Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
PROM with Mild preeclampsia with Unfavorable Cervix นศพต สุภมาศ สิทธิจู…
PROM with Mild preeclampsia with Unfavorable Cervix
นศพต สุภมาศ สิทธิจู เลขที่ 70 ปี 3
การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (D-method )
D (Diet)
O(Outpatient referral )
H(Health )
T(Treatment )
E(Environment )
M(Medication)
D(Diagnosis )
การคุมกำเนิดแนะนำ แบบฝัง แบบฝัง มีแบบคุมได้ 3 ปี ถึง 5 ปี และไม่มีผลต่อน้ำนมคุมได้นานถึง 3 ปี สามารถฝั่งได้ตอนหลัง 6 สัปดาห์ หลังคลอด ถ้าต้องการมีบุตรสามารถให้เอาออกได้ เพื่อป้องกันการลืมทานหรือฉีดยาคุมกำเนิด
อาหาร
อาหารของหญิงหลังคลอดที่ให้นมบุตร จำเป็นต้องได้รับพลังงานเพิ่มขึ้น 500 กิโลแคลอรี่ และโปรตีนเพิ่มขึ้น 20 กรัม จึงแนะนำให้ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และเน้นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ นม ไข่ ผัก และผลไม้เพิ่มขึ้นมาก ๆ เพราะร่างกายมีความต้องการสารอาหารมากกว่าธรรมดา งดเครื่องดื่มและแอลกอฮอล์ แนะนำการดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณ 2,000 มล./วัน
ยกตัวอย่างเช่น มารดาชอบทาน ข้าวกระเพราหมูกรอบ อาจจะให้เพิ่มเป็น ไข่ดาว หรือ ไข่เจียวร่วมด้วย เพื่อให้ได้โปรตีนเพิ่ม อาจจะเสริมด้วย ดื่มนมก่อนนอน1แก้ว
การดูแลความสะอาดและการดูแลแผล
การรักษาความสะอาดร่างกาย ควรตัดเล็บให้สั้น และมารดาควรอาบน้ำ วันละ 2 ครั้ง สระผมได้ตามปกติ ทำความสะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาด โดยล้างทุกครั้งหลังขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ ล้างจากด้านหัวหน่าวไปทางทวารหนัก ไม่ล้างย้อนขึ้นมา ซับให้แห้งเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3-4 ชั่วโมง ถ้าหากเต็มแผ่นแล้ว ควรเปลี่ยนได้เลย ควรดูแลไม่ให้แผลผ่าตัดเปียกน้ำเนื่องจากอาจทำให้มีการติดเชื้อได้ และหากพบอาการผิดปกติควรมาพบแพทย์
แนะนำการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา 6 เดือน เนื่องจาก น้ำนมมารดามีสารอาหารที่ครบถ้วนที่สุด ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารก
การดูแลภาวะคัดตึงเต้านม
1.การประคบร้อน เพื่อให้เส้นเลือดขยายการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองดีขึ้น โดยใช้ผ้าประคบใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นจัด บิดให้หมาดประคบเต้านมประมาณ 5 – 10 นาที ประคบด้วยถุงถั่วเขียว ถุงข้าวเหนียวร้อน โดยใช้ข้าวเหนียวที่นึ่งร้อน ห่อผ้าขาวบางแล้วนำมาประคบเต้านมเป็นจุดๆจุดละประมาณ 1 นาที จนรอบเต้านมประมาณ 3 – 5 รอบแล้วค่อยสลับไปทำอีกข้างหนึ่ง
2.กระตุ้นให้ทารกดูดนมอย่างถูกวิธี ดูดบ่อยๆทุก
2 – 3 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนมให้มาเร็วขึ้น
การมีเพศสัมพันธ์
ควรงดในระยะหลังคลอดอย่างน้อย 6 สัปดาห์ เพราะปากมดลูกยังปิดไม่สนิทอาจเสี่ยงติดเชื้อได้
เมื่อกลับบ้านมารดา ควร social distancing กับบุคคลในบ้านเพื่อป้องกัน โควิด -19 โดย สวมแมส เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ ขณะให้นมลูกควรใส่แมส และ ตรวจ ATK อีกครั้งเมื่อครบ1อาทิตย์
ผู้ป่วยได้รับยากลับบ้าน
Paracetamol (500) 1 TAB รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง เวลาปวดหรือมีไข้
สรรพคุณ : แก้ปวดลดไข้
Natural TAB รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
สรรพคุณ : ยาบำรุงประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่จำเป็นกับหญิงตั้งครรภ์ ก่อน หลัง คลอด และระหว่างให้นมบุตร
Ibuprofen (400) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด 3 ครั้ง หลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น
สรรพคุณ : ลดปวด
Air-x รับประทานครั้งละ1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น
สรรพคุณ : บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อันเนื่องมาจากมีแก๊สหรือลมที่เกิดในกระเพาะอาหารหรือลำไส้
จัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม ในกรณีที่คุณแม่มีความจำเป็นต้องขึ้นบันไดสามารถค่อยๆเดินขึ้นลงบันไดโดยใช้ความระมัดระวัง หรือให้คุณพ่อช่วยประคองไว้จัดห้องนอนให้เรียบร้อยจัดของเครื่องใช้ให้อยู่ตำแหน่งที่หยิบได้ง่ายเป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การที่บ้านไม่มีฝุ่น จะช่วยให้ไม่เกิดภูมิแพ้อากาศ ควรเปิดหน้าต่างบ้าน เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
ช่วยลดแบคทีเรียที่สะสมอยู่ลดจำนวนลง
อาการหลังคลอดที่ควรมาพบแพทย์ทันที
-มีเลือดออกมาทางช่องคลอดจนชุ่มผ้าอนามัย 1 ผืนภายใน 1 ชั่วโมง
-น้ำคาวปลามีสีแดงสดนานเกิน 4 วัน นำคาวปลามีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
-มีก้อนเลือดขนาดใหญ่ออกทางช่องคลอด
-ปวดท้องน้อย หรือปวดรำคาญในระยะ 1 สัปดาห์หลังคลอด
-ปวดบวมบริเวณขาและน่อง
-อาการปวด บวมของเต้านม
-อาการบวมแดงของแผลผ่าตัด เป็นหนอง มีน้ำเหลืองไหลซึม
-ปัสสาวะแล้วแสบหรือรู้สึกขัด ปัสสาวะบ่อยแต่ปริมาณน้อยลง และสีเข้มจัด
-มีอาการซึมเศร้าเกิน 2-3 วัน และมีอารมณ์โกรธร่วมด้วยหลังคลอด
1.การพักผ่อนและการทำงาน การพักผ่อนมีความสำคัญสำหรับมารดาหลังคลอดที่ให้นมบุตร ดังนั้นมารดาควรนอนหลับพักผ่อน ในเวลากลางคืนประมาณ 6 - 8 ชั่วโมง ส่วนตอนกลางวันควรนอนพักผ่อนประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง อาจใช้เวลา ให้ตรงกับช่วงที่บุตรนอนหลับ รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนการนอนหลับ เช่น เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
การทำงานหรือการออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป และความเครียด เป็นต้น ในระยะ 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด อาจ ทำงานบ้านเบาๆ ไม่หักโหมเกินไป และเมื่อสภาพร่างกายไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ สามารถทำงานได้ตามปกติ ตั้งแต่ 4 - 6 สัปดาห์หลังคลอด หรือภายหลังได้รับการตรวจร่างกายหลังคลอด 6 สัปดาห์
