Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Case conference
ตรวจครรภ์ - Coggle Diagram
Case conference
ตรวจครรภ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
หญิงตั้งครรภ์ สัญชาติ ไทย อายุ 36 ปี
G1P0-0-0-0 GA 32+5 wks by u/s
LMP : 29 กรกฎาคม 2564 x7 วัน
EDC by u/s : 28 เมษายน 2565
น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ 55 kg ส่วนสูง 165 cm
BMI 20.20 kg/m^2 (Normal)
น้ำหนักปัจจุบัน 69.5 kg
(น้ำหนักเพิ่มตลอดการตั้งครรภ์ 14.5 kg)
ได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยัก : เข็มที่ 1 วันที่ 23 พ.ย.64
เข็มที่ 2 วันที่ 4 ม.ค.65
ประวัติการเจ็บป่วย : มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Hodgkin's lymphoma) รักษาโดยให้ยาเคมีบำบัด ปี 2561 รพ.ตำรวจ
ประวัติครอบครัว : บิดาเป็นความดันโลหิตสูง
ประวัติการผ่าตัด : ปี 2564 ผ่าตัดก้อนเนื้อบริเวณบ่าข้างขวา, อายุ 5 ปี ผ่าตัดไส้ติ่ง
ประวัติการแพ้ยา : ปฏิเสธ
ประวัติการฝากครรภ์
ฝากครรภ์ครั้งแรกที่รพ.ตำรวจ GA 11+5 wks (12/10/64)
ฝากครรภ์ครรภ์ครั้งที่ 2 GA 17+5 wks (23/11/64)
ฝากครรภ์ครั้งที่ 3 GA 20+5 wks (14/12/64)
ฝากครรภ์ครั้งที่ 4 GA 23+5 wks (04/01/65)
ฝากครรภ์ครั้งที่ 5 GA 24+5 (11/01/65)
ฝากครรภ์ครั้งที่ 6 GA 28+5 (08/02/65)
ฝากครรภ์ครั้งที่ 7 GA 32+5 wks (08/03/65)
การตรวจร่างกาย
ลักษณะการเดิน : เดินหลังตรง ไม่มีเดินกะเผลก
ศีรษะ : ผมสั้นสีดำ สุขภาพเส้นผมดี ไม่แห้งเสีย
หนังศีรษะไม่ลอก ไม่มีรังแคและเหา
ตา : Conjunctiva แดงดีไม่ซีด มองเห็นชัด ตาไม่พร่ามัว
จมูก : โพรงจมูกไม่บวม ไม่อักเสบ หายใจได้สะดวก
ช่องปากและฟัน : ไม่มีฟันผุ ไม่มีเหงือกบวม
คอ : คลำไม่พบก้อน ต่อมไทรอยด์ไม่มีบวมโต ไม่มีกดเจ็บ มือ : นิ้วไม่ปุ้ม capillary refills < 2 วินาที
ผิวหนัง : ชุ่มชื้นดี ไม่มีสะเก็ด ไม่มี scar
เต้านม : เต้านมทั้ง 2 ข้างสมมาตรกัน หัวนมไม่สั้นบอดแบนบุ๋ม ลานนมปกติ มีคัดตึงเต้านม คลำไม่พบก้อน
ขา : ขาทั้ง 2 ข้างสมมาตรกัน ไม่มีบวมกดบุ๋ม
ไม่มีเส้นเลือดขอด
สัญญาณชีพ : BT 36.4 องศาเซลเซียส, PR 82 bpm,
BP 116/80 mmHg
การตรวจครรภ์
- หน้าท้องพบ Linea nigra และ Striae gravidarum สีแดงอมชมพู
- Fundal grip : 3/4 > สะดือ ความยาว 31 cm
- Umbilical grip : Large part อยู่ด้านขวา (RO) ,Small part อยู่ด้านซ้าย (FO)
- Pawlik grip : Vertex presentation Head float
- Bilateral inquinal grip : No Engagement
: FHS อยู่ในช่วง 130-140 bpm ตำแหน่งด้านขวาใกล้ Linea nigra (Right lower quadrant)
-
ยาที่ได้รับ
- Iodine GPO Tablets 1x1 po pc
สรรพคุณ : เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งช่วยควบคุมระบบเผาผลาญอาหารในร่างกาย ช่วยพัฒนาสมองควบคุมระบบประสาท และส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
ผลข้างเคียง : คลื่นไส้ ปวดท้อง คัดจมูก ปวดศีรษะ
ท้องร่วง
- Folic acid 5 mg TAB 1x1 po pc
