู่ระดับเดียวกับหางตา
ไม่มีปากแหว่งเพดานโหว่
หน้าอก : อกทั้ง 2 ข้างเท่ากัน ไม่มีหายใจลําบากหรือ อกบุ๋ม
ท้อง: สะดือไม่แดง ไม่มีdischage ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีท้องอืด
แขน : ไม่มีการเลื่อนหลุดของข้อไหล่ นิ้วมือครบ 5 นิ้ว
อวัยวะสืบพันธุ์ : มีรูเปิดท่อปัสสาวะและรูทวารหนัก
ขา : ไม่มีการเลื่อนหลุดของข้อสะโพก
หลัง : ไม่มี spina bifida ไม่มี kyphosis ไม่มี scoliosis
Problem list
ด้านมารดา
มีแผลผ่าตัด Low transverse cesarean section มีแผลผ่าตัดแนว บิกินี่ (Transverse Incision)
หัวนมสั้น แตก ทั้ง2ข้าง
พยาธิสภาพ
non-reassuring fetal heart rate
ความผิดปกติของรูปแบบการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ จากการบันทึกด้วย electronic fetal heart rate monitoring (EFM)
ประเมินการได้รับออกซิเจนของทารกในครรภ์ว่าเพียงพอหรือไม่ (the adequacy of fetal oxygenation) หรือภาวะพร่องออกซิเจน (fetal hypoxia) ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดภาวะทุพพลภาพทางสมองและการเสียชีวิตของทารกในครรภ์และหลังคลอดได้ หากรูปแบบการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ปกติมักจะให้ความมั่นใจได้ว่าทารกปลอดภัย (reassuring fetal status) ในขณะที่ทารกที่มีรูปแบบการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติไปจากเกณฑ์ที่ตั้งไว้มีความเป็นไปได้ที่ทารกมีความเสี่ยงมากขึ้น (non-reassuring fetal status) แต่ในกรณีนี้ไม่ได้หมายความว่าทารกจะอยู่ในสภาวะอันตรายหรือเกิดภาวะทารกเครียดในครรภ์ (fetal distress) ทุกราย (หากใช้คำว่า fetal distress จะหมายความถึงทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจนแล้ว) ในปัจจุบันจึงแนะนำให้ใช้คำว่า non-reassuring fetal heart rate pattern แทนคำว่า fetal distress ในกรณีที่รูปแบบการเต้นของหัวใจทารกผิดปกติและแพทย์ไม่มั่นใจในความปลอดภัยของทารกในครรภ์
FHR baseline
Bradycardia: คือ FHR baseline ที่น้อยกว่า 110 ครั้งต่อนาที
Tachycardia: คือ FHR baseline ที่มากกว่า 160 ครั้งต่อนาที
Baseline variability
คือความแปรปรวนขึ้นลง (fluctuations) ของ FHR โดยประเมินจากการนับการเปลี่ยนแปลงขนาดขึ้นลงในแนวดิ่ง (amplitude) ระหว่างจุดสูงสุด (peak) และจุดต่ำสุด (trough) ของ FHR ด้วยตาเปล่า
Absent variability: ไม่พบการขึ้นลงของ FHR (undetectable)
Minimal variability: พบมีการขึ้นลงของ FHR แต่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ครั้งต่อนาที
Moderate variability: พบมีการขึ้นลงของ FHR ตั้งแต่ 6 – 25 ครั้งต่อนาที (ทารกปกติ)
Marked variability: พบมีการขึ้นลงของ FHR มากกว่า 25 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป
Acceleration
คือการเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน (abrupt increase) ของ FHR จาก FHR baseline โดยจุดที่ FHR เริ่มเพิ่มขึ้น (onset) จนถึงจุดสูงสุดของ FHR ใช้เวลาน้อยกว่า 30 วินาที แต่การนับระยะเวลา (duration) ของ acceleration นับจากจุดที่ FHR เริ่มเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่ FHR ลงสู่ baseline
ในทารกอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ acceleration หมายถึง การเพิ่มขึ้นของ FHR อย่างน้อย 10 ครั้งต่อนาที จาก baseline และระยะเวลานานอย่างน้อย 10 วินาที (แต่ไม่เกิน 2 นาที)
FHR baseline change หมายถึง การเพิ่มขึ้นของ FHR ที่มีระยะเวลานานมากกว่าหรือเท่ากับ 10 นาทีขึ้นไป
ในทารกอายุครรภ์ตั้งแต่ 32 สัปดาห์ขึ้นไป acceleration หมายถึง การเพิ่มขึ้นของ FHR อย่างน้อย 15 ครั้งต่อนาที จาก baseline และระยะเวลานานอย่างน้อย 15 วินาที (แต่ไม่เกิน 2 นาที)
Prolonged acceleration หมายถึง การเพิ่มขึ้นของ FHR ที่มีระยะเวลานานมากกว่าหรือเท่ากับ 2 นาที (แต่ไม่เกิน 10 นาที)
Deceleration
Late deceleration
