Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปเนื้อหาวิถีชีวิตกับวัฒนธรรม, นางสาวกัลยาณี ชาติศรี 200101038…
สรุปเนื้อหาวิถีชีวิตกับวัฒนธรรม
บทที่ 3 ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในสังคมไทย
“ชาติพันธุ์”
ชาติพันธุ์ (อ่านว่า ชาด-ติ-พัน) หมายถึง กลุ่มคนที่อยู่ในดินแดนที่ปัจจุบันเป็นประเทศใดประเทศหนึ่ง เป็น
กลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมร่วมกัน มีขนบธรรมเนียมประเพณีและภาษาพูดเดียวกัน ต่าง ๆ เคลื่อนย ้ายทั้งทางบกและทางทะเลเข ้ามาตั้งหลักแหล่งทางสองฝั่งแม่น ้าโขงและลุ่มแม่น้ำาต่าง ๆ ในภาค
การเข้ามาของอารยธรรมภายนอกสู่ดินแดนอษุาคเนย์
เมื่อราว 2500-3000 ปีมาแล้ว จากความสมบูรณ์ของดินแดนอุษาคเนย์ ทำให้กลุ่มคนหลายเผ่าพันธุ์จากที่
ต่าง ๆ เคลื่อนย้ายทั้งทางบกและทางทะเลเข้ามาตั้งหลักแหล่งทางสองฝั่งแม่น้ำโขงและลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ ในภาค
กลางของประเทศไทยปัจจุบัน
ชาวอินเดียโบราณที่เดินเรือค้าขายกับอุษาอาคเนย์ นอกจากกลุ่มพ่อค้ายังมีกลุ่มคนอินเดียวรรณะอื่น ๆ ด้วยอาทิกษัตริย์พราหมณ์นักบวชซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความรู้ และพบหลักฐานการเขา้มาตั้ง อาณานิคมของชาวอินเดียในคาบสมุทรรภาคใต้ของไทยรวมถึงบนหมู่เกาะต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้า
ชนชั้นสูงเป็นกลุ่มแรกที่เลือกรับอารยธรรมอินเดียที่สำคัญคือ ระบบกษัตริย์
ที่เป็นประโยชน์ทางการปกครองสามารถสร้างภาพและสร้างอำนาจในการปกครองชุมชนรวมทั้งเป็นเหตุให ้ชุมชนท้องถิ่นเติบโตก้าวหน้าขึ้นเป็นระดับเมืองและพัฒนาต่อเนื่องเป็นอาณาจักรแต่ประชาชนทั่วไปยังคงมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมคือ นับถือผี
อารยธรรมมอญ
พบหลักฐานวัฒนธรรมร่วมทางพุทธศาสนาที่เรียกว่า “วัฒนธรรมทวารวดี” ซึ่ง รุ่งเรืองช่วงพุทธศตวรรษที่12-16 ในชุมชนลุ่มน้ำภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบันทวารวดีเป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า ประกอบดว้ยประตูใช้ในความหมายถึงเมืองท่า แสดงฐานะของเมืองท่าการค้านักวิชาการเชื่อกันว่าชื่อทวารวดีตรงกับชื่อของอาณาจักรที่ถูกกล่าวไว้ในเอกสารจีนที่พบเรียกหลายชื่ออาทเิช่น ตว้อหลอปอตี่ ตู้เหอปอตี่ และโถโลโปตี้
อารยธรรมเขมร/ขอม
ช่วงยุคทองของอาณาจักรเขมร เริ่มในพุทธศตวรรษที่ 14 เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 รวบรวมแคว้นเจนละบกและแคว้นเจนละน้ำเข้าด้วยกันและตั้งอาณาจักรกัมพูชาขึ้นโดยพบศิลาจารึกที่ปราสาทสดกก๊อกธมในเขตประเทศไทยปัจจุบัน กล่าวถึงพระองค์ว่าทรงนำลัทธิ“เทวราชา” มาใช้ในการปกครอง
