Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปบูรณาการบรรยายเนื้อหา 6 บท, นางสาวจุฑาทิพย์ น้อยศรี 200101042 พยาบาล…
สรุปบูรณาการบรรยายเนื้อหา 6 บท
บทที่ 1 พัฒนาการของศาสนาและความเชื่อในอุษาอาคเนย์
ความเชื่อดั้งเดิมในอุษาคเนย์ สมัยก่อนประวัติศาสตร์
ความเชื่อเรื่อง “นัต” ของเมียนมา
ผู้รู้ชาวพม่าเชื่อว่านัต (Nat) มาจากคำว่า นาถ ในภาษาบาลี หมายถึงผู้เป็นที่พึ่ง เป็นต้นว่า พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระพรหม เทวดา กษัตริย์ สุริยเทพ จันทราเทพ อัคคีเทพ วาโยเทพ ดังนั้น นัตตามนัยของคำว่า นาถ คือเหล่าเทพดาบนสรวงสวรรค์ตลอดจนผู้มีอำนาจอันประเสริฐบนโลกมนุษย์ อันถือเป็นนัตตามความหมายในทางพุทธศาสนา
ความเชื่อชวาเกอยาเวน : ศาสนาชวา
ในเกาะชวามีชนเผ่าที่อาศัยอยู่มากมาย แต่มีชนเผ่าที่สำคัญ เช่น ชาวชวา เป็นกลุ่มชนที่ใหญ่ที่สุดในอินโดเนเซีย ความเชื่อชวาเกอยาเวน (Jawa Kejawen) (คำว่า เกอยาเวน เป็นภาษาชวา) เป็นความเชื่อเฉพาะของชาวชวาที่มีผสมผสานระหว่างศาสนาฮินดู+ ความเชื่อดั้งเดิม + ความเชื่อในศาสนาอิสลามหรือคริสต์ที่อาจเรียกว่าศาสนาชวา
ความเชื่อเรื่อง “ขวัญ”
ขวัญ คือ ระบบความเชื่อเก่าแก่ของกลุ่มคนหลายชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์ทั้งไทย ลาว พม่า เวียดนามกัมพูชา โดยเชื่อตรงกันว่า ขวัญไม่มีตัวตน แต่อยู่กับสิ่งมีชีวิตตลอดเวลา โดยมีผลกับการดำรงชวีติตั้งแต่เกิดและมีผลต่อจิตใจมาก
ความเชื่อเรื่องผีฟ้าพญาแถนและผีบรรพชน
ความเชื่อเรื่องผีบรรพชน ไม่เคยสูญจากสังคมไทย ปัจจุบัน ยังสามารถพบการนับถือผีบรรพชนได้ทั่วไปทั้งในสังคมชนบทและสังคมเมือง อาทิผีบ้านผีเรือนคือบรรพชนของตระกูล ผีปู่ตาคือบรรพชนประจำหมู่บ้านที่ชุมชนเคารพนับถือร่วมกัน และสำหรับคนกรุงเทพฯ ปัจจุบัน ยังมีความเชื่อเรื่องเทพยดาที่ศาลหลักเมือง ในความหมายของผีบรรพชนผู้ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองบ้านเมือง
ความเชื่อเรื่องผีฟ้าพญาแถน (สัญลักษณ์ตัวแทนปรากฏการณ์ธรรมชาตที่ไม่สามารถอธิบายได้และความเชื่อเรื่องผีบรรพชน ยังคงสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบันในเกือบทุกประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต ้โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศประชาคมอาเซียนทั้งในพื้นทวีปไทย ลาว กัมพูชา พม่า ตลอดจนในอินโดนีเซีย
ความเชื่อทางพุทธศาสนาในสังคมไทย
จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าพุทธศาสนาแพร่จากอินเดียเข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิตั้งแต่ชุมชนในดินแดนนี้ยังอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคที่ใช้เครื่องมือโลหะ โดยพบว่าพุทธศาสนาเข้ามาพร้อม ๆ กับศาสนาพราหมณ์ ทั้งนี้จะพบว่าในหลายชุมชนที่เดิมนับถือศาสนาผียอมรับทั้งพุทธศาสนาและเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์พร้อม ๆ กัน แต่ขึ้นกับผู้ปกครองจะให้ความสำคัญกับความเชื่อใดเป็นหลัก
