Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ซักประวัติหญิงตั้งครรภ์ G4P2-0-1-2 GA 18 wks. - Coggle Diagram
ซักประวัติหญิงตั้งครรภ์
G4P2-0-1-2 GA 18 wks.
ข้อมูลส่วนบุคคล
หญิงตั้งครรภ์ชาวไทย อายุ 30 ปี เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ
G4P2-0-1-2 GA 18 wks. By date
EDC by date : 9 สิงหาคม 2565
LMP : 2 พฤศจิกายน 2564
ฝากครรภ์ครั้งแรก : 8 มีนาคม 2565
ได้รับวัคซีนบาดทะยัก 2 เข็ม เมื่อปี 2561
น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ 55 kg. ส่วนสูง 160 cm. BMI = 21.48 kg/m^2
น้ำหนักปัจจุบัน 66.5 kg น้ำหนักเพิ่มขึ้น 11.5 กิโลกรัม
สัญญาณชีพ : อุณหภูมิร่างกาย 36.7 องศาเซลเซียส ความดันโลหิต 110/70 mmHg.
ชีพจร 99 ครั้ง/นาที
ประวัติการเจ็บป่วย : ปฏิเสธ
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว : ปฏิเสธ
ประวัติการตั้งครรภ์
G1 ( 31 มกราคม 2551 ) : ครบกำหนด เพศหญิง น้ำหนักแรกคลอด 3,000 กรัม คลอด normal labor ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สภาพทารกปัจจุบันแข็งแรง คลอดที่รพ.สิรินธร
G2 ( 12 ธันวาคม 2561 ) : ครบกำหนด เพศหญิง น้ำหนัก 3,700 กรัม คลอด normal labor ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สภาพทารกปัจจุบันแข็งแรง คลอดที่รพ.ตำรวจ
ประวัติการผ่าตัด : ปี 2564 ectopic pregnancy ผ่าตัดปีกมดลูกด้านขวา
การเปลี่ยนแปลง
ด้านร่างกาย
ไตรมาสที่ 1 ( อายุครรภ์ 1-3 เดือน )
ประจำเดือนมาไม่ตามกำหนด
มีอาการแพ้ท้อง : เกิดจากระดับฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะแรกของการตั้งครรภ์
• เต้านมขยายขึ้น
• มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
• น้ำหนักตัวคงที่หรือเพิ่มขึ้น 1-3 กิโลกรัมในรายที่ ในรายที่แพ้ท้องไม่รุนแรง
ไตรมาสที่ 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน )
น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเดือนละ 1-2 กิโลกรัม
มดลูกจะโตขึ้น และเริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้นในสัปดาห์ที่ 16-22
ผิวคล้ำบริเวณส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ใบหน้า ลำคอลำตัว รักแร้ มีเส้นสีดำหรือน้ำตาลเป็นทางลากยาวกลางท้องตั้งแต่สะดือถึงหัวเหน่าและอาจมีหน้าท้องแตกลาย
มีตกขาวหรือมูกในช่องคลอดมากกว่าปกติ
ระบบย่อยอาหารเปลี่ยนแปลงอาจมีภาวะท้องผูก ท้องอืด กรดไหลย้อน
เกิดตะคริว
ไตรมาสที่ 3 (อายุครรภ์ 7-9 เดือน)
น้ำหนักตัวควรเพิ่มขึ้นเดือนละ 2 กิโลกรัม
ปัสสาวะบ่อยมากขึ้นจากการที่ทารกเคลื่อนลงต่ำ
มีอาการปวดหลังจากน้ำหนักของมดลูกและทารกที่มีขนาดเพิ่มมากขึ้นทำให้คุณแม่ต้องแอ่นหลังหรือเกร็งกล้ามเนื้อมากกว่าปกติ
อาการตะคริว จากแคลเซี่ยมที่ลดต่ำลงหรือจากกล้ามเนื้อขาที่รับน้ำหนักมากกว่าปกติ
ด้านจิตใจ
ไตรมาสที่ 1 (อายุครรภ์ 1-3 เดือน )
Accepting the Pregnancy : ความรู้สึกไม่มั่นใจ รู้สึกไม่พร้อม ลังเล กังวลเกี่ยวกับอนาคต
หากสามารถปรับตัวเพื่อยอมรับการตั้งครรภ์ได้จะมีความสุขจะคิดถึงแต่ตนเองห่วงภาพลักษณ์
ร่างกายยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงจึงไม่มีความรู้สึกต่อการเปลี่ยนแปลง
มีความสนใจและความต้องการทางเพศลดลงเนื่องจากภาวะไม่สุขสบาย
ไตรมาสที่ 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน)
Accepting the baby : เริ่มยอมรับการตั้งครรภ์เมื่อมีการดิ้นของทารก เริ่มคิดถึงเรื่องลูก เตรียมตัวบทบาทแม่