ความสะอาดร่างกาย มารดาควรอาบน้ำ วันละ 2 ครั้ง สระผมได้ตามปกติ และไม่ควรแช่ในอ่างป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ทางช่องคลอด มารดาควรทำความสะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาด โดยล้างทุกครั้งหลังขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ ควรล้างจาก หัวหน่าวไปยังทวารหนัก ไม่ควรล้างย้อนไปมา จากนั้นจึงซับให้แห้ง ถ้ายังมีน้ำคาวปลาอยู่หมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัยเมื่อชุ่มทุกครั้ง หรือไม่ควรใส่นานเกิน 4 ชั่วโมง และควรทิ้งผ้าอนามัยในที่ที่เหมาะสมทุกครั้ง และสังเกตสี กลิ่น ลักษณะของน้ำคาวปลา
การมีเพศสัมพันธ์ ระยะหลังคลอดไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 สัปดาห์ เนื่องจากหลังคลอดแผลภายใน โพรงมดลูกยังไม่หายดี เสี่ยงต่อการติดเชื้อภายในโพรงมดลูกมากขึ้น ดังนั้น เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น จึงควรงดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 6 - 8 สัปดาห์หลังคลอด หรือภายหลังได้รับการประเมินสภาพการหายของแผล ฝีเย็บและมดลูกจากการตรวจหลังคลอด 6 สัปดาห์
4.การวางแผนครอบครัว ระยะหลังคลอดควรมีการคุมกำเนิด โดยการคุมกำเนิดมี
แบบทาน ต้องทานทุกวันสม่ำเสมอ เมื่อหยุดทานสามารถตั้งครรภ์ได้ แนะนำให้ทานยาคุมชนิดแบบ Hormone เดี่ยว ที่มี Progesterone ขนาดน้อย เพราะยาจะไม่ผ่านทางน้ำนมจะไม่มีผลต่อน้ำนม อาจจะคุมร่วมกับถุงยางอนามัย
แบบฉีด มีแบบ 1 เดือน กับ 3 เดือน จะไม่มีผลต่อน้ำนม สามารถฉีดได้เมื่อมาตรวจ 6 สัปดาห์
หลังคลอด
แบบฝัง มีแบบคุมได้ 3 ปี ถึง 5 ปี และไม่มีผลต่อน้ำนมคุมได้นานถึง 3 ปี สามารถฝั่งได้ตอนหลัง 6 สัปดาห์ หลังคลอด ถ้าต้องการมีบุตรสามารถให้เอาออกได้
โดยการคุมกำเนิดที่แนะนำคือ
ยาคุมแบบฝัง
เพื่อเว้นระยะห่างของการมีบุตร โดยปรึกษาสามี เกี่ยวกับจำนวนบุตรที่ต้องการ หรือปรึกษาบุคลากรสุขภาพ
นัดให้มาตรวจหลังคลอดอีกครั้งในอีก 12 Week นัดไว้ เพื่อติดตามอาการหลังคลอดและประเมินภาวะผิดปกติ หากมีอาการผิดปกติ จะได้รักษาได้ทันท่วงที ซึ่งอาการหลังคลอดที่ควรมาพบแพทย์ทันที คือ มีอาการปวดบวมของเต้านม ปวกท้องน้อยมาก แผลผ่าตัดบวมแดง เป็นหนอง มีเลือดซึม น้ำคาวปลาไหลนานเกิน 14 วัน ปัสสาวะแสบขัด คุณแม่ไม่ควรจะละเลย เนื่องจากการตรวจสุขภาพ หลังคลอดนั้นมีความจำเป็นและมีประโยชน์อย่างมากและสามารถทำความสะอาดแผลจากการผ่าคลอดได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
อาหารที่ควรรับประทาน : เน้นการทานโปรตีนเพิ่มขึ้น เช่น ไข่ไก่ อกไก่ เต้าหู เพื่อให้ร่างกายมารดาได้ฟื้นฟูได้ดีขึ้น
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง : อาหารที่มีรสจัดและกลิ่นฉุน เช่น ยำรสจัด หัวหอม เพราะอาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ง่าย
อาหารหมักดอง กาแฟ ชา น้ำอัดลม แอลกอฮออล์ เพราะสามารถผ่านทางน้ำนมได้
หากแม่ดื่ม เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน ควรเลี่ยงการให้นม/ปั๊มนม ในสองชั่วโมงหลังดื่ม เพราะลูกอาจได้รับกาเฟอีนจากการดื่มน้ำนมแม่
อาหารที่ผ่านการปรุงด้วยผงชูรส ซุปก้อน ผงปรุงรส สี และสารปรุงแต่งต่างๆ เช่น กุนเชียง ลูกชิ้น ไส้กรอก
อาหารช่วยเพิ่มน้ำนม ได้แก่ ผักผลไม้ที่เพิ่มน้ำนม เช่น หัวปลี ขิง ใบกระเพรา ฟักทอง กุ่ยช่าย ใบแมงลัก มะละกอ ตำลึง ฟักทอง เป็นต้น และ เมนูอาหาร ที่ควรได้รับประทาน เช่น แกงเลียง น้ำขิง
ไก่ผัดขิง แกงจืดตำลึงหมูสับ ซุปไก่ตุ๋นมันฝรั่ง เป็นต้น
พยาธิสภาพ
Mild preeclampsia
นิยาม
ภาวะความดัน โลหิตสูง (Hypertention) ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก หมายถึง ภาวะที่มีความดันsystolic 140 mmHg.ขึ้นไปหรือสูงกว่าเดิม
30 mmHg. และความดันdiastolic 90 mmHg.ขึ้นไปหรือสูงกว่าเดิม 15 mmHg. จากการวัดความดันโลหิตอย่างน้อย 2 ครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
Gestational hypertension หมายถึง ภาวะความดัน โลหิตสูงที่วินิจฉัยเป็นครั้งแรกในระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่พบโปรตีนในปัสสาวะ ความดัน โลหิตกลับสู่ระดับปกติภายใน12 สัปดาห์หลังคลอด
Chronic hypertension หมายถึง การที่หญิงตั้งครรภ์เป็นความดัน โลหิตสูงเรื้อรังมาก่อนการตั้งครรภ์
Superimposed pre-eclampsia on chronic hypertention เดิมเรียกว่า Pregnancy aggravated hypertension (PAF) หมายถึง ภาวะหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอยู่ก่อนตั้งครรภ์ และมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อตั้งครรภ์
Pre-eclampsia หมายถึง การที่ตรวจพบความดัน โลหิตสูงครั้งแรกในขณะตั้งครรภ์หลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ร่วมกับมีโปรตีนอยู่ในปัสสาวะ มีอาการบวมร่วมด้วย
Eclampsia หมายถึง ภาวะความดันโลหิตสูงชนิดที่มี โปรตีนในปัสสาวะ (Pre cclampsia) และมีภาวะ
ชักร่วมด้วย หาสาเหตุการชักไม่ได้ ทั้งนี้การชักไม่ได้เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ลมบ้าหมูหรือโรคทางสมอง
ความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง
(Severe pre-eclampsia) โดยอาศัยอาการ
อาการแสดง และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ภาวะความดันโลหิตสูงชนิด
ที่มีโปรตีนในปัสสาวะชนิดไม่รุนแรง
(Mild pre-cclampsia)
หญิงตั้งครรภ์ชาวไทย มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ Preeclampsia without severe features
ปัจจัยเสี่ยง
ครอบครัวมีประวัติของ preeclampsia
ยายของผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
ภาวะอ้วน
น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ 82 kg ส่วนสูง 161 cm
BMI 31.63 kg/m^2 น้ำหนักปัจจุบัน 99.8 BMI 38.50 kg/m^2 น้ำหนักที่ขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ 17.8 Kg
การตั้งครรภ์แฝด
เคยเป็น preeclampsiaในครรภ์ก่อน
ผลการคลอดไม่ดีในการตั้งครรภ์ก่อน เช่น ทารกโตช้าในครรภ์ รกลอกตัวก่อนกำหนด หรือทารกตายในครรภ์
มีโรคที่เป็นก่อนการตั้งครรภ์ ซึ่งมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคไต โรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (type |-insulin dependent) ภาวะthormbophilias (antiphospholipid antibody syndrome) เป็นต้น
เป็นโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรังมาก่อน
สตรีอายุมาก
การตั้งครรภ์จากการใส่เชื้อสุจิ oocyte หรือ เอ็มบริโอจากการบริจาค (donation)
อาการและอาการแสดง
ความดันโลหิตสูงขั้นวิกฤตคือ ความดันโลหิต systolic มากกว่าหรือเท่ากับ 160 mmHg. หรือค่าความดันโลหิตdiastolic มากกว่าหรือเท่ากับ 110 mmHg.
ผู้ป่วยมีความดันโลหิตแรกรับ 130/100 mmHg. วัดซ้ำอีกครั้ง 132/72 mmHg.
