Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล - Coggle Diagram
แบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
E-R Model
แบบจำลองที่ใช้อธิบายโครงสร้างของฐานข้อมูลซึ่งเขียนออกมาในลักษณะของรูปภาพ การอธิบายโครงสร้างและความสัมพันธ์ของข้อมูล (Relationship) ประกอบด้วย
แอททริบิว (Attribute) เป็นคุณสมบัติของวัตถุที่เราสนใจ
ความสัมพันธ์ (Relationship) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้
เอนทิตี้ (Entity) เป็นวัตถุ หรือสิ่งของที่เราสนใจในระบบงานนั้น ๆ
Entity (เอนทิตี)
หมายถึง สิ่งของหรือวัตถุที่เราสนใจ ซึ่งอาจจับต้องได้และเป็นได้ทั้งนามธรรม โดยทั่วไป เอนทิตี้จะมีลักษณะที่แยกออกจากกันไป เช่น เอนทิตี้พนักงาน จะแยกออกเป็นของพนักงานเลย เอนทิตี้ เงินเดือนของพนักงานคนหนึ่งก็อาจเป็นเอนทิตี้หนึ่งในระบบของโรงงาน
ความสัมพันธ์ (Relationships)
ความสัมพันธ์ (Relationships) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้นักศึกษา และเอนทิตี้คณะวิชา เป็นลักษณะว่า นักศึกษาแต่ละคนเรียนอยู่คณะวิชาใดคณะวิชาหนึ่ง เป็นต้น ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ จึงอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (one-to-many Relationships)
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (one-to-many Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์ข้อมูลหลาย ๆ ข้อมูล ในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ตัวอย่าง เช่น ผู้เช่า 1 คนสามารถเช่าหนังสือได้เพียง 1 เล่มหรือ 1 ชุด แต่หนังสือรหัสเดียวกันสามารถมีผู้เช่ามากกว่า 1 คน เพราะมีหนังสือให้เช่ามากกว่า 1 เล่ม หรือมากกว่า
ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-many Relationships)
ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-many Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ ของข้อมูลสองเอนทิตี้ในลักษณะกลุ่มต่อกลุ่ม ตัวอย่างเช่น หนังสือ 1 เรื่องจะมีผู้ยืมหนังสือได้มากกว่า 1 คน ในขณะเดียวกัน ผู้ยืมหนังสือ 1 คน ก็สามารถยืมหนังสือได้มากกว่า 1 เรื่อง
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one Relationships)
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ในลักษณะหนึ่งต่อหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ผู้เช่า 1 คน สามารถเช่าหนังสือได้เพียง 1 เล่ม หรือ1 ชุดเท่านั้น ในขณะเดียวกัน หนังสือ 1 เล่ม หรือ 1 ชุด ก็จะมีผู้เช่าเพียงคนเดียว เพราะมีเพียงเล่มเดียวหรือชุดเดียวเท่านั้น
การออกแบบฐานข้อมูลโดยใช้ ER Model
การออกแบบฐานข้อมูลโดยใช้แบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (ER Model) มีขั้นตอนที่เกี่ยวข้องหลายขั้นตอน และต้องใช้ความรอบคอบในการออกแบบเพื่อให้ได้ ER Diagram ที่ถูกต้องเหมาะสมกับระบบงาน ในขั้นตอนการออกแบบฐานข้อมูลนี้ใช้ตัวอย่างฐานข้อมูลลงทะเบียนสามารถนำมาสร้างแบบจำลองข้อมูลด้วย ER Model โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาดังนี้
การกำหนดเอนทิตี
การกำหนดแอตทริบิวต์ของเอนทิตี
การกำหนดความสัมพันธ์ะหว่างเอนทิตี (Relationships)
การเขียนแผนภาพ ER Diagram
การแปลง ER Diagram
การแปลงเอนทิตีปกติ (Regular Entity) ให้เป็นโครงสร้างตาราง
การแปลงเอนมิตีแบบอ่อนแอ (Wwak Entity) ให้เป็นโครงสร้างตาราง
การแปลงความสัมพันธ์ (Relationhip) ให้เป็นโครงสร้างตาราง