Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย, นายชลชลิต สุภานิช 62104010270 คณะพลศึกษา…
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แบบทดสอบ
เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดสมรรถภาพทางสมอง โดยใช้ข้อคำถามเป็นสิ่งกระตุ้น เพื่อให้ผู้ตอบได้แสดงความรู้ความสามารถต่างๆตามที่ผู้ถามต้องการ ซึ่งจะวัดตั้งแต่ความจำผิวเผินไปจนถึงวัดพฤติกรรมที่ลึกซึ้ง
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์(Achievement test)
1)แบบทดสอบปรนัย (objective) แบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ ได้ 4 แบบ คือ แบบเติมคำ แบบถูก-ผิด แบบจับคู่ และแบบเลือกตอบ
หลักการสร้างข้อสอบแบบปรนัย
4.ลงมือเขียนข้อสอบตามจุดประสงค์ที่ได้กำหนด
ไว้
5.นำข้อสอบที่ได้ มาพิจารณาทบทวน
3.กำหนดรูปแบบของข้อคำถาม และศึกษา
วิธีการเขียนข้อสอบ
6.ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเที่ยงตรงเชิง
เนื้อหา
2.กำหนดพฤติกรรมย่อยที่จะออกข้อสอบ
7.พิมพ์แบบทดสอบฉบับทดลอง
1.วิเคราะห์จุดประสงค์ เนื้อหาที่จัดให้กับกลุ่ม
เป้าหมาย
8.ทดลองใช้ วิเคราะห์คุณภาพ และปรับปรุง
ข้อดี
1.วัดพฤติกรรมได้หลายด้าน ตั้งแต่ความรู้ความจำไปจนถึงการสร้างสรรค์
2.เป็นข้อสอบที่ตรวจให้คะแนนง่าย ถูกต้อง รวดเร็ว และมีความเป็นปรนัย
3.สามารถควบคุมความยากง่ายของข้อสอบได้ การทำข้อสอบผิด ว่าเนื่องมาจากสาเหตุใด
4.เป็นข้อสอบที่ผู้วิจัยสามารถวินิจฉัยสาเหตุแห่งการทำข้อสอบผิด ว่าเนื่องมาจากสาเหตุใด
5.มีความเชื่อมั่นสูง เพราะมีจำนวนข้อสอบมากและตอบถูกโดยการเดามีน้อย
6.สามารถใช้สัญลักษณ์ รูปภาพ หรือกราฟมาเขียนข้อสอบได้
ข้อจำกัด
2.ไม่เหมาะที่จะวัดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การ
เสนอแนวคิด หรือทักษะการเขียน
3.สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงในการสร้างข้อสอบ
1.สร้างข้อสอบให้ดี ทำได้ยาก และใช้เวลาใน
การสร้างนาน
2)แบบทดสอบอัตนัย (subjective) หรือแบบทดสอบความเรียง หรือแบบทดสอบเรียงความ (essay) หมายถึง แบบทดสอบที่กำหนดปัญหา แล้วให้ผู้ตอบเขียนตอบตามความรู้ที่มีอยู่
หลักการตรวจให้คะแนนข้อสอบอัตนัย
4.ควรประเมินผลงานตามที่ตอบ ไม่ใช่ตามความ
รู้สึก หรือความประทับใจของผู้ตรวจ
5.ถ้าเป็นไปได้ควรจะมีผู้ตรวจอย่างน้อย 2 คน
ตรวจข้อสอบข้อเดียวกัน
3.ควรตรวจข้อสอบของผู้เรียนทีละข้อพร้อมๆกัน
ไปทุกคน เสร็จแล้วจึงค่อยตรวจข้อต่อไป
2.ควรให้คะแนนคำตอบที่เป็นการรวบรวมความคิด ลักษณะการเขียนชัดเจน การอธิบายความถูกต้องของแต่ละตอน
1.สร้างรายการคำตอบให้สมบูรณ์ และกำหนด
คะแนนของแต่ละคำตอบ
หลักการสร้างข้อสอบอัตนัย
ควรคำนึงถึงความสำคัญของวัตถุประสงค์
โดยเลือกถามเฉพาะจุดที่สำคัญๆของเรื่อง
4.พยายามให้ความยาวของข้อสอบ (จำนวน
ข้อสอบ) พอเหมาะกับเวลาที่กำหนดให้
2.ควรใช้ถามในสิ่งที่ข้อสอบอัตนัยสามารถวัดได้ดีที่สุด เช่น การบรรยาย การแสดงข้อคิดเห็นและข้อวิจารณ์ต่างๆ และพยายามหลีกเลี่ยงคำถามที่เป็นความรู้ความจำ
