Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มารดาหลังคลอด
Dx. Term pregnancy with Induction due to GDMA2,…
-
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 2 มารดาเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดข้อมูลสนับสนุน
- น้ำหนักรก 640 กรัม
- blood loss 500 ml จากการผ่าตัด
- G3P2002 เคยคลอดบุตรน้ำหนัก 3,200 gm และ 3,000 gm
- มีแผลที่โพรงมดลูกและแผลจากการผ่าตัด
- มารดาเป็น GDMA2
วัตถุประสงค์ : เพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดเกณฑ์การประเมินผล
- สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- PR = 60-100bpm, RR=16-20 bpm , BP=90-140/60-90 mmHg
- มีเลือดออกทางช่องคลอดไม่เกิน 1ผืน/ชั่วโมง (50cc/ชั่วโมง)
- แผลจากการผ่าตัด ไม่มีเลือดออกและไม่มี hematoma
- ไม่มีอาการกระสับกระส่าย ใจสั่น ตัวเย็น หน้ามืดและเหงื่อออกมาก
- มดลูกมีการหดรัดตัวดี มีลักษณะกลมแข็ง
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก (Uterine contraction) และสังเกตลักษณะของแผลผ่าตัด เพื่อตรวจหาการบวมเลือด (hematoma) หรือมีเลือดซึมจากแผล เพื่อประเมินภาวะตกเลือด
- ประเมินและวัดVital signs ทุก15นาที 4ครั้ง ทุก30นาที 2ครั้ง และทุก1ชั่วโมงจนกว่าจะstable เพื่อประเมินอาการผิดปกติ
- ดูแลไม่ให้กระเพาะปัสสาวะเต็ม โดยดูแลไม่ให้สายสวนปัสสาวะหัก พับ งอ หากมีกระเพาะปัสสาวะเต็ม ให้รายงานแพทย์เพื่อสวนระบายปัสสาวะออกโดยถูกวิธีและปลอดเชื้อ เพื่อป้องกันกระเพาะปัสสาวะขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก
- ดูแลให้ได้รับสารน้ำ 5%DN/2 + syntocinon 16 unit 250 ml rate100ml/hr ตามแผนการรักษาของแพทย์
- สอบถามผู้คลอดว่ามีความรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อย หน้ามืด เวียนศีรษะ ใจสั่นหรือไม่ เพราะเป็นอาการแสดงของการสูญเสียเลือดและน้ำของร่างกายมากกว่าปกติ(hypovolemic shock)
- กระตุ้นให้ทารกดูดนมให้เร็วที่สุด หรือถ้าหากไม่ได้อยู่กับบุตร ให้นวดกระตุ้นการไหลของเต้านม เพื่อส่งเสริมให้oxytocinหลั่ง ทำให้มดลูกหดรัดตัวดี
- ติดตามประเมิน ลักษณะน้ำคาวปลา สี กลิ่น และปริมาณ วัดปริมาณเลือดในผ้าอนามัยและบันทึกทุก30นาที-1ชั่วโมง โดยปกติจะไม่เกิน50cc/hr
การประเมินผล
- สัญญาณชีพ (15/3/65)
- เวลา 10.00 น. PR = 79 bpm, RR= 24 bpm ,BP= 94/51 mmHg, pain score 2 คะแนน
- เวลา 14.00 น. PR = 100 bpm, RR= 2 bpm, BP= 127/90 mmHg, pain score 5 คะแนน
- มีเลือดออกทางช่องคลอด 10ml/day
- แผลผ่าตัด ไม่มีbleedingซึมที่แผล ไม่แดง,ช้ำ,บวม ไม่มีbleeding ไม่มีhematoma แผลชิดกันดี
- ไม่มีอาการกระสับกระส่าย ใจสั่น ตัวเย็น หน้ามืดและเหงื่อออกมาก
- มดลูกมีการหดรัดตัวดี มีลักษณะกลมแข็ง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่3 มารดาเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง/ต่ำ ข้อมูลสนับสนุน
- มารดาเป็น GDMA2
- วันที่14/3/65 DTX อยู่ในช่วง 77- 81 mg%
วัตถุประสงค์ เพื่อไม่ให้มารดาเกิดอันตรายจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง/ต่ำเกณฑ์การประเมินผล
- DTX 80-120 mg%
- ไม่มีอาการและอาการแสดงของHypoglycemia,Hyperglycemia
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพทุก15นาที 4ครั้ง ทุก30นาที 2ครั้ง และทุก1ชั่วโมงจนกว่า จะstable เพื่อ ประเมินอาการผิดปกติ