การลดลงของ FHR อย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไปและ กลับคืนสู่ baseline อย่างช้า ๆ สัมพันธ์กับการ หดรัดตัวของมดลูก โดยจุดตั้งต้นของการลดลงของ FHR จุดต่ำสุด และการกลับคืนสู่ baseline จะเกิดช้ากว่า จุดเริ่มต้นของการหดรัดตัวของมดลูกจุดสูงสุดและการคลายตัวของมดลูกกลับคืนสู่ baseline ตามลำดับ
การลดลงของ FHR จะใช้เวลาจากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดต่ำสุดมากกว่าหรือเท่ากับ 30 วินาที
เกิดจากรกเสื่อม(Placental insufficiency)
Variable deceleration
การลดลงของ FHR อย่างฉับพลัน สามารถสังเกตได้ ด้วยตาเปล่า โดย FHR จะลดลงมากกว่าหรือเท่ากับ 15 bpm คงอยู่นานมากกว่าหรือเท่ากับ 15 วินาที และคงอยู่นานไม่เกิน 2 นาที โดยอาจจะสัมพันธ์กับ การหดรัดตัวของมดลูกหรือไม่ก็ได้
การลดลงของ FHR จะใชเ้วลาจากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดต่ำสุดน้อยกว่า 30 วินาที
เกิดจากสายสะดือถูกกดทับ (cord compression)
Early deceleration
การลดลงของ FHR อย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไปและ กลับคืนสู่ baseline อย่างช้า ๆ สัมพันธ์กับการ หดรัดตัวของมดลูก โดยจุดตั้งต้นของการลดลงของ FHR จุดต่ำสุด และการกลับคืนสู่ baseline จะตรง กับจุดเร่ิมต้นของการหดรัดตัวของมดลูก จุดสูงสุด และการคลายตัวของมดลูกกลับคืนสู่ baseline ตามลำดับ
การลดลงของ FHR จะใช้เวลาจากจุดเร่ิมต้นจนถึง จุดต่ำสุดมากกว่าหรือเท่ากับ 30 วินาที
เกิดจากส่วนนำกดทับ
(Head compression)
Prolonged deceleration
คือการลดลงของ FHR อย่างน้อย 15 ครั้งต่อนาที จาก baseline และระยะเวลานานมากกว่าหรือเท่ากับ 2 นาที (แต่ไม่เกิน 10 นาที) หากพบการลดลงของ FHR ที่มีระยะเวลานานมากกว่าหรือเท่ากับ 10 นาทีขึ้นไปจะหมายถึง FHR baseline change
Sinusoidal pattern
การเปลี่ยนแปลงของ baseline FHR เป็นรูป sine wave ลักษณะขึ้นลงคล้ายลูกคลื่นเรียบๆ ไม่มี variability โดยมี ความถี่ 3-5 cycle ต่อนาที และ คงอยู่นานอย่างน้อย 20 นาท
การวินิจฉัย
ควรจำแนกกลุ่มสภาวะสุขภาพทารกในครรภ์ในระยะคลอดว่าอยู่ในสภาวะใด ปกติ ผิดปกติ หรือก้ำกึ่ง กรณีผิดปกติหรือก้ำกึ่งถือว่าเป็น non-reassuring FHR แต่การจะวินิจฉัย fetal distress ควรย้ำเฉพาะกลุ่มผิดปกติ ซึ่งการจำแนกกลุ่มทั้งสาม ให้ถือเกณฑ์ตาม NICHD และ ACOG ซึ่งถือตามการแปลผล FHR ระบบสามลำดับขั้น
Category I
แปลผลว่า FHR tracing ปกติ
เป็นกลุ่ม FHR ปกติ สัมพันธ์กับสภาวะกรดด่างที่ปกติ ซึ่งมีครบทุกลักษณะดังต่อไปนี้
Early decelerations: อาจมีหรือไม่มีก็ได้
Late or variable decelerations: ต้องไม่มี
Baseline FHR variability: moderate
Accelerations: อาจมีหรือไม่มีก็ได้
Baseline rate: 110–160 (bpm)
การดูแล : ให้เฝ้าระวังต่อไป ติดตามและประเมิน FHR
Category III
แปลผลว่า FHR tracing ผิดปกติ
เป็นกลุ่ม FHR ผิดปกติ สัมพันธ์กับสภาวะกรดด่างที่ผิดปกติ ต้องการการแก้ไขโดยรีบด่วน ซึ่งประกอบด้วยลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
Recurrent variable decelerations
เกิดขึ้นเมื่อสายสะดือของทารกถูกกด ในกรณีที่มีน้ำคร่ำ น้อย มีภาวะ nuchal cord , หรือ umbilical vein มีผนังบางทำให้ง่ายต่อการถูกกด ภาวะที่สายสะดือถูกกด เป็นครั้งคราว ทารกสามารถทนต่อภาวะนี้ได้ แต่ถ้าถูกกดบ่อยขึ้นและนานขึ้นอาจกลายเป็น Metabolic acidosis ได้
Bradycardia
FHR น้อยกว่า 110 bpm และ ไม่มี variability อาจทำให้ tissue perfusion ไม่เพียงพอต่อ ทารก สาเหตุเกิดจาก ภาวะ Hypothermia , การได้รับยาบางอย่าง เช่น β adrenergic blocker
Recurrent late decelerations
ลักษณะของFHR tracing ที่มีลักษณะของ Late deceleration มากกว่า 50% ของ Contraction เกิดจาก reflex ของระบบประสาทส่วนกลางที่ตอบสนองต่อภาวะ Hypoxiaและ ภาวะเลือดเป็นกรด
Sinusoidal pattern