5.ไม่ควรให้มีการเลือกตอบเป็นบางข้อ
1.เขียนคำชี้แจงให้ชัดเจนเกี่ยวกับการตอบคำ
ถาม เวลาที่ใช้สอบและคะแนนเต็มในแต่ละข้อ
ข้อดี
3.วัดเจตคติ ข้อคิดเห็นต่างๆได้ดี
4.สะดวกและง่ายต่อการออกข้อสอบ
2.วัดความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถใน
การประเมินค่าได้ดี
5.ผู้ตอบมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นอย่าง
เต็มที่
1.วัดกระบวนการคิด และความสามารถในการ
เขียนได้เป็นอย่างดี
ข้อจำกัด
2.ขาดความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเพราะออก
ข้อสอบได้น้อย จึงทำให้ไม่ครอบคลุมเนื้อหา
3.ตรวจให้คะแนนยาก และใช้เวลาในการตรวจ
1.การให้คะแนนไม่แน่นอน คะแนนที่ได้ขึ้นอยู่
กับผู้ตรวจ เช่น อารมณ์ เจตคติ ลายมือ
แบบทดสอบวัดความถนัด(Aptitude test)
เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดศักยภาพทางสมองของผู้เรียนว่ามีสมรรถภาพมากน้อยเพียงใด และสามารถใช้ในการพยากรณ์ว่าผู้เรียนควรเรียนด้านใด สาขาวิชาใดจึงจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
แบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียน เช่น ด้านภาษา ด้านคณิตศาสตร์
แบบทดสอบวัดความถนัดเฉพาะอย่าง เช่น ความสามารถทางการแสดง
แบบทดสอบวัดบุคลิกภาพ
(Personality test)
เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดบุคลิกภาพและการปรับตัวของบุคคลในสังคม ซึ่งไม่สามารถวัดด้วยเครื่องมือที่ใช้วัดลักษณะทางกายภาพแบบทดสอบในลักษณะนี้มีความซับซ้อนต้องนำมาแปลความหมายของคะแนน
การสังเกต
ลักษณะของพฤติกรรมที่สังเกตได้
พฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นปกติ
พฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไข ที่กำหนด
ประเภทของการสังเกต
การสังเกตแบบมีโครงสร้าง (Structured observation) กำหนดเรื่องที่ต้องการสังเกตไว้ล่วงหน้าอย่างแน่นอน
การสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstrucured observation) เป็นการสังเกตที่ผู้สังเกตไม่มีการกำหนดว่าจะสังเกตพฤติกรรมอะไรบ้าง แต่จะสังเกตสภาพ ทั่ว ๆ ไป
วิธีการสังเกต
การสังเกตทางอ้อม
การสังเกตทางตรง
เทคนิคในการสังเกต
การสังเกตแบบมีส่วนร่วม เป็นการสังเกตที่ผู้สังเกตเข้าไปอยู่
ร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มที่ต้องการสังเกต
(1) การสังเกตแบบมีส่วนร่วมโดยสมบูรณ์ ผู้สังเกตเป็นสมาชิกของกลุ่มกระทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มที่ต้องการสังเกตทุกประการ
(2) การสังเกตแบบมีส่วนร่วมไม่สมบูรณ์
2.การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เป็นการสังเกตที่ผู้สังเกตไม่เข้าไป
มีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น
เครื่องมือที่ใช้ในการสังเกต
2.แบบสังเกตทักษะ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตทักษะการปฏิบัติต่างๆ นอกจากนี้ ยังใช้เป็นเครื่องประกอบการตรวจผลงานที่ได้จากการปฏิบัติก็ได้
1.แบบสังเกตพฤติกรรมเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกตพฤติกรรมแสดงออก ซึ่งเป็นคุณลักษณะด้านจิตพิสัย
คุณสมบัติของผู้สังเกตที่ดี
มีความละเอียดรอบคอบและตั้งใจในการสังเกต การสังเกตปรากฎการณ์
มีความยุติธรรม
มีการรับรู้ที่ดี สังเกตที่ดีต้องมีความไวในการรับรู้เป็นอย่างดี
มีสภาพร่างกายแข็งแรง ผู้สังเกตที่ดีควรมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
มีความรอบรู้ในเรื่องที่สังเกตเป็นอย่างดี
มีความซื่อสัตย์
ข้อดี
3.สามารถบันทึกความจริงในระหว่างที่เกิดเหตุการณ์นั้น
4.การสังเกตเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย สะดวก และนำไปใช้ได้บ่อยโดยไม่สิ้นเปลืองเงิน
2.ช่วยให้ได้ข้อมูลที่เป็นตัวแทนพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ อย่างแท้จริง
5.ช่วยให้ผู้สังเกตมีทักษะในการสังเกตดียิ่งขึ้น
1.ช่วยให้ได้ข้อมูลที่ไม่สามารถเก็บรวบรวมโดยใช้เครื่องมือหรือเทคนิคอย่างอื่น
6.มีความสบายใจทั้งสองฝ่าย
ข้อจำกัด
2.ถ้าผู้สังเกตมีเวลาน้อยอาจทำให้ได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน
3.การสังเกตบางครั้งทำได้ไม่สะดวก เช่น เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว
1.สิ้นเปลืองเวลาที่จะต้องคอยติดตามสังเกตพฤติกรรมตามเทศกาลต่างๆ
4.บางเหตุการณ์กระทำไม่ได้ ถ้าหากว่าเหตุการณ์นั้นไม่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ทำการสังเกต
การสัมภาษณ์
ลักษณะของการสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีการเตรียมคำถามที่ต้องการสัมภาษณ์ไว้ก่อนการสัมภาษณ์ทุกครั้ง
การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง เป็นการสัมภาษณ์ที่ไม่มีการกำหนดคำถามไว้ล่วงหน้า
ส่วนประกอบของแบบสัมภาษณ์
ส่วนที่สอง เป็นส่วนที่ใช้บันทึกข้อมูลส่วนตัวของผู้ถูกสัมภาษณ์ เช่น เพศ อายุ อาชีพ
ส่วนที่สาม เป็นส่วนที่ใช้บันทึกข้อคำถาม ความคิดเห็นและข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาตามจุดมุ่งหมายของการสัมภาษณ์
ส่วนแรก เป็นส่วนที่ใช้บันทึกข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการสัมภาษณ์ เช่น ชื่อโครงการวิจัย วัน เดือน ปี ที่ทำการสัมภาษณ์
ขั้นตอนในการสัมภาษณ์
ขั้นดำเนินการสัมภาษณ์
ขั้นบันทึกผลการสัมภาษณ์
ขั้นเตรียมการสัมภาษณ์
ขั้นปิดการสัมภาษณ์
วิธีการสัมภาษณ์
2.ศึกษาสภาพแวดล้อม ทำความคุ้นเคยกับผู้ที่จะไปสัมภาษณ์
3.กำหนดวิธีการสัมภาษณ์ นัดแนะเวลา สถานที่ให้เรียบร้อย
1.ควรศึกษาวัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์ให้เข้าใจ ว่าต้องการเก็บข้อมูลในเรื่องใด
4.ฝึกซ้อมคำถาม เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสัมภาษณ์
5.ดำเนินการสัมภาษณ์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน
5.2ขั้นสัมภาษณ์ โดยผู้สัมภาษณ์จะต้องให้ผู้ถูกสัมภาษณ์มีความรู้สึกว่าเขามีสิทธิ์ตอบตามความคิดเห็นของเขา
