Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 ชีวิตกับการนำปรัชญาและศาสนาไปประยุกต์กับศาสตร์สมัยใหม่ - Coggle…
บทที่ 7 ชีวิตกับการนำปรัชญาและศาสนาไปประยุกต์กับศาสตร์สมัยใหม่
ปรัชญาและศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่
ในปัจจุบันศาสตร์สมัยใหม่มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ จนทำให้มีข้อโต้แย้งและการตอบปัญหาในทางปรัชญาและศาสนา สาขาที่เป็นปัญหาก็คือสาขาจริยศาสตร์
ก่อนที่จะนำแนวความคิดด้านสาขาจริยศาสตร์มาศึกษาวิเคราะห์สังเคราะห์และอภิปรายกับศาสตร์สมัยใหม่ มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับจริยศาสตร์ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงแนวความคิดพุทธจริยศาสตร์เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อไป
แนวความคิดพุทธจริยศาสตร์กับการตั้งครรภ์แทน
การตั้งครรภ์แทนคืออะไร
การตั้งครรภ์แทน คือ การนำตัวอสุจิของผู้ชาย (สามี) และเซลล์ไข่ของผู้หญิง (ภรรยา) มาผสมภายนอกแล้วนำเข้าไปใส่โพรงมดลูกของหญิงอื่นที่มารับการตั้งครรภ์แทน เพื่อเป็นการช่วยเหลือคู่สามีภรรยาที่มีบุตรยากที่จะมีผู้สืบทอดเผ่าพันธุ์ของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งต่อไป
พุทธจริยศาสตร์กับการตั้งครรภ์แทน
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอาศัยอยู่กันเป็นกลุ่ม ชุมชน และสังคม ด้วยการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและเป็นการดำรง รักษาเผ่าพันธุ์ของตนเองไว้ การดำรงรักษาเผ่าพันธุ์ของตนเองด้วยการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มก็จะมีการเจริญพันธุ์ในการสืบเผ่าพันธุ์ของตนเองเพื่อให้เผ่าพันธุ์ของตนเองดำรงอยู่ตลอดไป
พุทธจริยศาสตร์กับการตั้งครรภ์แทน กรณีเกิดจากความบกพร่องทางชีวภาพของคู่สามีภรรยาที่มีบุตรยาก ที่ภรรยาไม่สามารถตั้งครรภ์ได้นำไปสู่การทดลอง การวิจัยและการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางด้านการเจริญพันธุ์มาตามลำดับ จนกระทั่งสามารถนำตัวอสุจิของสามีและเซลล์ไข่ของภรรยามาผสมภายนอกแล้วนำเข้าไปใส่โพรงมดลูกของหญิงอื่นที่มารับการตั้งครรภ์แทนที่นำไปสู่ประเด็นปัญหาว่าใคร? คือ มารดาที่แท้จริงระหว่างหญิงที่ให้เซลล์ไข่กับหญิงอื่นที่มารับการตั้งครรภ์แทน คำตอบคือหญิงที่ให้เซลล์ไข่
แนวความคิดพุทธจริยศาสตร์กับพุทธศาสนา
การกำเนิดชีวิตมนุษย์ตามแนวความคิดพุทธจริยศาสตร์ พุทธจริยศาสตร์ที่กล่าวถึงการดำเนินที่เป็นไปอย่างเป็นระบบ ระเบียบแบบแผน มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัวของสิ่งมีชีวิตรวมถึงการเจริญพันธุ์และพันธุกรรม เป็นต้น เรียกว่าพีชนิยาม