ศาสนาและความเชื่อในอุษาคเนย์
อุษาคเนย์หรือ เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางศาสนา มากที่สุด คือ ศาสนาอิสลาม ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน ศาสนาพุทธมีผู้นับถือเป็นจำนวนมากในไทย, กัมพูชา, ลาว, พม่า, เวียดนาม ส่วนศาสนาคริสต์เป็นที่นิยมในฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกมากที่สุดในเอเชีย
บทที่ 4 ประเพณีและพิธีกรรมในสังคมไทย
ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์
ประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวน จังหวัดสระบุรี
ประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวน จังหวัดแพร่
ประเพณีบุญเบิกฟ้า จังหวัดมหาสารคาม
ความเชื่อเรื่องการนับถือผีบรรพชน
ประเพณีการ
ตักบาตรดอกไม้บูชาอินทขิล-เชียงใหม่
งานบุญข้าวประดับดิน
ประเพณีทำบุญวันสาทร
ความเชื่อเรื่องขวัญ
ประเพณีบุญคูนลาน เป็นการทำบุญรับขวัญข้าว
ความเชื่อนับถือธรรมชาติและสัตว์ศักดิ์สิทธิ์
งานบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร
คางคกและกบจะเกี่ยวข้องกับการเกิดฝนตก
รูปแบบประเพณีที่แตกต่างตามกลุ่มชนชั้นในอดีต
- ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์
ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
ประเพณีทอดกฐิน
วันวิสาขบูชา
วันอาฬาหบูชา
วันมาฆบูชา
ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ณ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
บทที่ 6 ความหลากหลายของศาสนาและชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในชุมชนสาทร
ชาติพันธุ์ในสาทร
การอพยพของชนชาติจีน
หลังจากพระเจ้าตากสินปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ตั้งกรุงธรบุรีเป็นราชธี คนจีนจากแผ่นดินใหญ่ก็เดินทางมาพึ่งพระโพธิสมภารเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะคนจีนเชื้อสายแต้จิ๋วมากันเป็นล้านคนเพราะเชื่อกันว่าพระเจ้าตากสินมีสายเลือดเป็นจีนแต้จิ๋ว คนแต้จิ๋วในยุคนั้นเรียกว่าจีนหลวง คนจีนที่เดินทางกับเรือเมล์ของชาวตะวันตกที่วิ่งระหว่างบางกอก ซัวเถา ไฮโข่ว จะมารับส่งคนและสินค้าแถววัดยานนาวา มีท่าเรืออยู่ในบริเวณนี้หลายท่า ท่าเรือที่ดังที่สุดในยุคนั้นก็คือท่าเรือหวั่งหลีซึ่งอยู่ข้างวัดยานนาวานั่นเอง
การอพยพของชนชาติอินโดนีเซีย
ในอดีตนักล่าอาณานิคมรุ่นเก่าโปรตุเกสได้เข้ามาในหมู่เกาะชวาตั้งแต่ ปี พุทธศักราช 2054 และชนชาติดัตซ์ (ฮอลันดา) ก็เริ่มเข้ามายังดินแดนแห่งนี้ในปี พุทธศักราช 2138 ด้วยรูปแบบบริษัทการค้าThe Dutch East India แต่บริษัทนี้มีกองทหารของฮอลันดาสนับสนุน นครรัฐใดไม่ให้ความร่วมมือก็จะถูกปราบปราม ฮอลันดาได้เพิ่มอิทธิพลของตนไปตามหมู่เกาะต่าง ๆโดยผ่านบริษัทกํารค้ําแห่งนี้นับเป็นร้อยๆเกําะ จนถึงปี พุทธศักราช 2184 ก็ลงมือยึดมะละกําด้วกำลังทหาร บังคับชนพื้นเมืองให้ทำการเกษตร เช่น ไร่กาแฟ ไร่อ้อย ฯลฯ อย่างหนักหน่วง เพื่อส่งไปยังประเทศแม่ กดค่าแรงอย่างหนัก ประชาชนทุกข์ยากลำบากมาก ผืนดินที่มีอยู่ก็ไม่ยอมให้ปลูกพืชผลอื่น เช่น ข้าว มัน ถั่วทำให้ประชาชนต้องอดอยากยากแค้นเป็นอย่างยิ่ง การต่อสู้ดิ้นรนก็เกิดตามมาเป็นเวลากว่า 300 ปี บ้างก็หนีการปราบปราม หนีการจับกุม หนีความทุกข์ยากลำบาก ไปยังดินแดนอื่น ๆ ประเทศไทยก็เป็นเป้าหมายหนึ่งที่คนอินโดนีเชียหนีมาพึงโพธิสมภาร มากันตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมาจนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์
การอพยพของชนชาติมอญ
การอพยพของชนชาติมอญที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่สาทรอาจแบ่งออกได้หลายระยะ ซึ่งมีมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันก็ยังดำเนินอยู่ การอพยพของคนชาติมอญครั้งใหญ่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เกิดขึ้นมีปี พุทธศักราช 2127 เมื่อพระเจ้านันทบุเรงมีพระราชโองการให้อโยธยานำทัพจากกรุงศรีอยุธยาไปปราบกบถที่เมืองอังวะ พระนเรศวรเป็นผู้นำทัพไป ครั้นยกทัพไปถึงเมืองแครง ก็ย่างเข้าเดือน 6 วันพฤหัสบดี ขึ้น 1 ค่ำ พระยาเกียรติ และพระยารามสองอาสารามัญนำความลับที่พระเจ้ํานันทบุเรงได้วางแผนให้ลอบสังหารพระนเรศวรมาถวายรายงาน พระนเรศวรจึงหลั่งทักษิโณทกประกาศโองการตั้งแต่บัดนี้ไปแผ่นดินอโยธยาแลหงษาวดีขาดพรากปราศจาก มิเป็นปฐพีเดียวกันนับตั้งแต่เวลานี้ไป
การอพยพของชนชาติยะไข่หรือชาวทะวาย
ชาวทะวายเป็นชนเผ่าหนึ่งในประเทศพม่า ไม่ใช่มอญและก็ไม่ใช่พม่า เป็นอีกชนเผ่าหนึ่งที่มีภาษาของตนเองแต่ไม่มีภาษาเขียน ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิทยสถานกล่าวไว้ว่า ทวายเป็นคำเรียกชนเผ่าหนึ่งในสาขาของชาวยะไข่ตระกูลธิเบต-พม่า นับถือศาสนาพุทธ ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองทวายใกล้กับรัฐมอญและตะนาวศรีมะริดวัฒนธรรมประเพณีจึงคล้ายกับมอญมาก
การอพยพของชาวอินเดียในเขตสาทร
ขบวนการอพยพและตั้งถิ่นฐานของชาวอินเดียใน
สังคมไทย เริ่มก่อตัวขึ้นพร้อมกับกํารขยายตัวของ
ลัทธิอานานิคมตะวันตกในอินเดียและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 ประชากรของอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชจากจากอังกฤษ เป็นปัจจัยผลักดันให้การอพยพของชาวอินเดียเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้น
การเข้ามาสู่ประเทศไทยของชาวตะวันตก
ประเทศไทยมีความสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในคราวทำสงครามกู้ชาติครั้งที่ 1 ของพระนเรศวรมหาราช ก็มีกองกำลังอาสาวิลันดา กองกำลังอาสาโปรตุเกส เข้ามารับราชการช่วยคนไทยทำสงครามกับพม่าแล้ว ในปี พ.ศ.2054 สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พุทธศักราช 2034-2072) แห่งกรุงศรีอยุธยา โปรตุเกสได้เข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา อยุธยาด้วย บาทหลวงคาทอลิกคณะต่างๆและนวัฒนธรรมศาสนาคริสต์มาเผยแพร่ในกรุงศรี
ความเป็นมาของสาทร