รูปแบบการเต้นของหัวใจทารกมีลักษณะแบบมี variability ที่สม่ำเสมอ โดยมี period ประมาณ 3-5 รอบต่อนาที แบบ pattern ซ้ำๆ และมี amplitude 5 -40 bpm ไม่มีลักษณะของ deceleration และ acceleration ที่ตอบสนองต่อการดิ้นของทารก pattern แบบนี้สัมพันธ์กับ Fetal anemia ซึ่งทำให้เกิด fetal hypoxia FHR
การดูแล : ทารกควรได้รับการประเมินทันที อาจพิจารณาให้ออกซิเจน เปลี่ยนท่ามารดา หยุดยาเร่งคลอด แก้ไขภาวะความดันโลหิตต่ำของมารดา ถ้าแก้ไขแล้ว FHR Pattern ไม่ดี ให้ช่วยทำหัตถการสูติ
Category II
แปลผลว่า FHR tracing มีลักษณะ indeterminate
เป็นกลุ่ม FHR ก้ำกึ่ง (intermediate) ทำนายสภาวะกรดด่างได้ไม่ดีนัก ประกอบด้วยลักษณะที่ไม่เข้ากับกลุ่มที่ I และกลุ่มที่ III เช่นมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
Baseline FHR variability
Absent baseline variability ที่ไม่มี recurrent decelerations
Marked baseline variability
Minimal baseline variability
Accelerations
ไม่มี accelerations เมื่อกระตุ้นทารกด้วย digital scalp stimulation หรือ vibroacoustic stimulation
Baseline rate
Tachycardia
Bradycardia not accompanied by absent baseline variability
Periodic or episodic decelerations
Recurrent variable deceleration ที่ยังมี minimal หรือ moderate baseline variability
Prolonged deceleration ที่นานเกิน 2 นาที แต่ไม่ถึง 10 นาที
Recurrent late deceleration ที่มี moderate baseline variability
Variable deceleration ที่มีลักษณะ slow return to baseline,Overshoot หรือ shoulder
การดูแล : ต้องประเมินการตรวจติดตามสุขภาพทารกในครรภ์และควรประเมินซ้ำภายหลังการได้รับการดูแลแก้ไข
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
DAY 2
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 1 : มารดาเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระยะหลังคลอด เนื่องจากมีแผลในโพรงมดลูก
ข้อมูลสนับสนุน
SD : -
OD : 1. ผู้ป่วยมีแผลในโพรงมดลูก
วัตถุประสงค์ : เพื่อป้องกันการติดเชื้อในร่างกาย
เกณฑ์การประเมิน
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ ( T = 36.5 - 37.4 องศาเซลเซียส, PR = 60 - 100 ครั้ง/นาที, RR = 12 - 20 ครั้ง/นาที, BP = 90 -120/60 - 90 mmHg)
แผลผ่าตัดไม่มี Bleed ซึม, ไม่แดง, ไม่ช้ำ, ไม่บวม, ไม่มีhematoma, ขอบแผลชิดกันดีไม่ปริแยก
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอยู่ในเกณฑ์ปกติ ได้แก่WBC = 4.24 - 10.18. 10^3/uL
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง รวมถึงประเมิน pain score โดยเฉพาะอุณหภูมิของร่างกาย หากมีไข้อาจบ่งบอกได้ถึงภาวะติดเชื้อ และควรดูแลเช็ดตัวลดไข้ ถ้าไข้ไม่ลด พิจารณาให้ยาลดไข้ตามแผนการรักษา
2.ประเมินลักษณะของน้ำคาวปลา ไม่ควรเกิน 50 ml/hr และหากพบอาการผิดปกติ เช่น แผลฝีเย็บบวม แดง น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น ควรรายงานแพทย์เพื่อให้การรักษา
ดูแลและแนะนำการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ ทุกครั้งหลังถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ โดยการเช็ดทําความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง ไม่เช็ดย้อนไปมา เพราะจะทำให้นำเชื้อจากทวารหนักเข้าสู่ช่องคลอดทำให้เกิดการติดเชื้อได้
4.แนะนํามารดาให้เปลี่ยนผ้าอนามัยทุกครั้งที่มีนำ้คาวปลาเปียกชุ่ม หรือทุก 3 ชั่วโมง ไม่ควรปล่อยให้น้ำคาวปลาสะสมจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อ ก่อให้เกิดการติดเชื้อได้
5.แนะนําให้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ผักและผลไม้ เนื่องจากอาหารที่มีโปรตีนและวิตามินซีจะช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
6.ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา และสังเกตผลข้างเคียงของยา
7.แนะนำไม่ให้มารดาเปิดแผลและเอามือแกะเกาแผล หรือระวังไม่ให้แผลโดนนำ้
8.จัดสิ่งแวดล้อม เตียงนอน ผ้าปูเตียงและข้างเตียงให้สะอาดตลอดจนจัดให้พักผ่อนในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทดี เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค ช่วยให้ร่างกายสดชื่น