หน้าท้องและเต้านมขยายใหญ่ขึ้นในบางคนจะรู้สึกไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงแต่เมื่อยอมรับได้จะเกิดความรู้สึกที่ดี
เพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่ไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงบางรายมีความสุข
ไตรมาสที่ 3 (อายุครรภ์ 7-9 เดือน)
Preparing for the baby and of pregnancy
วิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอด เริ่มมีความรู้สึกภูมิใจในความเป็นแม่ อารมณ์แปรปรวน ต้องการการดูแลเอาใจใส่
รู้สึกไม่คล่องตัวอาจเกิดความเครียดถึงการเปลี่ยนแปลงในรูปร่าง แต่บางรายอาจมีความภูมิใจ
ความต้องการมีเพศสัมพันธ์ลดลงเนื่องจากกลัวอันตรายกับทารกในครรภ์
คำแนะนำในเคสที่ใช้
ไตรมาสที่ 2
1.ด้านโภชนาการ : สามารถทานอาหารได้ตามปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์ โดยในไตรมาสที่ 2 จะไม่มีจะไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนแล้วแนะนำให้รับประทานอาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อปลา อกไก่ ไข่ และเลือกรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิกสูง เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ควรลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน ควรเน้นโปรตีน ผัก ผลไม้ อาหารที่มีกากใยสูง และดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว ควรให้มารดารับประทานอาหารให้ตรงเวลานิดรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อทารกและลดการกินอาหารในมื้อดึกเพราะอาจเสี่ยงในการเกิดภาวะอ้วนหรือเบาหวานได้
แนะนำให้รับประทานคาร์โบไฮเดรตไม่ขัดสี เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง เนื่องจากการได้รับคาร์โบไฮเดรตปริมาณมากจะทำให้มีน้ำหนักเกินขนาดตั้งครรภ์ได้
ด้านการออกกำลังกาย : แนะนำให้มารดาออกกำลังกายเบาๆ เน้นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ เช่น การเดินวันละ 30 นาที การทำโยคะท่าง่ายๆ เป็นต้น แต่ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก
ภาวะท้องผูก : แนะนำให้มารดารับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ข้าวกล้อง ผักใบเขียว แอปเปิ้ลเขียว เป็นต้นแนะนำให้ดื่มน้ำเพิ่มในแต่ละวัน จะช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้และส่งเสริมให้มารดาขยับร่างกายบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้
ด้านการพักผ่อน : แนะนำให้มารดานอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอนอนอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
การฝากครรภ์ : แนะนำให้มารดาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อติดตามและเฝ้าระวังภาวะผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น
เรื่องเพศสัมพันธ์ : สามารถมีได้แต่ควรระวังในรายที่มีภาวะคลอดก่อนกำหนดหรือมีประวัติเลือดออกทางช่องคลอดควรใช้ท่าที่ไม่มีการกระแทกหรือมีการกดทับบริเวณหน้าท้อง และใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
แนะนำมารดาเรื่องการนับลูกดิ้น : แนะนำให้มารดานับลูกดิ้นหลังจากรับประทานอาหารในแต่ละมื้อลูกจะต้องดินอย่างน้อยสามครั้งใน 1 ชั่วโมงหากไม่ครบให้นับเพิ่มไปอีก 1 ชั่วโมงโดยในหนึ่งวันจะดิ้นไม่ต่ำกว่า 10 ครั้งหากพบว่าทารกดิ้นน้อยลงหรือไม่ดิ้นเลยให้มาพบแพทย์
8.ด้านกระตุ้นพัฒนาการ :