พีชนิยามได้กล่าวถึงการดำเนินที่เป็นไปอย่างเป็นระบบ ระเบียบ แบบแผน ของกำเนิดชีวิตมนุษย์ว่าจะต้องอาศัยปัจจัยสามประการมาประจวบเหมาะพร้อมกันถ้าปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งขาด การกำเนิดชีวิตมนุษย์ก็เกิดขึ้นไม่ได้ ปัจจัยสามประการคือ1. ผู้ชายกับผู้หญิงมีความสัมพันธ์ทางเพศถึงจุดหลั่งน้ำอสุจิ 2. ผู้หญิงที่มีความสัมพันธ์ทางเพศอยู่ในช่วงระยะเวลาที่มีเซลล์ไข่สุกพอเหมาะ และ 3. เชลล์อสุจิของผู้ชายกับเซลล์ไข่ของผู้หญิงผสมกันจนมีทารกที่จะมาเกิดปรากฏ
พุทธศาสนา หมายถึง หลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่มีความเชื่อว่าการเกิดขึ้นของสรรพสิ่งหรือสิ่งต่างๆ ย่อมมีสาเหตุและสาเหตุนั้นสามารถสืบเนื่องหรือเกี่ยวเนื่องหรือเชื่อมโยงไปสู่ผลได้ ดังพุทธพจน์ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
การพัฒนาชีวิตมนุษย์ตามแนวความคิดพุทธจริยศาสตร์
กลละ ถือเป็นสิ่งแรกหลังจากที่ผู้ชายกับผู้หญิงมีความสัมพันธ์ทางเพศจนถึงจุดหลั่งน้ำอสุจิกับผู้หญิงที่มีเซลล์ไข่สุกพอเหมาะและทารกที่จะมาเกิดปรากฏพระอรรถกถาจารย์ท่านอธิบายกลละว่ามีลักษณะใสดุจนน้ำมันเนยมีขนาดเล็กมากเท่าหยดน้ำมันงาซึ่งตั้งอยู่ที่ปลายเส้นด้ายที่ทำด้วยเส้นขนสัตว์ 3 เส้น ซึ่งเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ อธิบายหมายความว่าหยาดแห่งน้ำมันงา เนยใส ใสไม่ขุ่นมัวฉันใด เขาเรียกกันว่ากลละมีสีคล้ายกันฉันนั้น
อัมพุทะ เมื่อกลละนั้นล่วงไปเจ็ดวันก็จะมีสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ ดังคำที่อธิบายไว้ว่าเป็นกลละอยู่เจ็ดวัน ครั้นแก่ข้นขึ้นเปลี่ยนภาวะนั้นเกิดเป็นอัมพุทะ
เปสิ เมื่ออัมพุทะนั้นล่วงไปเจ็ดวันก็เกิดเป็นเปสิ คล้ายดีบุกเหลว เปรียบเสมือนพึงแสดงด้วยน้ำตาลเม็ดพริกไทย อธิบายต่อว่า เด็กชาวบ้านเก็บเมล็ดพริกไทยที่สุกแล้วมาห่อด้วยผ้าบีบเอาน้ำซึ่งเป็นครีมข้น จากนั้นก็เอาไปใส่ภาชนะตากแดดเมื่อแห้งแล้วก็เป็นก้อน เปสิมีลักษณะอย่างนั้น ดังที่อธิบายไว้ว่าเป็นอัมพุทะอยู่เจ็ดวันแก่ข้นขึ้นเปลี่ยนภาวะนั้นเกิดเป็นเปสิ
ฆนะ เมื่อเปสินั้นล่วงไปเจ็ดวัน ก้อนเนื้อชื่อฆนะมีสัณฐานเท่าไข่ไก่เกิดขึ้นดังที่อธิบายไว้ว่าเป็นเปสิอยู่เจ็ดวัน ครั้นแก่ข้นขึ้นเปลี่ยนภาวะนั้นเกิดเป็นฆนะสัณฐานแห่งฆนะเกิดขึ้นเพราะเหตุแห่งกรรมเหมือนไข่ไก่เกิดเป็นก้อนกลมโดยรอบ
ปัญจสาขา ความว่าเกิดปุ่มขึ้นห้าแห่งเป็นมือและเท้าอย่างละสองและเป็นศีรษะหนึ่ง ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสัปดาห์ที่ห้า ปุ่มตั้งขึ้นห้าแห่งตามกรรมดังนี้ ต่อแต่นี้ไปผ่านสัปดาห์ที่หก ที่เจ็ด เป็นต้น
จุดเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์ตามแนวความคิดพุทธจริยศาสตร์
