Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจำแนกหมวดคำไทยโดยใช้กรอบประโยคทดสอบ - Coggle Diagram
การจำแนกหมวดคำไทยโดยใช้กรอบประโยคทดสอบ
1 และ 2 คำนามและกริยาอกรรม
มีกรอบประโยคทดสอบ 2 กรอบ
คือ ประโยค ก นาม + กริยาอกรรม + แล้ว
ประโยค ข นาม + กำลัง + กริยาอกรรม เช่น
ประโยค ก ฝน ตก แล้ว
ประโยค ข ฝน กำลัง ตก
3 หมวดกริยาสกรรม ประโยค ก นาม + กริยาสกรรม + นาม + แล้ว ประโยค ข นาม + กำลัง + กริยาสกรรม + นาม เช่น ประโยค ก แม่ ทำ กับข้าว แล้ว ประโยค ข น้องกำลัง ทำ การบ้าน
4 หมวดคำกริยาทวิกรรม
ประโยค ก นาม + กริยาทวิกรรม + นาม + นาม + แล้ว
ประโยค ข นาม + กำลัง + กริยาทวิกรรม + นาม +นาม
เช่น ประโยค ก พ่อ ป้อน ข้าว น้อง แล้ว
ประโยค ข พ่อ กำลัง ป้อน ข้าว น้อง
5 หมวดคำกริยาอรรมย่อย
นาม + กริยาอกรรมย่อย + กว่า + นาม + แล้ว เช่น
เอก อ้วน กว่า น้อง แล้ว
เสื้อ เก่า กว่า กางเกง แล้ว
6 คำคุณศัพท์ คือ คำที่ทำหน้าที่ขยายคำนามในภาษาไทย คำประเภทที่ทำหน้าที่ขยายนามได้อย่างเดียวโดยมีหีือไม่มีลักษณะนามมาช่วยก็ได้ มีอยู่ไม่กี่คำ ได้แก่ ส่วนตัว เปล่า ร่อย ใบ้ หัวปีและสีบางสี เช่น น่ำตาล ส้ม เทา
7 คำช่วยพลังกริยา คือ คำที่ปรากฏอยู่หลังตำแหน่ง
หน่วยกริยา แทนที่คำว่า แล้ว ในกรอบประโยคทดสอบ
ประโยค ก นาม+ กริยาอกรรม + แล้ว
ประโยค ก นาม + กริยาสกรรม+นาม+แล้ว
ประโยค ก นาม +กริยาทวิกรรม+นาม+นาม+แล้ว
เช่น ฝน กำลังตก ฝนตกแล้ว
ฝน เพิ่ง ตก ฝนตกอยู่แล้ว
10 หมวดคำกริยามีอยู่ 11คำคือ ไป แสดงว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทิศทางที่ห่างออกไปจากตัวผู้พูด เช่น ส่งไป เข้าไป
ลง แสดงว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทิศทางสู่เบื้องต่ำ เช่น คว่ำลง
เข้า แสดงว่าเป็นการเร่งเร้า เช่น รีบทำเข้า รีบแต่งตัวเข้า
ออก แสดงว่าเป็นการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง โดยขยายขนาดขึ้น เช่น ขยายออก แผ่ออก ระเบิดออก
เสีย แสดงว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น ดินสอหักเสียแล้ว
ไว้ แสดงความหมายว่าให้คงทำอย่างนั้น เช่น นิ่งไว้ จำไว้
เอา แสดงว่าเป็นเรื่องที่ถูกกระทำ เช่น เดี๋ยวยุงกัดเอา
ให้ แสดงว่าเป็นเรื่องที่ถูกกระทำ เช่น เดี๋ยวแม่ตีให้
1 more item...