- ประเมินอาการและอาการแสดงของHypoglycemia,Hyperglycemia ได้แก่
- Hypoglycemia DTX<80mg% มีอาการเหงื่อออก ตัวเย็น ซีด ใจสั่นมือสั่น กระสับกระส่าย ความรู้สึกตัวลดลง สับสน อาจหมดสติ หากมีอาการให้รีบดื่มน้ำหวานหรืออมลูกอม
- Hyperglycemia DTX >120mg% มีอาการหิวน้ำบ่อย กินจุ ปัสสาวะบ่อย คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง หายใจหอบเหนื่อย ความรู้สึกตัวลดลง ซึมลง อาจหมดสติ หากมีอาการให้รีบแจ้งแพทย์
- อธิบายอาการและอาการแสดงHypoglycemia,Hyperglycemia แก่มารดา และแนะนำมารดาหากมีอาการให้รีบแจ้งพยาบาลทันที เพื่อจะได้ช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
- เจาะ DTX ทุก 2ชั่วโมงตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อประเมินภาวะHypoglycemia,Hypoglycemia
- ดูแลให้ได้รับสารน้ำตามแผนการรักษา คือ 5%DN/2 250ml + syntocinon 16 unit rate100cc/hr
- ดูแลให้ได้รับ insulin ตามแผนการรักษา คือ novorapid 6-6-6 unit ac , NPH 8 unit sc hs
- หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนให้กระตุ้นให้ทารกดูดนม เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนมของมารดา
- อธิบายและให้ความรู้มารดาเกี่ยวกับโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ระดับน้ำตาลในเลือดจากกลับสู่ปกติภายใน4-6สัปดาห์ สามารถให้นมบุตรได้ แต่ต้องเพิ่มอาหาร 400 Kcal และเลี่ยงกินยาเบาหวานขณะให้นมบุตรเพราะผ่านทางน้ำนมได้
- ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ FBS เพื่อประเมินภาวะผิดปกติ
การประเมินผล
- แพพทย์ off DTX
- มารดาไม่มีอาการและอาการแสดงของHypoglycemia,Hyperglycemia
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 4 มารดาเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระยะหลังคลอด เนื่องจากมีแผลในโพรงมดลูก ข้อมูลสนับสนุน
- ผู้ป่วยมีแผลในโพรงมดลูก
- ผู้ป่วยเป็น GDMA2
- V/S 15/03/65 เวลา 14.00 น. V/S BT : 37.8 C , PR 100 bpm , RR 22 bpm , BP 127/90 mmHg ,
O2 sat 97% , pain score 5 คะแนน
วัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อในร่างกายเกณฑ์การประเมินผล
- สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ (T 36.5-37.4 องศาเซลเซียส , PR 60-100 ครั้ง/นาที , RR 12-20 ครั้ง/นาที , BP 90-120/60-90 mmHg )
- แผลผ่าตัด ไม่มีbleedซึมที่แผล ไม่แดง,ช้ำ,บวม ไม่มีhematoma แผลชิดกันดี
- ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอยู่ในเกณฑ์ปกติ ได้แก่ WBC 4.24-14x10^3/uL
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง รวมถึงประเมิน pain score โดยเฉพาะอุณหภูมิของร่างกาย หากมีไข้อาจบ่งบอกได้ถึงภาวะติดเชื้อ และควรดูแลเช็ดตัวลดไข้ ถ้าไข้ไม่ลด พิจารณาให้ยาลดไข้ตามแผนการรักษา
- ประเมินลักษณะของน้ำคาวปลา ไม่ควรเกิน 50 ml/hr และหากพบอาการผิดปกติ เช่น แผลฝีเย็บบวม แดง น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น ควรรายงานแพทย์เพื่อให้การรักษา
- ดูแลและแนะนำการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ ทุกครั้งหลังถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ โดยการเช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง ไม่เช็ดย้อนไปมา เพราะจะทำให้นำเชื้อจากทวารหนักเข้าสู่ช่องคลอด ทำให้เกิดการติดเชื้อได้
