Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Complicated UTI c gross hematuria การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะแบบซับซ้อน…
Complicated UTI c gross hematuria การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะแบบซับซ้อน ปัสสาวะเป็นเลือด
อาการ การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะมาด้วยอาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะเฉียบพลัน อาจมีอาการปวดหน่วงบริเวณหัวหน่าวหรือปัสสาวะปนเลือดร่วมด้วย ในผู้ป่วยสูงอายุอาจจะมีอาการไม่ชัดเจน หรือไม่มีอาการแสดง
การวินิจฉัย - การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ (Urine collection) - การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis) - การส่งปัสสาวะเพาะเชื้อ (Urine culture) - การตรวจทางรังสี
พยาธิ เป็นผลของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ (uropathogen) กับร่างกาย (host) ซึ่งการเกิดการติดเชื้อจะเกิดขึ้นได้ มีหลายปัจจัยตั้งแต่ความรุนแรงของเชื้อก่อโรค จนไปถึงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เส้นทางของเชื้อก่อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย (route of infection) 1. การลามขึ้น (ascending route) การที่เชื้อก่อโรคเข้าไปทางท่อปัสสาวะขึ้นไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในบางครั้งสามารถขึ้นไปยังท่อไต กรวยไตและไตได้ 2. ทางกระแสเลือด (hematogenous route) พบได้ไม่บ่อย 3. ทางระบบน้ำเหลือง (lymphatic route) คือ มีการติดเชื้อที่อวัยวะข้างเคียง และมีการลุกลามของเชื้อก่อโรคมาตามระบบน้ำเหลือง เข้ามายังระบบทางเดินปัสสาวะ
การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด - มีความผิดปกติของกายวิภาคศาสตร์และการทำงานของทางเดินปัสสาวะ - เพศชาย - สตรีตั้งครรภ์ - ผู้สูงอายุ - โรคเบาหวาน - มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง - เด็ก - มีประวัติได้รับยาปฏิชีวนะมาก่อน - ใส่สายสวนปัสสาวะ - ใส่อุปกรณ์ในทางเดินปัสสาวะ - มีการติดเชื้อจากเชื้อในโรงพยาบาล - มีอาการมากกว่า 7 วัน
ผู้ป่วยเพศ ชาย อายุ 63 ปี เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต มีโรคประจำตัว คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบสามเส้น เป็นมาประมาณ1ปี รักษาที่โรงพยาบาลชลประทาน ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน 3 ชม. ก่อนมารพ. มีปัสสาวะเป็นเลือด มีตะกอน ไม่มีแสบขัด ปัสสาวะเลือดมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น จึงมารพ. แพทย์วินิจฉัยโรคปัจจุบันเป็น Complicated UTI c gross hematuria การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะแบบซับซ้อน ปัสสาวะเป็นเลือด
อาการและอาการแสดง ปัสสาวะเป็นเลือด การรักษา Piperacillin/Tazobactam 4.5 gm. IV q 6 hr, Para (500) 1 tab po prn q 4-6 hr, Ticagrelor (90) 1x2 po pc, Omeprazole (20) 1x1 po ac, Aspirin (81) 1x1 po pc, Simvastatin (20) 1x1 po hs ปัจจัยเสี่ยง - ปัสสาวะเป็นเลือด - กลั้นปัสสาวะ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ข้อที่ 1 ผู้ป่วยมีโอกาสการเกิดการอุดตันของสายสวนปัสสาวะ เนื่องจากปัสสาวะเป็นเลือด
ไม่เกิดการอุดตันของสายสวนปัสสาวะ
ปัสสาวะสีใส ไม่มีตะกอน
O = ปัสสาวะเป็นเลือด มีตะกอน
O = RBC = 3.8 103/uL
A = ปัสสาวะเป็นเลือด สามารถเกิดได้จากการที่เซลล์เม็ดเลือดได้รั่วผ่านไตหรือส่วนต่าง ๆ ของระบบทางเดินปัสสาวะไปสู่ปัสสาวะ ความผิดปกติ และสาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะเป็นเลือด เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
ดูแลให้การสวนล้างกระเพาะปัสสาวะแบบต่อเนื่องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพไม่เกิดภาวะอุดตัน
ดูแลสายสวนไม่ให้หัก พับ งอหรือตีบตัน รีดสายสวนบ่อยๆ เพื่อป้องกันการคั่งค้างของน้ำปัสสาวะและการอุดตันของลิ่มเลือด
ดูแลให้ถุงรองรับน้ำปัสสาวะอยู่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ระบายออก เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของน้ำปัสสาวะ
สังเกตการบวมโตผิดปกติบริเวณหน้าท้องของผู้ป่วยและประเมินอาการปวดท้องร่วมด้วย
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ข้อที่ 2 ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการรักษา
O = ผู้ป่วยมีสีหน้าวิตกกังวลและซึมลงเมื่อถามเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการรักษา
A = การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ อารมณ์ และสังคม ภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ เลือดเป็นกรดและ uremia ทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติด้านความคิดและจิตใจ มีการรับรู้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่น อาการอ่อนเพลีย ซึมลง ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้ป่วย ความสามารถในการดูแลตนเองลดลง บงชี้ถึงการพึ่งพาผู้อื่นมากขึ้น บทบาทที่เคยเป็นก็ลดลง ดังนั้นจึงเกิดความวิตกกังวลในการเจ็บป่วย
เพื่อให้ผู้ป่วยลดความวิตกกังวล
ผู้ป่วยไม่มีสีหน้าวิตกกังวลและซึมลงเมื่อถามเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการรักษา
ประเมินสีหน้า ท่าทาง ที่แสดงถึงความวิตกกังวล เพื่อประเมินการแสดงออกถึงลักษณะท่าทางออกถึงความวิตกกังวลของผู้ป่วย เช่น หงุดหงิด โมโหง่าย ซึม หน้านิ่ว คิ้วขมวด
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกและรับฟังความคิดเห็นอย่างน่าสนใจ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสระบาย ความรู้สึกและความวิตกกังวลขณะที่ต้องพักรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลทำให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและลดสภาวะความตึงเครียดได้
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยอย่างยิ้มแย้ม และให้การพยาบาลด้วยความเต็มใจ นุ่มนวล เพื่อให้การพยาบาลที่อ่อนโยนจะทำให้ผู้ป่วยลดความตึงเครียดและคลายกังวลจากความวิตกกังวลได้
อธิบายเกี่ยวกับโรคให้ผู้ป่วยทราบตามความเหมาะสมและให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้ผู้ป่วยเข้าใจเพื่อลดความวิตกกังวลและความหวาดกลัวต่อโรคที่เป็น
ให้กำลังใจผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการพูดคุยในสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวล
ประสานให้ทีมแพทย์ผู้รักษาได้พูดคุยกับผู้ป่วยเกี่ยวกับเรื่องโรคและแนวทางการรักษาเพื่อร่วมวางแผนการรักษาร่วมกัน
การพยาบาล
วัตถุประสงค์
เกณฑ์การประเมินผล
ข้อมูลสนับสนุน
ข้อมูลสนับสนุน
วัตถุประสงค์
เกณฑ์การประเมินผล
การพยาบาล