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ WBC
การประเมินผล
แผลผ่าตัดไม่มี Bleed ซึม, ไม่แดง, ไม่ช้ำ, ไม่บวม, ไม่มีhematoma, ขอบแผลชิดกันดีไม่ปริแยก
ไม่มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม
DAY3 V/S BT : 37.1 C, PR 96 bpm, RR 18 bpm, BP 108/73 mmHg, pain score 4 คะแนน
ข้อวินิจทางการพยาบาลข้อที่ 2 : มารดามีภาวะไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลผ่าตัด
ข้อมสนับสนุน
SD: 1. ผู้ป่วยบอกว่าปวดแผลผ่าตัดเมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย
OD : 1. มีแผลผ่าตัดคลอดบริเวณเหนือหัวหน่าว
Pain score 5 คะแนน (21/03/65)
วัตถุประสงค์ : เพื่อบรรเทาอาการปวดแผลผ่าตัด
เกณฑ์การประเมิน
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ ( T = 36.5 - 37.4 องศาเซลเซียส, PR = 60 - 100 ครั้ง/นาที, RR = 12 - 20 ครั้ง/นาที, BP = 90 -120/60 - 90 mmHg)
Pain score = 0 คะแนน
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินอาการปวด โดยการสอบถามและสังเกตสีหน้าท่าทางที่แสดงอาการปวด
2.ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
3.ให้การดูแลมารดาด้วยการสัมผัสบริเวณแผลผ่าตัดด้วยความนุ่มนวล เบามือ ให้การพยาบาลด้วยความเป็นกันเอง และพูดคุยด้วยท่าทีที่เอาใจใส่ คอยให้คำปรึกษากับมารดา รวมถึงค่อยช่วยเหลือมารดาเมื่อมารดาต้องการความช่วยเหลือ
ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ลดการรบกวนต่างๆ
ดูแลให้มารดาได้รับยาบรรเทาความปวดตามแผนการรักษา
6.สอนเทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจต่างๆให้กับมารดา เช่น การสูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ การทำสมาธิ การอ่านหนังสือ การสวดมนต์ การฟังเพลง การดูหนัง การพูดคุยกับผู้อื่น เป็นต้น
การประเมินผล
DAY3 V/S BT : 37.1 C, PR 96 bpm, RR 18 bpm, BP 108/73 mmHg, pain score 4 คะแนน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 3 : มารดาพร่องทักษะการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่
ข้อมสนับสนุน
SD :
OD : 1. มารดา G1P0000
มารดาให้นมบุตรไม่ถูกวิธี
มารดามีหัวนมสั้น
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้มารดามีความรู้ในการเลี้ยงดูบุตรด้วยนำ้นม และมีทักษะในการดูแลบุตรอย่างถูกต้อง
เกณฑ์การประเมิน
มารดามีความรู้เรื่องการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่
Latch score ก่อนจำหน่าย ไม่ตำ่กว่า 8 คะแนน
มารดาหลังคลอดสามารถสาธิตย้อนกลับท่าอุ้มบุตรและการบีบนำ้นมที่ถูกต้อง
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความรู้และทักษะของมารดาต่อการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่
พูดคุยแนะนำถึงประโยชน์ของนมแม่ที่มีต่อบุตรและต่อแม่แนะนำให้เลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวนานอย่างน้อย 6 เดือน เพราะน้ำนมมารดามีประโยชน์ มีคุณค่าทางสารอาหารสูง เหมาะสำหรับเลี้ยงทารก สะอาด ประหยัด และมีภูมิต้านทานโรค
3.เปิดโอกาสให้มารดาได้ซักถามข้อสงสัยต่างๆให้ความสนใจพร้อมที่จะตอบคำถาม ด้วยความเต็มใจอย่างง่ายๆและชัดเจน เพื่อให้มารดาเข้าใจและคลายความกังวล
สอนแนะนำและฝึกปฏิบัติวิธีการให้ทารกดูดนมแม่อย่างถูกวิธี โดยเน้นเทคนิคการจัดท่ามารดา และทารก อย่างถูกต้องเหมาะสม
4.1 สอนให้อุ้มทารกอยู่ในอ้อมแขน ศีรษะหนุนบนข้อศอก แขนและมือประคองลำตัวและบริเวณก้นให้หัวนมเขี่ยที่ปากเพื่อกระตุ้นให้ทารกอ้าปาก ทารกจะหันมาดูดเอง
4.2 เทคนิคการเอานมเข้าเต้า (latch on) และแนะนำวิธีประเมินว่าทารกอมหัวนมและดูดนมได้ถูกต้องหรือไม่ คือ ทารกต้องอมได้ลึกจนแนวเหงือกของทารกอยู่บนลานหัวนมของมารด า ลิ้นวางใต้ลานนมขณะที่ริมฝีปากทั้ง 2 ด้าน คือด้านบนและด้านล่างบานออกอยู่รอบเต้านม การเคลื่อนไหวของขากรรไกร ชัดเจนบริเวณ กกหู แก้มไม่บุ๋มขณะดูดนม