น้ำท่วมปวด (pulmonary edema)
Eclampsia คือ มีอาการชักทั้งตัว (generalized tonic clonic seizure) หรือผู้ป่วยที่หมดสติโดยอธิบายสาเหตุไม่ได้
เลือดออกในสมอง ( cerebral hemorrage )
ตาบอดจากพยาธิสภาพของ preeclampsia
ในสมอง (cortical blindness)
ทารกในครรภ์มีภาวะเจริญเติบโตช้า
(intrauterine growth restriction)
อาการทางระบบประสาท ปวดศีรษะอย่างรุนแรง สายตาพร่ามัว มีจุดบอดในลานสายตา (scotomata) ซึมลง หมดสติ
ไม่มีอาการปวดศีรษะตาพร่ามัว
อาการจุกแน่นลิ้นปี่ หรือปวดใต้ชายโครงขวา
(epigastric or right upper quadrant pain)
ไม่มีอาการปวดแน่นลิ้นปี่และไม่มีอาการปวดใต้ชายโครงขวา
การวินิจฉัย
1.การซักประวัติ
2.การตรวจร่างกาย
ชั่งน้ำหนัก เฝ้าระวังในรายที่มีน้ำหนัก เพิ่มขึ้นมากกว่า 1 กิโลกรัม/สัปดาห์
วัดความดันโลหิตหลังพักอย่างน้อย 10 นาที
ประเมินระดับ grading reflexes
ประเมินอาการบวม edema
ประเมินอาการบวมกดบุ๋ม pitting edema
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Hb & Hct
Hb = 12.4 %
Hct = 37.6 %
Serum creatinine & serum albumin
BUN = 5.1 mg/dL
Cr = 0.39 mg/dL
Uric acid
Uric acid = 3.7 mg/dL
Platelet count
Platelet count = 286000/uL
Lactic dehydrogenase
LDH = 215 U/L
Serum transaminase ( AST & ALT )
AST = 13 U/L
ALT = 9 U/L
Proteinuria
PTT = 26.9
PT = 11.8
INR = 1.00
UPCR = 0.51
การรักษา
1.ควรรับไว้ในโรงพยาบาล
2.ซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด
ติดตามสังเกตอาการและอาการแสดงทุกวัน
เจาะเลือดส่งตรวจ CBC กับ Platelet count, peripheral blood smear เพื่อหา red blood cells morphology, serum BUN, Creatinine, uric acid, LDH, AST, ALT, Totalและdirect bilirubin
3.ให้นอนพัก bed rest
4.วัดความดันโลหิตทุก 4 ชั่วโมง
5.เก็บตรวจโปรตีนในปัสสาวะตลอด 24 ชั่วโมง ควรตรวจอย่างน้อย 3 วัน
6.ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อประเมินหรือหรือยืนยันอายุครรภ์ แยกโรคmolar/partial molar pregnancyและfetal hydrops
7.กรณีอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ และมี preterm labor พิจารณาให้ glucocortoid
เพื่อกระตุ้น fetal lung maturity
8.ให้รับประทานอาหารธรรมดา บันทึกintake และ output
กรณีผลตรวจอยู่ในเกณฑ์ปกติ
แพทย์อาจพิจารณาให้กลับบ้านได้ ให้ความรู้เกี่ยวกับอาการผิดปกติ นัดตรวจ 1 - 2 สัปดาห์ตามความรุนแรงของโรค เจาะเลือดตรวจทุก 2 สัปดาห์ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ทุก 2 - 4 สัปดาห์ตามความรุนแรงของโรค ประเมินภาวะสุขภาพทารกในครรภ์ด้วย NST หากผลเป็น non reassuring fetal testing ให้ยืนยันด้วยbiophysical proflie (BPP)
กรณีพิจารณาให้ยุติการตั้งครรภ์
โรคมีการเปลี่ยนแปลงเป็น severe preclampsia
มีnon reassuring fetal testing ที่ยืนยันด้วย BPP
อายุครรภ์ตั้งแต่ 34 สัปดาห์ร่วมกับเจ็บครรภ์มีน้ำเดิน
มี non reassuring fetal testing หรือ severe IUGR
อายุครรภ์ 37 - 40 สัปดาห์ ให้พิจารณายุติการเมื่อปากมดลูกมีความพร้อม (Bishop score มากกว่าหรือเท่ากับ 6) หากปากมดลูกไม่พร้อมให้เตรียมปากมดลูก แล้วกระตุ้นเมื่อเจ็บครรภ์คลอด เมื่อปากมดลูกพร้อม หรือพิจารณาผ่าตัดคลอดตามข้อบ่งชี้
หญิงตั้งครรภ์ชาวไทย GA 39+3 wks ปากมดลูกไม่พร้อมสำหรับชักนำการคลอด (Unfavorable cervix) ไม่มีอากาสสำเร็จในการชักนำการคลอด
Premature of Rupture Membrance
นิยาม PROM
หมายถึง การแตกรั่วของถุงน้ำคร่ำก่อนที่จะมีการเจ็บครรภ์คลอดโดยไม่จำกัดเวลาหรืออายุครรภ์
1.ภาวะถุงน้ำคร่ำรั่วก่อนกำหนดในระยะที่อายุครรภ์ครบกำหนด (Term PROM) อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ขึ้นไป
หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 39+3 wks
5 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาลด้วยอาการ มีน้ำใสๆไหลออกจากช่องคลอด
2 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการเจ็บครรภ์เป็นพักๆ มีน้ำใสไหลออกจากทางช่องคลอดตลอดเวลา
2.ภาวะถุงน้ำคร่ำรั่วก่อนกำหนดที่อายุครรภ์ไม่ครบกำหนด (Preterm PROM) อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์
3.ภาวะถุงน้ำคร่ำรั่วนานกว่า 24 ชั่วโมง (Prolong PROM)
ภาวะแทรกซ้อน
ต่อมารดา
1.การติดเชื้อ
2.ถุงน้ำคร่ำอักเสบ (chorioamnionitis)
3.ติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis)
ต่อทารก
1.ติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis)
2.Fetal deformation syndromes
3.ภาวะการขาดออกซิเจน (asphyxia)
4.ภาวะหายใจลำบากของทารก (respiratory distress syndrome)
5.เลือดออกในเนื้อสมอง (intracranial hemorrhage)
6.ภาวะสมองพิการ(cerebral palsy)
อาการและอาการแสดง
อาการส่วนใหญ่สตรีตั้งครรภ์จะรู้สึกมีน้ำใสๆหรือน้ำสีเหลืองจางๆไหลออกทางช่องคลอดทันทีจนเปียกผ้าที่นุ่ง โดยไม่มีอาการเจ็บครรภ์ หรือก่อนที่จะมีอาการเจ็บครรภ์แต่บางรายอาจจะมีน้ำไหลซึมเล็กน้อยแต่ตลอดเวลา หรือไหลแล้วหยุดไป
5 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาลด้วยอาการ มีน้ำใสๆไหลออกจากช่องคลอด
2 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการเจ็บครรภ์เป็นพักๆ มีน้ำใสไหลออกจากทางช่องคลอดตลอดเวลา
การวินิจฉัย
1.ซักประวัติเพื่อให้ทราบว่าผู้ป่วยมีอาการน้ำไหลออกจากช่องคลอดก่อนเข้าสู่ระยะคลอดหรือไม่