สรรพคุณ : วิตามินบีที่ร่างกายต้องการ จะช่วยเสริมสร้างกระบวนการผลิตเซลล์ใหม่ให้มีสุขภาพดี โดยเฉพาะอย่างในผู้ที่ตั้งครรภ์ ช่วยป้องกันการแท้งบุตร ความพิการแต่กำเนิดเกี่ยวกับสมองและกระดูกสันหลังของทารก ใช้รักษาภาวะโลหิตจาง และเสริมสร้างการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
ผลข้างเคียง : เวียนศีรษะ ไม่อยากอาหาร ท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะอาหาร มีปัญหาการนอนหลับ กระสับกระส่าย
- Ferrous Fumarate 200 mg TAB 1x1 po pc
สรรพคุณ : เป็นอาหารเสริมธาตุเหล็กที่ใช้เพื่อรักษาหรือป้องกันระดับธาตุเหล็กในเลือดต่ำ สำหรับภาวะโลหิตจางหรือระหว่างตั้งครรภ์ มีความจำเป็นสำหรับร่างกายในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและเพื่อทำให้คุณมีสุขภาพที่ดี
ผลข้างเคียง : ท้องผูก คลื่นไส้ ปวดท้อง อาเจียน และอาจทำให้ปัสสาวะเปลี่ยนสีได้
- Calcium Carbonate 1250 mg TAB 1x1 po pc
สรรพคุณ : เป็นแร่ธาตุสำคัญในการสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน จำเป็นต่อการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อ และระบบประสาท จำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องให้นมบุตร เพื่อป้องกันการขาดแคลเซียม
ผลข้างเคียง : คลื่นไส้ ท้องอืด ท้องผูก เวียนศีรษะ ร้อนวูบวาบตามใบหน้าหรือผิวหนัง หัวใจเต้นผิดปกติ
คำแนะนำ
ไตรมาส 1,2,3
ด้านโภชนาการ
แนะนำให้มารดารับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา ผักใบเขียวและผลไม้ ช่วยเพิ่มกากใย รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลาเล็กปลาน้อย นมพร่องมันเนย อาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น ตับ เครื่องใน และคาร์โบไฮเดรตจำพวก ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
*ถ้ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ให้แบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ครั้งละน้อยๆแต่หลายมื้อ
ไตรมาส 3
การนับลูกดิ้น
แนะนำให้มารดานับหลังจากรับประทานอาหาร ในแต่ละมื้อลูกจะดิ้นอย่างน้อย 3 ครั้งใน 1ชม. โดย 1 วันจะดิ้นไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง
ไตรมาส 3
เต้านม
ในไตรมาส 3 ต่อมไขมันจะขึ้นบริเวณลานนม ถือเป็นภาวะปกติ แนะนำไม่ให้มารดาแกะเกา ใช้น้ำสะอาดเช็ดทำความสะอาดได้ และแนะนำรับประทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างน้ำนม เช่น ฟักทอง , หัวปลี , ตำลึง
ไตรมาส 2,3
ด้านพัฒนาการ
- การลูบหน้าท้อง : โดยการสัมผัสหน้าท้องลูบเบาๆ เพื่อกระตุ้นความรู้สึกเป็นการมีปฏิสัมพันธ์ตอบสนองหรือกระตุ้นทารก
- การพูดคุย : หูทารกจะเริ่มได้ยินเสียงชัดเจนเมื่อ 20 wks และสามารถแยกเสียงได้เมื่อ 24 wks แนะนำให้อ่านหนังสือหรือเปิดเพลงให้ทารกฟัง เช่น เพลงคลาสสิค พูดคุยเรียกชื่อ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านการได้ยิน โดยไม่ใช้โทนเสียงที่ดังเกินไป เพราะจะทำให้ทารกเครียดได้
- การนั่งเก้าอี้โยก : แนะนำให้มารดานั่งเก้าอี้โยกไปมา เพื่อส่งเสริมการทรงตัวของทารกในครรภ์ เมื่อ 15 wks