5.สอน แนะนำ และฝึกปฏิบัติวิธีการจัดท่านอนที่ถูกต้องหลังการดูดนม อุ้มทารกเรอแล้ว 15 นาที จัดให้ทารกนอนตะแคงด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสําลักนมและยกศีรษะสูงเล็กน้อย
6.อธิบายและสาธิตให้ความรู้ในเรื่องทักษะการดูแลบุตร ดังนี้ - การเช็ดตา การสระผม การเช็ดตัว - การทําความสะอาดสะดือ - การทำความสะอาดของร่างกายของบุตรหลังการขับถ่าย - การไล่ลมหลังให้นมบุตร - การเช็ดทําความสะอาดหลังการขับถ่าย - การห่อตัวบุตร - การได้รับภูมิคุ้มกัน ในช่วงอายุต่างๆ และการดูแลหลังฉีดวัคซีน
7.คอยดูแลและให้ความช่วยเหลือมารดาในการให้นมบุตรและการดูแ ลบุตรตลอดเวลาที่มีปัญหาโดยการส่งเวรต่อให้พยาบาลแต่ละเวรช่วย กันดูแลอย่างต่อเนื่อง
8.ประเมินความรู้เรื่องการให้นมบุตรหลังคลอดและทวนทักษะการดูแ ลบุตร ได้แก่ การอาบน้ำ เช็ดตา เช็คสะดือบุตร การห่อตัว การอุ้ม การจับเรอ ผ่านการเช็คกิจกรรมการพยาบาลส่วน ประเมินวางแผนก่อนการจําหน่าย
การประเมินผล
มารดามีความรู้เรื่องการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่
Latch score ก่อนจำหน่าย = 9 คะแนน
มารดาสามารถสาธิตย้อนกลับท่าอุ้มบุตรและการบีบนำ้นมที่ถูกต้อง
DAY 3
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล : มารดามีความวิตกกังวลในการดูแลตนเองและบุตร
ข้อมสนับสนุน
SD : 1. มารดาบอกว่าไม่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงดูเด็ก
มารดาบอกว่ายังมีความไม่ถนัดในการอุ้มลูก
วัตถุประสงค์
มารดาไม่มีความวิตกกังวลในการดูแลตนเองและบุตร
มารดาหลังคลอดมีความรู้และมีทักษะ ในการดูแลตนเองและบุตร
เกณฑ์การประเมิน
มารดาหลังคลอดสามารถตอบคำถามเรื่องการดูแลตนเองหลังคลอด และการดูแลบุตรได้ถูกต้อง
มารดามีสีหน้าคลายความวิตกกังวล
กิจกรรมพยาบาล
ให้ความรู้รายบุคคล ในเรื่องการดูแลตนเองหลังคลอด ดังนี้
1.1 การพักผ่อนและการเริ่มทำงาน ควรพักผ่อนให้มากจนกว่าจะรู้สึกแข็งแรง เหมือนก่อนตั้งครรภ์ การนอนพักผ่อนควรนอนตอนกลางวัน ประมาณ 1-2 ครั้ง ถ้าเป็นไปได้ควรนอนเวลาบุตรหลับ ไม่ควรขึ้นบันไดสูงๆ ทำงานบ้านเบาๆได้ แล้วค่อยเพิ่มขึ้นตามลำดับ อย่าหักโหม ไม่ควรยกของหนัก หรือ ทำงานที่ต้องออกแรง หลังจาก 6 สัปดาห์ จึงจะทํางานได้ตามปกติ
1.2. การรับประทานอาหาร รับประทานอาหารที่มีคุณค่า มีประโยชน์ตามความต้องการของร่างกาย อาหารที่ควรรับประทาน เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นมสด ผักทุกชนิด ผลไม้ ดื่มน้ำให้เพียงพอ อาหารเหล่านี้นอกจากจะช่วยให้สุขภาพของมารดาแข็งแรงสมบูรณ์ คุณภาพของน้ำนมดีแล้ว ยังจะช่วยในการขับถ่าย อาหารที่ควรงด ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มารดาไม่ควรรับประทานยาดอง เหล้า อาหารหมักดอง น้ำชา กาแฟ เพราะสามารถผ่านทางน้ำนม และไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
1.3. ออกกำลังกายหลังคลอด อย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังคลอด เช่น
1.3.1 ฝึกการหายใจ (Breathing Exercise) เพื่อส่งเสริมการทํางานของปอดให้มี ประสิทธิภาพ
1.3.2 ฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic Floor Muscle Exercise) เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อพื้นเชิงกรานกล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอด เอ็นยึดมดลูกแข็งแรงและกระชับขึ้น
1.3.3 ฝึกการพักผ่อนที่สมบูรณ์ ในระยะหลังคลอด (Relaxation Exercise) คือ การนอนคว่ำ ใช้หมอนรองบริเวณหน้าท้อง เพื่อช่วยให้น้ำคาวปลาไหลสะดวก
1.4. การทำความสะอาดของร่างกาย อาบน้ำวันละ 2 ครั้ง ไม่ควรแช่ในอ่างจะทำให้เชื้อโรค เข้าสู่ช่องคลอดได้ สามารถสระผมได้ตามปกติ บริเวณอวัยวะสืบพันธ์ภายนอก ควรทำความสะอาดด้วยสบู่ และน้ำสะอาด และล้างทุกครั้งหลังถ่ายปัสสาวะ ,อุจจาระ เช็ดให้แห้ง ถ้ายังมีน้ำคาวปลาอยู่ หมั่นเปลี่ยน ผ้าอนามัยบ่อย ๆ ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกให้เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 4 ชั่วโมง หรือเปลี่ยนก่อนเมื่อเปียกชุ่ม
