Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การออกแบบวิจัย - Coggle Diagram
การออกแบบวิจัย
ประโยชน์
ช่วยให้สามารถตัดสินใจเลือกวิธีวิจัยได้ถูกต้อง
ช่วยในการกำหนดและสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
ช่วยให้สามารถวางแผนควบคุมตัวแปรเกิน
หรือตัวแปรแทรกซ้อนที่ส่งผลรบกวนการทดลองได้
ช่วยในการประเมินผลการวิจัยได้ว่ามีความถูกต้อง
เชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด
ช่วยให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับงบประมาณ แรงงานและระยะเวลาในการทำวิจัย
ช่วยในการเลือกใช้สถิติวิเคราะห์ ตลอดจนแปลผลข้อมูลได้ถูกต้อง
แบบการวิจัย
แบบการวิจัยก่อนมีแบบการวิจัยเชิงทดลอง
แบบที่ 1 แบบกลุ่มเดียวหรือรายกรณี (one shot case study)
ข้อดี
เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก
ถือว่าเป็นแบบการวิจัยของการวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research)
ข้อบกพร่อง
กลุ่มตัวอย่างไม่มีการสุ่ม ทำให้มีความแตกต่างกันมากภายในกลุ่ม
ขาดความเป็นตัวแทนของประชากร
ไม่มีกลุ่มควบคุมทำให้ไม่แน่ใจว่าผลที่ได้เนื่องมาจากตัวแปรอิสระที่ต้องการศึกษาหรือไม่
แบบที่ 2 แบบกลุ่มเดียวสอบก่อนและหลัง (one-group pretest posttest
design)
ข้อดี
การสอบวัดก่อนและหลังการทดลอง
ทำให้สามารถเปรียบเทียบผลการทดลองได้
สามารถควบคุมการเลือกลุ่มตัวอย่าง
และการขาดหายไปของกลุ่มตัวอย่างได้
ข้อบกพร่อง
การสอบก่อนการทดลองอาจมีอิทธิพลต่อการสอบหลังการทดลอง
การเว้นระยะในการสอบก่อนและหลังการทดลองห่างกัน
ผู้เข้ารับการทดลอง (subject) อาจมีความเจริญเติบโต
มีวุฒิภาวะเพิ่ม ขึ้น
แบบที่3 แบบอนุกรมเวลาแบบกลุ่มเดียว (one group time series
design)
ข้อดี
ผู้วิจัยสามารถสังเกตอัตราการเปลี่ยนแปลง ทั้งที่เป็นไปตามปกติ
และที่เกิดจากการจัดกระทำ
ไม่ยุ่งยาก ใช้กลุ่มตัวอย่างเพียงกลุ่มเดียว
ทำให้เห็นแนวโน้มของลำดับขันของการพัฒนาการ
ข้อบกพร่อง
ไม่มีการควบคุมตัวแปร
ผลการทดสอบครั้ง แรกอาจมีผลต่อการทดสอบครั้งหลังๆ
ถ้ากลุ่มตัวอย่างรู้ตัวว่าถูกทดลองอาจมีผลต่อผลการวิจัย
ไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ ทำให้ไม่แน่ใจว่าผลที่ได้มาจากตัวแปรทดลอง
เสียเวลาในการศึกษาหรือติดตามนาน เพราะเป็นการศึกษาระยะยาว
แบบการวิจัยกึ่งเชิงทดลอง (quasi experimental design)
แบบที่ 4 แบบการวิจัยที่กลุ่มควบคุมไม่มีการสุ่ม แต่มีการสอบก่อน
และหลัง (nonrandomized control group pretest posttest design)
ข้อดี
ค่อนข้างเป็นธรรมชาติ ใช้ในกรณีที่มีกลุ่มตัวอย่างอยู่แล้วโดยไม่ก่อกวนระบบเดิม
มีการทดสอบก่อนทำให้ใช้สถิติมาช่วยควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนได้บางส่วนและทำให้ทราบว่าแต่ละกลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากน้อยเพียงใด
มีกลุ่มควบคุมทำให้ยืนยันได้ว่าผลที่ได้จากการทดลองดีกว่าวิธีการปกติหรือไม่
ข้อบกพร่อง
ถ้าทั้ง 2 กลุ่มไม่เท่ากันผลที่ได้อาจได้รับอิทธิพลจากตัวแปรแทรกซ้อนอื่น
การสอบก่อนการทดลองทำให้ไม่สามารถควบคุมปฏิกิริยาร่วมระหว่างการ
ทดสอบก่อนการทดลอง กับตัวแปรทดลองได้
แบบที่ 5 แบบอนุกรมเวลาแบบมีกลุ่มควบคุม (control group timeseries design or nonequivalent control group pretest posttesttime series design)
ข้อดี
เห็นพัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เพราะเป็นการศึกษาระยะยาว
สามารถควบคุมประวัติของกลุ่มตัวอย่าง วุฒิภาวะ การทดสอบก่อนการทดลองเครื่องมือวัด การถดถอยทางสถิติ การขาดหายไปของกลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนปฏิกิริยาร่วมขององค์ประกอบเหล่านั้นได้
ข้อบกพร่อง
ไม่สามารถควบคุมปฏิกิริยาร่วมระหว่างการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างกับตัวแ
ปรทดลอง และการทดสอบก่อนการทดลองกับตัวแปรทดลองได้
แบบการวิจัยเชิงทดลอง (true-experimental design)
แบบที่ 8แบบมีกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองแบบสุ่มและมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (randomized control group pretest posttest design)