5.3ขั้นปิดการสัมภาษณ์ โดยผู้สัมภาษณ์ตรวจดูคำถามว่าถามครบทุกข้อหรือไม่ ย้ำให้ผู้สัมภาษณ์มีความภูมิใจ และสบายใจในการสัมภาษณ์ครั้งนี้
5.1ขั้นเริ่มต้นการสัมภาษณ์ โดยผู้สัมภาษณ์แนะนำตัวเอง บอกวัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์
หลักการสัมภาษณ์ที่ดี
ผู้สัมภาษณ์จะต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ถูกสัมภาษณ์
ควรมีการวางแผนเกี่ยวกับคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ตามลำดับก่อนหลัง
การเลือกผู้ถูกสัมภาษณ์อย่างเหมาะสม
ผู้สัมภาษณ์ควรเตรียมความรู้ในเรื่องที่ต้องการสัมภาษณ์ เป็นอย่างดี รวมทั้งประวัติส่วนตัวของผู้ถูกสัมภาษณ์ด้วย
หลีกเลี่ยงการใช้คำถามประเภทบังคับ
ภาษาที่ใช้ในการสัมภาษณ์ต้องเหมาะสมกับระดับของผู้ถูกสัมภาษณ์
วิธีการจดบันทึกอย่างเหมาะสม พูดคุยบ้าง
บรรยากาศในการสัมภาษณ์ควรเป็นอิสระ และมีสภาพแวดล้อมทีดี
คุณสมบัติของผู้สัมภาษณ์ที่ดี
เป็นคนช่างสังเกต ซึ่งจะช่วยให้ข้อมูลที่ได้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น
มีความซื่อสัตย์ ผู้สัมภาษณ์จะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อข้อมูล
มีปฏิภาณและไหวพริบดี สามารถแก้ไขสถานการณ์และปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
มีความรับผิดชอบในการสัมภาษณ์
มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ติดต่อสื่อสารกับคนอื่นได้เป็นอย่างดี
มีความอดทน ในระหว่างการสัมภาษณ์อาจจะพบปัญหาและอุปสรรคมากมาย
มีบุคลิกภาพที่ดี กริยามารยาทสุภาพเรียบร้อยนุ่มนวล
ข้อดี
2.สามารถปรับคำถามให้ชัดเจนได้ กรณีที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่เข้าใจคำถาม
3.ได้ข้อมูลจากบุคคลที่ต้องการจริง
1.สามารถเก็บข้อมูลได้จากทุกคนที่พูดได้ ช่วยแก้ปัญหาในเรื่องการอ่าน-เขียนได้
ข้อจำกัด
2.ในบางครั้งได้ข้อมูลที่ไม่จริง เนื่องจากผู้ถูกสัมภาษณ์เกิดความกลัว อายในการตอบคำถาม
3.ข้อมูลที่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้สัมภาษณ์
1.การเก็บข้อมูลบางครั้งต้องเดินทางไกล ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย
4.เสียเวลาในการฝึกอบรมผู้สัมภาษณ์ เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญ ในกรณีที่ต้องใช้ผู้สัมภาษณ์เป็นจำนวนมาก
คุณลักษณะของเครื่องมือที่ดี
1.ความเที่ยงตรง (validity) คือการที่เครื่องมือที่สามารถวัดในสิ่งที่ต้องการวัดได้ถูกต้อง
1.3ความเที่ยงตรงเชิงสภาพ (concurrent validity) หมายถึง เครื่องมือวัดได้ตรงกับสภาพความเป็นจริงของผู้ถูกวัดในขณะนั้น
.4ความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ (predictive validity) หมายถึงเครื่องมือที่วัดแล้วสามารถทำนายได้ว่า ผู้ถูกวัดคนนั้นจะเรียนวิชานั้นๆได้ดีเพียงใดในอนาคต
1.2 ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity) หมายถึง เครื่องมือสามารถวัดคุณลักษณะ หรือพฤติกรรมที่ต้องการวัดได้อย่างถูกต้อง