บทที่ 2 พัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานในอุษาอาคเนย์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนไทย
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนไทย คือ ช่วงเวลาที่ดินแดนไทยยังไม่มีการประดิษฐ์ลายลักษณ์อักษรขึ้นใช้บันทึก เรื่องราว คือ มีเพียงภาษาพูด หรือยังไม่มีเอกสารชาวต่างชาติบันทึกหรือกล่าวถึงเรื่องราวของดินแดนไทยดังนั้นการจินตนาการว่า คนก่อนประวัติศาสตร์มีวิถีชีวิตอย่างไร จึงเป็นการสันนิษฐานจากหลักฐานที่พบจากการขุดค้นจากหลุมฝังศพโบราณที่เป็นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์
ยุคไพลสโตซนี (Pleistocene)
ยุคไพลสโตซนี หรือยุคน้ำแข็ง อยู่ในช่วงเวลาระหว่าง 1,800,000-100,000 ปี เป็นเวลาที่น้ำแข็งยังไม่ละลายมีธารน้ำแข็งเกิดปกคลุมบนผิวโลก น้ำทะเลช่วงเวลานี้มีระดับต่ำกว่าที่เห็นในปัจจุบันมากในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินบรเิวณคาบสมุทรภาคใต้ยังเชื่อมติดกับสมุาตราชวาบาหลีบอร์เนียว
และเกาะปาลาวันในฟิลปิ ปินส์ รวมเรียกว่า “แผ่นดินซุนดา” แหล่งโบราณคดีของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนเอเชยีตะวันออกเฉียงใต้จึงสามารถพบได้ตั้งแต่
บรเิวณภาคพื้นทวีปจนไปถึงหมู่เกาะขนาดใหญ่ในมาเลเซีย
อินโดนีเซีย และฟิลิปินส์
Homo erectus - มนุษย์ยุคหินเก่า (Old Stone Age) 600,000-10,000 ปี
ราว 1.8 ล้านปี ถึงราว 100,000 ปี มนุษย์(โฮมนิดส์)มีวิวัฒนาการสามารถเดินตัวตรงด้วยสองขาอย่างชัดเจนโฮมนิดส์ในยุคนี้จึงเรียกชื่อ เป็นภาษาละตินว่า Homo erectus แปลว่า มนุษย์ผู้เดินตัวตรงมนุษย์สมัยนี้เป็นพวกเร่ร่อน อาศัยอยู่ตามถ้าเพิงผาใกล้ลำธารต้องพึ่งพาธรรมชาติมีความเชื่อในโลกวิญญาณ พบว่า มีพิธีกรรมการฝังศพ โดยวางแผ่นหินบนลำตัวใช้นิเทศสีแดงโรยที่กะโหลกและทรวงอก และพบเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผา และเครื่องมือที่ทำจากหินกรวดแม่น้ำที่เรียกว่า เครื่องมือหินกะเทาะ
Homo sapiens - มนุษย์ยุคหินใหม่ (New Stone Age) 8,000-3,000 ปี
ยุคหินใหม่อยู่ในช่วงเวลาตัง้ แต่ 8,000-3,000 ปี พบหลักฐานเครื่องมือที่ทำจากหินกรวดแม่น้ำมีขนาดเล็กแต่มีความคม ฝีมือประณีต เรียกว่า เครื่องมือขวานหินขัด
ศาสนาผี
ชุมชนในอุษาคเนย์ดั้งเดิม นับถือธรรมชาติและผีบรรพชน หรือที่เรียกว่า “ศาสนาผี” เหมือนกัน (ศาสนาผีหมายถงึ ระบบความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ) ต่อมามีการเรียกชื่อผีที่แตกต่างกันไป เช่น เขมร เรียก ผีมด,มอญ เรียก ผีเม็ง, ไทย(อีสาน)และลาว เรียก ผีฟ้า หรือผีฟ้าพญาแถน เป็นต้น
