Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การออกแบบการวิจัย - Coggle Diagram
การออกแบบการวิจัย
ประโยชน์
ช่วยให้สามารถวางแผนควบคุมตัวแปรเกิน หรือตัวแปรแทรกซ้อนที่ส่งผลรบกวนการทดลองได้
ช่วยให้สามารถตัดสินใจเลือกวิธีวิจัยได้ถูกต้อง
ช่วยในการกำหนดและสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
ช่วยในการเลือกใช้สถิติวิเคราะห์ ตลอดจนแปลผลข้อมูลได้ถูกต้อง
ช่วยให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับงบประมาณ แรงงาน และระยะเวลาในการทำวิจัย
ช่วยในการประเมินผลการวิจัยได้ว่ามีความถูกต้อง เชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด
แบบการวิจัย
แบบการวิจัยก่อนมีแบบการวิจัยเชิงทดลอง
แบบที่ 1 แบบกลุ่มเดียวหรือรายกรณี (one shot case study)
ข้อดี
เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก
ถือว่าเป็นแบบการวิจัยของการวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research)
ข้อบกพร่อง
กลุ่มตัวอย่างไม่มีการสุ่ม ทำให้มีความแตกต่างกันมากภายในกลุ่ม ขาดความเป็นตัวแทนของประชากร
ไม่มีกลุ่มควบคุม ทำให้ไม่แน่ใจว่าผลที่ได้เนื่องมาจากตัวแปรอิสระที่ต้องการศึกษาหรือไม่
แบบที่ 2 แบบกลุ่มเดียวสอบก่อนและหลัง (one-group pretest posttest design)
ข้อดี
การสอบวัดก่อนและหลังการทดลอง ทำให้สามารถเปรียบเทียบผลการทดลองได้
สามารถควบคุมการเลือกลุ่มตัวอย่าง และการขาดหายไปของกลุ่มตัวอย่างได้
ข้อบกพร่อง
การสอบก่อนการทดลองอาจมีอิทธิพลต่อการสอบหลังการทดลอง
การเว้นระยะในการสอบก่อนและหลังการทดลองห่างกัน ผู้เข้ารับการทดลอง (subject) อาจมีความเจริญเติบโต มีวุฒิภาวะเพิ่มขึ้น
แบบที่ 3 แบบอนุกรมเวลาแบบกลุ่มเดียว (one group time series design)
ข้อดี
ไม่ยุ่งยาก ใช้กลุ่มตัวอย่างเพียงกลุ่มเดียว
ทำให้เห็นแนวโน้มของลำดับขั้นของการพัฒนาการ
ผู้วิจัยสามารถสังเกตอัตราการเปลี่ยนแปลง ทั้งที่เป็นไปตามปกติ และที่เกิดจากการจัดกระทำ
ข้อบกพร่อง
ไม่มีการควบคุมตัวแปร
ผลการทดสอบครั้งแรกอาจมีผลต่อการทดสอบครั้งหลังๆ
ถ้ากลุ่มตัวอย่างรู้ตัวว่าถูกทดลองอาจมีผลต่อผลการวิจัย
ไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ ทำให้ไม่แน่ใจว่าผลที่ได้มาจากตัวแปรทดลอง
เสียเวลาในการศึกษาหรือติดตามนาน เพราะเป็นการศึกษาระยะยาว
แบบการวิจัยกึ่งเชิงทดลอง (quasi experimental design)
แบบที่ 4 แบบการวิจัยที่กลุ่มควบคุมไม่มีการสุ่ม แต่มีการสอบก่อน และหลัง (nonrandomized control group pretest posttest design)
ข้อดี
ค่อนข้างเป็นธรรมชาติ ใช้ในกรณีที่มีกลุ่มตัวอย่างอยู่แล้ว โดยไม่ก่อกวนระบบเดิม
มีการทดสอบก่อน ทำให้ใช้สถิติมาช่วยควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนได้บางส่วน และทำให้ทราบว่าแต่ละกลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากน้อยเพียงใด
มีกลุ่มควบคุม ทำให้ยืนยันได้ว่าผลที่ได้จากการทดลองดีกว่าวิธีการปกติหรือไม่
ข้อบกพร่อง
ถ้าทั้ง 2 กลุ่มไม่เท่ากัน ผลที่ได้อาจได้รับอิทธิพลจากตัวแปรแทรกซ้อนอื่น
การสอบก่อนการทดลองทำให้ไม่สามารถควบคุมปฏิกิริยาร่วมระหว่างการทดสอบก่อนการทดลอง กับตัวแปรทดลองได้
แบบที่ 5 แบบอนุกรมเวลาแบบมีกลุ่มควบคุม (control group time series design or nonequivalent control group pretest posttest time series design)
ข้อดี
สามารถควบคุมประวัติของกลุ่มตัวอย่าง วุฒิภาวะ การทดสอบก่อนการทดลองเครื่องมือวัด การถดถอยทางสถิติ การขาดหายไปของกลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนปฏิกิริยาร่วมขององค์ประกอบเหล่านั้นได้
เห็นพัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เพราะเป็นการศึกษาระยะยาว
ข้อบกพร่อง
ไม่สามารถควบคุมปฏิกิริยาร่วมระหว่างการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างกับตัวแปรทดลอง และการทดสอบก่อนการทดลองกับตัวแปรทดลองได้
แบบการวิจัยเชิงทดลอง (true-experimental design)
แบบที่ 7 แบบมีกลุ่มควบคุมแบบสุ่มและมีการสอบหลังการทดลอง (randomized control group posttest only design)
ข้อดี