1.1 ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) หมายถึงเครื่องมือที่มีคำถามสอดคล้องกับเนื้อหาในหลักสูตร
2.ความเชื่อมั่น (reliability) หมายถึง คุณลักษณะของเครื่องมือที่สามารถวัดได้แน่นอน คงเส้นคงวา ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา การวัดครั้งแรกเป็นอย่างไร เมื่อวัดซ้ำ ผลการวัดก็ยังคงเดิม
3.อำนาจจำแนก (discrimination) หมายถึง ความสามารถของเครื่องมือในการจำแนกผู้ถูกวัดออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม สูง-กลุ่มต่ำ หรือกลุ่มเก่ง-กลุ่มไม่เก่ง
4.ความเป็นปรนัย (objectivity) หมายถึง เครื่องมือที่มีคุณสมบัติ
4.2การตรวจให้คะแนนได้ตรงกันไม่ว่าใครจะตรวจก็ตาม
4.3มีความแจ่มชัดในการแปลความหมายของคะแนน
4.1คำถามชัดเจน ผู้เข้าสอบเข้าใจตรงกันได้
5.ความยาก (difficulty) หมายถึง สัดส่วนที่ผู้ตอบข้อสอบนั้นถูกกับจำนวนคนที่เข้าสอบทั้งหมด ข้อสอบที่ดี คือ ข้อสอบที่ไม่ยากเกินไปหรือไม่ง่ายเกินไป
6.ความมีประสิทธิภาพ (efficiency) หมายถึง เครื่องมือวัดที่ประหยัดเศรษฐกิจ (economic) เช่น ลงทุนน้อย มีราคาถูก ง่ายต่อการดำเนินการสอบ เป็นต้น
7.การวัดอย่างลึกซึ้ง (searching) หมายถึงลักษณะข้อสอบที่ถามครอบคลุมพฤติกรรมหลายๆด้าน ไม่ใช่ว่าวัดแต่พฤติกรรมตื้นๆ เพียงอย่างเดียว
8.ความยุติธรรม (fair) หมายถึง การดำเนินการวัดจะต้องไม่เปิดโอกาสให้ผู้ถูกวัดคนใดคนหนึ่งได้เปรียบคนอื่นๆ
9.ความเฉพาะเจาะจง (definite) หมายถึง ข้อสอบที่มีแนวทางหรือทิศทางการถามการตอบอย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือ
10.การกระตุ้นยุแหย่ (exemplary) หมายถึง เครื่องมือวัดที่ทำให้ผู้ตอบทำด้วยความสนุกสนาน มีการถามล่อ เช่น จัดเอาข้อสอบง่ายๆไว้ในตอนแรกๆ แล้วจึงค่อยถามให้ยากขึ้นตามลำดับ
ข้อควรระวังในการเก็บรวบรวมข้อมูล
5.ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จะต้องชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจน
6.การเก็บรวบรวมข้อมูลต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน
4.ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จะต้องย้ำเตือนผู้ตอบให้ตอบให้ถูกต้องตามรูปแบบของเครื่องมือ
7.ผู้รวบรวมข้อมูลต้องขจัดความลำเอียงหรืออคติส่วนตัว
3.สร้างเครื่องมือวัดให้ชัดเจนและตรงตามวัตถุประสงค์
8.ระมัดระวังไม่ให้เก็บข้อมูลซ้ำหน่วย หรือเว้นข้ามหน่วย หรือเก็บจากหน่วยที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษา
2.วางแผนและฝึกฝนก่อนที่จะทำการเก็บรวบรวมข้อมูล
9.ผู้วิจัยควรทำเครื่องหมายไว้ที่เครื่องมือวิจัย ก่อนที่จะนำไปใช้จัดเก็บ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการติดตามทวงถาม
1.ไม่ควรทำการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ล่วงหน้า ก่อนการให้คำจำกัดความของปัญหา
10.ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลต้องใช้หลักจิตวิทยา และมีกิริยาที่สุภาพ อ่อนโยน ซึ่งจะมีผลทำให้ได้รับความร่วมมือในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล
แบบสอบถาม
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล มีลักษณะเป็นข้อคำถาม
เกี่ยวกับข้อเท็จจริง ความสนใจ ความต้องการ ปัญหา ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดของบุคคลในเรื่องต่าง ๆ แบบสอบถามนี้ส่วนใหญ่ใช้กับข้อมูลด้านจิตพิสัย (Affective)
โครงสร้างของแบบสอบถาม
1.คำชี้แจงในการตอบ โดยทั่ว ๆ ไป คำชี้แจงจะอยู่ที่ปกของแบบสอบถาม ในส่วนนี้จะกล่าวถึงจุดประสงค์ของการวิจัย ลักษณะของแบบสอบถาม วิธีตอบ พร้อมทั้งการขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามด้วยความจริงใจ โดยการให้ข้อมูลที่เป็นจริง แต่ไม่ควรถาม ชื่อ - นามสกุล
2.ข้อมูลที่ต้องการรวบรวม ประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบ เช่นเพศ อายุ อาชีพ การศึกษา สถานภาพการสมรส และอมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นในส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
รูปแบบของแบบสอบถาม
แบบคำถามปลายเปิด เปิดโอกาสให้ผู้ตอบได้ตอบแบบสอบถามอย่างอิสระภายในเนื้อหาคำถามที่กำหนดให้
แบบคำถามปลายปิด เป็นคำถามที่ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนและได้กำหนดคำตอบไว้ล่วงหน้า
ลักษณะของแบบสอบถามที่ดี
ลักษณะโดยทั่วไปของแบบสอบถาม
ใช้ระบบสีเพื่อสร้างจุดสนใจ
แบบสอบถามไม่ควรมีขนาดยาวมาก และไม่ควรมีความหนา
จัดรูปเล่มให้สวยงามน่าสนใจ
จัดเรื่องเนื้อหาสาระเป็นหมวดหมู่ เป็นตอน ๆ
ลักษณะคำถาม
ใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย
เรียงลำดับคำถามจากเรื่องง่าย ๆ ไปหาเรื่องยาก ๆ
หลีกเลี่ยงการถามที่เสนอแนะคำตอบ และคำถามแบบปฏิเสธ
หลีกเลี่ยงการถามที่ทำให้ผู้ตอบเกิดความละอายไม่กล้าตอบ
วิธีการที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม
ต้องมีคำชี้แจงวิธีตอบแบบสอบถามให้ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้ตอบปฏิบัติอย่างไร
หลีกเลี่ยงวิธีตอบที่ซับซ้อนยุ่งยาก
ถ้าเป็นคำถามปลายเปิด ควรเว้นที่ว่างสำหรับตอบให้พอเพียง
หลักในการสร้างแบบสอบถาม
สร้างคำถามให้ครอบคลุมทุกด้านที่ต้องการ
เรียงลำดับข้อคำถาม
จำแนกเรื่องที่ต้องการถาม เช่น ด้านข้อมูลส่วนตัว,ครอบครัว, เศรษฐกิจ
การตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม
กำหนดจุดมุ่งหมายที่แน่นอน กำหนดจุดมุ่งหมายว่าต้องการถามเรื่องอะไรบ้าง
ขั้นตอนในการสร้างแบบสอบถาม
กำหนดรูปแบบของคำถาม
ร่างแบบสอบถาม
วิเคราะห์ลักษณะของข้อมูลที่ต้องกา
ตรวจสอบแบบสอบถามฉบับร่าง
ทดลองใช้เครื่องมือ
จัดทำแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์
ข้อเสนอแนะในการสร้างแบบสอบถาม
ข้อคำถามควรสั้นกระทัดรัด
หลีกเลี่ยงคำถามที่ใช้ข้อความว่า บางครั้ง บ่อย ๆ นาน ๆ ที
ควรเขียนข้อคำถามเฉพาะเรื่องที่จำเป็น
หลีกเลี่ยงคำถามเกี่ยวกับศักดิ์ศรีและอารมณ์
วัดเรื่องที่ต้องการศึกษาได้