สัตว์ศักดิ์สิทธิ์
ชุมชนในอุษาคเนย์นอกจากนับถือศาสนาผีแล้วยังพบการ
บูชาสัตว์ที่ เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์โดยเฉพาะ
สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ (หรือคางคก), งู, จระเข ้, ตะกวด (แลน, เหี้ย), เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มี
อำนาจสามารถบันดาลให้ฝนตก เพราะมักพบสัตวเ์หล่านี้ทุกครั้งที่ฝนตก
ขวัญ
ชุมชนในอุษาคเนย์มีความเชื่อเรื่อง “ขวัญ” ไม่มีวิญญาณ (เพราะวิญญาณเป็นคติที่รับจากอินเดียภายหลัง)ขวัญมีอยู่ทั้งในคน, สัตว์, สิ่งของ และแม้แต่ต้นไมเ้ช่นต้นข้าวก็มีขวัญ และเชื่อว่าขวัญมีหลายดวง ประจำอยู่ในอวัยวะทุกส่วน(ส่วนวิญญาณมีดวงเดียว และเชื่อว่าวิญญาณจะมีอยู่แต่ในคนและสัตวเท่านั้น)
พิธีศพ
ชุมชนในอุษาคเนย์ ตั้งแต่ราว 3,000 ปีมาแล้ว เมื่อมีคนสิ้นชีวิตลงจะเก็บศพหลายวันให้เนื้อหนังเน่าเปื่อย
ย่อยสลายเหลือแต่กระดูกแล้วเก็บกระดูกมาทำพิธีอีก เรียก พิธีศพครั้งที่สอง โดยเชื่อว่า “คนตายแต่ขวัญไม่ตาย”จึงมีพีธิศพครั้งที่สองโดยเก็บกระดูกใส่ภาชนะดินเผาที่มีรูปแบบพิเศษ และยังพบภาชนะใส่กระดูกที่ ทำด้วยหินเช่น
ไหหินที่พบที่ทุ่งไหหินในลาว, หีบหินที่พบบนปราสาทนครวัดของชาวเขมร และที่พบในชุมชนที่อาศัยตามหมู่เกาะ
การแต่งกาย
ดัวยภูมิอากาศแบบร้อนชื้น คนอุษาคเนย์นิยมแต่งกายด้วยผ้าผืนเดียวที่เรียกว่า “ผ้าผืนเดียว เตี่ยวพันกาย”ต่อมาผ้าของฝ่ายหญิงมีการเย็บติดกันจึงเรียกว่า ผ้าถุงผ้าสารพัดประโยชน์ของคนอุษาคเนย์คือ ผ้าขะม้า
แม่หญิงเป็นใหญ่
อุษาคเนย์ยกย่องแม่หญิงเป็นหัวหน้าพิธีกรรมเข้าทรงผีบรรพชนโดยเชื่อว่าผีบรรพชนไม่ลงทรงผู้ชาย ผู้หญิงอุษาคเนย์จึงมีบทบาทในฐานะผู้นำเผ่าพันธุ์ผู้ก่อเกิดความอุดมสมบูรณ์
พบคำเรียกหญิงว่า แม่ แปลว่า ผูเ้ป็นใหญ่ใช้เรียกสิ่งสำคัญ เช่น แม่น้ำ(ลาวเรียกน้ำแม่),
นาคและนางนาค
คำว่า “นาค” มีรากศัพท์มาจากตระกูลภาษาอินโด-ยุโรป แปลว่า เปลือย, คนเปลือย หมายถึง งู (ไม่มีขน
เสมือนเปลือย) เป็นคำดูถูกที่ชาวชมพูทวีป (โดยเฉพาะพวกพราหมณ์อินเดียโบราณ) ที่เชื่อว่าตนมีวัฒนธรรมสูง
เรือนเสาสูง
คนอุษาคเนย์ปลูกเรือนเสาสูงตั้งแต่ตอนใต้ลุ่มน้ำแยงซีลงไปจนถึงหมู่เกาะ เรือนเสาสูง ต้องยกพื้น มีใต้ถุน
เป็นบริเวณทำกิจกรรรมตลอดทั้งวัน เช่น หุงข้าว, ทอผ้า,
อาหารหลัก (ข้าว)