จำเดิมพื้นที่เขตสาทรเป็นผืนป่าเรียกว่าป่าแตบ (ป่าไม้ราบ) มีคนไทยพื้นถิ่นอาศัยอยู่ประปรายทำกสิกรรมและเลี้ยงสัตว์ ตกถึงปีพุทธศักราช 2146 พระนเรศวรมหาราชมีดำริให้ย้ายทหารอาสาวิลันดา อาสาโปรตุเกสอาสาญี่ปุ่ นไปไว้ที่บางกอก ให้สร้างป้อมจงดีดูแลส่วยปากสำเภาด้านปากน้ำทางใต้ ให้กองกำลังอาสารามัญไปตั้งบ้านเรือนทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ดูแลกองอาสาวิลันดา อาสาโปรตุเกสและอาสาญี่ปุ่นอีกชั้นหนึ่ง พระวันรัตวัดป่าแก้วให้พระพรหมพระราชาคณะในพระสังฆราชานำพระภิกษุสายวิปัสสนําคณะวัดป่าแก้ว เณร เถรชี รวม 50 รูป ไปกับกองอาสารามัญตั้งอารามสำนักขึ้นที่ป่าแตบ (ชาวบ้านเรียกว่าวัดดอกควาย-วัดยานนาวาในปัจจุบัน) ใกล้กับตำแหน่งตั้งครัวรามัญและป้อมเมืองบางกอกนับแต่นั้นมา
บทที่ 2 พัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานในอุษาอาคเนย์
Homo erectus - มนุษย์ยุคหินเก่า (Old Stone Age) 600,000-10,000 ปี
ราว 1.8 ล้านปี ถึงราว 100,000 ปี มนุษย์(โฮมนิ ดิ ส)์มีวิวัฒนาการสามารถเดินตัวตรงด้วยสองขาอย่างชัดเจนโฮมนิดิส์ในยุคนี้จึงเรียกชื่อเป็นภาษาละตินว่า Homo erectus แปลว่า มนุษย์ผู้เดินตัวตรง Homo erectus อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ตามถ้ำและเพิงผา หรือสร้างที่อยู่ง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้ใบไม้ และรู้จักการใช้ไฟเพื่อให้ความอบอุ่น ให้แสงสว่าง ให้ความปลอดภัย และใช้ในการปรุงอาหาร
ยุคไพลสโตซนี (Pleistocene)
ยุคไพลสโตซนีหรือยุคน้ำแข็งอยู่ในช่วงเวลาระหว่าง 1,800,000-100,000 ปี เป็นเวลาที่น้ำแข็งยังไม่ละลาย มีธารน้ำแข็งเกิดปกคลุมบนผิวโลก น้ำทะเลช่วงเวลานี้มีระดับต่ำกว่าที่เห็นในปัจจุบันมาก
Homo sapiens - มนุษย์ยุคหินใหม่ (New Stone Age) 8,000-3,000 ปี
มนุษย์ยุคหินใหม่รู้จักทำเครื่องจักสาน เครื่องปั้นดินเผาพวกจาน ชาม หม้อ สามขา มีการประดิษฐสิ่งของใช้จากกระดูกสัตว์ เช่น เข็ม และมีการนำเปลือกหอยหรือกระดูกสัตว์มาทำเครื่องประดับตกแต่งร่างกาย
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนไทย
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนไทย คือ ช่วงเวลาที่ดินแดนไทยยังไม่มีการประดิษฐ์ลายลักษณ์อักษรขึ้นใช้บันทึกเรื่องราว คือ มีเพียงภาษาพูด หรือยังไม่มีเอกสารชาวต่างชาติบันทึกหรือกล่าวถึงเรื่องราวของดินแดนไทยดังนั้นการจินตนาการว่า คนก่อนประวัติศาสตร์มีวิถีชีวิตอย่างไร จึงเป็นการสันนิษฐานจากหลักฐานที่พบจากการขุดค้นจากหลุมฝังศพโบราณที่เป็นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์
ยุคโลหะในดินแดนไทย
ยุคโลหะของไทย อยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่ 3,000 ถึงประมาณ พุทธศักราช 1000 เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักนำโลหะมาใช้แทนเครื่องมือหินเริ่มจากโลหะทองแดงและดีบุกมาหลอมผสมเป็นสำริด ผลิตเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ อาทิ ขวาน หอก ลูกศร เครื่องประดับ ต่อมามนุษย์มีพัฒนาการมากขึ้นสามารถผลิตเป็นเครื่องมือเหล็กซื่งแข็งกว่าสำริด จึงนำเหล็กมาหลอมเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ส่วนสำริดนิยมหลอมเป็นเครื่อ งประดับแทน