ในข้อคำถามแต่ละข้อควรมีตัวเลือกให้เพียงพอ ครบถ้วน
แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า
มาตราส่วนประมาณค่าแบบกราฟ (graphic rating scale) เป็นการกำหนดคุณลักษณะของพฤติกรรมไว้ที่เส้นนั้น ๆ ผู้ประเมินจะเขียนเครื่องหมายไว้บนเส้นที่ตรงกับลักษณะที่จะประเมิน โดยกำหนดให้ผู้ตอบทำเครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามความเป็นจริงของผู้ตอบ
มาตราส่วนประเมินค่าแบบกำหนดตัวเลข เป็นมาตราส่วนที่ทำขึ้นโดยกำหนดตัวเลขแทนคุณลักษณะต่าง ๆ แล้วให้ผู้ตอบทำเครื่องหมายตามคำสั่งลงบนตัวเลขที่กำหนดให้ ซึ่งจะต้องมีการชี้แจงเกณฑ์ตัวเลขไว้ด้วย
มาตราส่วนประมาณค่าแบบจัดประเภทหรือแบบบรรยาย วิธีการนี้จะเขียนคำบรรยายบอกคุณลักษณะของเรื่องนั้นว่าอยู่ในระดับใด โดยกำหนดให้ผู้ตอบเลือกตอบอย่างใดอย่างหนึ่งให้ตรงกับความเป็นจริง
แบบวัดเจตคติ
แบบวัดเจตคติตามเทคนิคของของลิเคิร์ท (Likert technique)
ขั้นตอน
2.ให้ความหมายของทัศคติที่จะศึกษานั้นอย่างแจ่มชัด
3.สร้างข้อความให้ครอบคลุมคุณลักษณะที่สำคัญๆของสิ่งที่จะศึกษาต้องมีทั้งข้อความที่เป็นทั้งทางบวกและทางลบ
1.ตั้งจุดมุ่งหมายของการศึกษาว่าต้องการศึกษาเจตคติของใครมีต่อสิ่งใด
4.ตรวจสอบข้อความที่สร้างขึ้น โดยตนเองและผู้ที่มีความรู้ (ผู้เชี่ยวชาญ)
5.ทำการทดลองใช้
6.กำหนดการให้คะแนน โดยให้ 5 4 3 2 1 สำหรับข้อความทางบวก และ 1 2 3 4 5 สำหรับข้อความทางลบ (เรียก Arbitary weighting method)
แบบวัดเจตคติตามวิธีการของเทอร์สโตน(Thurstone technique)
ขั้นตอน
นำข้อความที่รวบรวมไว้ไปให้ผู้ตัดสิน(judge) พิจารณา
ให้ผู้ตัดสินทั้งหมดแบ่งข้อความทั้งหมดออกเป็น 11 กอง โดยให้ผู้ตัดสินใช้เกณฑ์การแบ่งโดยการถามตนเองว่า ถ้าบุคคลที่มีความเห็นด้วยกับข้อความนั้นๆระดับของเจตคติควรจะอยู่ในระดับจาก 1 ถึง 11
1.เขียนข้อความต่างๆที่จะศึกษาให้ได้มากที่สุด
รวบรวมข้อมูลต่างๆ จากผู้ตัดสินแล้วทำการแจกแจงความถี่ของแต่ละข้อความ
5.คำนวณค่ามัธยฐาน
6.ตัดข้อความที่มีค่า Q สูงๆทิ้ง (Q > 1.67) เนื่องจากความคิดเห็นของผู้ตัดสินกระจายมาก แสดงว่าข้อความอาจไม่ชัดเจน
7.เลือกข้อความจกข้อความที่เหลือโดยข้อความที่มีค่าต่างกันเป้นช่วงๆช่วงละเท่าๆ กัน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เลือกข้อความที่มีค่า S ทั้งสูง กลาง ต่ำ ปะปนกันไป
นำข้อความที่เลือกไว้นั้นมาเรียงคละกันไปแบบสุ่มและจัดให้อยู่ในรูปแบบของแบบวัด โดยมีคำชี้แจงในการตอบระบุว่า ผู้ตอบแบบวัดนั้นควรเขียนเครื่องหมาย ✔ ลงหน้าหรือหลังข้อความที่ตรงกับความรู้สึกของตนเองมากที่สุด
นำแบบวัดนั้นไปทดลองใช้กับกลุ่มที่มีลักษณะเหมือนกลุ่มตัวอย่างจริง หรือกับประชากรที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อตัดข้อความที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป
พิจารณาตัดข้อความที่ไม่เกี่ยวข้อออกไป
11.นำข้อความที่คัดเลือกแล้วมาเรียบเรียงเป็นแบบวัด
แบบวัดเจตคติตามเทคนิคของออสกูด(Osgood technique)