- การส่องไฟฉาย : ส่องไปมาซ้ายขวา บนล่างหรือส่องไฟแบบกระพริบไปมาช้าๆ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของสมองด้านการมองเห็น ด้านการกลอกตาทำให้ทารกในครรภ์มีกล้ามเนื้อตาที่แข็งแรง เมื่อ 28 wks
ไตรมาส 1,2,3,
การออกกำลังกาย
- แนะนำให้มารดาออกกำลังกายเบาๆ เช่น โยคะยืดเส้น การเดิน เพื่อกระตุ้นความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย
- ในไตรมาส 3 มักจะมีอาการปวดหลัง แนะนำให้ออกกำลังกายในท่า
• Pelvic rocking เป็นการทำท่าแมวขู่
• ท่าผีเสื้อ นั่งขัดสมาธิฝ่าเท้าชิดกัน เอามือจับเข่าแล้วยกขึ้นสลับกับวางลงราบกับพื้น
• ท่านั่งแบบญี่ปุ่น โดยนั่งทับขาและนอนหงายราบไปกับพื้น จากนั้นเหยียดแขนออกเหนือศีรษะ
ไตรมาส 2,3
สังเกตอาการเจ็บครรภ์
- เจ็บครรภ์เตือน : เจ็บครรภ์ พร้อมกับการหดรัดตัวของมดลูกแต่ระยะเวลาและความแรงไม่สม่ำเสมอ ไม่มีมูกเลือด
- เจ็บครรภ์จริง : เจ็บครรภ์ถี่สม่ำเสมอทุก 5 นาที ปวดบริเวณหลังร้าวมาที่ขาทั้ง 2 ข้าง มีน้ำเดินกลั้นไม่ได้ มีมูกหรือมีเลือดไหลปนออกมา (Mucus bloody show)
*ถ้ามารดามีอาการปวดท้องผิดปกติ ท้องแข็ง มีเลือดออกทางช่องคลอด ลูกไม่ดิ้น จุกแน่นลิ้นปี่ หายใจไม่สะดวก ตาพร่ามัว ปัสสาวะแสบขัด มีตกขาว
ให้รีบมาพบแพทย์ทันที
ไตรมาส 1,2,3
การพักผ่อน
พักผ่อนในช่วงกลางคืนเฉลี่ยวันละ 8-10 ชม.
พักผ่อนในช่วงกลางวันเฉลี่ยวันละ 30 นาที ถึง 1 ชม.
ไตรมาส 1,2,3
ช่องคลอด
ทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อลดการติดเชื้อ และสวมใส่เสื้อผ้าที่เบาสบาย ไม่อับชื้น
ไตรมาส 1,2,3
ช่องปากและฟัน
ดูแลความสะอาดของปากและฟันเสมอ แนะนำให้มารดาใช้แปรงสีฟันที่อ่อนนุ่ม แปรงฟันเบาๆ เพราะอาจจะเกิดการติดเชื้อในช่องปากได้
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ไตรมาส 1
- ส่งเสริมภาวะโภชนาการ
ข้อมูลสนับสนุน
O.D. - GA 11+5 wks
-มารดาอายุ 36 ปี
-Elderly Primigravidarum
-น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ 55 kg
-BMI 20.20 kg/m^2
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้โภชการของมารดาเป็นไปอย่างเหมาะสม
เกณฑ์การประเมิน
- มารดามีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ตามเกณฑ์ คือ 11.5-16 kg หรือเฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.5 kg
- ทารกในครรภ์มีขนาดเหมาะสมกับอายุครรภ์
- มารดาเลือกรับประทานอาหารได้อย่างเหมาะสม
กิจกรรมการพยาบาล
- แนะนำให้มารดาชั่งน้ำหนักตัวสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว ควรขึ้นสัปดาห์ละ 0.5 kg
- แนะนำให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และเพิ่มอาหารว่าง 3 มื้อ หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องอืด ให้แบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ครั้งละน้อยๆแต่หลายมื้อ ควรลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาลและไขมัน เน้นทานโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ เนื้อปลา และทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ
- แนะนำให้ทานผักใบเขียวและผลไม้ เพื่อเพิ่มกากใยอาหาร
- แนะนำให้ดื่มนม เลือกเป็นชนิดนมพร่องมันเนย เพราะเป็นนมที่มีแคลเซียมสูง ทานวันละ 3 แก้ว
- แนะนำให้มารดานอนพักผ่อนให้เพียงพอ กลางคืน 8-10 ชม./วัน และช่วงกลางวัน 30 นาที
- ดูแลให้มารดารับประทานยาตามแผนการรักษา คือ Iodine GPO Tablets 1x1 po pc ช่วยพัฒนาสมองควบคุมระบบประสาท, Folic acid 5 mg tab 1x1 po pc รักษาภาวะโลหิตจางและพัฒนาการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
- ติดตามขนาดของทารกในครรภ์ด้วยการ Ultrasound
การประเมินผล
- มารดามีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 4.2 kg (12/10/65)
- มารดาเลือกรับประทานอาหารได้อย่างเหมาะสม
- เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก (advanced maternal age)
ข้อมูลสนับสนุน
O.D. - มารดาอายุ 36 ปี
-Elderly Primigravidarum
วัตถุประสงค์
- ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก
เกณฑ์การประเมิน
- ไม่มีภาวะดาวน์ซินโดรมไม่มีความผิดปกติของโครโมโซม = 46,XX
- ตรวจ Glucose(50 gm) ≤ 140 mg/dL
- สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ BT 36.5-37.4 องศาเซลเซียส, PR 60-100 bpm, RR 16-24 bpm, BP < 140/90 mmHg, O2 Saturation > 95%
- ทารกดิ้นดี FHS 110-160 bpm
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินสัญญาณชีพให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยเฉพาะ
BP < 140/90 mmHg เนื่องจากมารดาที่มีอายุมากจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้มาก
- ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมและความผิดปกติของโครโมโซม เนื่องจากความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่อหญิงตั้งครรภ์มีอายุที่มากขึ้น
- ตรวจคัดกรองเบาหวาน โดยให้ BS 50 gm เมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก หากผลเป็นปกติจะนัดมาตรวจอีกครั้งเมื่ออายุครรภ์ 24-28 wks หากผล BS ≥ 140 gm/dL จะนัดตรวจ OGTT อีกครั้งใน 1 wks หากผลผิดปกติ 2 ค่าขึ้นไป จะถือว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- ประเมินสภาวะของทารกในครรภ์ เช่น สังเกตการดิ้นแต่ยังไม่สามารถนับการดิ้นได้
- ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น CBC,Protein ในปัสสาวะ
การประเมินผล
- ความดันโลหิต 117/71 อัตราการเต้นของหัวใจ 74 bpm
- ตรวจความผิดปกติของโครโมโซม : 46,XX ไม่พบความผิดปกติ
- Glucose(50 gm) 83 mg/dL (12/10/65)
- ผลตรวจปัสสาวะ Glucose(UA) : Negative
Albumin(UA) : Negative (12/10/65)
ไตรมาส 2
- ส่งเสริมพัฒนาการของทารกในครรภ์ในไตรมาสที่ 2
ข้อมูลสนับสนุน
O.D.- GA 20+5 wks
-มารดาอยู่ในไตรมาสที่ 2
วัตถุประสงค์
- เพื่อกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์
เกณฑ์การประเมิน
- มารดาสามารถบอกวิธีการและปฏิบัติในการส่งเสริมทารกได้อย่างถูกต้อง
กิจกรรมการพยาบาล