การลูบหน้าท้อง : โดยการสัมผัสหน้าท้องรูปพอเบาเพื่อกระตุ้นความรู้สึกหรืออาจใช้มือสัมผัสบริเวณที่ทารกสัมผัสดันหน้าท้องออกมาเพื่อเป็นการมีปฏิสัมพันธ์ตอบสนองหรือกระตุ้นทารก
การพูดคุย : หูของทารกจะเริ่มได้ยินเสียงชัดเจนเมื่อ 21 สัปดาห์และสามารถแยกเสียงได้เมื่อ 24 สัปดาห์ แนะนำให้อ่านหนังสือหรือเปิดเพลงให้ทารกฟัง พูดคุยเรียกชื่อ เพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการด้านการได้ยิน โดยไม่ใช้โทนเสียงที่ดังจนเกินไปเพราะอาจทำให้ทารกเกิดความเครียดได้
การส่องไฟฉาย : ตาของทารกสามารถมองเห็นตาของทารกสามารถมองเห็นได้ตั้งแต่ 25 ถึง 28 สัปดาห์เมื่ออายุ 28 สัปดาห์ให้ใช้ไฟส่องหน้าท้องในทิศทางใดก็ได้หรือไฟกระพริบ เป็นการกระตุ้นให้ทารกมองตามเพื่อให้สมองพัฒนา
ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธ์ุ
แนะนำการตรวจคัดกรองเบาหวานอีกครั้ง เมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ เพื่อคัดกรองและติดตามความเสี่ยงภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ไตรมาสที่ 3
ด้านโภชนาการ : ให้ให้รับประทานอาหารที่ช่วยสร้างเสริมน้ำนม เช่น หัวปลี ตำลึง อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง , แคลเซียมสูง , วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการให้นมลูกเมื่อลูกคลอดแล้ว
ด้านการออกกำลังกาย : ออกกำลังกายเบาๆ ออกเท่าที่ร่างกายจะออกได้ เช่น เดินวันละ 20 นาที ไม่แนะนำให้ทำงานบ้านที่หนักๆ การก้ม การเงย การกวาดหยากไย่ การขึ้นบันไดเช็ดทำความสะอาดเนื่องจากอาจเกิดอุบัติเหตุได้
การควบคุมน้ำหนัก : ในช่วงไตรมาสสุดท้ายควรควบคุมน้ำหนักไม่ควรจะมากกว่า 2 กิโลกรัมต่อเดือน หากควบคุมไม่ได้น้ำหนักเยอะเกินไปอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานร่วมกับการตั้งครรภ์
ภาวะไม่สุขสบาย : คุณแม่จะเริ่มมีอาการไม่สุขสบาย ปวดหลังช่วงนี้ให้นอนในท่าที่สุขสบายอาจจะนอนตะแคงซ้าย ตะแคงขวาหรือท่าไหนก็ได้ที่รู้สึกสบาย หายใจสะดวก อาจมีหมอนมารองบริเวณขาให้สูงขึ้น เพื่อลดอาการบวมของขา
การนับลูกดิ้น : อายุเมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไปแล้ว คุณแม่จะต้องนับลูกดิ้น การนับลูกดิ้นจะต้องนับวันนึงให้ได้มากกว่า 10 ครั้ง คือนับจากหลังอาหารเช้า 1 ชั่วโมงหลังอาหารเที่ยง 1 ชั่วโมงและตอนเย็นหลังอาหารจนถึงก่อนนอนรวมแล้วเช้าเที่ยงเย็นให้ได้มากกว่า 10 ครั้งต่อวันนับไปเรื่อยๆ จนกว่าคุณแม่คลอด
การดูแลเต้านม : ในระยะ 2-3 เดือนก่อนคลอด ร่างกายจะขับสารจำพวกไขมันมาคลุมบริเวณหัวนมและลานนม ดังนั้นในการอาบน้ำชำระร่างกายไม่ควรฟอกสบู่บริเวณหัวนมมากนักเพราะจะชะล้างไขมันบริเวณส่วนนั้นออกไปหมดทำให้หัวนมแห้งและแตกง่าย
7.อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ :
• มีมีไข้สูง ไม่ทราบสาเหตุ
• เวลาปัสสาวะรู้สึกแสบขัดหรือเป็นเลือดมอาจเป็นโรคทางเดินปัสสาวะติดเชื้อได้
• ปวดท้องน้อยรุนแรง
• เลือดออกจากช่องคลอด อาจเป็นอาการนำของการตกเลือดก่อนคลอด
• มีตกขาวผิดปกติ กลิ่นเหม็นหรือคันช่องคลอด
• อาการท้องแข็งหรือเจ็บครรภ์ทุก 5-10 นาที มีมูกเลือดหรือเลือดสดๆออกทางช่องคลอด มีน้ำเดิน
• ลูกดิ้นน้อยลง หรือปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ บวม
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
08/03/65
Glucose (50 gm.) = 99 mg/dL
Urinalysis (08/03/65)
Color = LT.Yellow
Transp = Clear
