Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารข้อมูลและฐานข้อมูล - Coggle Diagram
การบริหารข้อมูลและฐานข้อมูล
แฟ้มข้อมูล
bit หน่วยที่เล็กที่สุดในกํารเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
byte กลุ่มของ bit ซึ่ง 8 bits = 1 byte
field หน่วยเก็บข้อมูลที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เก็บค่ําที่ต้องการ
record กลุ่มของ fields ที่เกี่ยวข้องกัน
file กลุ่มของ records
Primary key คือ เขตข้อมูล(field) ที่สามารถบอกข้อแตกต่างของข้อมูลในแต่ละระเบียน(record)ได้
คุณสมบัติของprimary key
Unique ไม่ซ้ำ 2. Not null ไม่ว่าง
ประเภทของแฟ้มข้อมูล 1. แฟ้มลำดับ 2. แฟ้มสุ่ม 3. แฟ้มดัชนี
การบริหารข้อมูลและฐานข้อมูล
ข้อดีของการประมวลผลข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูล 1. การประมวลผลข้อมูลทำได้อย่างรวดเร็ว 2. ค่าลงทุนในเบื้องต้นต่ำ 3. โปรแกรมสามารถควบคุมการใช้งานในแฟ้มข้อมูลของตนเองได้
ข้อเสียของการประมวลผลข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูล 1. มีความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Redundancy) 2. ยากในการประมวลผลข้อมูลในแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้มข้อมูล 3. ไม่มีผู้ควบคุมหรือรับผิดชอบระบบทั้งหมด 4. โครงสร้างแฟ้มข้อมูลขึ้นอยู่กับโปรแกรม (Dependency)
ระบบการประมวลผลฐานข้อมูล
ฐานข้อมูล(Database) คือ ที่อยู่ของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันหรือเปรียบได้ว่า เป็นคลังของข้อมูลก็ได้ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดเก็บร่วมกันอย่างมีระบบและมีรูปแบบ ทำให้ง่ายต่อการประมวลผลและการจัดการ
โดยปกติแล้วการใช้งานจะต้องมีโปรแกรมเพื่อจัดการฐานข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งเรียกว่า DBMS สำหรับฐานข้อมูลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันจะเป็นแบบ Relation ซึ่งจะจัดเก็บข้อมูลอยู่ในรูปของตาราง (Table) โดยที่ฐานข้อมูลในแต่ละตารางจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล
ข้อมูล (Data) ฐานข้อมูลเป็นการเก็บรวบรวมข้อมลูไว้ร่วมกัน อย่างเป็นระบบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ต้องสามารถนำมาใช้ประกอบกันได้(Data Integrated) และต้องสามารถถูกใช้ร่วมกัน (Data Sharing) จากผู้ใช้หลายๆ คนได้
ฮาร์ดแวร์(Hardware) ระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพควรต้องมีอุปกรณ์ต่างๆ ในการอำนวยความสะดวกในการบริหารระบบฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ ขนาดของหน่วยความจำหลักความเร็วของหน่วยประมวลผลกลางอุปกรณ์นำข้อมูลเข้าและออกรายงาน รวมถึงความจุของหน่วยความจำสำรองที่จะรองรับการประมวลผลข้อมูลในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซอฟท์แวร์(Software) ในการติดต่อกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลของผู้ใช้ จะต้องกระทำผ่านโปรแกรมที่เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล(Database Management Systems:DBMS) ซึ่งจะทำหน้าที่ในการจัดการฐานข้อมูลโดยจะเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้และโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ใีอยู่ในระบบฐานข้อมูล เพื่อจัดการและควบคุมความถูกต้อง ความซ้ำซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูล
ผู้ใช้(Users) ผู้ที่เรียกใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลมาใช้งาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้ดังนี้
1) ผู้ใช้งาน (End User) ได้แก่ ผู้ที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลไปใช้งาน
2) ผู้พัฒนาฐานข้อมูล (Developer)
•Application Programmer ได้แก่ ผู้ที่ทำหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (Application Program) เพื่อเรียกใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลมาประมวลผล
•Database Administrator (DBA) ได้แก่ ผู้บริหารที่ทำหน้าที่ควบคุมและตัดสินใจในการกำหนดโครงสร้างของฐานข้อมูลชนิดของข้อมูลวิธีการจัดเก็บข้อมูลรูปแบบใน
การเรียกใช้ข้อมูล ความปลอดภัยของข้อมูล และกฎระเบียบที่ใช้ควบคุมความถูกต้องของข้อมูลภายในฐานข้อมูล