Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Teenage Preterm with Severe preeclampsia - Coggle Diagram
Teenage Preterm with Severe preeclampsia
ภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์
หมายถึง ภาวะที่มีความดัน systolic 140 mmHg ขึ้นไปหรือสูงกว่าเดิม 30 mmHg และความดัน Diastolic 90 mmHg ขึ้นไปหรือสูงกว่าเดิม 15 mmHg
การจำแนกภาวะความดันโลหิตสูง
Pregnancy-induced hypertension (PIH)
ภาวะความดันโลหิตสูง ที่เกิดขึ้นเฉพาะขณะตั้งครรภ์
Eclampsia
หญิงตั้งครรภ์ที่มี Pre -eclampsia แล้วมีอาการชักเกร็ง
Pre-eclampsia
ภาวะความดันโลหิตสูงที่เกิดในอายุครรภ์เกิน 20 สัปดาห์ขึ้นไป
ร่วมกับการตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ มากกว่า 0.3 g/L หรือ หมายถึง ปัสสาวะที่ตรวจมีปริมาณมากกว่า 1 กรัม/ลิตรในการเก็บปัสสาวะในการสุ่ม และ อาการบวม กดบุ๋ม น้ำหนัก เพิ่มขึ้น 5 ปอนด์/สัปดาห์ หรือมากกว่า
แบ่งออกเป็น
Mild pre-eclampsia
การวินิจฉัย ความดัน systolicไม่เกิน 160 mmHg และความดัน Diastolicไม่เกิน 110 mmHg ร่วมกับมีโปรตีนในปัสสาวะน้อยกว่า 5 กรัม/ลิตร หรือ 1-2 + และอาการบวม
Chronic hypertension of whatever cause (CHT)
ภาวะความดันโลหิตสูง ที่เกิดก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
Chronic hypertension with superimposed pre-eclampsia or eclampsia
ภาวะความดันโลหิตสูงในกลุ่ม Chronic hypertension of whatever cause ร่วมกับ Pregnancy-induced hypertension โดยมีการบวมและตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะร่วมด้วย
Transient or gestational hypertension
ภาวะความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์หลัง 20 สัปดาห์ หรือ 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ปัจจัย
1.อายุของหญิงตั้งครรภ์ อายุน้อยกว่า 20 ปี
2.ลำดับครรภ์ เกิดขึ้นบ่อยในหญิงที่ไม่เคยคลอด
3.ปัจจัยทางพันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง
4.ประวัติการเจ็บป่วยทางอายุรกรรม เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจ
5.ลักษณะโครงร่างของร่างกาย รูปร่างผอมน้ำหนักน้อย
ผู้ป่วย อายุ 17 ปี G1P0 มารดาของผู้ป่วยเป็นความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว Asymptomatic mitral regurgitation
(โรคลิ้นหัวใจไมตรัสรั่ว)
Severe preeclampsia
การวินิจฉัย
ความดัน systolicไม่เกิน 160 mmHg หรือมากกว่า และความดัน Diastolicไม่เกิน 110 mmHg หรือมากกว่า
มีโปรตีนในปัสสาวะ ประมาณ 5 กรัม/ลิตร หรือมากกว่า หรือ 3-4 บวก ในปัสสาวะที่เก็บ 24 ชั่วโมง
มีจำนวนปัสสาวะน้อยกว่า 400 ลูกบาศก์เซนติเมตรใน
24 ชั่วโมง
มีอาการตาพร่ามัวมองไม่ชัด เห็นภาพซ้อน หรือปวดศรีษะมาก ปวดบริเวณลิ้นปี่
V/S (15 มีนาคม 64) แรกรับ
BP = 165/75 mmHg T =37.4 C P = 90 ครั้ง/นาที
RR = 18 ครั้ง/นาที O2 = 98%
Urine albumin +4
มีอาการตาพร่ามัว ปวดศรีษะ จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ หน้าบวม มือบวม
การรักษา
1.ดูแลทั่วไป
รับไว้ในห้องคลอดดูแลอย่างใกล้ชิด
ให้นอนพักบนเตียงให้เต็มที่ absolute bed rest
ตรวจวัดความดันโลหิต ชีพจร การหายใจ ทุก 15-30 นาที รีเฟล็กซ์ ทุก 30 - 60 นาที วัดปริมาณสารน้ำเข้าออกทุก 1-2 ชั่วโมง
2.ป้องกันการชัก
ให้ยาป้องกันการชัก โดยให้แมกนีเซียมซัลเฟท MgSO4
3.การพิจารณาให้ยาลดความดันโลหิต เมื่อ systolic BP>=160 mmHg หรือ diastolic BP >= 110 mmHg