- แนะนำมารดาให้เปลี่ยนผ้าอนามัยทุกครั้งที่น้ำคาวปลาเปียกชุ่ม หรือทุก 3 ชั่วโมง ไม่ควรปล่อยให้น้ำคาวปลาสะสมจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อ ก่อให้เกิดการติดเชื้อได้
- แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ผักและผลไม้ เนื่องจากอาหารที่มีโปรตีน และวิตามินซีจะช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
- ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา คือ Cefazolin 2 g ทาง IV และสังเกตผลข้างเคียงของยา เช่น มีอาการแพ้ยา(ลมพิษ ผื่น คัน บวม แดง) ท้องเสีย ปวดท้องบริเวณด้านขวาบน มีไข้ หายใจลำบาก ปัสสาวะน้อน ตัว/ตาเหลือง เป็นต้น
- แนะนำไม่ให้มารดาเปิดแผลและเอามือแกะเกาแผล หรือระวังไม่ให้แผลโดนน้ำ
- จัดสิ่งแวดล้อม เตียงนอน ผ้าปูเตียง และข้างเตียงให้สะอาดตลอดจนจัดให้พักผ่อนในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทดี เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค ช่วยให้ร่างกายสดชื่น
- ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ WBC
การประเมินผล
- สัญญาณชีพ (16/3/65)
- BT : 37.1 C , PR 94bpm , RR 18 bpm , BP 142/68 mmHg , O2 sat 98% , pain score 1 คะแนน
- แผลผ่าตัด ไม่มีbleed ซึม ไม่แดง,ช้ำ,บวม ไม่มีhematoma และแผลชิดกันดี
- ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ยังไม่ได้ repeat
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 5 มารดาเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเนื่องจากอ่อนเพลียและเสียเลือดจากการคลอดข้อมูลสนับสนุน
1.,มารดาบอกว่ารู้สึกเคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่สะดวกเนื่องจากเจ็บแผลผ่าตัด เวลาเปลี่ยนท่ารู้สึกเจ็บ
- หญิงหลังคลอดสูญเสียเลือด 500 ml
- มารดาหลังคลอดมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- fall score = 3 คะแนน
- ได้รับการ NPO ในระยะที่ 1 ของการคลอด
วัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้มเกณฑ์การประเมินผล
- มารดาไม่เกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม
- มารดาไม่มีรอยฟกช้ำดำเขียวจากการพลัดตกหกล้ม
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินระดับความรู้สึกตัวของมารดา อาการอ่อนเพลีย และfall score เพื่อวางแผนการพยาบาล ป้องกันการพลัดตกหกล้ม
- ช่วยเหลือมารดาหลังคลอดทำกิจกรรมที่มารดาหลังคลอดไม่สามารถทำได้ หรือช่วยอำนวยความสะดวก
- จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย มีแสงสว่างเพียงพอ และจัดของให้ผู้คลอดสามารถหยิบใช้งานได้สะดวก
- ยกไม้กั้นเตียงขึ้นทั้ง 2 ข้าง ปรับเตียงให้อยู่ในระดับที่ต่ำ เพื่อป้องกันมารดาพลัดตกเตียง
- ดูแลให้มารดาได้รับสารน้ำสารอาหาร กระตุ้นให้มารดารับประทานอาหารเพื่อทดแทนพลังงานที่สูญเสียไป และเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายมารดาหลังคลอดให้แข็งแรง
การประเมินผล
- มารดาไม่เกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม
- มารดาไม่มีรอยฟกช้ำดำเขียว
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 6 มารดาไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลผ่าตัด ข้อมูลสนับสนุน
- มีแผลผ่าตัดคลอดบริเวณเหนือหัวหน่าว