Blood = Trace ( อาจเกิดจากการปนเปื้อนหรืออยู่ในช่วงก่อนหรือหลังมีประจำเดือน )
Ketone = Negative
Glucose = Negative
Albumin = Negative
PH = 6.5
Specific gravity = 1.007
Bile = Negative
Urobilinogen = Normal
Leucocyte = 2+ (อาจเกิดจากการปนเปื้อน , ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ)
Nitrite = Negative
Ascorbic acid = Negative
R.B.C = 0-1
W.B.C = 10-20
Cast = Not Found
Mucous = Not Found
Bacteria = Moderate ( อาจเกิดจากการปนเปื้อน,ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ)
Amorphous = Not Found
Crystal = Not Found
Yeast = Not Found
T.vaginalis = Not Found
08/03/65
ABO Group = O
RH Group = Positive
Screening Test for Thalassemia (08/03/65)
Hb E Screening (DCIP) = Negative
HBsAg = Negative
VDRL = non-reactive
HIV Ab = Negative
Complete Blood Count (08/03/65)
Hemoglobin (Hb) = 10. 1 g/dL (ต่ำ) (ค่ำปกติ 12.3-15.5 g/dL) อาจเกิดภาวะซีด
Hematocrit = 30.8 % (ต่ำ) (ค่าปกติ 36.8-46.6 %) อาจเกิดภาวะซีด
MCV = 77.1 fL (ต่ำ) (ค่ำปกติ 79.9-97.6 fL) อาจเกิดภาวะซีด
RBC 4.00 = 10^6/uL (ค่าปกติ 3.96 - 5.29 10^6/uL)
MCH = 25.2 pg (ต่ำ) (ค่าปกติ 25.9-32.4 pg)
MCHC = 32.7 g/dL (ค่าปกติ 31.5-34.5 g/dL)
RDW = 14.9 % (ค่าปกติ 11.9-16.5%)
WBC = 14.53 10^3/uL (สูง) (ค่าปกติ 4.24-10.18 10^3/uL) อาจจะสูงได้ในหญิงตั้งครรภ์
NRBC = 0 (ค่าปกติ 0-1)
Corrected WBC = 14.53 10^3/uL (สูง) (ค่าปกติ 4.24-10.18 10^3/uL) อาจจะสูงได้ในหญิงตั้งครรภ์
Neutrophil = 78.3 % (สูง) (ค่าปกติ 48.2-71.2%) อาจจะสูงได้ในหญิงตั้งครรภ์
Lymphocyte = 16.3 % (ต่ำ) (ค่าปกติ 21.1-42.7%)
Monocyte = 3.5 % (ค่าปกติ 3.3-10.2%)
Eosinophil = 1.8 % (ค่าปกติ 0.4-7.2%)
Basophils = 0.1 % (ค่าปกติ 0.1-1.2%)
Platelet Count = 350 10^3/uL (ค่าปกติ 152-387 10^3/uL)
MPV = 11.4 fL (ค่าปกติ 7.5-11.9 fL)
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์
Presumptive signs
สังเกตว่าตนเองประจำเดือนขาด
Probable signs
สังเกตว่าประจำเดือนขาด จึงเดินทางไปที่โรงพยาบาลตำรวจเพื่อตรวจ Urine pregnancy test (UPT) พบ beta-HCG ผล Positive และได้ทำการฝากครรภ์
Positive signs
N/A
ปัญหาที่พบ
ปัญหาเจาะจง
ภาวะซีด
ภาวะที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดน้อยกว่าปกติทำให้นำออกซิเจนไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อในอวัยวะต่างๆได้น้อยลงส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการ เช่น เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย ผิวซีด หรือผิวเหลือง เป็นต้น โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางอาจมาจากการเสียเลือดการสร้างเม็ดเลือดแดงที่รถล้มหรือเม็ดเลือดแดงถูกทำลายมาก
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการผู้ป่วย
• Hemoglobin = 10.1 g/dL ต่ำ (ค่าปกติ ไม่ต่ำกว่า 11 g/dL )
• Hematocrit = 30.8 % ต่ำ (ค่าปกติ ไม่ต่ำกว่า 33% )
• MCV = 77.1 fL ต่ำ (ค่าปกติ 79.9-97.6 fL)
ผลกระทบต่อมารดา
• ในระยะตั้งครรภ์อาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร วิงเวียนศีรษะ
• เสี่ยงต่อการติดเชื้อง่าย
• เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ pre-eclamsia
• เสี่ยงตกเลือดหลังคลอด
• เสี่ยง Abortion
