Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดชั้นเรียนและสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ, 633050050-4…
การจัดชั้นเรียนและสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
ความหมาย :
การจัดชั้นเรียน
การสร้าง และคงสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ ที่นำไปสู่การเรียนการสอนที่ประสบผลสำเร็จ ทั้ง สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การสร้างกฎระเบียบ และการดำเนินการที่ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง การมีส่วนรวมในกิจกรรมในชั้นเรียน (Bophy, 1996)
การจัดที่นั่ง ของนักเรียน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอนให้อยู่ในสภาพที่จะช่วยครูได้ในเวลาสอน (สุรางค์ โค้วตระกูล)
การจัดการชั้นเรียนเป็นการจัดการเพื่อป้องกันพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ด้วยกฎกติกาที่ชัดเจน มีการติดตามพฤติกรรม มีการวางแผนคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า มีการตอบสนองพฤติกรรมเหล่านั้นอย่างเหมาะสมและทันท่วงที (Kounin, 1970)
กระบวนการกระทำตัดสินใจ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้เชิงบวก ตลอดจนปราศจากพฤติกรรมที่จะรบกวนการเรียนรู้
ความสำคัญของการจัดชั้นเรียน :
การแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนอย่างมีเป้าหมาย
ให้นักเรียนการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ ของการเรียนการสอน
เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายการศึกษา
กระตุ้นส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้
ความหมายการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ :
การจัดสิ่งต่างๆที่อยู่ในสภาพแวดล้อมรอบตัวผู้เรียนทั้งในลักษณะรูปธรรม และนามธรรม ที่ส่งผลต่อผู้เรียน ทั้งทางบวกและลบ รวมทั้งมีผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียน (ลักขณา สริวัฒน์, 2557)
ความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อที่ต่อการเรียนรู้:
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดีจะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพผู้เรียน
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ช่วยในการคุมชั้นเรียน ผู้เรียนมีระเบียบวินัย
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ช่วยประสบการณ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์แก่ผู้เรียน
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สนับสนุนการเรียนรู้หลายด้าน การฟัง การใช้เทคโนโลยี ทำให้ผู้เรียนเกิดความตื่นตัว กระตือรือร้น เกิดความสนใจในการเรียน
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เป็นแหล่งทรัพยากรทางการเรียน
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้จะสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม
สภาพการเรียนรู้ช่วยเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียน
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ช่วยการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียน
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะช่วยให้ความเมื่อยล้า หรือเหนื่อยหน่ายน้อยลง
การจัดชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมบรรยากาศห้องเรียน
ความหมาย :
การจัดสภาพแวดล้อม ให้ชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริม ให้กระบวนการเรียนสอนให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจไฝ่รู้ ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ ของนักเรียน
ความสำคัญ :
ชั้นเรียนที่มีความเป็นระเบียบจะช่วยส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงาม และความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน และทำให้นักเรียนเกิดความรับผิดขอบ
ชั้นเรียนที่มีหน้าต่างหลายๆ บานจะช่วยทำให้มีความสว่างมากเพียงพอ และทำให้รู้สึกปลอดโปร่ง ไม่อึดอัด
การจัดชั้นเรียนที่ไม่คับแคบช่วยให้การสอนราบรื่น
ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศดี และช่วยส่งเสริมการเรียนรู้
ชั้นเรียนยังส่งเสริมสนับสนุนการเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม และสังคมนักเรียน
ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศอบอุ่นช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและเห็นความสำคัญของชั้นเรียนและโรงเรียน
บรรยากาศที่พึงปรารถนาในห้องเรียน
respect
เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า และนักเรียนมีความเคารพระหว่างกัน
warmth
บรรยากาศเป็นมิตร ยอมรับ มีการช่วยเหลือ ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น รักครู รักโรงเรียน รักการมาเรียน
freedom
เป็นบรรยากาศที่นักเรียนได้มีโอกาศคิด ตัดสินใจ กระทำ โอกาสที่ทำผิดแต่ต้องยอมรับผิดโดยปราศจากความกลัว และ ความวิตกกังวล ซึ่งทำให้นักเรียนมีความตั้งใจ และ รู้สึกเครียด
control
