Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Chest injury, 361CE538-B52D-4498-B079-D0586F898E6A, DE580DE4-77CE-465D…
Chest injury
-
-
การประเมินการบาดเจ็บ
การซักประวัติ
-
ประวัติการได้รับบาดเจ็บ : เกิดจากอะไร เกิดเหตุอย่างไร เกิดนานแค่ไหน หลังเกิดเหตุมีอาการหรือการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ได้รับการช่วยเหลืออย่างไรก่อนมาโรงพยาบาล
-
-
ภาพถ่ายรังสี
- การถ่ายภาพเอ็กซเรย์ทรวงอก (filmchest) ในท่านั่ง ศรีษะสูงประมาณ 30 องศา เพื่อตรวจดูกระดูกที่หักและการบาดเจ็บต่อเนื้อปอด
- การถ่ายภาพเอ็กซเรย์บริเวณที่ตั้งของหัวใจมีลักษณะขาวเป็นบริเวณกว้าง อาจมีการบาดเจ็บของหัวใจ หรือบาดเจ็บต่อหลอดเลือดใหญ่ของหัวใจ
การประเมินจากภาพถ่ายรังสีอื่นๆเช่นๆ CT scan , MRI
Chest Anatomy
กระดูกทรวงอก (Thoracic cage) ส่วนที่เป็นกระดูก ได้แก่ ซี่โครง ไหปลาร้า สะบัก (scapular) กระดูกสันอก(sternum)
-
Phathology
พยาธิสภาของการบาดเจ็บทรวงอกเกิดได้ตั้งแต่ผนังทรวงอก เช่น มีแผลถลอก ฟกช้ำ หรือมีการหักของซี่โครงทำให้อกยุบเข้าออกตามการหายใจ ผลจากซี่โครงหักอาจทำให้เยื่อหุ้มปอดทะลุ มีลมหรือเลือดในโพรงเยื่อหุ้มปอด ผู้ป่วยจะมีอาการปวด ไม่กล้าหายใจลึกทำให้ปอดแฟบ ติดเชื้อที่ปอด หรือเกิดภาวะคั่งออกซิเจน นอกจากนี้อาจกดการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบเลือดออกไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอและจำกัดการเเลกเปลี่ยนออกซิเจนในปอด หรือช็อกจากการเสียเลือด
การบาดเจ็บทรวงอกเฉพาะที่
-
ซี่โครงหัก(Rib fracture)
ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่หัก
ซี่ที่ 1-4 อยู่ใต้กระดูกไหปลาร้า เป็นบริวณที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรงปกคลุม หากมีการหักมักเกิดจากแรงกระแทกอย่างรุนแรง ทำให้เกิดการฉีกขาดของหลอดเลือดแดงใหญ่และหลอดลม
-
อาการและอาการแสดง
ปวดบริเวณที่มีพยาธิสภาพ โดยเฉพาะขณะหายใจเข้า ออก อาการปวดทำให้หายใจตื้น ไม่กล้าไอ การแลกเปลี่ยน O2 ไม่มีประสิทธิภาพ เสมหะคั่ง เจ็บเมื่อถูกกดตรงตำแหน่งที่หัก
การรักษา
ลดปวดโดยให้ยาระงับปวด และให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ โดยทั่วไปอาการปวดจะหายไปใน 2-3 สัปดาห์ หากปวดมากแพทย์จะให้ยาระงับปวดชนิดที่ผู้ป่วยควบคุมเอง หรืออาจฉีดยาชาเข้าเส้นประสาท (intercostal nerve block) ซึ่งจะช่วยลดปวดหรือไม่มีอาการปวดเลย
การพยาบาล
- ประเมินอาการปวดและให้ยาระงับปดให้เพียงพอตามแผนการรักษาพร้อมกับสังเกตอาการแทรกช้อนจากยาระงับปวดในรายที่ได้รับยาระงับปวดชนิดที่ผู้ป่วยกดหรือควบคุมเองพยาบาลต้องสอนวิธีใช้พร้อมแนะนำข้อดีข้อเสียของการใช้ยาระงับปวดวิธีนี้ด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยได้รับยาเกินขนาด
- จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบายและดูแลให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนให้เพียงพอ
- ประคบบริเวณที่มีพยาธิสภาพด้วยความเย็นโดยใช้กระเป๋าน้ำแข็งประคบในระยะ 24-48 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นให้ประคบร้อน เช่น การใช้ลูกประคบเพื่อลดอาการปวด
- ประเมินการหายใจและภาวะพร่องออกซิเจนโดยการวัดสัญญาณชีพ ดูอัตราการหายใจ ฟังเสียงลมเข้าปอดเปรียบเทียบกันทั้ง 2 ข้าง สังเกตการเคลื่อนไหวของทรวงอกขณะหายใจเข้าออก อาการเขียวที่ปลายมือปลายเท้าและวัดความอิ่มตัวของออกซิเจน
- ป้องกันภาวะปอดแฟบโดยการกระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ หรืออาจใช้เครื่องบริหารปอด (Triflow) เพื่อให้ปอดขยายและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถไอได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ติดตามภาพถ่ายรังสีปอดตามแผนการรักษา เพื่อประเมินความก้าวหน้าของการบาดเจ็บและประเมินภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการบาดเจ็บ เช่น ภาวะมีลมหรือเลือดในโพรงเยื่อหุ้มปอด หรือลมใต้ผิวหนัง
- ให้คำแนะนำในการดูแลตนเองเมื่อกลับไปอยู่บ้าน เช่น การใช้ลูกประคบเพื่อลดความปวดการใช้หมอนหรือผ้าขนหนูพยุงทรวงอกด้านที่ซี่โครงหัก การรับประทานยาระงับปวดตามแผนการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวได้ถูกต้องและคลายความวิตกกังวล
-
-
-
-
-
-
-
-