- แนะนำให้มารดากระตุ้นความรู้สึกโดยใช้มือสัมผัสหรือลูบหน้าท้องเบาๆพร้อมกับส่งเสียงพูดคุย เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและสมองส่วนการรับรู้
- แนะนำให้มารดานั่งเก้าอี้โยก เพื่อส่งเสริมการทรงตัวของทารกในครรภ์ในช่วง 15 สัปดาห์
- แนะนำให้มารดากระตุ้นการได้ยินในช่วง 20 สัปดาห์ โดยให้คุณพ่อคุณแม่พูดคุยส่งเสียงกับทารกในครรภ์ ประมาณ 24 สัปดาห์ ทารกจะแยกได้ว่าใครเป็นคนพูด
- แนะนำให้มารดาอ่านหนังสือนิทานเบาๆก่อนนอน ทารกในครรภ์จะเริ่มได้ยินเสียงในสัปดาห์ที่ 20 อ่านโดยใช้เสียงสูงต่ำสลับไปมา เพื่อกระตุ้นพัฒนาการสมองส่วนการรับรู้และการได้ยิน
- ในไตรมาสที่ 2 มารดาจะเริ่มรู้สึกถึงการดิ้นของลูก สังเกตขณะลูกดิ้นให้โก่งตัวเคลื่อนไหวมาและใช้มือลูบหน้าท้องเป็นวงกลม ทารกจะมีปฏิกิริยาตอบรับมีการเคลื่อนที่หรือดิ้นไปทิศใดทิศหนึ่ง
การประเมินผล
- มารดาสามารถบอกวิธีการและปฏิบัติในการส่งเสริมทารกได้อย่างถูกต้อง
ไตรมาส 3
- มารดามีภาวะไม่สุขสบายจากการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ข้อมูลสนับสนุน
S.D. - มารดาบอกว่าปวดฟัน
O.D. - GA 32+5 wks
-มารดาอยู่ในไตรมาสที่ 3
วัตถุประสงค์
เพื่อบรรเทาความปวดให้มารดา
เกณฑ์การประเมิน
- ปวดฟันลดลง
- มารดามีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวได้ถูกต้องตามคำแนะนะ
กิจกรรมการพยาบาล
- แนะนำมารดาให้แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะก่อนนอน ใช้แปรงสีฟันที่อ่อนนุ่ม หัวแปรงขนาดเล็ก เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ขณะแปรงฟัน เลือกใช้ยาสีฟันที่ปลอดภัยส่วนผสมจากธรรมชาติ และดูแลช่องปากและฟันให้สะอาดอยู่เสมอ
- แนะนำให้ทานผักและผลไม้เป็นประจำ เพราะอุดมไปด้วยไฟเบอร์ช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก และสารอาหารที่ได้จากผักและผลไม้ยังมีประโยชน์ต่อหญิงตั้งครรภ์
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรด เพราะกรดจากการย่อยน้ำตาลจะแทรกซึมไปยังเนื้อฟัร ทำให้รู้สึกปวดฟันมากขึ้น
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ปวดฟันมากขึ้น เช่น รับประทานของแข็ง/เย็น เช่น น้ำแข็ง ไอศครีม
- แนะนำให้ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันเป็นประจำ
พบทันตแพทย์ตามนัดเสมอ
การประเมินผล
- มารดาปวดฟันลดลง
- มารดาบอกวิธีการและปฏิบัติเพื่อบรรเทาอาการปวดฟันได้อย่างถูกต้อง
- ส่งเสริมโภชนาการ
ข้อมูลสนับสนุน
O.D. - GA 32+5 wks
-มารดาอายุ 36 ปี
-Elderly Primigravidarum
-วัดระดับยอดมดลูก 3/4 > สะดือ (08/03/65)
-BMI 20.20 kg/m^2
-น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ 55 kg
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้โภชการของมารดาเป็นไปอย่างเหมาะสม
เกณฑ์การประเมิน
- มารดามีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ตามเกณฑ์ คือ 11.5-16 kg หรือเฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.5 kg
- ทารกในครรภ์มีขนาดเหมาะสมกับอายุครรภ์
- มารดาเลือกรับประทานอาหารได้อย่างเหมาะสม
กิจกรรมการพยาบาล
