Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การแนะแนวและการให้คําปรึกษา - Coggle Diagram
บทที่ 7 การแนะแนวและการให้คําปรึกษา
ประวัติการแนะแนว
ได้จัดให้มีโครงการทดลองโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบประสม
(Comprehensive High School) ขึ้นที่โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ปี 2524 ได้มีการกําหนดให้มีการแนะแนวไว้ในคาบเรียน ต่อมามีการประกาศใช้หลักสูตรสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 จนกระทั่งปัจจุบัน
ประเทศไทยมีการเริ่มต้นการแนะแนวในโรงเรียนอย่างเป็นระบบในปี พ.ศ. 2496
เพื่อช่วยเหลือนักเรียนในการเลือกวิชาเรียนตามความถนัด
ความสามารถและความสนใจ
เป็นบิดาแห่งการแนะแนว คือ
แฟรง พาร์สันส์ (Frank Parsons) ในปี ค.ศ.1895
การแนะแนวถือกําเนิดขึ้นอย่างเป็นระบบในประเทศสหรัฐอเมริกา
ความหมายของการแนะแนว
การแนะแนว เป็นกระบวนการช่วยเหลือให้บุคคลรู้จัก ตนเอง และเข้าใจตนเอง
รู้จักสิ่งแวดล้อม สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาหรือปรับตัวต่อสถานการณ์และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
ได้อย่างเหมาะสม สามารถพัฒนาตนเองทั้งด้านชีวิตส่วนตัวและสังคม
สุโท เจริญสุข (2520, 4-5) กล่าวว่า การแนะแนวที่ถูกต้องจะต้อง
ออกมาในลักษณะดังนี้
ช่วยให้บุคคลได้ทราบชัดในปัญหาและข้อเท็จจริงต่าง ๆ
ช่วยให้บุคคลตกลงใจหรือตัดสินใจเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยตนเองและเป็นผู้นําตนเอง
ช่วยให้เกิดแนวคิดที่ถูกต้องและเหมาะสมในอันที่จะปรับปรุงตนเองให้สามารถดําเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างราบรื่น
ช่วยให้บุคคลแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง
ช่วยให้เข้าใจประโยชน์และโทษที่ได้กระทําลงไป
ช่วยให้บุคคลได้รู้จักและเข้าใจตนเองดียิ่งขึ้น
มิลเลอร์ (Miller, 1976, 13) ให้ความหมายว่า
การแนะแนว เป็นกระบวนการช่วยให้ บุคคลรู้จักตนเองและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้บุคคลสามารถตัดสินใจและวางแผนอนาคตของตนเองได้ อย่างเหมาะสม
วัชรี ทรัพย์มี (2531, 3) ให้ความหมายว่า
การแนะแนวเป็นกระบวนการช่วยเหลือบุคคล
ให้เข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เขาสามารถนําตนเองได้
สามารถปรับตัวได้อย่างมีความสุขมีความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ได้พัฒนาตนเองให้ถึงขีดสุดในทุกด้าน
ปรัชญาของการแนะแนว
กรมวิชาการ (2546, 31) ได้กล่าวถึงปรัชญาการแนะแนวไว้ดังต่อไปนี้
แต่ละคนมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาและเรียนรู้ได้
แต่ละคนมีความแตกต่างกันแต่มีความต้องการพื้นฐานที่เหมือนกัน
ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน
พฤติกรรมย่อมมีสาเหตุและบุคคลเปลี่ยนแปลงได้ตามสาเหตุ
ทุกคนมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
ทุกคนย่อมมีปัญหา คนเป็นสัตว์สังคมที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันและพฤติกรรมแต่ละคน
ย่อมส่งผลกระทบต่อบุคคล
ทองเรียน อมรัชกุลและคณะ (2548, 41) กล่าวว่า
ปรัชญาการแนะแนว หมายถึง ความเชื่อหรือทัศนะที่ยึดถือเป็นหลักในการกําหนดจุดมุ่งหมาย และวิธีการดําเนินงานทั่วไปในงานแนะแนว ซึ่งเชื่อว่าจะทําให้การแนะแนวมีประสิทธิภาพมากที่สุด