ตั้งแต่ 5,000 ปีมาแล้ว คนอุษาคเนย์รู้จักปลูกข้าวเป็นอาหารหลัก พบหลักฐานที่แหล่งโบราณคดีถ้าปุงฮุง(แม่ฮ่องสอน) กับที่แหล่งโบราณคดีอำเภอโนนนกทา(ขอนแก่น) เป็นพันธุ์ข้าวที่เก่าที่สุดคือ พันธุ์ข้าวเหนียว(พบพันธุ์ข้าวเจ้าด้วยแต่ไม่มาก)
เทคโนโลยีโลหะและเครื่องโลหะเพื่อตีส่งเสียงสื่อสารกับอำนาจศักดิ์สิทธิ์
คนอุษาคเนย์มีเทคโนโลยีก้าวหน้าเกี่ยวกับถลุงและหล่อโลหะ ไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้วสิ่งนี้เป็นพื้นฐาน
สำคัญที่จะหล่อรูปเคารพ เช่น เทวรูป, พระพุทธรูป ในยุคหลังรับอินเดีย
บทที่ 1 พัฒนาการของศาสนาและความเชื่อในอุษาอาคเนย์
:
ความเชื่อดั้งเดิมในอุษาคเนย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์
ความเชื่อเรื่องผีฟ้าพญาแถน และผีบรรพชน
ชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ของอุษาคเนย์ ตั้งถิ่นฐานอยู่ในภูมิภาคที่รับอิทธิพลของ “ลมมรสุม” ที่ก่อให ้เกิดสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ แต่ขณะเดียวกัน ก็เป็นการยากที่จะควบคุมให้เป็นไปตามที่คาดหวัง ชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ ทั้ง สังคมเร่ร่อนและสังคมเกษตรกรรม จึงได้สร้างสัญลักษณ์ของธรรมชาตและปรากฎการณ์ที่ไม่อาจควมคุมและไม่สามารถอธิบายได้ในรูปของ “ผีฟ้าพญาแถน” ซึ่งเชื่อว่าผีฟ้าเป็นผีฝ่ายดีและให้คุณโดยมีฝ่ายหญิงเป็นผู้สื่อสารอ้อนวอนเอาอกเอาใจผีฟ้า เพื่อคาดหวังผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์
ความเชื่อเรื่อง “นัต ” ของเมียนมา
ผู้รู้ชาวพม่า เชื่อ วา่ นัต (Nat) มาจากคำว่า นาถ ในภาษาบาลี หมายถึงผู้เป็นที่พึ่ง เป็นต้นว่า พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ พระพรหม เทวดา กษัตริย์ สุริยเทพ จันทราเทพ อัคคีเทพว่าโยเทพ ดังนั้น นัตตามนัยของคำว่า นาถ คือ เหล่าเทพดาบนสรวงสวรรค์ตลอดจนผู้มีอำนาจอันประเสริฐบนโลกมนุษย์ อันถือเป็นนัตตามความหมายในทางพุทธศาสนา
ความเชื่อชวาเกอยาเวน : ศาสนาชวา
ในเกาะชวามีชนเผ่าที่อาศัยอยู่มากมาย แต่มีชนเผ่าที่สำคัญ เช่น ชาวชวา เป็นกลุ่มชนที่ใหญ่ที่สุดในอินโดเนเซยี ความเชื่อชวาเกอยาเวน (Jawa Kejawen) (คำว่า เกอยาเวน เป็นภาษาชวา) เป็นความเชื่อ เฉพาะของชาวชวาที่มีผี สมผสานระหว่างศาสนาฮินดู+ ความเชื่อดั้งเดิม + ความเชื่อในศาสนาอสิลามหรือ คริสต์ที่อาจเรียกว่าศาสนาชวา
ความเชื่อเรื่อง “ขวัญ ”
ขวัญ คือ ระบบความเชื่อเก่าแก่ของกลุ่มคนหลายชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์ ทั้งไทย ลาว พม่า เวียดนามกัมพูชา โดยเชื่อ ตรงกันว่า ขวัญไม่มีตัวตนแต่อยู่กับสิ่งมีชีวิตตลอดเวลา โดยมีผลกับการดำรงชีวิตตั้งแต่เกิด และมีผลต่อจิตใจมาก