ผลกระทบต่อทารก
• อาจเกิดภาวะตัวเหลือง
• เสี่ยงติดเชื้อง่าย
• ทารกเสี่ยงน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าปกติ
คำแนะนำของภาวะซีด
ให้ความรู้ในเรื่องของการรับประทานอาหาร เช่น ในกรณีที่มารดาขาดธาตุเหล็ก แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีปริมาณธาตุเหล็กสูง เช่น เครื่องในสัตว์ หอยแมลงภู่ ผักกูด เป็นต้น
รับประทานยาเสริมธาตุเหล็กตามคำสั่งแพทย์ เช่น Folic acid 5 mg. Tab 1x1 po pc ไม่ควรรับประทานพร้อมกับนมหรือแคลเซียม เพราะจะทำให้ไปขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็ก
แนะนำให้พาสามีมาตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียด้วย
การคัดกรองธาลัสซีเมีย
previous ectopic pregnancy
การตั้งครรภ์นอกมดลูก ( Ectopic pregnancy ) คือ ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วเป็นตัวอ่อนฝังตัวอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผนังมดลูก มักเกิดขึ้นบริเวณท่อนำไข่ ( ปีกมดลูก ) ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตต่อ ไปเป็นทารกได้
ผลกระทบ
• ภาวะเลือดออกภายใน
• เกิดความเสียหายของท่อนำไข่
• ภาวะซึมเศร้าจากการสูญเสีย
คำแนะนำ
โดยทั่วไปแล้วการตั้งครรภ์นอกมดลูกไม่สามารถป้องกันได้ แต่คุณสามารถลดปัจจัยเสี่ยง
• ไม่สูบบุหรี่
• ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
• ควบคุมน้ำหนัก
• ออกกำลังกายเบา ๆ เป็นประจำ
• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
• สวมถุงยาง เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
• รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น เช่น ยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ
2.แนะนำการตรวจวินิจฉัยการตั้งครรภ์และการมาตรวจตามนัด
น้ำหนักเพิ่มขึ้น 11.5 กิโลกรัม
น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ 55 กิโลกรัม น้ำหนักปัจจุบัน 66.5 กิโลกรัม น้ำหนักเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ 11.5 กิโลกรัม
คำแนะนำ
• เรื่องการรับประทานอาหาร : รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควรลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน แนะนำให้รับประทานคาร์โบไฮเดรตไม่ขัดสี เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง เนื่องจากการได้รับคาร์โบไฮเดรตปริมาณมากจะทำให้มีน้ำหนักเกินขนาดตั้งครรภ์ได้ ควรเน้นโปรตีน ผัก ผลไม้ อาหารที่มีกากใยสูง และดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว ควรให้มารดารับประทานอาหารให้ตรงเวลานิดรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อทารกและลดการกินอาหารในมื้อดึกเพราะอาจเสี่ยงในการเกิดภาวะอ้วนหรือเบาหวานได้
• การออกกำลังกาย : แนะนำให้มารดาออกกำลังกายเบาๆ เน้นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ เช่น การเดินวันละ 30 นาที การทำโยคะท่าง่ายๆ เป็นต้น แต่ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก
• แนะนำให้ตรวจคัดกรองซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ เพื่อคัดกรองภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อมารดา
• ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
• ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
• การคลอดล่าช้า
ผลกระทบต่อทารก
• ภาวะแท้งบุตร
• ทารกเสียชีวิตในครรภ์
•ทารกตัวโต