Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) - Coggle Diagram
บทที่ 5 ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax)
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ผู้นำเข้า
ผู้ประกอบการหรือบุคคลอื่นซึ่งนำเข้า ผู้นำเข้าสินค้าจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเสมอ โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นผู้ประกอบการหรือเป็นบุคคลอื่นซึ่งนำเข้า
3. ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/1
3.1) ตัวแทน ในกรณีที่ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร 3.2) ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการ
3.3) ผู้ที่มีความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร หรือผู้รับโอนสินค้า
1. ผู้ประกอบการ
1.1) บุคคล ตามมาตรา 77/1 (1) หมายถึง
บุคคลธรรมดา - คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล - นิติบุคคล
1.2) กิจการที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ กิจการที่ขายสินค้า หรือการให้บริการในทางธุรกิจ หรือวิชาชีพไม่ว่าจะได้รับประโยชน์หรือได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
1.3) ประกอบกิจการในราชอาณาจักร
(ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่)
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
กลุ่มที่ 1 กิจการที่ได้รับการยกเว้นแต่สามารถขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้
การขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
การขายพืชผลทางการเกษตรภายในราชอาณาจักร เช่น ข้าว ข้าวโพด ปอ มันสำปะหลัง ผักและผลไม้ เป็นต้น
การขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตภายในราชอาณาจักร เช่น โค กระบือ ไก่หรือเนื้อสัตว์ กุ้ง ปลา เป็นต้น
การขายปุ๋ย
การขายปลาป่น อาหารสัตว์
การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษาป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์
การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
กลุ่มที่ 2 กิจการที่ได้รับการยกเว้นและไม่สามารถขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้
การนำเข้าสินค้าของกลุ่มที่ 1 ข้อ 2-7
การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ
การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางนํ้าหรือทางอากาศ อย่างไรก็ดี หากเป็นการให้บริการขนส่งโดยอากาศยาน
การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศทางบกและทางเรือซึ่งมิใช่เรือเดินทะเล
การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลทางราชการและเอกชน
การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น
การให้บริการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ
การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ
การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรม ในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ผู้ประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการในกลุ่มที่ 1 ที่มีความประสงค์ใช้สิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร
ผู้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศและได้ใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร
ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว
ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน1.8 ล้านบาทต่อปี
กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียน
สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแต่มีสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น กิจการขายหนังสือ ขายปุ๋ย ขายปลาป่น อาหารสัตว์ เป็นต้น
ผู้ประกอบการซึ่งจะเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม มีสิทธิ์ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
สำหรับผู้ประกอบการที่มีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
แบบคำขอจดทะเบียนและเอกสารหลักฐาน
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ใช้แบบ ภ.พ.01 ที่กรมสรรพากรจัดพิมพ์ขึ้นเป็นแบบคำขอจดทะเบียนซึ่งขอรับได้จากสำนักงานสรรพากรที่รับจดทะเบียนทุกแห่ง โดยให้ยื่นพร้อมกัน 3 ฉบับ แสดงรายการให้ถูกต้องตรงกัน
ความรับผิดในการเสียภาษี (Tax Point)
หมายถึง จุดที่ผู้ประกอบการถูกกำหนดโดยกฎหมายว่ามีภาระภาษีเกิดขึ้นแล้ว และเป็นจุดที่ก่อให้เกิดสิทธิบางอย่างของผู้ประกอบการจดทะเบียน
ลักษณะของการประกอบกิจการได้เป็น 4 กรณี ดังนี้
การขายสินค้า 2. การให้บริการ 3. การนำเข้า 4. การขายสินค้าหรือการให้บริการบางกรณี
การเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ได้แก่ การเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม ย้าย หรือโอนกิจการ ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนดังกล่าวก่อนวันที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 15 วัน
ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
เจ้าพนักงานได้รับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ.01 พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องครบถ้วยแล้ว จะมีการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือใบทะเบียน ภ.พ.20 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งจะมีผลให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นไป