ความเชื่อทางพุทธศาสนาในสังคมไทย
จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า พุทธศาสนาแพร่จากอินเดียเข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิตั้งแต่ชุมชนในดินแดนนี้ยังอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคที่ใชเ้ครื่องอโลหะ โดยพบวา่ พุทธศาสนาเขา้มาพร้อม ๆ กับศาสนาพราหมณ์ ทั้งนี้จะพบว่าในหลายชุมชนที่เดิมนับถือศาสนาผี ยอมรับทั้งพุทธศาสนาและเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์พรอ้ม ๆ กัน แต่นึ้กับผปู้ กครองจะใหค้ วามส าคัญกับความเชอื่ ใดเป็นหลัก
พุทธศาสนา นิกายเถรวาทลังกาวงศ์ความเชื่อหลักของสังคมไทยสมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 19
ไตรภูมิพระร่วง : วรรณกรรมเอกทางพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย
จักรวาลคติในไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิหรือ ภพภูมิทั้งสาม ในจักรวาลคติทางพุทธศาสนา
ศาสนาและความเชื่อในอุษาคเนย์
อุษาคเนย์หรือ เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางศาสนา ศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุด คือ ศาสนาอิสลามในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน ด้วยจำนวนประชากรมุสลิมที่มากถึง 240 ล้านคน ศาสนาพุทธมีผู้นับถือเป็ นจ านวนมากในไทย, กัมพูชา, ลาว, พม่า, เวียดนาม ส่วนศาสนาคริสต์เป็นที่นิยมในฟิลปินส์เป็นประเทศที่มีผู้นับถือ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลกิมากที่สุดในนเอเชีย
บทที่ 5
บทที่ 5.2 ดนตรีไทย การละเล่นพื้นบ้าน ระบำรำฟ้อน
ดนตรีไทย
ผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวไว้เกี่ยวกับดนตรีไทยวา่ “ดนตรีสุวรรณภูมิรวมทั้ง ดนตรีไทยเป็นส่วนหนงึ่ ของพิธีกรรมมีขึ้นเพื่อพิธิกรรมไม่ใช่ดนตรีเพื่อฟังที่เพิ่งพัฒนาขึ้นสมัยหลังตามแบบตะวันตก”
พัฒนาการของคำร้องประกอบเสียงดนตรี
ในอดีตการละเล่นประกอบเครื่องดนตรีมักเป็นกิจกรรมในพิธีศักดิ์สิท ธิ์อาทิเพื่อการสื่อสารกับผีบรรพชนหรือใช้ในพิธิขอฝนเพื่อขอความอุดมสมบรูณ์บางครั้งจะมีการขับลำ(ลำนำ)หรือ ขับคำคล้องจอง ที่เรียกกันภายหลังว่า “ร่าย” หรือ “ร่ำ”
การละเล่นพื้นบ้านไทย
คำว่า “การละเล่น” มีมาก่อนคำว่า“นาฏศิลป์ดนตรี”ในอดีตการละเล่นมีความหมายกว้างมาก ไม่จำกัดเฉพาะ “การร้องรำทำเพลง”การละเล่นในอดีต จึงไม่ใช่หมายถึงเพียงกิจกรรมที่สร้างสนุกสนานความผ่อนคลายขอความอุดมสมบูรณ์ หรือให้หายจากภัยพิบัติหรือโรคภัย
พิธีกรรมการละเล่นที่เกี่ยวเนื่องกับอำนาจกษัตริย์