แหล่งโบราณคดีสำคัญสมัยโลหะ
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ช่วงกลาง (4000-2500 ปี) บ้านเชียงช่วงกลาง เป็นยุคเครื่องมือสำริด
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ช่วงปลาย (2500-1800 ปี) บา้นเชียงช่วงปลาย เป็นยุคเครื่องมือเหล็ก
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ช่วงต้น (5000-4000 ปี) บ้านเชียงช่วงต้น เป็นยุคเครื่องมือหิน
บทที่ 3 ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในสังคมไทย
อารยธรรมมอญ
พบหลักฐานวัฒนธรรมร่วมทางพุทธศาสนาที่เรียกว่า “วัฒนธรรมทวารวดี” ซึ่งรุ่งเรืองช่วงพุทธศตวรรษที่12-16 ในชุมชนลุ่มน้ำภาคกลางของประเทศไทย ปัจจุบันทวารวดีเป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า ประกอบด้วยประตูใช้ในความหมายถึง เมืองท่า แสดงฐานะของเมืองท่าการค้า นักวิชาการเชื่อกันว่าชื่อ ทวารวดีตรงกับชื่อของอาณาจักรที่ถูกกล่าวไว้ในเอกสารจีนที่พบเรียกหลายชื่อ อาทิเช่น ตว้อหลอปอตี่ ตู้เหอปอตี่ และโถโลโปตี้
อารยธรรมเขมร/ขอม
ช่วงยุคทองของอาณาจักรเขมร เริ่มในพุทธศตวรรษที่ 14 เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 รวบรวมแคว้นเจนละบกและแคว้นเจนละน้ำเข้าด้วยกัน และตั้งอาณาจักรกัมพชูาขึ้น โดยพบศิลาจารึกที่ปราสาทสดกก๊อกธมในเขตประเทศไทยปัจจุบัน กล่าวถึงพระองค์ว่าทรงนำลัทธิ “เทวราชา” มาใช้ในการปกครอง
ความหมายของคำว่า “ชาติพันธุ์”
ชาติพันธุ์ (อ่านว่า ชาด-ติ-พัน) หมายถึง กลุ่มคนที่อยู่ในดินแดนที่ปัจจุบันเป็นประเทศใดประเทศหนึ่ง เป็นกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมร่วมกัน มีขนบธรรมเนียมประเพณีและภาษาพูดเดียวกันในประเทศไทย กลุ่มชาติพันธุ์หมายรวมทั้งชนที่เป็นกลุ่มใหญ่และชนที่เป็นกลุ่มน้อย โดยกลุ่มคนไทยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุด นอกจากนั้นยังมกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น กลุ่มชาตพันธุ์ จีน กลุ่มชาติพันธุ์มอญ กลุ่มชาติพันธุ์เขมร กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง กลุ่มชาติพันธุ์ซาไก เป็นต้น
กลุ่มภาษา ไทกะได / ไตกะได
นักวิชาการบางแนวคิด เสนอว่า คำว่า “ไทย” ไม่ใช่ชื่อเชื้อชาติแต่เป็นชื่อ ทางวัฒนธรรม เรียกคนหลายเผ่าพันธุ์ที่อยู่ร่วมกันและมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาหลายอย่างที่รับรู้ร่วมกันพันธุ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มภาษาไทะกะได เช่น ไทลื้อในสิบสองปันนาของจีนตอนใต้ ไทดำไทแดงในลุ่มแม่น้ำดำและแม่น้ำแดงในเวียดนาม ไทเขิน ในเชียงตุงและไทใหญ่ในรัฐฉานของพม่า ไทโยนกหรือไทยวนในล้านนา และไทน้อยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาภาคกลางของไทย ชาวไทเหล่านี้แต่ละกลุ่ม จะพบภาษาที่สำเนียงใกล้เคียงกัน โดยรากศัพท์ของคำนั้น เป็นคำ ๆ เดีย ว และมีความหมายในคำ เช่น พ่อ แม่ ปู้ย่า ตา ยาย ไปมา กิน ข้าว แขน ขา หัวตัว ช้าง ม้า วัว ควาย หมูหมา กา ไก่