การให้นักเรียนฝึกมีระเบียบวินัย ซึ่งจะต้องมีการดูแลของครูอย่างใกล้ชิด มิฉะนั้นเด็กอาจออกนอกลู่นอกทางด้วย ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ก็ให้อิสระ ให้เด็กรู้จักใช้สิทธิหน้าที่ ของตนอย่างมีขอบเขต
challenge
บรรยากาศที่กระตุ้นให้นักเรียนรู้สึกต้องการเรียนรู้ อยากเห็น อยากค้นหา และให้กำลังใจนักเรียน เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำงานส่งเสริมให้มีความมั่นใจในตนเอง และมานะพยายามทำให้สำเร็จ
success
เป็นบรรยากาศให้ผูเรียน เกิดความรู้สึกว่าตนประสบความสำเร็จ ในกิจกรรมที่ทำอยู่ ซึ่งส่งผลให้เกิดความภาคภูมิใจ ครูจึงควรพูดถึงสิ่งที่นักเรียนประสบความสำเร็จมากกว่าเรื่องความล้มเหลว
การจัดการชั้นเรียนด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
ลักษณะการจัดชั้นเรียนทางกายภาพที่ดี
ลักษณะที่นั่งของนักเรียน เป็นแถวเพื่อความสะดวกในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาการ การจัดที่นั่งแบบกลุ่มเพื่อให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
กา่รจัดชั้นเรียนในบริเวณที่จำกัดและมีการใช้อย่างหนาแน่น
มีที่ว่างส่วนตัวของนักเรียนแต่ละคน และมีพื้นที่ของนักเรียนกลุ่มใหญ่ กลุ่มเล็กสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ
ครูและนักเรียนทั้งชั้นควรจะได้มองเห็นกันอย่างชัดเจน
ในชั้นเรียนที่มีนักเรียนมีปัญหาทั้งด้านการเรียนและด้านพฤติกรรมอาจแก้ปัญหาด้วยการแยกออกมาอยู่ในที่ว่าง
มีการจัดที่ว่างในชั้นเรียน
ควรจำกัดสิ่งเร้าทางการมองเห็นและได้ยิน ที่จะมารบกวนความสนใจและพฤติกรรมของนักเรียน
การจัดที่ว่างสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษควรให้นั่งใกล้ครู
การจัดชั้นเรียนทางกายภาพที่เป็นระเบียบเรียบร้อยจะมีประโยชน์และทำให้เกิดพลัง
ปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จ
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน หรือนักเรียนกับนักเรียนเป็นอย่างไร
การเคลื่อนที่ไปรอบๆห้องของสมาชิกในชั้นเรียนจะทำได้ในกรณีใด
การจัดที่ว่างในชั้นเรียน หมายถึงการจัดที่นั่งของนักเรียนเป็นเช่นไร
การรับรู้ถึงบรรยากาศและระเบียบวินัยในภาพรวมเป็นอย่างไร
สิ่งที่ต้องคำนึงในการจัดที่นั่งของครูและนักเรียน
การจัดที่นั่งของนักเรียน
: Joyce McLeod, Jan Fisher and Ginny Hoover (2003)
จะต้องยืดหยุ่น ดังนั้นผู้เรียนจะสามารถจัดโต๊ะเรียนในแบบอื่นๆ ได้สะดวกรวดเร็ว และเหมาะสมกับกิจกรรม
จะต้องมีที่ว่างสำหรับการเคลื่อนที่ มีที่เก็บของและที่ตั้งวางอุปกรณ์
ต้องเหมาะสมกับรููปแบบการสอนของครู หรือกิจกรรมที่ครูใช้บ่อย
จัดให้มีที่ว่างและที่ส่วนตัวสำหรับผู้เรียนแต่ละคน
การจัดที่นั่งของครู
Joyce McLeod, Jan Fisher and Ginny Hoover (2003)
หน้าห้องเรียนเป็นการส่งเสริมบรรยากาศของชั้นเรียนแบบมีการควบคุม
กลางห้องเรียนท่ามกลางที่นั่งนักเรียน การจัดเช่นนี้เป็นการส่งเสริมบรรยากาศของการที่ครูมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวก
หลังห้องเรียนจะเป็นการส่งเสริมบรรยากาศที่เน้นนักเรียน
นอกห้องเรียน ทำให้เห็นว่าครูมีที่ทำงานเป็นส่วนตัว
การจัดชั้นเรียนด้านจิตวิทยา
หมายถึง
การจัดการเกี่ยวกับความรู้สึก เจตคติและพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมระเบียบวินัยในการจัดการเรียนรู้ เพื่อมุ่งให้นักเรียนสามารถพัฒนาได้อย่างสูงสุด
แนวทางการจัดชั้นเรียนทางด้านจิตวิทยา
Overlapping
เป็นการจัดการที่ครูสามารถทำสิ่งต่างๆได้มากกว่าหนึ่งอย่างในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะการรับผิดชอบต่อความต้องการของนักเรียนแต่ละคน ขณะเดียวกันก็สนับสนุนดูแลการทำงานของนักเรียนเป็นกลุ่ม โดยใช้สายตาสื่อสารหรือใกล้ชิดทางกาย เพื่อดึงความสนใจของนักเรียนกลับสู่บทเรียนอย่างไม่สะดุด
Signal continuity and momentum during lessons
เป็นการส่งสัญญาณอย่างต่อเนื่อง และเปลี่ยนกิจกรรมในระหว่างบทเรียน ครูจะมีความตั้งใจในการจัดชั้นเรียนอย่างต่อเนื่องมากกว่าบังคับให้เกิดการแข่งขัน ครูจึงมีทักษะการส่งสัญญาณให้นักเรียนไม่เกิด พฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ และ ครูจะสามารถเปลี่นหัวข้อเรื่องที่จะสอน หรือเปลี่ยนกิจกรรม ได้ราบรื่น ต่อเนื่อง
Withitness
การตระหนักถึงสถานการณ์ในห้องเรียนอยู่ตลอดเวลา ติดตามและเข้าไปแก้ไข พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
Challenge and variety in assignment
เป็นการมอบหมายงานที่หลากหลายท้าทาย เพื่อกระตุ้นนักเรียนให้สนใจบทเรียน ได้แก่ การมอบหมายงาน ในชั้นเรียนอย่างเหมาะสม โดยมีความยากง่ายพอเหมาะ คูนินเชื่อว่าการจัดชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพนั้น ไม่ได้เป็นเพียงการแก้ปัญหาแต่เป็นการ ป้องกันการเกิดปัญหาตั้งแต่แรก
แนวทางในการจัดการชั้นเรียนเพื่อให้ได้ผลในเชิงปฏิบัติ
บทบาทในการเป็นผู้นำของครู
เทคนิคและทักษะการสอนของครู
สัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียน
การสร้างกฎระเบียบร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน
การสื่อสาร
633050050-4 กณิศนันต์ เขมวาส เลขที่ 1 สรุปบทที่ 8