ข้อดี
ควบคุมแหล่งที่มีอิทธิพลต่อความเที่ยงตรงภายในได้เกือบทั้งหมด
มีการสอบก่อนการทดลองทั้ง 2 กลุ่ม ทำให้ทราบสภาพพื้นฐานของทั้ง
2 กลุ่ม และยังทราบอีกว่าเมื่อได้รับการทดลองไปแล้วแต่ละกลุ่มมีการเปลี่ยนแปลจากมากน้อยเพียงใด
มีการสุ่มทั้ง2 ขั้นตอน ทำให้ยอมรับได้ว่าทั้ง
2 กลุ่มมีคุณสมบัติเท่าเทียมกัน
ข้อบกพร่อง
ไม่แน่ใจว่าสามารถควบคุมแหล่งที่มีอิทธิพลต่อความเที่ยงตรงภายนอก
ได้หมด โดยเฉพาะความคลาดเคลื่อนอันเกิดจากปฏิกิริยาร่วมระหว่าง
องค์ประกอบต่างๆกับตัวแปรทดลอง
แบบที่ 7 แบบมีกลุ่มควบคุมแบบสุ่มและมีการสอบหลังการทดลอง
ข้อดี (randomized control group posttest only design)
ข้อดี
ง่าย ประหยัด เพราะไม่ต้องมีการทดสอบก่อนการทดลอง
ควบคุมแหล่งที่มีผลต่อความเที่ยงตรงภายในได้มาก
เพราะมีการสุ่มทำให้มีความเที่ยงตรงภายในสูง
ข้อบกพร่อง
ไม่มีการสอบก่อนการทดลองทำให้ไม่ทราบพื้นฐานของทั้ง 2 กลุ่ม
และไม่สามารถทราบได้ว่าหลังจากมีการทดลองแล้วผลที่ได้เปลียนแปลงไปจากเดิมเท่าไร
แบบที่ 9 แบบ 4 กลุ่มของโซโลมอน (Solomon four group design)
ข้อดี
มีกลุ่มควบคุมหลายกลุ่มทำให้การเปรียบเทียบมีความกว้างขึ้น
และแน่ใจได้ว่าเป็นผลจากตัวแปรทดลองจริงๆ
ควบคุมอิทธิพลของปฏิกิริยาร่วมระหว่างการทดสอบก่อนการทดสอบกับ
ตัวแปรทดลองได้
สามารถควบคุมแหล่งที่ทำให้ขาดความเที่ยงตรงภายในได้ทั้งหมด
ข้อบกพร่อง
ไม่แน่ใจว่าควบคุมแหล่งภายนอกที่มีผลต่อความเที่ยงตรงภายนอกได้ทั้งหมด
การทำให้กลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่ม มีลักษณะเท่าเทียมกันนั้นทำได้ยาก
การประเมินประสิทธิภาพของการวิจัย
ความหมาย
แบบการวิจัยที่มุ่งสู่คำตอบต่อปัญหาอย่างแท้จริงและเป็นแบบที่อำนวยให้ผู้วิจัยสามารถควบคุม หรือขจัดอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อนได้อีกทั้งจะต้องมีความเที่ยงตรงภายในและภายนอกสูง
หลักสำคัญของการประเมินประสิทธิภาพของแบบการวิจัย
การพิจารณาว่าแบบการวิจัยนั้นสามารถควบคุม
หรือขจัดอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อนที่จะส่งผลมาถึงตัวแปรตาม
การพิจารณาว่าแบบการวิจัยนั้นมีความเที่ยงตรงภายใน
และความเที่ยงตรงภายนอกสูง
การพิจารณาว่าแบบการวิจัยนั้นมุ่งสู่คำตอบปัญหาการวิจัยอย่างแท้จริง
จุดมุ่งหมาย
เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหาที่ทำวิจัยอย่างถูกต้อง เป็นปรนัย
และด้วยวิธีการที่ประหยัดที่สุด
เพื่อควบคุมหรือขจัดอิทธิพลของตัวแปรเกิน
ความเที่ยงตรงของแบบการวิจัย
ความเที่ยงตรงภายใน (internal validity)
ความเที่ยงตรงที่เกิดจากการดำเนินการทดลองโดยตรงหรือผลการวิจัยเกิดจากการกระทำของตัวแปรอิสระหรือตัวแปรทดลองที่ศึกษาโดยตรง
ปัจจัยที่ทำให้ขาดความเที่ยงตรงภายใน
วุฒิภาวะ (maturation) ของกลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้วัด (instrumentation)
ประวัติของกลุ่มตัวอย่าง (history) หรือภูมิหลังของกลุ่มตัวอย่าง
การถดถอยทางสถิติ (statistical regression)
ทักษะในการสอบวัด (test wise)
การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง (selection)
การขาดหายไปของกลุ่มตัวอย่าง (experimental mortality)
ผลของปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ (interaction)
ความเที่ยงตรงภายนอก
การที่ผลการวิจัยสามารถสรุปอ้างอิงไปยังเนื้อหา สถานการณ์
ที่ใกล้เคียง และประชากรได้อย่างถูกต้อง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเที่ยงตรงภายนอก
ปฏิกิริยาระหว่างการสอบครั้งแรกกับตัวแปรทดลอง (interaction
effects of testing and treatment)
ปฏิกิริยาจากการจัดสภาพการทดลอง (reaction from experiment
situation)
ปฏิกิริยาร่วมระหว่างการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างกับตัวแปรทดลอง
(interaction effects of selection bias and treatment)
ผลร่วมของการได้รับตัวแปรทดลองหลายๆตัวติดต่อกัน (carry over
effect)
ความหมาย
แผน โครงสร้าง และยุทธวิธีในการศึกษาค้นคว้า