- พิธีโล้ชิงช้าถูกยกเลิกในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕
พระราชพิธีแข่งเรือเสี่ยงทายในสมัยกรุงศรีอยุธยา
การชักนาคดึกดำบรรพ์ในพระราชพิธีอินทราภิเษก
พิธีกรรมการละเล่นที่เกี่ยวเนื่องกับคติความเชื่อเรื่องความอุดมสมบรูณ์
- การละเล่นผีตาโขน ในงานบุญผะเวส (งานบุญเทศน์มหาชาติ)
การแข่งบั้งไฟ ในประเพณีบุญบั้งไฟ
พิธีกรรมการละเล่นที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชุมชนและการอยู่ร่วมกันในสังคม
- การบายศรีสู่ขวัญในงานรับขวัญ - การรำฝีฟ้า (รำผีแถน) เพื่อรักษาคนเจ็บป่วย
พิธีกรรมการละเล่นที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาเด็ก
- การละเล่นมอญซ่อนผ้า - การเล่นม้าก้านกล้วย
การละเล่นหุ่นไทย - ประเภทของการเชิดหุ่น
การละเล่นประเภทหุ่น เป็นที่นิยมมาช้านาน แบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ หุ่นเชิดเงา และหุ่นเชิดตัว
การเปลี่ยนแปลงของการเล่นระบำรำฟ้อนในสังคมปัจจุบัน
สังคมไทยปัจจุบัน โดยเฉพาะสังคมความเปลี่ยนแปลงเนื่องจาก
สภาพสงัคมที่มีการแข่งขันสูงชีวิตต้องเร่งรีบในการเดินทาง
บทที่ 5.1 ศิลปกรรมในดินแดนไทย
ความแตกต่างระหว่าง อุโบสถ / วิหาร / ศาลาการเปรียญ
อุโบสถ
หรือ โบสถ์คืออาคารสำคัญของวัดทางพุทธศาสนา ใชเ้ป็นที่ประชมุ พระสงฆเ์พื่อทำสังฆกรรม
โดยเฉพาะ “การอุปสมบท หรือ การบวช”
วิหาร
คือ อาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูป โดยเป็นวิหารประธานหรือวิหารรองก็ได ้การเรียกอาคารว่าวิหารนั้นเป็นการเรียกชื่ออย่างกวา้ง ๆ ไม่เฉพาะเจาะจงแต่โดยบทบาทหน้าที่ และมักใช้เรียกอาคารที่ใช้เป็นทประดิษฐานพระพุทธรูปองค์สำคัญ
ศาลาการเปรียญ
ในอดีต คือ อาคารสำหรับภิกษุสามเณรใช้ศึกษาทางประริยัติธรรม ปัจจุบัน ใช้เป็นอาคารเอนกประสงค์เพื่อประกอบศาสนกิจต่าง ๆ
ความแตกต่างระหว่างช่อฟ้า / ใบระกา / หางหงส์
หลังคาอาคารสถาปัตยกรรมไทย โดยเฉพาะในวัดและพระราชวัง จะมีส่วนประกอบสำคัญที่ใช้เป็นเครื่องตกแต่งเรียกว่า เครื่องล ายอง เครื่องลำยองจะเป็นตัวไม้แกะสลักปิดหัวท้ายเครื่องมุงหลังคาของอาคาร ประกอบด้วยช่อฟ้า ใบระกา และ หางหงส์
ความแตกต่างของการซ้อนชั้นหลังคา และความหมาย
การทำหลังคาซ้อนชั้นในสถาปัตยกรรมไทย เพื่อลดทอนขนาดผืนหลังคาที่ใหญ่เกินไปและเพิ่มมิติทางสถาปัตยกรรมให้อาคารมีความงดงามมากขึ้น
ความแตกต่างระหว่าง สถูป / เจดีย์ / ปรางค์
สถูป (Stupa)
เป็นคำในภาษาสันสฤต มาจากรากศัพท์ว่า สตูป(Stup) หมายถึง สะสมรวมเข้าด้วยกัน”
เจดีย์(Chedi)