- pain score 7 คะแนน (14/03/65) , pain score 5 คะแนน (15/03/65)
วัตถุประสงค์ เพื่อบรรเทาอาการปวดแผลผ่าตัดเกณฑ์การประเมินผล
- สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ (T 36.5-37.4 องศาเซลเซียส , PR 60-100 ครั้ง/นาที , RR 12-20 ครั้ง/นาที , BP 90-120/60-90 mmHg )
- Pain score เท่ากับ 0 คะแนน
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินอาการปวด โดยการสอบถามและสังเกตสีหน้าท่าทางที่แสดงอาการปวด
- ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
- ให้การดูแลมารดาด้วยการสัมผัสบริเวณแผลผ่าตัดด้วยความนุ่มนวล เบามือ ให้การพยาบาลด้วยความเป็นกันเอง และพูดคุยด้วยท่าทีที่เอาใจใส่ คอยให้คำปรึกษากับมารดา รวมถึงคอยช่วยเหลือมารดาเมื่อมารดาต้องการความช่วยเหลือ
- ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ลดการรบกวนต่างๆ
- ดูแลให้มารดาได้รับยาบรรเทาความปวดตามแผนการรักษา คือ Paracelamol (500) 1 tab po prn q 6 hr for pain or fever และ Ibuprofen (400) 1*3 po pc
- สอนเทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจต่างๆให้กับมารดา เช่น การสูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ การทำสมาธิ การอ่านหนังสือ การสวดมนต์ การฟังเพลง การดูหนัง การพูดคุยกับผู้อื่น เป็นต้น
การประเมินผล
- สัญญาณชีพ (16/3/65) BT : 37.1 C , PR 94bpm , RR 18 bpm , BP 142/68 mmHg, O2 sat 98%
- pain score 1 คะแนน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 7 มารดาพร่องความรู้ในการเลี้ยงบุตรด้วยน้ำนม และมีทักษะในการดูแลบุตรข้อมูลสนับสนุน
- มารดาให้นมบุตรไม่ถูกวิธี
- ท่าอุ้มไม่ถูกต้อง
วัตถุประสงค์ เพื่อให้มารดามีความรู้ในการเลี้ยงบุตรด้วยน้ำนม และมีทักษะในการดูแลบุตรได้ถูกต้อง เกณฑ์การประเมินผล
- มารดามีความรู้เรื่องการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่
- Latch score ก่อนจําหน่าย 10 คะแนน
- มารดาหลังคลอดสามารถสาธิตย้อนกลับท่าอุ้มและการบีบน้ํานมที่ถูกต้อง
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินความรู้และทักษะของมารดาต่อการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่
- พูดคุยแนะนำถึงประโยชน์ของนมแม่ที่มีต่อบุตรและต่อแม่ แนะนำให้เลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวนานอย่างน้อย 6 เดือน เพราะน้ำนมมารดามีประโยชน์ มีคุณค่าทางสารอาหารสูง เหมาะสำหรับเลี้ยงทารก สะอาด ประหยัด และมีภูมิต้านทานโรค
- เปิดโอกาสให้มารดาได้ซักถามข้อสงสัยต่างๆ ให้ความสนใจพร้อมที่จะตอบคำถาม ด้วยความเต็มใจอย่างง่ายๆและชัดเจน เพื่อให้มารดาเข้าใจและคลายความกังวล
- สอนแนะนำและฝึกปฏิบัติวิธีการให้ทารกดูดนมแม่อย่างถูกวิธี โดยเน้นเทคนิคการจัดท่ามารดา และทารก อย่างถูกต้องเหมาะสม
- สอนแนะนำและฝึกปฏิบัติวิธีการให้ทารกดูดนมแม่อย่างถูกวิธี โดยเน้นเทคนิคการจัดท่ามารดา และทารก อย่างถูกต้องเหมาะสม
- เทคนิคการเอานมเข้าเต้า (latch on) และแนะนำวิธีประเมินว่าทารกอมหัวนมและดูดนมได้ถูกต้องหรือไม่ คือ ทารกต้องอมได้ลึกจนแนวเหงือกของทารกอยู่บนลานหัวนมของมารดา ลิ้นวางใต้ลานนมขณะที่ริมฝีปากทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านบนและด้านล่างบานออกอยู่รอบเต้านม การเคลื่อนไหวของขากรรไกร ชัดเจนบริเวณ กกหู แก้มไม่บุ๋มขณะดูดนม เพื่อช่วยมารดาให้มีทักษะและมั่นใจในการให้นมแม่ได้อย่างถูกต้อง ในบรรยากาศที่สงบและไม่รีบร้อน Latch score 6 คะแนน