บทที่ 5 ดนตรีไทย การละเล่นพื้นบ้าน ระบำรำฟ้อน
5.2 ดนตรีไทย การละเล่นพื้นบ้าน ระบำรำฟ้อน
ดนตรีไทย
ผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวไว้เกี่ยวกับดนตรีไทยว่า “ดนตรีสวุรรณภูมิรวมทั้ง ดนตรีไทย เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมมีขึ้นเพื่อพิธีกรรมไม่ใช่ดนตรีเพื่อฟังที่เพิ่งพัฒนาขึ้นสมัยหลังตามแบบตะวันตก”
เมื่อราว 5,000 ปีคนในอษุาคเนย์ทำเครื่องดนตรีจากไม้เพื่อใช้ในพิธีกรรมสอื่ สารกับอ านาจเหนือธรรมชาติและผีบรรพชน ดังที่พบหลักฐานเป็นไม้ไผ่ขนาดต่าง ๆ สร้างเครื่องมือมชื่อเรียกในสมัยหลังว่าเกราะ, โกร่ง, กรับ
การละเล่นหุ่นไทย - ประเภทของการเชิดหุ่น
หนังใหญ่ / หนังตะลุง
การแสดงตัวหนังของภาคใต้เรียกว่า “หนังตะลุง” ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าตัวหนังภาคกลาง หนังตะลงุ ใช้ภาษาถิ่นในการเจรจา นิยมเรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ หรือเรื่องราวในชาดก แต่ปัจจุบันหนังตะลุงมักเล่นล้อเลียนการเมืองหรือ สภาพสังคมเพื่อความสนุกสนาน
การเล่นหุ่น
หุ่นใหญ่หรือหุ่นหลวง โดยแต่งตัวและแสดงท่าทางเหมือนกับละครใน เนื่องจากแสดงเพื่อให ้
ราชสำนักชมเป็นหลัก การแสดงหุ่นหลวงนิยมเล่นเรื่องราวจากวรรณคดี อาทิ รามเกียรติ์ อุณรุท
หุ่นเล็กหรือหุ่นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เนื้อเรื่องที่นำมาเล่นหุ่นเล็กจึงเป็นเรื่องของจีน แต่ใช้
คำเจรจาเป็นภาษาไทย และเริ่มมีการนำบทละครนอกนำมาเล่นเพื่อความสนุกสนานตลกขบขัน
หุ่นกระบอกจะจัดแสดงให้ขุนนางและชาววังราชสำนักชมเท่านั้นเนื้อเรื่องที่นิยมนำมาเล่นหุ่นกระบอกมากที่สุดคือ พระอภัยมณี
หุ่นละครเล็ก เมื่อสร้างได้ครบโรงก็นำออกแสดงให้เจ้านายวังวรดิศทอดพระเนตรเป็นครั้งแรก แสดงเรื่องพระอภัยมณี บรรดาเจ้านายเจ้านายที่ทอดพระเนตรต่างเรียกการแสดงว่า "ละครเล็ก" ส่วนชาวบ้านเรียกว่า "หุ่นครูแกร"
โขน
โขน เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูง เป็นมหรสพหลวง ในสมัยโบราณนิย มแสดงในโอกาสสำคัญ อาทิการต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง งานสมโภช งานเฉลิมพระชนม์พรรษา ปัจจุบันมีการแสดงตามโรงละครต่าง ๆ หรือ แสดงหน้าไฟในงานศพ
ละครชาตรี
ละครชาตรีสันนิษฐานว่าเป็นต้นเค้าให้เกิด ละครนอก/ละครใน ในสมัยโบราณก่อนที่จะมีละครขึ้นไทยเรามีแต่การขับร้องฟ้อนรำมิได้มีการแสดงเป็นเรื่องราวแต่อย่างใดต่อเมื่อได้รับอิทธิพลจากอินเดีย จึงเกิดเป็นละครชาตรีขึ้นในอินเดีย โบราณ มีละครที่เรียกว่า "ยาตรี" หรือ "ยาตรา" ซึ่งแปลว่าเดิน ทางท่องเที่ยวพื้นเมืองของชาวเบงคลีในอินเดีย ซึ่ง เป็นละครนิยมเล่นเรื่อง "คีตโควนิท์" เป็นเรื่องอวตารของพระวิษณุ ตัวละครมีเพียง 3 ตัว คือ พระกฤษณะ นางราธะ และนางโคปี