ง่าย ประหยัด เพราะไม่ต้องมีการทดสอบก่อนการทดลอง
ควบคุมแหล่งที่มีผลต่อความเที่ยงตรงภายในได้มาก เพราะมีการสุ่มทำให้มีความเที่ยงตรงภายในสูง
ข้อบกพร่อง
ไม่มีการสอบก่อนการทดลองทำให้ไม่ทราบพื้นฐานของทั้ง 2 กลุ่ม และไม่สามารถทราบได้ว่าหลังจากมีการทดลองแล้วผลที่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเท่าไร
แบบที่ 8 แบบมีกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองแบบสุ่มและมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (randomized control group pretest posttest design)
ข้อดี
มีการสุ่มทั้ง 2 ขั้นตอน ทำให้ยอมรับได้ว่าทั้ง 2 กลุ่มมีคุณสมบัติเท่าเทียมกัน
ควบคุมแหล่งที่มีอิทธิพลต่อความเที่ยงตรงภายในได้เกือบทั้งหมด
มีการสอบก่อนการทดลองทั้ง 2 กลุ่ม ทำให้ทราบสภาพพื้นฐานของทั้ง 2 กลุ่ม และยังทราบอีกว่าเมื่อได้รับการทดลองไปแล้วแต่ละกลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมมากน้อยเพียงใด
ข้อบกพร่อง
ไม่แน่ใจว่าสามารถควบคุมแหล่งที่มีอิทธิพลต่อความเที่ยงตรงภายนอกได้หมด โดยเฉพาะความคลาดเคลื่อนอันเกิดจากปฏิกิริยาร่วมระหว่างองค์ประกอบต่างๆกับตัวแปรทดลอง
แบบที่ 9 แบบ 4 กลุ่มของโซโลมอน (Solomon four group design)
ข้อดี
สามารถควบคุมแหล่งที่ทำให้ขาดความเที่ยงตรงภายในได้ทั้งหมด
มีกลุ่มควบคุมหลายกลุ่มทำให้การเปรียบเทียบมีความกว้างขึ้น และแน่ใจได้ว่าเป็นผลจากตัวแปรทดลองจริงๆ
ควบคุมอิทธิพลของปฏิกิริยาร่วมระหว่างการทดสอบก่อนการทดสอบกับตัวแปรทดลองได้
ข้อบกพร่อง
ไม่แน่ใจว่าควบคุมแหล่งภายนอกที่มีผลต่อความเที่ยงตรงภายนอกได้ทั้งหมด
การทำให้กลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่ม มีลักษณะเท่าเทียมกันนั้นทำได้ยาก
จุดมุ่งหมาย
เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหาที่ทำวิจัยอย่างถูกต้อง เป็นปรนัย และด้วยวิธีการที่ประหยัดที่สุด
เพื่อควบคุมหรือขจัดอิทธิพลของตัวแปรเกิน
ความเที่ยงตรงของแบบการวิจัย
ความเที่ยงตรงภายใน (internal validity)
ความเที่ยงตรงที่เกิดจากการดำเนินการทดลองโดยตรง หรือผลการวิจัยเกิดจากการกระทำของตัวแปรอิสระหรือตัวแปรทดลองที่ศึกษาโดยตรง
ปัจจัยที่ทำให้ขาดความเที่ยงตรงภายใน
ประวัติของกลุ่มตัวอย่าง (history) หรือภูมิหลังของกลุ่มตัวอย่าง
วุฒิภาวะ (maturation) ของกลุ่มตัวอย่าง
ทักษะในการสอบวัด (test wise)
เครื่องมือที่ใช้วัด (instrumentation)
การถดถอยทางสถิติ (statistical regression)
การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง (selection)
การขาดหายไปของกลุ่มตัวอย่าง (experimental mortality)
ผลของปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ (interaction)
ความเที่ยงตรงภายนอก
การที่ผลการวิจัยสามารถสรุปอ้างอิงไปยังเนื้อหา สถานการณ์ ที่ใกล้เคียง และประชากรได้อย่างถูกต้อง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเที่ยงตรงภายนอก
ปฏิกิริยาร่วมระหว่างการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างกับตัวแปรทดลอง (interaction effects of selection bias and treatment)
ปฏิกิริยาระหว่างการสอบครั้งแรกกับตัวแปรทดลอง (interaction effects of testing and treatment)
ปฏิกิริยาจากการจัดสภาพการทดลอง (reaction from experiment situation)
ผลร่วมของการได้รับตัวแปรทดลองหลายๆตัวติดต่อกัน (carry over effect)
การประเมินประสิทธิภาพของการวิจัย
ความหมาย
แบบการวิจัยที่มุ่งสู่คำตอบต่อปัญหาอย่างแท้จริงและเป็นแบบที่อำนวยให้ผู้วิจัยสามารถควบคุม หรือขจัดอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อนได้ อีกทั้งจะต้องมีความเที่ยงตรงภายในและภายนอกสูง
หลักสำคัญของการประเมินประสิทธิภาพของแบบการวิจัย
การพิจารณาว่าแบบการวิจัยนั้นมุ่งสู่คำตอบปัญหาการวิจัยอย่างแท้จริง
การพิจารณาว่าแบบการวิจัยนั้นสามารถควบคุม หรือขจัดอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อนที่จะส่งผลมาถึงตัวแปรตาม
การพิจารณาว่าแบบการวิจัยนั้นมีความเที่ยงตรงภายในและความเที่ยงตรงภายนอกสูง
ความหมาย
แผน โครงสร้าง และยุทธวิธีในการศึกษาค้นคว้า