4.ยาขับปัสสาวะ โดยทั่วไปไม่ให้ยาขับปัสสาวะ ใน preeclampsia เนื่องจากมี intravascular volume น้อยอยู่แล้ว และยายังทำให้ทารกเกิดภาวะ hypoxia ได้ง่าย แพทย์พิจารณาให้เฉพาะรายที่ทีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจล้มเหลวหรือปอดบวมน้ำ
5.การแก้ไข hemoconcentration ควรให้สารน้ำประเภท crystalloid หรือสารละลายเกลือแร่ เริ่มต้นด้วยการให้ 5% glucose in lactated ringer's solution
6.Severe preeclampsia ที่มีอาการเจ็บครรภ์ตลอด ห้ามให้ยายับยั้งการเจ็บครรภ์ ในทุกอายุครรภ์
4.การทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุด
ในผู้ป่วย ที่เป็น severe pre - eclampsia ถ้าอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ แล้ว พิจารณาให้คลอดได้เลย แต่ในกรณีที่ต่ำกว่า 37 สัปดาห์ เมื่อได้พักให้ Magnesium sulfate หรือยาลดความดันโลหิตแล้ว ถ้าความดันโลหิตลดลงอาการไม่รุนแรงก็สามารถตั้งครรภ์ต่อไป แต่ถ้าอาการไม่ดีหรือ Impending eclampsia ก็พิจารณาให้คลอดโดยไม่คำนึงถึงอายุครรภ์
รับผู้ไว้ในห้องคลอด (15 มีนาคม 64 )
ตรวจวัดความดันโลหิต ชีพจร การหายใจ ทุก 15-30 นาที
BP>= 160/110 mmHg RR <14 ครั้ง/นาที ให้รายงานแพทย์ keep Urine output > 25 ml/hr
ผู้ป่วยได้รับยากันชัก เป็น 50 %MaSO 4 20 gm + 5% DW 460 ml. IV drip 12.5 ml/hr
ผู้ป่วยได้รับยาลดความดันโลหิต Hydralazine 1x2 po pc
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-Proteinuria ตั้งแต่ 5 กรัมขึ้นไป ใน 24 ชั่วโมง หรือ 3+ dipstick ขึ้นไป2ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
-ภาวะไตวาย serum creatinine >= 1.1mg/ dL. หรือปริมาณปัสสาวะออกน้อยกว่า500 มิลลิลิตร ใน 24 ชั่วโมงภายหลังได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
-การทำงานของตับผิดปกติ ระดับเอมไซม์ AST หรือ ATL สูงกว่า 70 IU/L หรือมากกว่า 2 เท่าของเดิม
-เกล็ดเลือดต่ำ มี platelet Count < 100,000 ต่อไมโครเมตร
Protein (Urin - spot) 1994.2 mg/dL
platelet Count 249 ไมโครเมตร
พยาธิสรีรภาพ
1.หลอดเลือดหดเกร็ง vasospasm ทั่วร่างกาย เกิดความดันโลหิตสูง และผลเสียต่ออวัยวะ
2.เกร็ดเลือดจับตัวและไฟบรินสะสม เกิดเกร็ดเลือดต่ำ
3.หลอดเลือดเล็กถูกทำลาย ซึ่งเกิดจากผลร่วมกันของvasospasm และ microthrombi
4.การไหลเวียนลดลงส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ
ก่อให้เกิดพยาธิสภาพ ต่ออวัยวะในทุกระบบของทั้งมารดาและทารกในครรภ์
Renal system จากการที่ปริมาณไหลเวียนที่ไตลดลง ประกอบกับมีการทำลายชั้น เยื่อบุหลอดเลือดไต ส่งผลให้ปริมาณปัสสาวะลดลง และระดับserum uric acid และ creatinine เพิ่มขึ้น
Cardiopulmonary system ใน severe preeclampsia การเกิด generalized vasospasm ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
Hematologist and coagulation system เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำเฉียบพลัน และมีปัจจัยการแข็งตัวของเลือดอื่นๆ ลดลงด้วย
Hepatic system การเกิด generalized vasoconstriction ทำให้เกิด hepatic ischemia และส่งผลต่อ ระดับเอมไซม์ AST, SGOT,SGPT สูงขึ้น ในบางรายอาจมีภาวะเลือดไม่แข็งตัว ร่วมด้วย ดังนั้นบางราย จึงมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่ หรือเจ็บใต้ชายโครงขวา คลื่นไส้อาเจียน
Neurological system จากการเยื่อบุถูกทำลาย อาจทำให้เกิดการแตกของเส้นเลือดฝอย
Placenta and uterus จากการหดรัดตัวของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบตัน ปริมาณเลือดที่ไหลผ่านระหว่างรกและมดลูกลดลง
Teenage pregnancy
คือ การตั้งครรภ์ของสตรีที่มีอายุ ระหว่าง 10-19 ปี