- แนะนำให้มารดาชั่งน้ำหนักตัวสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว ควรขึ้นสัปดาห์ละ 0.5 kg
- แนะนำให้มารดารับประทานอาหาวห้ครบ 5 หมู่ เน้นประเภทโปรตีน ผักใบเขียว ผลไม้ ที่มีกากใยสูง ธาตุเหล็กที่มีในตับ เครื่องใน ไม่ควรรับประทานอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน หากมีอาหารคลื่นไส้ อาเจียน ให้แบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ครั้งละน้อยๆแต่หลายมื้อ 4-6 มื้อ/วัน
- การออกกำลังกายเบาๆได้ เช่น การเดินวันละ 10-20 นาที ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี ไม่ท้องผูกง่าย หลับสบาย และแนะนำให้ดื่มนมพร่องมันเนย เพราะเป็นนมที่มีแคลเซียมสูง
- แนะนำให้มารดานอนพักผ่อนให้เพียงพอ กลางคืน 8-10 ชม./วัน และช่วงกลางวัน 30 นาที
- ดูแลช่องปากและฟันให้สะอาด เพราะอิทธิพลของฮอร์โมน Estrogen สูง ทำให้เหงือกบวมแดงและมีเลือดออกตามไรฟัน แนะนำให้ใช้แปรงสีฟันที่อ่อนนุ่ม ถ้ามีฟันผุหรือเหงือบวมควรรีบพบทันตแพทย์ทันที
- ดูแลให้มารดารับประทานยาตามแผนการรักษา คือ
Ferrous Fumarate 200 mg TAB 1x1 po pc อาหารเสริมธาตุเหล็ก , Calcium 1250 mg TAB 1x1 po pc จำเป็นต่อการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อและระบบประสาท
- ให้ความรู้เกี่ยวกับอาการที่ต้องมาพบแพทย์ทันที ได้แก่ ท้องแข็ง เลือดออกทางช่องคลอด ปัสสาวะแสบขัด
มีน้ำเดิน มีมูกเลือด
การประเมินผล
- มารดามีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 14.5 kg (08/03/65)
- ทารกในครรภ์มีขนาดเหมาะสมกับอายุครรภ์
- มารดาเลือกรับประทานอาหารได้อย่างเหมาะสม
- ส่งเสริมพัฒนาการของทารกในครรภ์ในไตรมาสที่ 3
ข้อมูลสนับสนุน
O.D. - GA 32+5 wks
-มารดาอยู่ในไตรมาสที่ 3
วัตถุประสงค์
- เพื่อกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์
เกณฑ์การประเมิน
- มารดาสามารถบอกวิธีการและปฏิบัติตัวในการส่งเสริมทารกได้อย่างถูกต้อง
กิจกรรมการพยาบาล
- แนะนำให้มารดานับลูกดิ้น โดยนับ 3 มื้อ หลังรับประทานอาหาร 1 ชม. ใน 1 วันต้องนับลูกดิ้นได้มากกว่า 10 ครั้ง/วัน
- แนะนำให้มารดาอ่านหนังสือนิทานให้ทารกฟังประมาณ 15-20 นาทีก่อนนอนโดยใช้เสียงที่มีจังหวะสูงต่ำสลับกันไป เป็นการกระตุ้นพัฒนาการทางสมองในส่วนการรับรู้ การได้ยิน และส่วนของความจำ
- แนะนำมารดาเปิดเพลงบรรเลงเบาๆ เช่น แนวเพลงคลาสสิค เพื่อกระตุ้นพัฒนาการทางการได้ยินและช่วยให้ทารกในครรภ์อารมณ์ดี
- แนะนำให้มารดาใช้ไฟฉายส่องไปมาซ้ายขวา บนล่างหรือส่องไฟแบบกระพริบไปมาช้าๆ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของสมองด้านการมองเห็น ด้านการกลอกตาทำให้ทารกในครรภ์มีกล้ามเนื้อตาที่แข็งแรง
- แนะนำให้มารดากระตุ้นโดยใช้มือสัมผัสและลูบหน้าท้องเบาๆ พร้อมส่งเสียงพูดคุยกับทารกในครรภ์ เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและสมองในการรับรู้
- แนะนำให้มารดานั่งเก้าอี้โยก เพื่อส่งเสริมการทรงตัวของทารกในครรภ์
การประเมินผล
- มารดาสามารถบอกวิธีการและปฏิบัติตัวในการส่งเสริมทารกได้อย่างถูกต้อง
-