ลักษณะ สี กลิ่น และปริมาณสิ่งที่ไหลออกมาเพื่อวินิจฉัยแยกจากน้ำปัสสาวะ น้ำในช่องคลอด
( vaginal discharge) หรือ มูกจากปากมดลูก (mucus plug)
วัน เวลาถุงน้ำคร่ำแตก เพื่อประเมินระยะเวลาและโอกาสที่จะติดเชื้อ
ดูอายุครรภ์เพื่อประเมินความสมบูรณ์ของปอดทารกและโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น
2.ตรวจร่างกาย : จากการดู โดยการให้ผู้ป่วยออกแรงไอ cough test จะพบว่ามีน้ำไหลออกจากทางมดลูก
จากการคลำ โดยจะใช้นิ้วคลำบริเวณปากมดลูกทำในรายที่ปากมดลูกเปิดหมดแล้ว แต่ไม่นิยม เนื่องจากจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น
ประเมินสาเหตุของการมีน้ำเดินก่อนกำหนด ควรทำการเพาะเชื้อจากทวารหนักและช่องคลอด, การเก็บปัสสาวะส่งตรวจและเพาะเชื้อ, การเจาะเลือด CBC และ สาเหตุทางมารดา ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไข้ และ การติดเชื้อเป็นต้น
ประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ด้วยการฟังการเต้นของหัวในทารกร่วมกับการหดรัดตัวของมดลูก
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
Fern test : เป็นการทดสอบโดยการนำน้ำในช่องคลอดป้ายบนแผ่นสไลด์ จากนั้นทิ้งไว้ให้แห้ง ส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ให้ผลบวก
Nitrazine paper test : เป็นการทดสอบความเป็นกรดด่าง
แพทย์ใส่speculum ทำ cough test ผล positive และ nitrazine test ผล positive pH = 8
Nile blue test เป็นการดูเซลล์ไขมันของทารกในครรภ์ โดยนำน้ำในช่องคลอด 1 หยด ผสมกับ 0.1%nile blue sulfate 1 หยด
ใส่ลงบนสไลด์ ปิดด้วย cover slip ลนไฟเล็กน้อยเพื่อให้ติดสี
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
การรักษา
1.ในกรณีที่ติดเชื้อแล้ว : จะมีการเพาะเชื้อจากโพรงมดลูกและ
เลือดก่อนให้antibiotic
2.ในกรณีไม่มีการติดเชื้อ
GA < 37wks
ให้ยายับยั้งการคลอด
ให้antibiotic
ให้ยา steroid
Amnioninfusion
ให้วิตามินซีและวิตามินอี
GA 37 wks ขึ้นไป
Induction ให้คลอด หรือ c/s
แพทย์ให้การคลอด แบบ c/s Forceps Extraction
ให้antibiotic
หากแพทย์ตรวจพบว่ามีภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดซึ่งเป็นภาวะครรภ์เสี่ยง แพทย์จะให้คุณแม่ตั้งครรภ์ admit จนกว่าจะคลอด ซึ่งแนวทางการดูแลรักษาจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งเรื่องอายุครรภ์ การติดเชื้อของผู้ป่วย อาการเจ็บครรภ์ การเปิดของปากมดลูก โดยพิจารณาปัจจัยเหล่านี้แล้วกำหนดแนวทางการรักษา
Problem list
ด้านมารดา
Teenage pregnancy
Mild preeclampsia
Obesity
น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ 82 kg ส่วนสูง 161 cm BMI 31.63 kg/m^2 (obesity grade I) น้ำหนักปัจจุบัน 99.8 BMI 38.50 kg/m^2 (obesity grade II)
น้ำหนักที่ขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ 17.8 Kg
มีแผลที่โพรงมดลูก
วันที่ 21/03/2565 เวลา 6.10 น. ความดันโลหิต 152/97 mmHg.
ผมของมารดามีลักษณะมัน และมารดามีขี้ไคลบริเวณใต้ราวนม
มารดาใส่ผ้าอนามัยที่ชุ่มน้ำคาวปลาเป็นเวลานาน
มารดาบอกว่าไม่ชอบออกกำลังกาย
มารดาบอกว่าจะใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบทานยาคุมกำเนิดแบบเดิม
เล็บของมารดายาว
มารดาครรภ์แรก
ทารกดูดนมได้ไม่ถึงลานนม
มารดาให้นมบุตรไม่ถูกวิธี ท่าอุ้มไม่ถูกต้อง
ผู้ป่วยมี bleeding ซึมที่แผลผ่าตัดหน้าท้อง
มารดามีสีหน้าที่วิตกกังวล และร้องไห้
ด้านทารก
ตัวเหลือง
การตรวจร่างกาย
วันที่ 21/03/65
1.ศีรษะ : ผมแห้ง บาง มีรังแค ผมร่วงเล็กน้อย
2.ใบหน้า : ไม่มีอาการบวม สีหน้าปกติ
3.ตา : เยื่อบุตาสีชมพูแดง ไม่ซีด
4.จมูก : ไม่มีอาการบวมของเยื่อบุในจมูก
5.ปาก : ปากแห้งเล็กน้อย ไม่มีฟันผุ เหงือกไม่บวม
6.คอ : ต่อมน้ำเหลืองไม่โต ต่อม thyroid ไม่โต กดไม่เจ็บ
7.ทรวงอกและปอด : ทรวงอกสมมาตร อกไม่บุ๋ม ขณะหายใจไม่เหนื่อยหอบ เสียงหายใจปกติ
8.เต้านมและหัวนม : เต้านมมีอาการคัดตึง ลานนมนิ่ม
หัวนมไม่บอด ไม่บุ๋ม หัวนมมีสีคล้ำ ไม่แตกแยก ไม่มีแผล
9.หน้าท้อง : มีแผลผ่าตัดคลอดบุตร ความยาวประมาณ 5 นิ้ว
10.ผิวหนัง : ไม่มีอาการบวม
11.แขนขา : ขยับเคลื่อนไหวปกติ
ประเมินน้ำคาวปลา
Day 2 : น้ำคาวปลามีสีแดงสด ประมาณ 20 ml
เปลี่ยน pad 2-3 ผืนต่อวัน
Day 3 : น้ำคาวปลามีสีแดงจาง ประมาณ 10 ml
เปลี่ยน pad 1-2 ผืนต่อวัน
Day 4 : ไม่มีน้ำคาวปลา
การประเมินมารดาหลังคลอด
ตามหลัก 13B
1.Blackground
ข้อมูลส่วนตัว
มารดาหลังคลอด G1P0000 GA 39+3 wks by date เตียง 18 มภร 15/2 อายุ 15 ปี ศาสนาพุทธ การศึกษา ประถมศึกษาปีที่ 6 ที่อยู่อาศัย บ้านเดี่ยวแบบ 2 ชั้น น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ 82 kg ส่วนสูง 161 cm BMI 31.63 kg/m^2 น้ำหนักปัจจุบัน 99.8 BMI 38.50 kg/m^2
น้ำหนักที่ขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ 17.8 Kg
อาการสำคัญ
น้ำใสไหลออกจากช่องคลอด 5 ชั่วโมง
ก่อนมาโรงพยาบาล (12.00 น. 19/03/65)
ประวัติการเจ็บป่วย
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน : G1P0000 GA 39+3 wks by date
:star: 5 hr PTA มีน้ำใสไหลออกจากช่องคลอด ไม่มีเจ็บครรภ์ ลูกดิ้นดี ไม่มีไข้ ไม่มีไอเจ็บคอเสมหะ ไม่มีท้องเสียถ่ายเหลวปัสสาวะไม่มีแสบขัด ไม่มีปวดหัว ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่
:star: 2 hr PTA มีเจ็บครรภ์เป็นพักๆ และมีน้ำใสๆไหลออกจากช่องคลอดตลอดเวลา ไม่มีปวดหัวตาพร่ามัว ไม่มีจุกแน่นลิ้นปี่ ไม่มีไข้ จึงมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต :
ปฎิเสธการแพ้ยา แพ้อาหาร
ปฎิเสธการใช้สารเสพติดและแอลกอฮอล์
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว ยายเป็น DM,HT,ไต
ประวัติการตั้งครรภ์
G1P0-0-0-0 GA 39+3 wks. by date
C/S Forceps Extraction due to preeclampsia with unfavorable cervix term newborn female น้ำหนัก 3,040 g เวลา 22.15 น. apgar score 9,10,10 แข็งแรงดี ที่ รพ.ตำรวจ no complication
ประวัติการฝากครรภ์
LMP 16 มิถุนายน 2565 x 7 วัน, ฝากครรภ์ครั้งแรกที่ ศูนย์บริการสาธารณะสุข 41 คลองเตย เมื่อ GA 15+5 wks. by date ทำ u/s ที่ GA 28 wk by u/s EDC by u/s ได้วันที่ 23 มีนาคม 2565 รวมทั้งสิ้นฝากครรภ์ที่ศูนย์บริการสาธารณะสุข 41 คลองเตย จำนวน 4 ครั้ง จากนั้นมาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลตำรวจ เมื่อ GA 29 wks. by date รวมทั้งสิ้นฝากครรภ์ทั้งหมด 10 ครั้ง,
ได้รับวัคซีน T.Toxoid 2 เข็ม
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
จาก ANC
: VDRL = non-reactive, HBsAg = negative, HIV Ab = negative, MCV = 83, Hb E Screening (DCIP) = negative, Thalassemia screening = negative, Indirect antiglobulin Test/Ab Screening = negative Covid-19 = not detected
Hct = 37.6% Hb = 12.4 g/dL
2.Body Condition
Day 2 : รู้สึกตัวดี ไม่มีไข้ รับประทานอาหารได้เอง
มีอาการอ่อนเพลีย เยื่อบุตาและเล็บไม่ซีด
ปวดแผลผ่าตัด ps = 2 สามารถลุกจากเตียงได้ด้วยตนเอง ขับถ่ายปกติ ไม่มีแสบขัด ไม่มีท้องผูก
Day 3 : รู้สึกตัวดี รับประทานอาหารได้เอง อ่อนเพลียเล็กน้อย เยื่อบุตาและเล็บไม่ซีด ปวดแผลผ่าตัดเวลาขยับ ps = 1 สามารถลุกออกจากเตียง ได้ด้วยตนเอง ขับถ่ายปกติ ไม่มีแสบขัด ไม่มีท้องผูก
Day 4 : รู้สึกตัวดี รับประทานอาหารได้เอง
อ่อนเพลียเล็กน้อย เยื่อบุตาและเล็บไม่ซีด ปวดแผล
ผ่าตัด ps = 0 ลุกออกจากเตียงได้ด้วยตนเอง
ขับถ่ายปกติ ไม่มีแสบขัด ไม่มีท้องผูก
3.Body temperature
and Blood pressure
Day 2 : T= 36.0, PR= 106, RR= 18, BP 124/68,PS= 2
Day 3 : T= 36.6, PR= 87, RR= 18, BP 133/74,PS= 1
Day 4 : T= 37, PR = 103, RR 18, BP = 128/73, PS = 0
4.Breast and lactation
Day 2 : เริ่มมีอาการคัดตึงเต้านม คลำไม่พบก้อน หัวนมไม่แตกแยกเป็นแผล หัวนมไม่สั้น
ไม่บอด ไม่บุ๋ม คลำไม่พบต่อมน้ำเหลือง
บริเวณรักแร้ น้ำนมไหลระดับ 2
:star:ให้คำแนะนำในการกระตุ้นให้ลูกดูดนม
Day 3 : มีอาการคัดตึงเต้านม เต้านมแข็ง ลานนมนิ่ม หัวนมไม่แตกแยกเป็นแผล หัวนมไม่สั้น ไม่บอด ไม่บุ๋ม คลำไม่พบต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ น้ำนมไหลระดับ 3
:star:ให้คำแนะนำเทคนิคการบีบน้ำนม ท่าอุ้มลูก
เข้าเต้าที่เหมาะสม การประคบอุ่นเต้านม
Day 4 : มีอาการคัดตึงเต้านม เต้านมแข็ง ลานนมนิ่ม
หัวนมไม่แตกแยกเป็นแผล หัวนมไม่สั้น ไม่บอด ไม่บุ๋ม
คลำไม่พบต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ น้ำนมไหลระดับ 4
:star: ให้คำแนะนำเทคนิคการบีบน้ำนม ท่าอุ้มลูก
การเข้าเต้าที่เหมาะสม การประคบอุ่นเต้านม
5.Belly and uterus
Day 2 : มดลูกหดรัดตัวดี
Day 3 : มดลูกหดรัดตัวดี
Day 4 : มดลูกหดรัดตัวดี
6.Bladder
ปัสสาวะวันละ 3-4 ครั้ง ปัสสาวะสีเหลือง ไม่มีตะกอน ไม่มีอาการแสบขัด
7.Bleeding and lochia
Day 2 : น้ำคาวปลามีสีแดงสด ประมาณ 20 ml Day 3 : น้ำคาวปลามีสีแดงจาง ประมาณ 10 ml
Day 4 : ไม่มีน้ำคาวปลา
8.Bottom
อวัยวะสืบพันธ์ุภายนอก ไม่มีการบวม ไม่มีการคั่งของก้อนเลือดและเส้นเลือดดำขอดพอง
9.Bowel movement
Day 2 : ไม่ขับถ่ายอุจจาระ
Day 3 : ขับถ่ายอุจจาระ 1 ครั้ง
Day 4 : ขับถ่ายอุจจาระวันละ 2 ครั้ง
10.Blues
Day 2 : มารดาพยายามปรับตัวเข้าหาทารก
สนใจความต้องการของตนเป็นส่วนใหญ่
Day 3 : มารดาปรับตัวเข้ากับทารกได้
สนใจทารกมากขึ้น อุ้มทารกบ่อย
Day 4 : มารดาสนใจทารกมากขึ้น
อุ้มทารก และให้นมทารกบ่อยมากขึ้น
11.Bonding and attachment
มารดามีปฏิสัมพันธ์กับทารกดี สัมผัสทารก
มากอด พูด ประสานสายตา อุ้มให้นมทารก
12.Baby
ศีรษะไม่มี caput succedaneum ผิวหนังแดงชมพู ทรวงอกสมมาตร ไม่มี spinal Bifida หน้าอกไม่บุ๋ม
มีอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก ตอบสนองต่อการกระตุ้น
13.Belief model
มารดาจะไม่อยู่ไฟ แต่จะซื้อยาจากร้านขายยามากิน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มารดาเสี่ยงได้รับอันตรายจากภาวะความดันโลหิตสูง
ข้อมูลสนับสนุน :
OD :
21/03/2565 เวลา 6.10 น.ความดันโลหิต 152/97 mmHg.
วัตถุประสงค์ : เพื่อป้องกันมารดาได้รับอันตรายจากภาวะความดันโลหิตสูง
เกณฑ์การประเมินผล : มารดาความดันโลหิตลดลง
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการสู่ภาวะชัก ได้แก่ อาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด อาการปวด บริเวณใต้ลิ้นปี่หรืออาการเจ็บชายโครงขวา
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ เพื่อให้ผู้ป่วย
ดูแลให้นอนพักในท่านอนตะแคงซ้าย ทำกิจกรรมต่างๆ บนเตียงเท่านั้น
ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ CBC, UPCR, BUN, Cr, AST, ALT, PP, PTT, INR, LDH, urine
acid เพื่อประเมินความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อน
การประเมินผล
วันที่ 21/03/2565 เวลา 9.30 น. ความดันโลหิต 125/80 mmHg.