เรียกกันทั่วไปว่า เทคนิคนัยจำแนก (semantic differential technique) ซึ่งใช้คำคุณศัพท์มาอธิบายความหมายของสิ่งเร้า โดยมีคำคุณศัพท์ตรงข้ามกันเป็นขั้วของมาตรวัด เรียกว่าสังกัป (concept)
ข้อดี
2.เก็บรวบรวมข้อมูลได้จำนวนมาก
3.ผู้ตอบมีโอกาสหาเวลาในการตอบ อีกทั้งยังมีอิสระในการตอบอีกด้วย
4.ง่ายต่อการนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อสรุปผล
5.ได้ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นจากผู้ตอบในเวลาใกล้เคียงกัน
1.ประหยัดเวลาและแรงงาน
ข้อจำกัด
3.ถ้าผู้ตอบ ตอบแบบขอไปที ทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์
4.ใช้เวลาในการสร้างแบบสอบถามที่ดีค่อนข้างนาน
2.กรณีส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ มักจะได้รับกลับคืนมาน้อย
5.หากข้อคำถามน้อยทำให้ไม่ครอบคลุมเนื้อหา แต่ถ้าข้อคำถามมากทำให้ผู้ตอบเกิดความเบื่อหน่าย
1.ใช้ได้เฉพาะบุคคลที่อ่านออกเขียนได้เท่านั้น
6.ไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่ได้จะมาจากบุคคลที่ต้องการจริงหรือไม่
สังคมมิติ
เป็นการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของเด็กที่ศึกษาในกลุ่มเพื่อนและศึกษาความสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่ม
ข้อดี
ทำให้สามารถรวบรวมข้อมูลที่เที่ยงตรงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์เฉพาะของบุคคลแต่ละคนในกลุ่มของตน สิ่งเหล่านี้ทำให้ทราบว่าเพื่อนๆ มองกันและกันใน ลักษณะใด
ขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล
4.ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลตามที่ได้วางแผนไว้
5.รวบรวมข้อมูลที่ได้รับคืนมา พร้อมทั้งตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูล
3.กำหนดนัดหมายกลุ่มตัวอย่างและแจกเครื่องมือจัดเก็บรวบรวมข้อมูล
6.ตรวจสอบจำนวนเครื่องมือที่ได้รับคืนมา ในกรณีที่ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดผู้วิจัยจะต้องทวงถามข้อมูลอีกครั้งเพื่อให้เพียงพอตามจำนวนที่ต้องการ
2.เตรียมเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลให้เพียงพอ
7.ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลอีกครั้ง แล้วนำไปวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยต่อไป
1.วางแผนเก็บรวบรวมข้อมูลควรเตรียมการ
1.2 กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลให้เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่าง และลักษณะของเครื่องมือ
1.3 กำหนดจำนวนขั้นต่ำของข้อมูลที่ต้องการจะได้รับคืน โดยทั่วไปมักจะกำหนดไว้ที่ร้อยละ 80 ของข้อมูลทั้งหมด แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของปัญหาและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย
1.1 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง และวิธีการสุ่มตัวอย่าง
นายชลชลิต สุภานิช 62104010270
คณะพลศึกษา สาขาวิชาสุขศึกษา (กศ.บ.)