Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ANC ตรวจครรภ์ นศพต.สิรินทร์วดี ประดิษฐ์ ชั้นปีที่ 3 เลขที่ 64 - Coggle…
ANC
ตรวจครรภ์
นศพต.สิรินทร์วดี ประดิษฐ์ ชั้นปีที่ 3 เลขที่ 64
ข้อมูลส่วนบุลคล
หญิงตั้งครรภ์ สัญชาติไทย อายุ 30 ปี หมู่เลือด B G1P0A0 GA 25 wks by date
LMP 14 กันยายน 2564 x 6 วัน
EDC by date 21 มิถุนายน 2565
ฝากครรภ์ครั้งแรกที่รพ.ตำรวจ GA 24+1 wks (2/03/65)
ครั้งที่ 2 ฝากครรภ์ที่รพ.ตำรวจ GA 25 wks (8/03/65)
น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ 47 kg. ส่วนสูง 155 cm. BMI 19.56 kg/m^2 (ปกติ)
ได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยัก เข็ม 1 วันที่ 8/03/65
ประวัติเจ็บป่วยและประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว : ปฏิเสธ
ปฏิเสธการแพ้ยาและแพ้อาหาร
ปฏิเสธการผ่าตัด
แบบบันทึกการตรวจครรภ์
ครั้งที่ 1 รพ.ตำรวจ
วันที่ตรวจ 2/03/65 น้ำหนัก 52.7 กก. ความดันโลหิต 90/58 mmHg ชีพจร 79 ครั้ง/นาที
ขนาดของมดลูก
HF : 1/4 เหนือสะดือ
เด็กดิ้น : +7
อายุครรภ์ : 24+1 wks by date
อาการผิดปกติ : Hct 31%
วันนัด : 8/03/65 นัด U/S
ครั้งที่ 2 รพ.ตำรวจ
วันที่ตรวจ 8/03/65 น้ำหนัก 54.0 กก.
การตรวจปัสสาวะ
Alb : N
Sugar : N
ความดันโลหิต 101/54 mmHg ชีพจร 93 ครั้ง/นาที
อายุครรภ์ : 25 wks by date
อาการผิดปกติ : นัด U/S ,ฉีด dT1
วันนัด : 5/04/65
ตรวจ UPT ที่รพ.กล้วยน้ำไท และตัดสินใจฝากครรภ์ที่รพ.ตำรวจ
การตรวจร่างกาย
ลักษณะการเดิน : เดินปกติ ไม่มีเดินกะเผลก
ศีรษะ : สุขภาพของเส้นผมดี ไม่แห้งเสีย ไม่มีรังแคและเหา
ตา : Conjunctiva สีซีดเล็กน้อย ตาไม่แฉะ ไม่มีขี้ตา
จมูก : โพรงจมูกไม่บวม ไม่อักเสบ หายใจได้สะดวก
ช่องปากและฟัน : ไม่มีเหงือกบวม ไม่มีฟันผุ
ต่อมไทรอยด์ : ต่อมไทรอยด์ไม่มีบวมโต กดไม่เจ็บ
มือ : ไม่มีภาวะนิ้วปุ้ม Capillary refill < 2 วินาที เล็บสั้นสะอาด
เต้านม : เต้านมทั้ง 2 ข้างสมมาตรกัน หัวนมไม่บอดหรือบุ๋ม ไม่คัดตึง คลำไม่พบก้อน
ขา : สมมาตรกันทั้งสองข้าง ไม่มีบวม กดไม่บุ๋ม ไม่มีเส้นเลือดขอด
สัญญาณชีพ : อุณหภูมิร่างกาย 36.5 องศาเซลเซียส ความดันโลหิต 101/54 mmHg ชีพจร 93 ครั้ง/นาที
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2/03/65
Hb = 10.1 g/dL (ค่าปกติ 12.3-15.5 g/dL) ต่ำกว่าปกติ
Hct = 31.0 % (ค่าปกติ 36.8-46.6 %) ต่ำกว่าปกติ
HBsAg = negative
Screening Test for Thalassemia
MCV = 86.8 fL (ค่าปกติ 79.9-97.6) ปกติ
DCIP = Negative
2/03/65
Urinalysis
Glucose = Negative
Albumin = Negative
Ketone = Negative
Specific gravity = 1.008
2/03/65
ABO Group = B
RH Group = Positive
Ab Screening = Negative
GCT (50 gm Glucose challenge test, GCT) 2/03/65
Glucose (50gm) 106 mg/dL (ค่าปกติ 0-140 mg/dL)
Obstetric Ultrasound
8/03/65
GA by LMP (Weeks) : 25
Presentation : Vx.