มารดามีโอกาสติดเชื้อหลังคลอดเนื่องจากมีแผลผ่าตัดที่หน้าท้องและในโพรงมดลูก
ข้อมูลสนับสนุน
SD : -
OD :
1.ผู้ป่วยมีแผลผ่าตัดที่หน้าท้องความยาวประมาณ 5 นิ้ว
2.ผู้ป่วยมี bleeding ซึมที่แผลผ่าตัดหน้าท้อง
3.ผู้ป่วยมีแผลที่โพรงมดลูก
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดในโพรงมดลูก
เกณฑ์การประเมินผล
1.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ความดันโลหิต 90/60 - 140-90 มิลลิเมตรปรอท ชีพจร 60-100 ครั้งต่อนาทีอุณหภูมิ36.5 - 37.5 องศาเซลเซียส อัตราการหายใจ 16-20 ครั้งต่อนาที
2.แผลผ่าตัด ไม่มีbleed ซึมที่แผลไม่แดง,ช้ำ,ไม่มีhematoma
3.ไม่มีอาการแสดงของการติดเชื้อหลังคลอด เช่น มีไข้ ปวดบริเวณแผลผ่าตัดมาก แผลมี หนอง มีสารคัดหลั่ง (Discharge) ซึม น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น
กิจกรรมพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพและบันทึกทุก 4 ชั่วโมง เพื่อติดตามอาการของภาวะติดเชื้อหลัง คลอด โดยเฉพาะอุณหภูมิร่างกาย หากผิดปกติควรรีบรายงานแพทย์
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะติดเชื้อหลังคลอด เช่น มีไข้ ปวดบริเวณแผล ผ่าตัดมาก แผลมีหนองมีdischargeซึม น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น
ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันภาวะติดเชื้อหลังคลอด
3.1ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์อย่างถูกวิธี ล้างจากข้างหน้าไปข้างหลัง ไม่เช็ด ย้อนไปมา - เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3 - 4 ชั่วโมง หรือเมื่อผ้าอนามัยเปียกชุ่ม เพื่อลดสิ่งหมักหมม และขจัดน้ำคาวปลา
3.2 หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ หนาวสั่น ปวดแผลผ่าตัดมาก น้ำคาวปลามีกลิ่น เหม็นควรแจ้งพยาบาลให้ทราบทันที
3.3 แนะนำมารดาให้ดูแลแผลผ่าตัดไม่ให้แผลถูกน้ำ ไม่ใช้มือจับ แกะ เกาแผลและ สังเกตสิ่งคัดหลั่งที่ออกมาจากแผลเพราะทำให้แผลมีโอกาสติดเชื้อ อักเสบหรือหายช้าได้
การประเมินผล
1.สัญญาณชีพปกติ T= 37.3 องศาเซลเซียส
P= 112 ครั้ง/นาที RR= 18 ครั้ง/นาที BP = 125/80 mmHg.O2 = 97 % Pain Score = 0 คะแนน
2.แผลไม่บวม ไม่มี bleed ซึม ขอบแผลเกยกัน
มารดาขาดทักษะในการให้นมบุตรและดูแลบุตร
ข้อมูลสนับสนุน
SD :
1.มารดาให้ข้อมูลว่า “ไม่รู้วิธีการดูแลบุตรที่ถูกต้อง”
OD :
1.มารดาครรภ์แรก
2.มารดาให้นมบุตรไม่ถูกวิธี ท่าอุ้มไม่ถูกต้อง
3.ทารกดูดนมได้ไม่ถึงลานนม
วัตถุประสงค์
เพื่อให้มารดาหลังคลอดมีความรู้ในการเลี้ยงบุตร
ด้วยน้ำนม และมีทักษะในการดูแลบุตรได้ถูกต้อง
เกณฑ์การประเมินผล
1.มารดาหลังคลอดสามารถตอบคําทวนกลับเรื่องการดูแลบุตรได้ถูกต้อง
2.ประเมินความรู้การดูแลบุตรและส่งเสริมสุขภาพทารกผ่านเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ80
3.มารดามีความรู้เรื่องการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่
4.Latch scoreก่อนจําหน่าย ไม่ต่ำกว่า 8 คะแนน
5.มารดาหลังคลอดสามารถ สาธิตย้อนกลับการบีบน้ํานมที่ถูกต้อง
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความรู้และทักษะของมารดาต่อการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่
2.พูดคุยแนะนำถึงประโยชน์ของนมแม่ที่มีต่อบุตรและต่อแม่ แนะนำให้เลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวนานอย่างน้อย 6 เดือน เพราะน้ำนมมารดามีประโยชน์ มีคุณค่าทาง
สารอาหารสูง เหมาะสำหรับเลี้ยงทารก สะอาด ประหยัด และมีภูมิต้านทานโรค
3.เปิดโอกาสให้มารดาได้ซักถามข้อสงสัยต่างๆ ให้ความสนใจพร้อมที่จะตอบคำถาม
ด้วยความเต็มใจอย่างง่ายๆ และชัดเจนเพื่อให้มารดาเข้าใจและคลายความกังวล
4.สอนแนะนำและฝึกปฏิบัติวิธีการให้ทารกดูดนมแม่อย่างถูกวิธี โดยเน้นเทคนิคการจัดท่ามารดา และทารก อย่างถูกต้องเหมาะสม
4.1 สอนให้อุ้มทารกอยู่ในอ้อมแขน ศีรษะหนุนบนข้อศอก แขนและมือประคองลำตัวและบริเวณก้น ให้หัวนมเขี่ยที่ปากเพื่อกระตุ้น ให้ทารกอ้าปาก ทารกจะหันมาดูดเอง
4.2 เทคนิคการเอานมเข้าเต้า (latch on) และแนะนำวิธีประเมินว่าทารกอมหัวนมและดูดนมได้ถูกต้องหรือไม่ คือ ทารกต้องอมได้ลึกจนแนวเหงือกของทารกอยู่บนลานหัวนมของมารดา ลิ้นวางใต้ลานนมขณะที่ริมฝีปากทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านบนและด้านล่างบานออกอยู่รอบเต้านม การเคลื่อนไหวของขากรรไกร ชัดเจนบริเวณ กกหู แก้มไม่บุ๋มขณะดูดนม เพื่อช่วยมารดาให้มีทักษะและมั่นใจในการให้นมแม่ได้อย่างถูกต้อง ในบรรยากาศที่สงบและไม่รีบร้อน
5.สอนแนะนำและฝึกปฏิบัติวิธีการจัดท่านอนที่ถูกต้องหลังการดูดนม อุ้มทารกเรอแล้ว
15 นาที ให้ทารกนอนตะแคงด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันสำลักนมและยกศีรษะสูงเล็กน้อย
6.อธิบายและสาธิตให้ความรู้ในเรื่องทักษะการดูแลบุตร ดังนี้
การเช็ดตา การสระผม การเช็ดตัว, การทําความสะอาดสะดือ, การทําความสะอาดของร่างกายของบุตรหลังการขับถ่าย, การไล่ลมหลังให้นมบุตร, การเช็ดทําความสะอาดหลังการขับถ่าย, การดูแลผิวหนัง, การห่อตัวบุตร, การให้ทารกได้รับอากาศบริสุทธิ์, การได้รับภูมิคุ้มกัน ในช่วงอายุต่างๆ และการดูแลหลังฉีดวัคซีน
7.คอยดูแลและให้ความช่วยเหลือมารดาในการให้นมบุตรและการดูแลบุตรตลอดเวลาที่มีปัญหาโดยการส่งเวรต่อให้พยาบาลแต่ละเวรช่วยกันดูแลอย่างต่อเนื่อง
8.ประเมินความรู้เรื่องการให้นมบุตรหลังคลอดและทวนทักษะการดูแลบุตร ได้แก่
การอาบน้ํา เช็ด ตา เช็ค สะดือบุตร การห่อตัว การอุ้ม การจับเรอ
ผ่านการเช็คกิจกรรมการพยาบาลส่วนประเมินวางแผนก่อนการจำหน่าย
การประเมินผล
1.ประเมินความรู้การดูแลบุตรหลังคลอดได้ ร้อยละ 90 ผ่านเกณฑ์ 2.ทวนทักษะและปฏิบัติทักษะการดูแลบุตรได้ถูกต้อง
มารดามีความรู้เรื่องการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่
4.มารดาให้บุตรดูดนมได้ถูกวิธี Latch score 10 คะแนน
มารดาหลังคลอดได้ สาธิตย้อนกลับการบีบน้ํานมที่ถูกต้อง
มารดามีความวิตกกังวลเนื่องจากการเจ็บป่วยของบุตร
ข้อมูลสนับสนุน
SD :
1.มารดาให้ข้อมูลว่า รู้สึกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของลูก
OD :