1.5. การวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิดหลังคลอด เลือกวิธีคุมกำเนิดซึ่งมีหลายวิธีให้เลือกใช้ เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ใช้ถุงยางอนามัย โดยเน้นการคุมกำเนิดแบบ กึ่งถาวร เช่น การคุมกำเนิดโดยการใส่ห่วงอนามัย หรือ การฝังยาคุมกำเนิด ตามความเหมาะสม
1.6.แนะนําอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนครบกำหนดนัดตรวจหลังคลอด ได้แก่ ไข้สูงติดต่อกันสองวัน ปวดแผลฝีเย็บมาก นั่งหรือเดินไม่ได้ ปัสสาวะแสบขัด น้ำคาวปลาที่เคยออกมาเป็นสีจาง แล้วกลับออกมาเป็นเลือดสีเข้มมากขึ้น ปริมาณเลือดออกมากขึ้น และมีกลิ่นเหม็น เป็นต้น
1.7.นัดตรวจหลังคลอด ประมาณไม่เกิน 42 วันสัปดาห์หลังคลอด
2.อธิบายและสาธิต และให้ความรู้ในเรื่องทักษะการดูแลบุตร ดังนี้
การเช็ดตา การสระผม การเช็ดตัว
การทําความสะอาดสะดือ
การทําความสะอาดของร่างกายของบุตรหลังการขับถ่าย
การไล่ลมหลังให้นมบุตร
การเช็ดทําความสะอาดหลังการขับถ่าย
การดูแลผิวหนัง
การห่อตัวบุตร
การให้ทารกได้รับอากาศบริสุทธิ์
การได้รับภูมิคุ้มกัน ในช่วงอายุต่างๆ และการดูแลหลังฉีดวัคซีน
ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลตนเองและส่งเสริมทักษะการดูแลบุตร
ประเมินความรู้เรื่องการดูแลตนเองหลังคลอดและทวนทักษะการดูแลบุตร ได้แก่ การอาบนำ้ เช็ดตา เช็ดสะดือบุตร การห่อตัว การอุ้ม การจับเธอ ผ่านการเช็คกิจกรรมการพยาบาลส่วน ประเมินวางการ ก่อนจําหน่าย
การประเมินผล
มารดามีความวิตกกังวลลดลง ในการดูแลตนเองและบุตร
มารดาหลังสามารถตอบคำถามเรื่องการดูแลตนเองหลังคลอด และการดูแลบุตรได้ถูกต้อง
การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย ( D-method )
T(Treatment)
การให้ความรู้และฝึกทักษะท่ีจำเป็นในการดูแลทารก เช่นทักษะในการอุ้มลูกดูดนมที่ถูกวิธีและมีความรู้ในการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนการวัดไข้การเช็ดตัวลดไข้ การเช็ดตา เช็ดสะดือทารก รวมถึงการเฝ้าสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ เช่น อาการท้องเสีย การสำลักการดูแลหลังให้นม
สังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ เช่น มีไข้สูง น้ำคาวปลามีสีแดงสดหรือมีกลิ่นเหม็น แผลผ่าตัดที่หน้าท้องบวม แดง ให้มาพบแพทย์
รู้ปัญหาการรักษาและมีทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติตามแผนการรักษา สามารถเฝ้าระวังการสังเกตอาการของตนเอง
ให้บริหารอุ้งเชิงกรานและท้องส่วนล่างตามแผนการพยาบาลวันละครั้ง หรือตามความต้องการ
ดื่มน้ำมากๆวันละ 2,500-3,000 มิลลิลิตร และสังเกตการปัสสาวะ เช่น มีแสบขัด ปัสสาวะออกน้อย/ไม่ออก
ดูแลการรักษาทำความสะอาดแผลฝีเย็บด้วยสบู่ ซับให้แห้ง และเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3 ชั่วโมง
H (Health)
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ตามคำแนะนำและเข้าใจการติดตามรักษาอย่างต่อเนื่องเมื่อกลับไปอยู่บ้านได้อย่างถูกต้อง โดยให้คำแนะนำมารดาให้พักผ่อนประมาณ 1-2 ชั่วโมงอาจใช้เวลา ให้ตรงกับช่วงที่บุตรนอนหลับ และเมื่อสภาพร่างกายไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ สามารถทำงานได้ปกติตอน 4-6 สัปดาห์หลังคลอด ให้มารดารักษาความสะอาดร่างกายมารดาควรอาบน้ำ วันละ 2 ครั้ง สะผมได้ตามปกติ และไม่ควรแช่น้ำในอ่างเพราะอาจทำให้ติดเชื้อทางช่องคลอด การทำความสะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาด โดยล้างทุกครั้งหลังขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระควรล้างจากหัวหน่าวไปทวานหนัก ไม่ควรล้างย้อนไปมา จากนั้นซับให้แห้ง ถ้ามีน้ำคาวปลาอยู่หมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัยเมื่อชุ่มทุกครั้ง หรือไม่ควรใส่นานเกิน 4 ชั่วโมง สังเกตสี กลิ่น ของน้ำคาวปลา และควรงดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย6-8 สัปดาห์หรือภายหลังจากการหายของแผล และมดลูกจากการตรวจหลังคลอด 6 สัปดาห์