24 หมวดคำบุพบท ถือเป็นคำเชื่อมประเภทหนึ่ง เพราะสามารถปรากฏระหว่างคำกริยากับคำนามได้ นาม+คำช่วยหน้ากริยา+กริยาอกรรม+คำบุพบท+นาม เช่น เรือ กำลัง แล่น ใต้ สะพาน
เด็ก เพิ่ง ขึ้น จาก น้ำ
25 หมวดคำเชื่อมนาม ได้แก่ คำที่ปรากฏระหว่างคำนาม 2 คำ เวลาออกเสียงไม่เน้นหนักที่่คำเชื่อม เช่น เสื้อ กับ กางเกง
เนื้อ หรือไก่
ปากกา ของ น้อง
26 หมวดคำเชื่อมอนุพากย์ จะปรากฏในประโยคผสม และประโยคซับซ้อน เช่น เขาไม่สบายแต่ก็ยังมาโรงเรียน
ฉันจะไปดูหนังแล้วก็จะไปหาเพื่อน
8 คำช่วยหน้ากริยา คือ คำที่ปรากฏในตำแหน่งหน้า หน่วยกริยา แทนที่คำว่า กำลัง
นาม+กำลัง+กริยาอกรรม
นาม+กำลัง+กริยาสกรรม+นาม+นาม+กำลัง+กริยาทวิกรรม+นาม+นาม
9 หมวดปฏิเสธที่ใช้บ่อยที่สุด คือ คำว่า ไม่ ข้างหลังคำช่วยหน้ากริยาบางคำ เกิด วันที่เพื่อนเกิดไม่มา เกือบ กำลัง คง ค่อนข้าง ชวน จง ชัก แทบ พลอย เพิ่ง มัก ย่อม ยัง อาจ ดูเหมือน คล้ายจน ท่าจะ เห็นจะ ออกจะ แสนจะ จะได้
ข้างหน้าคำช่วยหน้ากริยาบางคำ ค่อย เช่น เราไม่ค่อยเที่ยว ขนมไม่น่ากิน
ข้างหน้าหรือข้างหลังคำช่วยหน้ากริยางบางคำ ควร เคย ต้อง อยาก เช่น เธอไม่ควรพบเขา เธอควรไม่ไปพบเขา
ไม่ปรากฏคำช่วยหน้ากริยาในประโยคอาจปรากฏหน้าคำกริยา เช่น แดดไม่ออกเลย
12 หมวดลงท้าย คือ คำที่ปรากฏตำแหน่งท้ายสุดของประโยค เช่น คะ ค่ะ ครับ จ๊ะ จ๋า เหรอ ขา ฮะ ไหม ล่ะ นะ น่ะ
13 หมวดคำกริยาวิเศษณ์ นาม+กริยาอกรรม+คำกริยาวิเศษณ์ เช่น รถ สวย จัง เหลือเกิน
14 หมวดคำพิเศษ ในภาษาไทยมีอยู่ไม่มากนัก เช่น ปกติ น่า กลัว ธรรมดา ส่วนมาก ส่วนใหญ่ ที่จริง โดยทั่วไป เช่น ปกติ เด็กคนนี้ซนเหลือเกินนะ เด็กคนนี้ปกติซนเหลือเกินนะ
เด็กคนนี้ซนเหลือเกินนะ
15 หมวดคำสรรพนาม ถือว่าเป็นหน่วยย่อยของคำนาม ปรากฎในตำแหน่งเดียวกันกับคำนามได้ ในกรอบประโยคทดสอบ ประโยค ก สรรพนาม + กริยาอกรรม + แล้ว
ประโยค ข สรรพนาม + กำลัง + กริยาอกรรม
เช่น แม่ มาแล้ว
เธอ มาแล้ว
แม่ กำลัง มา เธอ กำลังมา
16 คำลักษณนาม นาม+ลักษณนาม+กริยากรรมย่อย+นี่+กริยากริยาอกรรม+แล้ว เช่น กล้วย หวี ใหญ่ นี่เหี่ยว
เสื้อ ตัว เก่านี่ ขาด แล้ว
17 หมวดคำนำนวนนับ นาม + คำช่วยหน้ากริยา+กริยาสกรรม+นาม+คำจำนวนนับ+ลักษณนาม เช่น หนุ่ม จะ ซื้อ หนังสือ 2 เล่ม
18 หมวดคำลับดับที่ นาม+คำช่วยหน้ากริยา + กริยาสกรรม+นาม+ลักษณนาม+คำบอกลำดับที่ เช่น แดง จะ นั่ง รถ คัน ที่สอง
พ่อ เพิ่ง ปลูก บ้าน หลัง เดียว
19 หมวดคำหน้าจำนวน นาม+คำช่วยหน้ากริยา+กริยาสกรรม+นาม+คำหน้าจำนวน+คำบอกจำนวนนับ+ลักษนาม เช่น เพื่อน จะ ซื้อ หนังสือ อีก 2 เล่ม
20 หมวดคำหลังจำนวนนับ นาม+คำช่วยหน้ากริยาย+กริยาสกรรม+นาม+คำบอกจำนวนนับ+ลักษณนาม+คำหลังจำนวน เช่น โหน่ง จะ ซื้อ ผ้า 2 หลา เศษ
21 คำบอกกำหนดเสียงตรีและจัตวา คือ นี้ นั้น โน้น นู้น ไหน แล้ว เช่นโต๊ะนี้ รถคันนี้
22 คำบอกกำหนดเสียงโท มี 4 คำ คือ นี่ นั่น โน่น นู่น เช่น โต๊ะนี่ รถนี่
23 หมวดคำบอกเวลา ปรากฏได้ตามลำพัง อาจจะปรากฏต้นหรือท้ายประโยคก็ได้ เช่น กลางคืน อากาศหนาวมาก อากาศหนาวมาก กลางคืน