1.มารดามีสีหน้าที่วิตกกังวล และร้องไห้
2.ทารกตัวเหลือง
วัตถุประสงค์
เพื่อลดความวิตกกังวลของมารดาและ
ส่งเสริมความรู้มารดาในการดูแลทารก
เกณฑ์การประเมินผล
1.มารดาเข้าใจเกี่ยวกับตัวเหลืองที่ทารกเป็น
2.มารดามีความวิตกกังวลลดลง
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความวิตกกังวลของมารดา ได้แก่ วิตกกังวลเกี่ยวกับตัวเหลือ
ที่มารดาเป็นกังวลว่าบุตรต้องอยู่โรงพยาบาลเป็นเวลานานหรือกังวลว่าจะไม่หายจากโรคที่เป็น เป็นต้น และประเมินระดับความวิตกกังวล
2.สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับมารดาและเปิดโอกาสให้มารดาได้ซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคและการรักษา
3.ประเมินความรู้ของผู้ปกครองเกี่ยวกับโรคจากนั้นจึงอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุของภาวะตัวเหลือง
4.ให้ข้อมูลและเหตุผลของการดูแลรักษา เพื่อให้มารดาเกิดความเข้าใจมั่นใจ และให้ความร้วมมือในการรักษามากยิ่งขึ้น
รับฟังความรู้สึก และความไม่สบายใจของมารดาเพื่อผ่อนคลายความกังวล และคอยให้กำลังใจมารดาอยู่เสมอ
การประเมินผล
1.มารดาเข้าใจโรคและให้ความร่วมมือ
2.มารดามีสีหน้าคลายความวิตกกังวล
มารดาขาดความตระหนักในการดูแลตนเองหลังคลอด
ข้อมูลสนับสนุน
SD : มารดาบอกว่าไม่ชอบออกกำลังกาย
OD:
มารดาใส่ผ้าอนามัยที่ชุ่มน้ำคาวปลาเป็นเวลานาน
ผมของมารดามีลักษณะมัน และบริเวณใต้ราวนมมีขี้ไคล
เล็บของคนไข้ยาว
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้มารดามีความตระหนักเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เพื่อให้มีการดูแลสุขภาพตนเองได้เหมาะสม
เกณฑ์การประเมินผล
มารดาเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก4 - 6 ชั่วโมง หรือเมื่อผ้าอนามัยเต็มแผ่น
2.มารดาอาบน้ำเช็ดน้ำสะอาด ไม่มีขี้ไคล
3.มารดาเล็บสั้น
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความรู้ความสนใจของผู้ป่วยต่อการดูแลสุขภาพของตนเอง
2.สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพที่ถูกต้อง สะอาด เหมาะสม โดยบอกถึงประโยชน์ของการดูแลตนเองหลังคลอด
3.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจและต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
4.แนะนำมารดาในเรื่องการปฏิบัติตัวหลังคลอด ดังนี้
4.1 การพักผ่อนและการเริ่มทางาน ควรพักผ่อนให้มากจนกว่าจะรู้สึกแข็งแรง เหมือนก่อนตั้งครรภ์ การนอนพักผ่อนควรนอนตอนกลางวัน ประมาณ 1-2 ครั้ง ถ้าเป็นไปได้ควรนอนเวลาบุตรหลับ ไม่ควรขึ้นบันไดสูงๆ ทำงานบ้านเบาๆได้ แล้วค่อยเพิ่มขึ้นตามลาดับอย่าหักโหม ไม่ควรยกของหนัก หรือทางานที่ต้องออกแรง หลังจาก 6 สัปดาห์ จึงจะทางานได้ตามปกติ
4.2 การรับประทานอาหาร รับประทานอาหารที่มีคุณค่า มีประโยชน์ตามความต้องการของร่างกาย อาหารที่ควรรับประทาน เช่นเนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นมสด ผักทุกชนิดผลไม้ ดื่มน้าให้เพียงพอ อาหารเหล่านี้ นอกจากจะช่วยให้สุขภาพของมารดาแข็งแรงสมบูรณ์ คุณภาพของน้ำนมดีแล้วยังจะช่วยในการขับถ่าย อาหาร ที่ควรงดได้แก่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มารดาไม่ควรรับประทานยาดองเหล้า เพราะสามารถผ่านทางน้านมให้ งดอาหารหมักดอง น้ำชา กาแฟและไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
4.3 การบริหารร่างกาย ควรบริหารร่างกายท่า ที่ 1-6 ต่อไปนี้ อย่างน้อยจนถึง 6 สัปดาห์หลังคลอด
ฝึกการหายใจ (Breathing Exercise )เพื่อส่งเสริมการทางานของปอดให้มีประสิทธิภาพ
ฝึกบริหารกล้ามเนื้อขาและข้อเท้า (Leg Exercise)เพื่อให้การไหลเวียน ของโลหิตสะดวกช่วยให้ กล้ามเนื้อขาแข็งแรง การทรงตัวดี
ฝึกการบริหารส่วนบนของลาตัว (Upper TrunkExercise)เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อ ของหลังเอ็นและข้อต่อของกระดูกสันหลัง ได้เคลื่อนไหว หายปวดเมื่อย
ฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic FloorMuscle Exercise )เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อพื้นเชิงกรานกล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอด เอ็นยึดมดลูกแข็งแรงและกระชับขึ้น
การฝึกบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง (AbdominalMuscle Exercise )เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องแข็งแรงกระชับตัว
ฝึกการพักผ่อนที่สมบูรณ์ ในระยะหลังคลอด(Relaxation Exercise ) คือการนอนคว่ำ ใช้หมอนรองบริเวณหน้าท้อง เพื่อช่วยให้น้ำคาวปลาไหลสะดวก
4.4 การทำความสะอาดของร่างกาย การรักษาความสะอาด ของร่างกายเสมอ อาบน้ำวันละ 2 ครั้งไม่ควรแช่ในอ่าง หรือแม่น้ำลำคลอง จะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ช่องคลอดได้ สามารถสระผมได้ตามปกติบริเวณอวัยวะ สืบพันธ์ภายนอก ควรทำความสะอาดด้วยสบู่และน้าสะอาด และล้างทุกครั้งหลังถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ เช็ดให้แห้งถ้ายังมีน้าคาวปลาอยู่ หมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก ให้เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 4 ชั่วโมง หรือเปลี่ยนก่อนเมื่อเปียกชุ่ม
4.5 การวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิดหลังคลอด โดยปรึกษาสามีเกี่ยวกับจานวนบุตรที่ต้องการ การคุมกำเนิดหลังคลอด โดยปรึกษาสามีเกี่ยวกับจานวนบุตรที่ต้องการการคุมกำเนิดมีหลายวิธีให้เลือกใช้
เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด การใส่ห่วงอนามัย ใช้ถุงยางอนามัย ตามความเหมาะสมของคู่สามีภรรยา ถ้ามี บุตรเพียงพอแล้วควรทาหมันเพื่อคุมกาเนิดแบบถาวร
4.6 การมีเพศสัมพันธ์ แผลฝีเย็บควรหายและน้ำคาวปลาควรหมด ประมาณปลายสัปดาห์ที่ 3 สามารถ ตรวจสอบได้โดย สอดนิ้วมือที่ล้างสะอาด เข้าเพียงหนึ่งนิ้วก้อย ก่อนสอดมือเข้าไปควรหล่อลื่น ถ้าไมเจ็บให้ สอดเข้าไปสองนิ้ว ถ้าไม่เจ็บแสดงว่าแผลที่ช่องคลอดหายแล้ว ควรงดมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะ ได้ตรวจหลังคลอด 6 สัปดาห์ไป
4.7 อาการที่ผิดปกติที่ควรมาโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์
