Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา - Coggle Diagram
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ความจำเป็นของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติและสังคมโลก
ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมทั้งความรู้และความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง
ส่งเสริมการสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้
จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
สกิลเบ็ก (Skilbeck, 1984: 2) ได้ให้ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนไว้ว่า หมายถึง การวางแผน การออกแบบ การนำไปใช้และการประเมินผล การกำหนดการเรียนรู้ของนักเรียนดำเนินการโดยสถานศึกษา เน้นการตัดสินใจร่วมกันระหว่างบุคลากรภายในสถานศึกษา ไม่ใช่กำหนดจากบุคคลภายนอก
แฮร์ริสัน (Marsh and others.1990: 48) ให้ความหมายการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนว่า 1.เป็นแผนงานที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ 2. เป็นสิ่งที่นำไปปฏิบัติได้จริงและมีผลเกิดขึ้นกับบุคคลที่เกี่ยวข้องจริง 3.เป็นประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ทั้ง 3 ข้อมีความเกี่ยวข้องกันเพื่อให้หลักสูตรได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของผู้เรียนมากขึ้น
เอ็กเกิลสตัน (Eggleston, 1980: 7) ได้ให้ความหมายการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนว่า เป็นการพัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของนักเรียนในแต่ละโรงเรียนโดยมีการวางแผนนำไปใช้ และประเมินร่วมกัน มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและชุมชน
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2544:28-29) ได้กล่าวถึงการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนว่า คือพันธกิจหรือภาระหน้าที่ที่สถานศึกษาและชุมชนร่วมกันในการพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมกับยุคสมัย โดยกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ เป้าหมาย มาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สรุป การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในความหมายต่างๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้นสรุปว่าการพัฒนาหลักสูตรคือ แผนประสบการณ์หรือแผนการจัดการเรียนการสอนที่เกิดจากการตัดสินใจร่วมกันระหว่างบุคลากรทั้งภายในและภายนอกของโรงเรียน เพื่อกำหนดการเรียนรู้ของนักเรียน มีการวางแผนนำไปใช้และประเมินผลร่วมกัน
แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
เซ็น (Chen, H.L.S., 2000:3) กล่าวว่า โดยพื้นฐานแล้วความคิดในการจัดทำหลักสูตรโรงเรียนก็คือโรงเรียนเป็นที่ที่ดีที่สุดในการออกแบบหลักสูตร เพราะเป็นสถานที่ผู้เรียนและครูมีปฏิสัมพันธ์กันเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการกระทำ และมีผลโดยตรงต่อโรงเรียนและมีส่วนร่วมในการนำนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ในการศึกษา
สำหรับประเทศไทยเอง แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาคือต้องการกระจายอำนาจให้กับโรงเรียนสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตรได้เองเพราะเท่าที่ผ่านมามีปัญหาเกิดขึ้นจากการรวมอำนาจการบริหารการศึกษาไว้ที่ส่วนกลางคือที่กระทรวงศึกษาธิการดังที่คณะกรรมการปฏิบัติระบบบริหารการศึกษาในกระทรวงศึกษาธิการกล่าวไว้ว่าลักษณะเช่นนี้ก่อให้เกิดปัญหาดังนี้
ปัญหาการรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางทำให้เกิดปัญหาคือ
1.1 ก่อให้เกิดความล่าช้าในการอนุมัติ อนุญาต
1.2 ขาดความเป็นอิสระในการคิด การตัดสินใจในระดับล่าง
และระดับปฏิบัติของหน่วยงานในพื้นที่และสถานศึกษา
11.3 การบริหารและการตัดสินใจของหน่วยงานระดับล่างไม่อาจทำได้
ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นและความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาและตอบสนองตามความต้องการของนักเรียนและประชาชน หรือชุมชนในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม
1.4 ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและทรัพยากร
เนื่องจากการจัดสรรที่ไม่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการที่แท้จริง
ปัญหาด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน
2.1 กรอบหลักสูตรและการประเมินผลเป็นสาเหตุสำคัญในการสกัดกั้นการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร
2.2 ความวิตกกังวลของสถานศึกษาและครูผู้สอนที่เกรงว่าจะไม่สามารถดำเนินการได้ครบตามระเบียบและกฎเกณฑ์ดังกล่าว
2.3 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนของครูที่ยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ไม่ส่งเสริมศักยภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน
2.4 ระบบรวมศูนย์ในเรื่องการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน รวมทั้งการควบคุมจัดสรรและกำหนดคุณลักษณะจากส่วนกลางก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สถานศึกษามิอาจจัดรายวิชาที่สนองความต้องการของนักเรียนและความต้องการชุมชนได้
ปัญหาจากการใช้หลักสูตรเดียวกันทั่วประเทศ ก่อให้เกิดผลต่อผู้ปฏิบัติตามหลักสูตร
3.1 ผู้บริหารโรงเรียนบางส่วนขาดความรู้ ความเข้าใจในหลักสูตร
3.2 ครูไม้เข้าใจหลักการ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3.3 เนื้อหาวิชามีความยาก ไม่สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น
3.4 ครูไม่เข้าใจวิธีการจัดการเรียนการสอน จึงจัดการเรียนการสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง
3.5 การจัดส่งเอกสารประกอบหลักสูตรไปยังโรงเรียนมีความล่าช้า ไม่ทันเปิดภาคการศึกษาจำนวนที่จัดส่งไปให้ไม่เพียงพอ
ปัญหาในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นก็คือ
4.1 การขาดบุคลากร
4.2 ขาดความร่วมมือและสนับสนุน
4.3 ขาดวิทยากร
4.4 ขาดความรู้
4.5 ขาดการเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
4.6 ครูไม่ปรับหลักสูตรสอนตามหลักสูตรแกนกลาง
4.7 ไม่ปรับปรุงสื่อ เอกสาร
4.8 ครูไม่มีความรู้และขาดทักษะในการดำเนินการ
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ
ในการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆเพื่อใช้ในการกำหนดองค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตรซึ่งได้แก่ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เนื้อหาสาระกิจกรรมในการจัดการเรียนการสอน/สื่อการวัดและประเมินผลผู้เรียนซึ่งข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากการศึกษาช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์หรือการกำหนดสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
1.1 การศึกษาสภาพและความต้องการของชุมชน เนื่องจากโรงเรียนที่มีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ทักษะและวัฒนธรรมของชุมชนช่วยเตรียมคนให้กับชุมชนและสังคมดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดเป็นทำเป็นและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
1.2 การวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน
การวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียนเป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของโรงเรียนในด้านต่างๆ
1.3 การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง เนื่องจากปัจจุบันเป็นระยะเวลาที่เราผ่านการใช้หลักสูตรมาหลายครั้งจนปัจจุบันกำลังจะนำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ขั้นที่ 2 การร่างหลักสูตร เป็นการกำหนดแผนการจัดประสบการณ์ หรือการกำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนซึ่งประกอบด้วยจุดประสงค์ เนื้อหาสาระกิจกรรมและวิธีวัดและประเมินผลผู้เรียน
2.1 การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
จุดประสงค์ทั่วไป เป้าหมายหรือสิ่งที่มุ่งหวังให้เกิดกับผู้เรียนหลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งนั้นๆแล้วต้องนำข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมในขั้นที่ 1 มากำหนดเป็นจุดประสงค์ทั่วไปต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการกำหนดจุดประสงค์ต้องเขียนด้วยภาษาที่ชัดเจน
เข้าใจง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงภายใต้ศักยภาพของแต่ละสถานศึกษา
จุดประสงค์การเรียนรู้
บอกความหมายของ “ผลไม้แปรรูป” ได้
สามารถทำผลไม้แปรรูปได้
มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพการทำผลไม้แปรรูป
สามารถบรรจุหีบห่อที่สวยงามได้
สามารถตั้งราคาขายที่เหมาะสมได้