ในภาษาบาลี หรือ เจติยะ/ไจติยะ (Chaitya) ในภาษาสันสกฤต หมายถึง สถานอันเป็นที่ควรเคารพบูชาสักการะ” มาจากรากศัพท์ว่า “จี (Ci) แปลว่า “กองขึ้นไป” ในอดีต สถูป (หรือเนินดิน) มีความเกี่ยวพันกับพิธีกรรมการปลงศพ
ปรางค์
ในดินแดนไทยได้รับอิทธิพลจากปราสาทหนิ ในศิลปะเขมรโดยมีที่มาจากคติความเชื่อในศาสนา
พราหมณ์-ฮินดูว่า เป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสเุมรุ
บทที่ 4 ประเพณีและพฤติกรรมในสังคมไทย
ความหมายประเพณี
คือ รูปแบบของการประพฤติปฏิบัติที่สังคมนั้น ๆ ยอมรับว่าเป็นสิ่งดีงามโดยมีแบบแผนการกระทำที่ชัดเจนและเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์
ประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวน จังหวัดสระบุรี
ประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวน จังหวัดแพร่
ประเพณีบุญเบิกฟ้า จังหวัดมหาสารคาม
ความเชื่อเรื่องการนับถือผีบรรพชน
งานบุญข้าวประดับดิน มีวัตถุประสงค์อุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ
ประเพณีทำบุญวันสาทร
ประเพณีการตักบาตรดอกไม้บูชาอินทขิล-เชียงใหม่
ความเชื่อเรื่องขวัญ
ประเพณีบุญคูนลาน เป็นการทำบุญรับขวัญข้าว
ความเชื่อนับถือธรรมชาติและสัตว์ศักดิ์สิทธิ์
งานบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร
คางคกและกบจะเกี่ยวข้องกับการเกิดฝนตก
รูปแบบประเพณีที่แตกต่างตามกลุ่มชนชั้นในอดีต
ประเพณีหลวง
ประเพณีราษฎร์
ประเพณีการฝังรก
ประเพณีการทำขวัญเดือน
พิธีการโจนจุก
พิธีการบวชเณร
ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
วันวิสาขบูชา
วันอาฬาหบูชา
วันมาฆบูชา
ประเพณีแห่เทียนพรรษา
ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ณ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
ประเพณีโยนบัว ของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ประเพณีตักบาตรเทโว
ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
ประเพณีไหลเรือไฟ
ประเพณีชักพระ
งานบุญเทศน์มหาชาติ
การละเล่นผีตาโขน ในประเพณีบุญผะเวส ของชาวด่านซ้าย จังหวัดเลย
ประเพณีทอดกฐิน
ประเพณีลอยกระทง
ประเพณียี่เป็ง
วันขึ้นปีใหม่ไทย
วันขึ้นปีใหม่ไทย เริ่มที่เดือนอ้าย
ความหมายพิธีกรรม
คือ รูปแบบการกระทำเพื่อไปสู่เป้าหมายที่คาดหวังไว้ ซึ่งอาจไม่ได้เกิดการกระทำอย่างต่อเนื่อง
บทที่6
วิถีชีวิตกับวัฒนธรรมที่สำคัญบนควำมหลำกหลำยของศาสนาและชำติพันธุ์ ต่างๆในชุมชนสำทร
ความเป็นมาของสาทร
จำเดิมพื้นที่เขตสาทรเป็นผืนป่าเรียกว่าป่าแตบ(ป่าไม้ราบ) มีคนไทยพื้นถิ่นอาศัยอยู่ประปรายทำกสิกรรมและเลี้ยงสัตว์ตกถึงปีพุทธศักราช2146 พระนเรศวรมหาราชมีดำริให้ย้ายทหรอาสาวิลันดาให้สร้างป้อมจงดีดูแลส่วยปากสำเภาด้านปากน้ำทางใต้