อาการหลังคลอดที่ควรมาพบแพทย์ทันที
-มีเลือดออกมาทางช่องคลอดจนชุ่มผ้าอนามัย 1 ผืนภายใน 1 ชั่วโมง
-น้ำคาวปลามีสีแดงสดนานเกิน 4 วัน นำคาวปลามีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
-ปวดท้องน้อย หรือปวดรำคาญในระยะ 1 สัปดาห์หลังคลอด
-ปวดบวมบริเวณขาและน่อง
-อาการปวด บวมของเต้านม
-อาการบวมแดงของแผลผ่าตัด เป็นหนอง มีน้ำเหลืองไหลซึม
-ปัสสาวะแล้วแสบหรือรู้สึกขัด ปัสสาวะบ่อยแต่ปริมาณน้อยลง และสีเข้มจัด
-มีอาการซึมเศร้าเกิน 2-3 วัน และมีอารมณ์โกรธร่วมด้วยหลังคลอด
การประเมินผล
1.มารดาเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 4-6 ชั่วโมงหรือเต็ม
2.มารดาดูแลความสะอาดร่างกาย
3.มารดาเล็บสั้น
มารดาขาดความรู้ในการคุมกำเนิด
ข้อมูลสนับสนุน
SD :
1.มารดาให้ข้อมูลว่า “ไม่ทราบวิธีคุมกำเนิดที่ถูกต้อง”
2.มารดาให้ข้อมูลว่า “การตั้งครรภ์ในครั้งนี้เกิดจากการคุมกำเนิดผิดพลาด”
เกณฑ์การประเมินผล
มารดาสามารถเลือกวิธีการคุมกำเนิดได้อย่างเหมาะสม
กิจกรรมการพยาบาล
1.สร้างสัมพันธภาพกับมารดาเพื่อให้มารดาไว้วางใจ
2.ให้ความรู้เรื่องการคุมกำเนิด เพื่อให้มารดาทราบและเลือกวิธีการคุมกำเนิดได้เหมาะสมกับตนเอง
2.1.แบบชั่วคราว มีหลายวิธีการ ที่นิยมใช้กันคือ การนับวันที่ที่ปลอดภัยหรือที่ทั่วไปเรียกว่า "หน้า 7 หลัง 7" หมาย ถึงนับจากวันที่มีประจาเดือนคราวที่แล้ว โดยคาดว่าประจำเดือนจะมาอีกครั้งเป็นวันที่เท่าไร โดยนับถอยหลังไปช่วงก่อนประจำเดือนรอบใหม่มา 7 วัน และนับบวกเพิ่มต่อไปอีก 7 วัน รวมกัน เป็น 14 วัน นับเป็นช่วงที่ปลอดภัยเพราะช่วงนี้ผนังมดลูกจะลอกออกมาเป็นประจำเดือน ทาให้ไข่ที่ผสมตัว แล้ว ไม่สามารถหาที่ฝังตัวเพื่อเจริญเป็นทารกต่อไปได้ วิธี นี้ได้ผลดีเมื่อมีรอบเดือนของมารดามาอย่างสม่าเสมอ เป็นรอบที่แน่นอน แต่เสี่ยงมากหากจาวันผิดพลาดถ้าไม่ได้มีการจดบันทึก ข้อควรระวังอีกอย่างคือ ช่วงที่มี ประจำเดือนปากมดลูกจะเปิดเพื่อให้ขับเลือดออก ถ้ามีการร่วมเพศช่วงนั้นมีโอกาสที่จะติดเชื้อทำให้มดลูก อักเสบ ได้มากกว่าช่วงปกติ เพราะฝ่ายชายอาจนำเอาเชื้อโรคภายนอกเข้าสู่โพรงมดลูกทำให้เกิดปัญหาได้
2.2. การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดจะมี 2 แบบ คือ แบบ 21 เม็ด และแบบ 28 เม็ด โดยแบบ 28 เม็ดมี 7 เม็ดสุดท้ายจะเป็นวิตามินและแร่ธาตุ มีไว้ให้รับประทานเพื่อกันลืม ยาคุมกำเนิดชนิด รับประทาน จะมีข้อห้ามใช้ในบางคนที่มีโรคต่อไปนี้ ได้แก่ มารดาที่มีปัญหาเรื่องระดับไขมันสูง เส้นเลือดอุดตันที่สมองหรือหัวใจ มารดาที่ตั้งครรภ์คนที่เคยเป็นโรคตับหรือเคยตัวเหลือง เป็นมะเร็งเต้านม และคนที่มี เลือดออกจากช่องคลอดแบบผิดปกติที่ยังไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้นก่อนจะเลือกวิธีคุมกำเนิดชนิดนี้ขอแนะนำว่า ควรไปพบแพทย์เพื่อสอบถามรายละเอียดในแต่ละอาการโรคดังกล่าว นอกจากนี้ผลจากฮอร์โมนเอสโตรเจนใน ยาเม็ดอาจจะส่งผลให้มีอาการผลข้างเคียงของยา ตามมาได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน นำ้หนักตัวเพิ่ม เกิดเม็ดสีตามร่างกายหรือเกิดฝ้าจะ เลือกยาคุมกำเนิดชนิดไหน ให้ขอคำปรึกษา ส่วนเทคนิคการรับประทานควรจะทานเป็น
เวลาเดียวกัน ทุกวันเพื่อกันลืม โดยเริ่มยาคุมกำเนิดเม็ดแรกภายในวันที่ 5 ของวันที่มีประจำเดือนมา ถ้าลืมรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานชดเชยวันรุ่งขึ้นเป็น 1 เม็ดเช้าเย็น ถ้าลืม 2 วัน ให้เพิ่มชดเชยเป็น 1 เม็ด เช้าเย็น 2 วัน ถ้าลืมรับประทานยา 3 เม็ด ให้งดยาแผงนั้นแล้วคุมกาเนิดโดยวิธีอื่นเช่นใช้ถุงยางจนกว่า ประจำเดือนจะมา ค่อยเริ่มรับประทานยาคุมกำเนิดแผงใหม่ ข้อดีของวิธีนี้คือสะดวก หยุดยาไประยะหนึ่งก็ สามารถมีบุตรได้อีก จึงเหมาะกับคู่สมรสใหม่ๆที่เพิ่งใช้ชีวิตร่วมกัน
2.3. การฉีดยาคุมกำเนิด ในยาฉีดจะเป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน โดยฉีดทุกๆ 48 วันหรือ 12 สัปดาห์ หรือตามที่แพทย์กำหนด การใช้ยาฉีดอาจพบว่าประจาเดือนจะมาน้อยหรือขาดหายไป โดยฉพาะถ้าฉีด ช่วงแรกๆ อาจพบมีประจำเดือนมากระปริบกระปรอย ผลจากยาฉีดทำให้ไข่ไม่ตก และอาจเกิดภาวะหมัน ชั่วคราวได้ วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีบุตรมาแล้ว และผู้ที่ไม่สามารถทนผลข้างเคียงของยาคุมกาเนิดชนิด รับประทาน ข้อห้ามยาฉีดเหมือนยารับประทาน การหยุดฉีดเพื่อให้มีบุตรต้องวางแผนล่วงหน้า 6 - 12 เดือน เพราะบางครั้งกว่าร่างกายจะปรับสมดุลย์ของฮอร์โมนให้กลับสู่ภาวะปกติ ต้องใช้เวลานาน
2.4.ยาคุมกำเนิดชนิดฝัง (Norplant) เป็น ยาคุมที่ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ลักษณะเป็น หลอดเล็กๆ สามารถฝังได้บริเวณต้นแขนด้านใน ฮอร์โมนจะค่อยๆ กระจายสู่ร่างกายอย่างช้าๆ จะออกฤทธิ์ คุมกำเนิดได้นานประมาณ 5 ปี จึงเหมาะสาหรับผู้มีบุตรเพียงพอแล้ว หรือต้องการเว้นระยะห่างของการมีบุตรนานๆ
2.5.การใส่ห่วงอนามัย (IUD) เป็นการคุมกาเนิดที่นิยมทากันในกลุ่มแม่บ้าน ที่ต้องการคุมกำเนิดนานๆ อาจใส่หลังคลอดหรือช่วงประจำเดือนมา ห่วงสามารถคุมกำเนิดได้นานประมาณ 3 ปี หลังใส่อาจมีอาการปวด เกร็งท้องได้บ้าง ห่วงอนามัยไม่เหมาะกับคนที่มีโอกาสติดเชื้อง่าย เช่น เป็นโรคเบาหวาน รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน เป็นมะเร็งหรือมีเพศสัมพันธ์แบบเปลี่ยนคู่บ่อย เพราะที่บริเวณต่อจากห่วงจะมีเชือกต่อออกมา บริเวณปากมดลูก ใช้เป็นตัวตรวจสอบสอบว่าห่วงยังอยู่ในตำแหน่งปกติหรือไม่ เชือกนี้จะเป็นจุดที่เชื้อเข้าสู่ มดลูกได้ง่าย ผู้หญิงที่ใส่ห่วงนอกจากตรวจสอบดูเชือกแล้วต้องได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ปีละครั้ง หรือ เมื่อมีความปกติ เช่น เลือดออกทางช่องคลอด ปวดท้องเกร็ง หรือคลาเชือกไม่พบ
2.6. การสวมถุงยางอนามัยผู้ชาย (Condom) เป็น วิธีคุมกำเนิดที่ง่ายสะดวกและมีความปลอดภัยในการป้องกันการตั้งครรภ์ และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
วัตถุประสงค์
เพื่อให้มารดาตระหนักถึงความสำคัญและความรู้ของการคุมกำเนิด
และป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจซ้ำ
การประเมินผล
มารดาเลือกการคุมกำเนิดเป็นแบบฝัง