E (Environment)
การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสม กับภาวะสุขภาพของทารก โดยเฉพาะการป้องกัน การติดเชื้อ การระวังรักษาความอบอุ่นของร่างกายทารก
จัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นระเบียบไม่เกะกะขัดขวางการเดินเพื่อทำกิจวัตรประจำวัน ซึ่ง มารดายังเดินได้ไม่สะดวก ไม่มีแสงและเสียงรบกวน เปิดประตู หน้าต่าง เพื่อให้พักผ่อนได้ จัดบริเวณบ้านให้ปลอดภัย ระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ มีการกำจัดขยะที่ถูกวิธี
การป้องกันการติดเชื้อของทารก
ล้างมือ ก่อนสัมผัสทารกทุกครั้ง ผู้ดูแลใส่แมสป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจสู่ทารก อาบน้ำทารกวันละ 1 ครั้งและห่อตัวทารกทุกครั้งหลังจากอาบน้ำให้ทารก เพื่อให้ความอบอุ่นและป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำในร่างกายทารก
การทำงาน ในระยะ 2 สัปดาห์แรกหลังคลอดสามารถทำงานบ้านเบาๆ ได้ไม่ควรยกของหนักหรือทำงานที่ต้องออกแรงมาก เพราะกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆยังไม่แข็งแรงซึ่งอาจทำให้มดลูกหย่อนภายหลังได้ หลังคลอด 2 สัปดาห์ไปแล้วค่อยๆทำงานเพิ่มขึ้นทีละน้อยจนครบ 6 สัปดาห์จึงทำงานได้ตามปกติ
การมีเพศสัมพันธ์
เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการติดเชื้อในโพรงมดลูก ควรงดมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด ถ้าหากเลี่ยงไม่ได้ ควรสวม ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ทั้งยังเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ได้อีกด้วย
ควรรับการตรวจร่างกาย ช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อตรวจดูการคืนสภาพของปากมดลูกและอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน และหาความผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นเพื่อป้องกัน และแก้ไขแต่ต้น เช่น มะเร็งปากมดลูก พร้อมให้คําแนะนําการปฏิบัติตนด้านต่างๆ เช่น การคุมกําเนิด เป็นต้น
การคุมกำเนิด
ภายหลังคลอด ควรเว้นการมีบุตรอย่างน้อย 2 ปี เพื่อมีเวลา ดูแลบุตรอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งให้ร่างกายและอวัยวะภายในมีช่วงเวลาในการฟื้นฟู อย่างสมบูรณ์เต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด ควรมีการ คุมกําเนิดอย่างเหมาะสม ซึ่งมีหลายวิธีทั้งแบบชั่วคราวและถาวรให้เลือกสําหรับ ผู้ชายและผู้หญิง
แบบชั่วคราวสำหรับผู้หญิง
แบบชั่วคราวสําหรับผู้หญิงได้แก่การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด วิธีนี้ผู้ที่ให้ลูกกินนมแม่ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพราะยาคุมบางชนิด อาจทําให้มีน้ำนม น้อยลง การกินยาคุมกําเนิดให้ได้ผลต้องกินเป็นประจําและตรงเวลา แต่สําหรับผู้ที่ ไม่สะดวกในการใช้ยาคุมแบบกิน การฉีดยาคุมกําเนิดก็นับว่ามีความสะดวกเพราะ ฉีดเพียงครั้งเดียวสามารถคุมได้ถึง 3 เดือน และไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะลืมกินยา สําหรับผู้ที่ต้องการคุมแบบชั่วคราวแต่มีระยะเวลานาน อาจใช้วิธีคุมโดยการใส่ ห่วงอนามัยที่สามารถคุมได้นาน 3-5 ปี หรือจะใช้การฝังยาคุมกําเนิดก็ได้ ซึ่ง สามารถคุมได้นานถึง 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของห่วงอนามัยและ ยาฝังคุมกําเนิด
สําหรับผู้ชาย
การคุมกําเนิดด้วยการสวมถุงยางอนามัย เป็น วิธีที่สะดวก นอกจากจะคุมกําเนิดแล้ว ยังช่วยป้องกันการแพร่ เชื้อโรคไปยังผู้หญิง และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆ เช่น เอดส์ได้ด้วย
สําหรับผู้ที่มีบุตรเพียงพอแล้ว การทําหมัน เป็นวิธีคุมกําเนิดแบบถาวรที่เหมาะสม โดย สามารถเลือกทําได้ในผู้ชายหรือผู้หญิง
O (Outpatient referral)
มารดาและทารกควรมาพบแพทย์ตามนัด ในวันที่ 1 เมษายม 2565 เพื่อ