2.2 การกำหนดเนื้อหาสาระ เนื้อหาสาระเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาหลักสูตรทั้งนี้เนื่องจากเนื้อหาสาระเป็นเครื่องมือหรือสื่อกลางที่จะพาผู้เรียนไปยังวัตถุประสงค์ที่วางไว้ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาใช้เนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับชุมชนที่เป็นบริบทของโรงเรียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่วางไว้มีความยากง่ายสอดคล้องเหมาะสมกับวัยหรือลำดับขั้นของการพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ
รวมทั้งประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
2.3 การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน คือ กิจกรรมที่ทั้งผู้เรียนเป็นผู้กระทำ และกิจกรรมที่ผู้สอนเป็นผู้กระทำ มีการใช้สื่อการเรียนการสอนต่างๆ
2.4 การกำหนดวิธีวัดและประเมินผลผู้เรียนเนื่องจากการพัฒนาหลักสูตร
จุดประสงค์ชัดเจนที่กำหนดความคาดหวังในคุณลักษะต่างๆ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนรวมทั้งวิธีการดำเนินการเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้การที่ผู้ใช้หลักสูตรหรือครูทราบว่าผลที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างไร มีส่งใดที่ต้องปรับปรุงแก้ไข
ขั้นที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร เมื่อร่างหลักสูตรเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะนำไปใช้กับนักเรียน จำเป็นต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรก่อนเพื่อหาข้อบกพร่องและปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมและสมบูรณ์ที่สุดสิ่งที่ต้องพิจารณาในการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรคือ ความสอดคล้องขององค์ประกอบต่างๆได้แก่ จุดประสงค์ เนื้อหาสาระ การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ วิธีวัดและประเมินผลผู้เรียน
ขั้นที่ 4 การนำหลักสูตรไปใช้ หลังจากที่มีการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรละปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรที่ร่างขึ้นมาเรียบร้อยแล้วขั้นต่อไปคือ การนำหลักสูตรไปใช้ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากครูที่เป็นผู้ปฏิบัติการหลักในการพัฒนาหลักสูตรเป็นผู้นำหลักสูตรไปใช้ ด้วยการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอนครูกำหนดวิธีการจัดการเรียนการสอน กำหนดรายละเอียดกิจกรรมในแต่ละคาบ พร้อมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ การประสานงานกับบุคคลที่จะเข้ามาช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้รวมทั้งการจัดเตรียมสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพของชุมชน
ขั้นที่ 5 การประเมินผลหลักสูตรเป็นการตัดสินคุณค่าของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นโดยใช้ผลจากการรวบรวมข้อมูลในแง่มุมต่างๆเพื่อหาคำตอบว่าหลักสูตรมีผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด สิ่งใดที่ควรต้องทำการปรับปรุงเพื่อให้หลักสูตรดียิ่งขึ้นการประเมินหลักสูตร ให้ครูประเมินจากสิ่งๆ ต่อไปนี้
ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ได้แก่ ความรู้ ทักษะ เจตคติ และค่านิยมต่างๆ
1.1 ประเมินระหว่างการจัดการเรียนการสอน เป็นการประเมินตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ในแต่ละคาบของการจัดการเรียนการสอน
1.2 ประเมินเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
ว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรหรือไม่ อย่างไร
ประเมินการจัดการเรียนการสอนเพื่อตรวจสอบว่าเมื่อนำหลักสูตรไปใช้จัดการเรียนการสอนในสถานการณ์จริงแล้วเป็นอย่างไรมีปัญหา/อุปสรรคอย่างไร การจัดการเรียนการสอนให้คำนึงถึงการประเมินสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
2.1 การประเมินเนื้อหาสาระที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
เหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียนผู้เรียนสนใจในเนื้อหาสาระเรื่องราวที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือไม่
2.2 ประเมินสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนว่าเหมาะสม ชัดเจน เข้าใจง่าย
และดึงดูดความสนใจของผู้เรียนเพียงใด
2.3 ประเมินกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนว่าเป็นไปตามลำดับจากง่ายไปยาก ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะตามที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้หรือไม่อย่างไร