ชาติพันธุ์ในสาทร
ชาวมอญอพยพรุ่นใหม่ในพื้นที่สาทร
ชนชาติมอญก็เช่นกันได้ต่อสู้มําแล้วตั้งแต่อดีตเคยเป็นใหญ่สถาปนาราชอาณาจักรหงสาวดีปกครองพม่าทั้งสิบทิศ แล้วก็สูญเสียอำนาจไปและกอบกู้เอกราชคืนมาได้ ปี พ.ศ.2300 มอญก็ต้องพ่ายแพ้แก่พระเจ้าอลองพญา และไม่สามารถกอบกู้เอกราชได้อีกเลย
สุสานแต้จิ๋วซัวจึง
เกิดขึ้นจากการรวบรวมเงินบริจาคของคนแต้จิ๋วในกรุงเทพมหานคร จัดซื้อที่ดินจำนวน 125 ไร่เศษ ที่ตรอกจันทน์ แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทรเมื่อปี พ.ศ.2442 ด้วยเงิน33,500 บาท ท่านที่เป็นหวัเรียวหัวแรงจัดทำนุซื้อที่ดินในบริเวณดังกล่าวคือคุณหลวงสิทธิ์ สโุรปกรณ์ ปลดทุกขข์องคนแต้จิ๋วที่ตายแล้วไม่มีที่ไป
ชาวทะวาย
เป็นชนเผ่าหนึ่งในประเทศพม่า ไม่ใช่มอญและก็ไม่ใช่พม่า เป็นอีกชนเผ่าหนึ่งที่มีภาษาของตนเองแต่ไม่มีภาษาเขียนในพจนานุกรมฉบับรําชบัณฑิทยสถานกล่าวไว้ว่าทวายเป็นคำเรียกชนเผ่าหนึ่งในสาขาของชาวยะไข่ตระกูลธิเบต-พม่า นับถือศาสนาพุทธ ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองทวายใกล้กับรัฐมอญและตะนาวศรีมะริด วัฒนธรรมประเพณีจึงคล้ายกับมอญมาก
ผู้อพยพชาวอินเดียที่นับถือศําสนาฮินดูที่เข้ามาในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็นห้ากลุ่มหลัก คือ
กลุ่มชาวฮินดูจากอุตตรประเทศ ซึ่งอยู่ทางเหนือของอินเดีย
กลุ่มชาวฮินดูจากแคว้นซิกซ์และปัญจาบ
กลุ่มชาวฮินดูจากจากกุจราช
กลุ่มชาวฮินดูจํากทมิฬนาดูร์
กลุ่มชาวฮินดูจากเบงกอล
ศาสนาและสถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องในสาทร
ศาสนาพุทธ
แนะนำวัด 1.วัดยานนาวา 2.วัดสุทธิวราราม 3.วัดบรมสถลหรือวัดดอน 4.วัดปรกมอญแขวงทุ่งวัดดอน
ศาสนาคริสต์(คาทอลิก)
ศาสนาอิสลามในสาทร
ศาสนาพราหม-ฮินดู
สถานที่สำคัญในสาทร
สถานทูต
มีสถานทูตต่าง ๆ ตั้งอยู่ในเขตสาทรถึง 11 แห่งคือ
สถานทูตเดนมําร์ค 2. สถานทูตบรําซิล
สถานทูตเยอรมัน 4. สถานทูตสโลวัก
สถานทูตสมณวําติกัน 6. สถานทูตสิงคโปร์
สถานทูตออสเตรเลีย 8. สถานทูตออสเตรีย
สถานทูตเม็กซิโก 10. สถานทูตกรีซ
สถานทูตมําเลเซีย 12. สถานกงศุลฝรั่งเศส
สถาบันทางการศึกษา
โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ
โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม
โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ
โรงเรียนวัดสุทธิวราราม
นางสาวกัลยาณี ชาติศรี 200101038 พยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2