ติดตามดูแผลผ่าตัด นัดมาตัดไหม และวันที่ 12 พฤษภาคม 2565 เพื่อติดตามอาการหลังคลอดและประเมินภาวะผิดปกติ หากมีอาการผิดปกติจะได้รักษาได้ทัน ซึ่งอาการหลังคลอดที่ควรมาพบแพทย์ เช่นน้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น น้ำคาวปลาไหลนานเกิน 14 วัน มีอาการปวดท้องน้อยในระยะ 1 สัปดาห์หลังคลอด ปอดบวมบริเวณขาและน่อง อาการปวดบวมของเต้านม แผลผ่าตัดมีหนอง มีน้ำเหลืองไหลซึม ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อยปริมาณน้อย
M (Medication)
ให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ได้รับกลับบ้าน
1.Paracetamol (500) 1 tap po prn q 6 hr for fever/pain #21
ยาบรรเทาอาการปวดและมีไข้ ให้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ห่างกันทุก 6 ชั่วโมง ควรรับประทานยาเมื่อมีอาการเท่านั้น ถึงแม้ว่าพาราเซตามอลจะไม่ใช่ยาอันตราย แต่การใช้ยาพาราเกินขนาดก็ทำให้เกิดพิษต่อร่างกายได้ โดยเฉพาะกับตับ ซึ่งจะทำให้ตับเกิดการบาดเจ็บหรืออักเสบได้
2.Nataral 1x1 po pc #1 กระปุก
ยาบำรุงประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับสตรีมีครรภ์ ก่อน -หลัง คลอดและระหว่างให้นมบุตร ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง การขาดแคลเซียมและแร่ธาตุอื่นๆสำหรับตั้งครรภ์ รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
3.FF (200) 1x2 po pc #60
ยาสำหรับป้องกันและรักษาผู้ป่วยภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก หรือเป็น Iron supplement ในหญิงตั้งครรภ์รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้งหลังอาหารเช้า กลางวัน
ยานี้ทานแล้วอุจจาระเป็นสีดำ หรืออาจเกิดอาการท้องผูก หรือท้องว่าง
4.Ibuprofen (400) 1x3 po pc #20
ยาฤทธิ์ต้านการอักเสบแรงกว่ายาพาราเซตามอล และสามารถบรรเทาอาการปวดประจำเดือนแทนพอนสแตนได้/ Ibuprofen เป็นยาที่กัดกระเพาะอาหารจนเป็นแผล จึงต้องรับประทานยาทันทีหลังมื้ออาหาร แล้วดื่มน้ำหรือนมตามมากๆ เพื่อลดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น
D (Diet)
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่ทานหวานเกินไป ไม่ทานรสจัดเกินไป อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง คืออาหารรสจัดกลิ่นฉุน เช่น ยำที่มีรสจัด เพราะอาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ง่าย อาหารหมักดอง กาแฟ ชา น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ เพราะสามารถผ่านทางน้ำนมได้
อาหารช่วยเพิ่มน้ำนม ได้แก่ ผักผลไม้ที่เพิ่มน้ำนม เช่น หัวปลี ขิง ใบกระเพรา ใบแมงลัก มะละกอ ตำลึง ฟักทอง
เมนูอาหารที่ควรรับประทาน เช่น แกงเลียง น้ำขิง แกงจืดใบตำลึง ไก่ผัดขิง เป็นต้น
D (Diagnosis)
การปฏิบัติตัวหลังกลับบ้าน : ดูแลไม่ให้แผลผ่าตัดเปียกน้ำ เพราะอาจติดเชื้อ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ส่งเริมการไหลเวียนน้ำนม การเลือกเสื้อในที่พอดีไม่คับหรือหลวมจนเกินไป กระตุ้นทารกดูดนมทุก 2-3 ชม. ดูดสลับข้างดูดเกลี้ยงเต้า นาน 15 นาที ถ้าหัวนมแตกให้เอาน้ำนมมาทาบริเวณหัวนม แต่ถ้าแตกมากควรงดข้างที่มีปัญหาก่อน งดการมีเพศสัมพันธ์ 6 สัปดาห์หรือจนกว่าจะพบแพทย์อีกครั้ง เพราะนะทำให้เสี่ยงติดเชื้อในโพรงมดลูก
Labor recordsวันที่19/3/65
เวลา 1.30 น. I 5’ D 30” Int ++ PV 4 cm.Eff 100% sta -1 OL FHS 140 MI
เวลา 2.30 น. I 3’ D 30” Int ++ PV 4 cm.Eff 100% sta -1 OL FHS 142 MI
เวลา 3.30 น. I 2’45” D 30” Int ++ PV 6 cm.Eff 100% sta 0 OL FHS 138 MI
เวลา 4.30 น. I 3’ D 30” Int ++ PV 6 cm.Eff 100% sta 0 OL FHS 150 MI
เวลา 5.30 น. I 3’ D 30” Int ++ PV 8 cm.Eff 100% sta 0 OL FHS 124 MI
เวลา 7.30 น. I 2’45” D 30” Int ++ PV 9 cm.Eff 100% sta-1 OL FHS 130 MR
เวลา 9.30 น. I 2’15” D 35” Int ++ same OL FHS 142 MA
เวลา 9.35 น. FHS 90-120 bpm ให้ load IV 500 ml, On O2 canula 5 L
เวลา 9.40 น. Fully dilation FHS 70-90 bpm MA มี order ให้ set c/s due to non reassuring FHR
นศพต.สาธินี แจ่มใส เลขที่ 63