การละเล่นพื้นบ้านไทย
คำว่า “การละเล่น” มีมาก่อนคำว่า “นาฏศิลป์ดนตรี” ในอดีตการละเล่นมีความหมายกว้างมาก ไม่จำกัดเฉพาะ “การร้องรำทำเพลง” การละเล่นในอดีตจึงไม่ใช่ห มายถึงเพียงกิจกรรมที่สร้างสนุกสนานความผ่อนคลายจากชีวิตประจำวันเท่านั้นแต่ยังรวมถึงกิจกรรมพิเศษที่ต้องการสื่อสารกับอำนาจธรรมชาติเพื่อวัตถุประสงค์ในการขอความอุดมสมบูรณ์ หรือให้หายจากภัยพิบัติหรือโรคภัย
พิธีกรรมการละเล่นที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตมชนและการอยรู่วมกันในสังคม
การบายศรีสู่ขวัญในงานรับขวัญ
การเต้นกำรำเคียว ระหว่างการเก็บเกี่ยว
การรำฝีฟ้า (รำผีแถน) เพื่อรักษาคนเจ็บป่วย
การก่อเจดีย์ทราย ในวันขึ้นปีใหม่
พิธีกรรมการละเล่นที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาเด็ก
การละเล่นมอญซ่อนผ้า
การเล่นม้าก้านกล้วย
การเล่นหมากเก็บ
การเล่นอีตัก
พิธีกรรมการละเล่นที่เกี่ยวเนื่องกับคติความเชื่อเรื่องความอดุมสมบรูณ์
การละเล่นผีตาโขน ในงานบุญผะเวส (งานบุญเทศน์มหาชาติ)
การแข่งบั้งไฟ ในประเพณีบุญบั้งไฟ- การแห่นางแมว ในการขอฝน
5.1 ศิลปกรรมในดินแดนไทย
ความแตกต่างระหว่าง สถูป / เจดีย์ / ปรางค์
สถูป (Stupa) เป็นคำในภาษาสันสฤต มาจากรากศัพท์ว่าสตปู (Stup) หมายถึง สะสม รวมเข้าด้วยกัน”
เจดีย์(Chedi) ในภาษาบาลี หรือ เจติยะ/ไจติยะ (Chaitya) ในภาษาสัน สกฤต หมายถึง สถานอันเป็นที่ควรเคารพ บูชา สักการะ”
ปรางค์ในดินแดนไทย ได้รับอิทธิพลจากปราสาทหิน ในศิลปะเขมร โดยมีที่มาจากคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูว่าเป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุ
ความแตกต่างระหว่าง อุโบสถ / วิหาร / ศาลาการเปรียญ
วิหาร คือ อาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูป โดยเป็นวิหารประธานหรือวิหารรองก็ได้ การเรียกอาคารว่าวิหารนั้นเป็นการเรียกชื่ออย่างกว้าง ๆ ไม่เฉพาะเจาะจง แต่โดยบทบาทหน้าที่แล้วมักใช้เรียกอาคารที่ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์สำคัญ หน้าที่ของวิหารเพื่อให้สถานที่ให้ประชาชนสักการะพระพุทธรูป และใช้ประกอบพิธีกรรมระหว่างสงฆ์กับ ฆราวาส ในงานทำบญุวันสำคัญศาลาการเปรียญ ในอดีต คือ อาคารสำหรับภิกษุสามเณรใช้ศึกษาทางปริยัติธรรม
อุโบสถ หรือ โบสถ์คือ อาคารสำคัญของวัดทางพุทธศาสนา ใช้เป็นที่ประชุมพระสงฆ์เพื่อทำสังฆกรรมโดยเฉพาะ “การอุปสมบท หรือ การบวช”
ความแตกต่างระหว่างช่อฟ้า / ใบระกา / หางหงส์
หลังคาอาคารสถาปัตยกรรมไทย โดยเฉพาะในวัดและพระราชวัง จะมีส่วนประกอบสำคัญที่ใช้เป็นเครื่องตกแต่งเรียกว่า เครื่องลำยอง เครื่องลำยองจะเป็นตัวไม้ แกะสลักปิดหัวท้ายเครื่องมุงหลังคาของอาคาร ประกอบด้วยตกแต่งเรียกว่า ช่อ ฟ้า ใบระกา และ หางหงส์ความเกี่ยวข้องในทางคติ พบว่าเครื่องลำยอง น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่อง “ครุฑยุดนาค” หรือครุฑจับนาค
นางสาวจุฑาทิพย์ น้อยศรี
200101042 พยาบาล ปี 2