Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Vascular injury - Coggle Diagram
Vascular injury
-
การตรวจวินิจฉัย
- การถ่ายภาพรังสีกระดูก (plain flIm) ภาพถ่ายรังสีกระดูกไม่ได้ระบุว่ามีบาดเจ็บของหลอดเลือดหรือไม่แต่จะบอกความผิดปกติได้ เช่น กระดูกเชิงกรานหัก เคลื่อน หรือสิ่งแปลกปลอมที่อาจทำอันตรายต่อหลอดเลือด
- การฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดแดง (Angiography) เป็นการฉีดสารทึบรังสีผ่านเข็มสวนหลอดเลือด โดยการผ่านเข็มเข้าหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ (femoral artery) แพทย์จะแปลผลจากภาพถ่ายเอกชเรย์ ถ้าสีออกมานอกหลอดเลือดแสดงว่ามีการบาดเจ็บที่หลอดเลือด วิธีนี้ไม่สามารถตรวจได้ในผู้ป่วยโรคไต หรือมีประวัติแพ้อาหารทะเลหรือสารไอโอดีน
- การฉีดสารทึบรังสีตรวจหลอดเลือดโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computed tomography angiography: CTA) เป็นการตรวจหลอดเลือดโดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดแดง สีจะทำให้ภาพหลอดเลือดชัดขึ้น
- การตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance angiography: MRA) เป็นการตรวจโดยใช้หลักการส่งสัญญาณคลื่นวิทยุจากเครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging: MRI) แล้วแปลงสัญญาณภาพออกมา หลังจากนั้นเครื่องจะประมวลภาพที่ได้โดยจับเฉพาะสัญญาณที่มีการเคลื่อนไหวของเม็ดเลือดแดง แล้วสร้างภาพหลอดเลือดขึ้นมา เหมาะสำหรับผู้ที่มีการทำงานของไตลดลงเนื่องจากสารที่ใช้ในการตรวจ (ปกติใช้สาร gadolinium) มีพิษต่อไตน้อยกว่าสารทึบรังสีที่มีส่วนประกอบของไอโอดีน และอาการแพ้น้อยกว่า
- การตรวจหลอดเลือดโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (Duplex ultrasound) เป็นการตรวจหลอดเลือด
ที่สามารถบอกอัตราการไหลของเลือด ความผิดปกติของผนังหลอดเลือด แต่การตรวจต้องใช้เวลานานและอาจมีข้อจำกัดในรายที่ใส่เฝือก หรือใส่เหล็กดามกระดูกไว้ หรือผิวหนังถูกทำลายเป็นบริเวณกว้าง
- การตรวจดัชนีความดันของแขนขาข้างที่บาดเจ็บ (Injury extremity index: IEI) เป็นการหาอัตราส่วนของความดันซิสโตลิกของแขนขาข้างที่บาดเจ็บเปรียบเทียบกับข้างที่ไม่ได้รับบาดเจ็บ ถ้า IEI มากกว่า 0.9 แสดงว่าปกติ
- การตรวจดัชนีความดันของข้อเท้ากับแขน (Ankle brachial index: ABI) เป็นการหาอัตราส่วนของความดันซิสโตลิกของข้อเท้ากับแขนข้างเดียวกัน โดยต้องตรวจทั้ง 2 ข้าง นำมาเปรียบเทียบกัน โดยทั่วไปจะตรวจในรายที่สงสัยมีโรคของหลอดเลือดแดง ค่าปกติอยู่ระหว่าง 1-1.3 ถ้า ABI น้อยกว่า 0.9 แสดงว่ามีการอุดตันของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย สำหรับการตรวจในรายที่สงสัยการบาดเจ็บที่หลอดเลือด
-
ABI < 0.9 บ่งชี้ว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีการบาดเจ็บที่หลอดเลือด ซึ่งอาจทำการตรวจวินิจฉัยอื่นเพิ่ม ได้แก่ การทำ CTA หรือ MRA
การตรวจร่างกาย
การดู
สีผิวซีดมากโดยเฉพาะปลายนิ้วมือนิ้วเท้า เนื้อเยื่อฝ่อจากขาดสารอาหาร และเกิดแผลเรื้อรังโดยเฉพาะปุ่มกระดูก
ตรวจ Vascular angle หรือ Buerger s angle โดยให้ผู้ป่วยนอนหงายราบลงกับพื้นเรียบแล้วค่อยๆ ยกขาขึ้นจนกระทั่งเท้าซีด คนปกติจะสามารถยกทำมุม 90 องศา โดยที่ปลายหัวแม่เท้ายังมีสีชมพูเป็นปกติ แต่ถ้ามีการขาดเลือดยกทำมุม 15-30 องศา เท้าก็จะเริ่มซีด ถ้า vascular angle น้อยกว่า 20 องศา แสดงว่าขาดเลือดมาเลี้ยงขามาก
ตรวจ Venous filling โดยให้นอนราบบนเตียง ถ้าขาดเลือดมาเลี้ยงหลอดเลือดดำจะแฟบ และมองเห็นเป็นรอยสีน้ำเงินจาง ๆ อยู่ใต้ผิวหนัง
การคลำ
-
ประเมินเลือดที่มาเลี้ยงหลอดเลือดฝอย (capilary refiling) โดยใช้นิ้วกดลงบนเล็บหรืออุ้งมือของผู้ป่วยประมาณ 2 วินาที แล้วปล่อย ปกติสีจะเปลี่ยนจากจางเป็นชมพูไม่เกิน 2 วินาที
คลำชีพจร ระดับความแรงของชีพจรในตำแหน่งต่างๆ แบ่งออกเป็น +3 แรงกว่าปกติ หรือมี aneurysm, +2 ปกติ, +1 เบากว่าปกติ, และ 0 คลำชีพจรไม่ได้
-
ตรวจการตีบตันของหลอดเลือดแดงเรเดียล และอัลนาร์ตีบตัน ใช้วิธี Allen's test โดยผู้ตรวจใช้นิ้วกดลงบนหลอดเลือดแดงเรเดียล และอัลนาร์ของผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยกำ และคลายมือ 3 ครั้ง จนกระทั่งมือซีดแล้วปล่อยมือที่กดหลอดเลือดแดงถ้าไม่มีการตีบตันเลือดจะมาเลี้ยงมือทำให้ผิวหนังสีชมพู
-
-
-
-
-