จุฑา บุรีภักดี(2551, 18) กล่าวถึงปรัชญาการแนะแนวไว้ดังนี้
ถือว่าการให้คําปรึกษาเป็นหัวใจสําคัญของการแนะแนว
จัดเตรียมแผนงานอย่างดีโดยอาศัยข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
ช่วยเด็กในการปรับปรุงจนให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
ยอมรับการทํางานเป็นหมู่คณะ (Team – Work)
ยอมรับเอกภาพของเด็กแต่ละคน ความแตกต่างระหว่างบุคคล
สร้างความเป็นผู้นําให้แก่เด็กแต่ละคน
หลักการเพื่อยึดถือเป็นแนวทางสําหรับการปฏิบัติงานแนะแนว
4.ไม่ควรตีตราเด็กแต่ละคนว่าเป็นเช่นนั้นเช่นนี้
5.จึงต้องหาสาเหตุที่นํามาสู่การมีพฤติกรรมเช่นนั้นของเด็กและช่วยให้เด็กได้เข้าใจถึงสาเหตุแห่งปัญหาของตนด้วย
3.ควรช่วยให้เด็กได้ค้นพบความถนัด ความสนใจของตนเอง ได้รู้จักบุคลิกภาพด้านต่าง ๆ ของตนเองและรู้จักเลือกแนวทางดําเนินชีวิต
6.ควรช่วยให้เด็กได้รู้จักและเข้าใจตนเอง รู้จักสภาพแวดล้อม เพื่อเด็กจะได้เลือกแนวทางต่าง ๆ ที่เหมาะสมและดีที่สุดสําหรับตนได้
2.ให้ความเท่าเทียมกันทุกฝ่าย และให้เกียรติเคารพความเป็นมนุษย์ของเด็กทุกคน
7.ช่วยเหลือเมื่อเขาต้องประสบกับปัญหาที่ทําให้ไม่สามารถเลือกหรือหาทางออกที่เหมาะสมให้กับตนเองได้
ความแตกต่างระหว่างบุคคล ดังนั้นจึงไม่ควรตัดสินเด็กแต่ละคน
ความสําคัญของการแนะแนว
สร้างคนให้รู้จักคุณค่าในตนเอง สร้างงานให้คนรู้จักความถนัด ความสนใจ บุคลิกภาพของตน รู้ข้อมูลอาชีพตลอดจนสามารถเชื่อมความสัมพันธ์คุณลักษณะของตนเองกับอาชีพได้ถูกต้อง
ประโยชน์ของการแนะแนว
ประโยชน์แก่ผู้ปกครองหรือบิดามารดา ช่วยให้ผู้ปกครองรับรู้และเข้าใจสภาพปัญหาของบุตรหลาน
ประโยชน์แก่ครู ช่วยครูให้เข้าใจถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหารวมทั้งหาวิธีแก้ปัญหานั้น
ประโยชน์แก่โรงเรียน ช่วยโรงเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
ประโยชน์ต่อผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนตัดสินใจได้ด้วยตนเองอย่างฉลาดและมีเหตุผล
เป้าหมายของการแนะแนว
ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล (Preventive Approach) เพื่อให้ผู้เรียนรู้เท่าทันปัญหา เลือกวิธีการปฏิบัติได้เหมาะสม
ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น (Curative Approach) เป็นการแก้ไขปัญหาในระยะก่อตัวหรือปัญหาที่ไม่รุนแรง
ส่งเสริมและพัฒนาบุคคล (Developmental Approach) เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักเข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเอง สามารถวางแผนด้านการศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและสังคม
ขอบข่ายของการแนะแนว
ด้านส่วนตัวและสังคม เป็นการแนะแนวที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองในทุกด้าน เข้าใจชีวิต รู้จักพัฒนาตนเอง มีขอบข่ายงานตั้งแต่การรู้จักชีวิตและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ด้านอาชีพ เป็นการแนะแนวที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รู้จักลักษณะงานอาชีพและสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับตนเองได้
ด้านการเรียนและการศึกษา เป็นการแนะแนวที่จัดโดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนประสบความสําเร็จทางการศึกษา มีขอบข่ายงานตั้งแต่การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียน การเลือกแผนการเรียน ที่เหมาะสมกับตนเอง