พุทธจริยศาสตร์มีความเชื่อว่า ความเป็นชีวิตมนุษย์เริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิวิญญาณดวงแรกที่ปรากฏในครรภ์หลังจากเซลล์ไข่ของผู้หญิงกับเซลล์อสุจิของผู้ชายผสมกัน (Zygote) หรือการที่เซลล์ไข่ของผู้หญิงกับเซลล์อสุจิของผู้ชายผสม (ปฏิสนธิ) แบบ In-Vitro Fertilization จนเป็นเซลล์เดียวกัน (Zygote)เป็นกลละ การเป็นกลละนี้มีขันธ์ห้ามีครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ความเป็นชีวิตมนุษย์ไม่ได้นับจากการมีอวัยวะครบถ้วนสมบูรณ์ แต่นับตั้งแต่การมีขันธ์ห้าครบถ้วน
การทำลายชีวิตมนุษย์ตามแนวความคิดพุทธจริยศาสตร์
เมื่อเป็นกลละถือว่ามีขันธ์ห้ามีครบถ้วนสมบูรณ์แล้วแนวความคิดพุทธจริยศาสตร์จึงเห็นว่าการนำก้อนเซลล์ที่มีอายุสามถึงเจ็ดวันที่มีเซลล์รวมกันร้อยห้าสิบเซลล์เรียกว่า Blastocyst พุทธจริยศาสตร์เรียกว่ากลละ ภายใน Blastocyst นั้นจะมีเซลล์กลุ่มหนึ่งเรียกว่าสเต็มเซลล์หรือมวลเซลล์ชั้นในหรือกลุ่มเซลล์ที่อยู่ชั้นในมีจำนวนเซลล์สามสิบเซลล์ที่สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะ เพื่อทำหน้าที่ในการบำรุงรักษาซ่อมแช่มอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่เสื่อมสภาพหรือเสื่อมสลายไปตามกาลเวลาหรือสร้างอวัยวะต่างๆ ของร่างกายมาทดแทนเมื่ออวัยวะส่วนนั้นเสียหายอันเกิดจากอุบัติเหตุหรือเป็นโรค เป็นต้น เพื่อที่จะยืดอายุของตนเองออกไปเรื่อยๆ ตามแนวคิดพุทธจริยศาสตร์ถือว่าเป็นการทำลายชีวิตมนุษย์
คุณค่าของชีวิตมนุษย์ตามแนวความคิดพุทธจริยศาสตร์
คุณค่าของชีวิตมนุษย์ไม่ได้อยู่ที่อายุมากหรืออายุน้อย แต่คุณค่าของชีวิตมนุษย์ขึ้นอยู่กับการมีคุณธรรม จริยธรรม การเข้าไปพิจารณาเห็นความจริงของชีวิต สอดคล้องกับที่พระพรหมคุณาภรณ์อธิบายว่าผู้รู้เท่าทันโลกและชีวิตว่ามีสภาพปรุงแต่ง ล้วนไม่เที่ยงแท้เปลี่ยนแปลงแปรปรวน ไม่สามารถอยู่ในสภาพเดิมได้เป็นคุณค่าทางจิต ตลอดถึงการทำหน้าที่อันเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นเป็นคุณค่าทางหน้าที่ คุณค่าทั้งสองอย่างนี้ต้องสัมพันธ์และส่งเสริมกันและกันจึงถือว่าเป็นคุณค่าของชีวิตมนุษย์ที่สมบูรณ์
แนวความคิดพุทธจริยศาสตร์กับสเต็มเซลล์
สเต็มเซลล์คืออะไร
สเต็มเซลล์เป็นเซลล์อ่อนพร้อมที่จะพัฒนาเจริญเติบโตและแบ่งตัวเองขึ้นมาแล้วเปลี่ยนแปลงเพื่อไปทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งเฉพาะ อย่างหนึ่งได้เฉพาะและยังสามารถเพิ่มจำนวนได้ด้วยตัวของมันเองอีกด้วย เมื่อเปลี่ยนแปลงตัวมันเองไปทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งเฉพาะแล้วมันจะไม่ย้อนกลับมาเป็นสเต็มเซลล์อีก
การค้นพบและวิวัฒนาการของสเต็มเซลล์
สเต็มเซลล์ค้นพบครั้งแรกต้นศตวรรษที่ 19 โดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรปได้ศึกษาวิจัย (Somsak varakamin, 2555) ลักษณะเซลล์เม็ดเลือดต่างๆซึ่งประกอบไปด้วยเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวตลอดจนเกล็ดเลือด ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า เซลล์ของโลหิตทุกชนิดมีต้นกำเนิด (Stem) มาจากเซลล์ชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติพิเศษ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้เรียกเซลล์นั่นว่าสเต็มเซลล์ (Stem cell)
การเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ก่อนนำไปใช้
หลังจากได้มวลเซลล์ชั้นในหรือกลุ่มเซลล์ที่อยู่ชั้นใน (Inner stem cellmass) มาแล้วจะนำไปเพาะเลี้ยงในจานจนเจริญเติบโตเต็มจานเพาะเลี้ยง จากนั้นส่วนหนึ่งจะนำไปไว้ในจานเพาะเลี้ยงอันใหม่ การย้ายไปใส่ในจานเพาะเลี้ยงอันใหม่เรียกว่า subculture จะทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ หลายครั้งเป็นเวลานานหลายเดือน แต่ละครั้งรอบที่ทำ subculture จะเรียกว่า passage โดยเฉลี่ยภายในเวลาอย่างน้อยประมาณหกเดือน จากการเริ่มต้นเพียงสามสิบเซลล์ของกลุ่มมวลเซลล์ชั้นในก็จะกลายเป็นสเต็มเซลล์นับล้านเซลล์และสเต็มเซลล์นั้นต้องไม่เปลี่ยนไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงจนสุดท้ายของผลผลิตจากห้องปฏิบัติการเรียกว่า embryonicstem cell line เมื่อได้ สเต็มเซลล์ที่เป็นต้นแบบแล้วก็จะนำไปแช่แข็งพร้อมที่จะนำไปใช้ในงานศึกษาวิจัยต่อไป
พุทธจริยศาสตร์กับสเต็มเซลล์
จากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถตอบสนองความต้องการของชีวิตมนุษย์และสังคมได้ ในส่วนชีวิตมนุษย์ทำให้มนุษย์มีชีวิตอายุยืนยาวนานยิ่งขึ้น มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจ็บป่วยน้อยลง ถ้ามีอวัยวะต่างๆ ของร่างกายส่วนใด ส่วนหนึ่งเสื่อมสภาพหรือเสื่อมลายไปตามกาลเวลาก็จะพยายามแสวงหาวิธีการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมเพื่อให้อวัยวะต่างๆของร่างกายส่วนนั้นอยู่ในสภาพเดิมนานที่สุดพร้อมทั้งหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ และพยายามรักษาสุขภาพร่างกายให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอในส่วนสังคมเมื่อชีวิตมนุษย์แต่ละชีวิตมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจ็บป่วยน้อยลงรวมถึงการหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บก็จะทำให้สังคมมีความสุขตามไปด้วย
จริยศาสตร์ตะวันตกกับสเต็มเซลล์
การนำสเต็มเซลล์ไปพัฒนาเพื่อทำหน้าที่เฉพาะในการบำรุงรักษาอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่เสื่อมสภาพหรือซ่อมแซมอวัยวะต่างๆของร่างกายที่เกิดจากการเสื่อมสลายไปตามกาลเวลาหรือนำมาสร้างอวัยวะต่างๆของร่างกายเพื่อมาทดแทนเมื่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกายส่วนนั้นเสียหายอันเกิดมาจากอุบัติเหตุหรือเป็นโรค เป็นต้น หรือเป็นการยืดอายุของตนเองออกไปเรื่อยๆจึงนำไปสู่ประเด็นปัญหาว่าเป็นการทำลายชีวิตมนุษย์หรือไม่ คำตอบคือเป็นการทำลายชีวิตมนุษย์ตามแนวความคิดพุทธจริยศาสตร์ เหตุผลดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น