- อนแนะนำและฝึกปฏิบัติวิธีการจัดท่านอนที่ถูกต้องหลังการดูดนม อุ้มทารกเรอแล้ว 15 นาที จัดให้ทารกนอนตะแคงด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลักนมและยกศีรษะสูงเล็กน้อย
6.อธิบายและสาธิตให้ความรู้ในเรื่องทักษะการดูแลบุตร ดังนี้
- การเช็ดตา การสระผม การเช็ดตัว , การทําความสะอาดสะดือ , การทําความสะอาดของร่างกายของบุตรหลังการขับถ่าย , การไล่ลมหลังให้นมบุตร , การเช็ดทําความสะอาดหลังการขับถ่าย , การดูแลผิวหนัง , การห่อตัวบุตร , การให้ทารกได้รับอากาศบริสุทธิ์ , การได้รับภูมิคุ้มกัน ในช่วงอายุต่างๆ และการดูแลหลังฉีดวัคซีน
- คอยดูแลและให้ความช่วยเหลือมารดาในการให้นมบุตรและการดูแลบุตรตลอดเวลาที่มีปัญหาโดยการส่งเวรต่อให้พยาบาลแต่ละเวรช่วยกันดูแลอย่างต่อเนื่อง
- ประเมินความรู้เรื่องการให้นมบุตรหลังคลอดและทวนทักษะการดูแลบุตร ได้แก่ การอาบน้ํา เช็ด ตา เช็ค สะดือบุตร การห่อตัว การอุ้ม การจับเรอ ผ่านการเช็คกิจกรรมการพยาบาลส่วน ประเมินวางแผนก่อนการจำหน่าย
การประเมินผล
- มารดามีความรู้เรื่องการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่ ทวนทักษะและปฏิบัติทักษะการดูแลบุตรได้ถูกต้อง
- มารดาให้บุตรดูดนมได้ถูกวิธี Latch score 10 คะแนน น้ำนมไหลระดับ 3+
- มารดาหลังคลอดสามารถสาธิตย้อนกลับท่าอุ้มและการบีบน้ํานมที่ถูกต้องได้
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 8 มารดามีความวิตกกังวลเนื่องจากอาการเจ็บป่วยของบุตรข้อมูลสนับสนุน
- มารดาสอบถามเกี่ยวกับภาวะตัวเหลือง
- มารดามีสีหน้าวิตกกังวล
วัตถุประสงค์ผู้ปกครองไม่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วยเกณฑ์การประเมินผล
- มารดามีความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดโรค
- มารดามีสีหน้าคลายกังวล
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินความวิตกกังวลของมารดา ได้แก่ วิตกกังวลเกี่ยวกับโรคที่ผู้ป่วยเป็น กังวลว่าต้องอยู่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน หรือกังวลว่าจะผู้ป่วยไม่หายจากโรคที่เป็น เป็นต้น และประเมินระดับความวิตกกังวล
- สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับมารดา และเปิดโอกาสให้มารดาได้ซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับโรค และการรักษาของผู้ป่วย
- สร้างความมั่นใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยโดยให้การดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด จัดให้อยู่เตียงที่ใกล้เคาน์เตอร์พยาบาล และควรให้การพยาบาลด้วยท่าทีที่นุ่มนวล อ่อนโยน และสงบ
- ประเมินความรู้ของผู้ปกครองเกี่ยวกับโรค จากนั้นจึงอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุของภาวะตัวเหลือง ความรุนแรงของโรคและการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้มารดามีความรู้และความเข้าใจอย่างถูกต้อง
- ให้ข้อมูลและเหตุผลของการดูแลรักษา เพื่อให้มารดาเกิดความเข้าใจ มั่นใจ และให้ความร่วมมือในการรักษามากยิ่งขึ้น
- รับฟังความรู้สึก และความไม่สบายใจของมารดา เพื่อผ่อนคลายความกังวล และคอยให้กำลังใจมารดาอยู่เสมอ
การประเมินผล
- มารดาเข้าใจเกี่ยวกับภาวะตังเหลือง
- มารดาสีหน้าคลายกังวล ให้ความร่วมมือในการรักษา
-
-
-
-
-
-
-
-
-