BPD (mm/wks) : 23
HC (mm/wks) : 23
AC (mm/wks) : 23
FL (mm/wks) : 23
Placental Location/ grading: post mid
VDRL = Negative
Hiv = Negative
HbsAg = Negative
คำแนะนำ
ด้านโภชนาการ
แนะนำมารดาให้รับประทานอาหารเน้นโปรตีนสูง เช่น เนื้อปลา เนื้อสัตว์ เป็นต้น และรับประทานอาหารที่เสริมธาตุเหล็กและโฟเลต เช่น ผักใบเขียว เครื่องในสัตว์ ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงให้มีมากพอที่จะลำเลียงออกซิเจนจากเลือดแม่ไปสู่ลูก แนะนำให้รับประทานให้ครบ 5 หมู่ แบ่งทานน้อยๆวันละ 4-6 มื้อ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและอาหารหมักดอง ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว
การออกกำลังกาย
แนะนำให้มารดาออกกำลังกายเบาๆ เช่น โยคะยืดเส้น การเดิน เพื่อเป็นการกระตุ้นความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ
ช่องปากละฟัน
แนะนำให้มารดาบ้วนปากหรือแปรงฟันหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง เพื่อรักษาความสะอาดและลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย
ความไม่สุขสบาย
ท่านอนจะช่วยบรรเทาอาการปวดหลังที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ได้ โดยนอนคะแคงซ้าย ขวา นอนหงาย สลับกันเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
การส่งเสริมพัฒนาการทารก
แนะนำให้มารดาลูบหน้าท้องหรือเอาผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำอุ่นประคบ กระตุ้นความรู้สึกของทารก
แนะนำให้มารดานั่งเก้าอี้โยก เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อและการทรงตัวของทารกในครรภ์
แนะนำให้มารดาอ่านหนังสือกระตุ้นพัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ โดยให้อ่านโดยใช้โทนเสียงสูงหรือต่ำเพื่อกระตุ้นสมอง
สังเกตอาการที่ผิดปกติ
ท้องแข็ง เลือดออกทางช่องคลอด ปวดท้องเป็นพักๆ ตกขาวผิดปกติ เช่น สีเปลี่ยนไป คัน มีกลิ่น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ไตรมาส 2
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 3 ส่งเสริมภาวะโภชนาการของทารกในครรภ์
ข้อมูลสนับสนุน :
OD : -วัดระดับยอดมดลูก = 1/4 เหนือระดับสะดือ
-วัดขนาดหน้าท้องได้ 24 cm
-น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ของมารดา = 47 kg
-Hct = 31.0 %
วัตถุประสงค์ : เพื่อดูแลด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
เกณฑ์การประเมิน :
-มารดามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 11.5-16 kg. หรือเฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.5 kg.
-ทารกในครรภ์มีขนาดเหมาะสมกับอายุครรภ์
-มารดาสามารถบอกการรับประทานอาหารที่เหมาะสมได้
กิจกรรมการพยาบาล
ติดตามและประเมินค่าการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของมารดา เพื่อติดตามค่า BMI ของมารดา
แนะนำให้มารดารับประทานอาหารมื้อหลักให้ครบ 5 หมู่ และเพิ่มอาหารมื้อว่าง 3 มื้อ หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนให้แบ่งมื้อย่อยทาน ครั้งละน้อยๆแต่หลายมื้อ ควรลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมันลง แต่จะให้เน้นการรับประทานอาหารประเภทโปรตีนมากขึ้น เช่น เนื้อปลา เนื้อสัตว์อื่นๆ ไข่ ถั่วเหลือง เต้าหู้ เป็นต้น เน้นรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวไม่ขัดสี ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง
แนะนำให้รับประทานผัก ผลไม้ เพิ่มมากขึ้น เพิ่มกากใยอาหาร หลีกเลี่ยงผลไม้ที่พลังงานสูงและมีน้ำตาลมาก เช่น ทุเรียน ขนุน ลำไย
การดื่มนม แนะนำให้มารดาเลือกเป็นชนิดพร้องมันเนย วันละประมาณ 3 แก้ว และแนะนำให้ดื่มน้ำวันละประมาณ 6-8 แก้ว หรือ 1.5 - 2 ลิตร
แนะนำให้มารดาพักผ่อนให้เพียงพอ กลางคืนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง/วัน และช่วงกลางวัน 30 นาที
แนะนำให้มารดาติดตามและประเมินค่าการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของตนเอง
ติดตามขนาดของทารกในครรภ์ด้วยการ Ultrasound
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การประเมินผล
-มารดามีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 14.5 kg.
-ทารกในครรภ์มีขนาด 1/4 เหนือระดับสะดือ
-มารดาสามารถบอกถึงการรับประทานอาหารที่เหมาะสมได้
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 1 หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ข้อมูลสนับสนุน
OD : หญิงตั้งครรภ์อายุ 30 ปี ได้รับการคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์
วัตถุประสงค์ : เพื่อไม่ให้หญิงตั้งครรภ์เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
เกณฑ์การประเมิน
-หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงการเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ค่า glucose challenge test (BS 50 gm) น้อยกว่า 140 mg/dL
-หญิงตั้งครรภ์น้ำหนักขึ้นสัปดาห์ละ 0.5 kg/week
กิจกรรมการพยาบาล
คัดกรองความเสี่ยงตั้งแต่ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์อายุ 30 ปี โดยให้หญิงตั้งครรภ์รับประทานน้ำตาล 50 กรัม ละลายน้ำ 180 มล. และตรวจซ้ำเมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์หากมีค่าสูงกว่า 140 mg/dL ให้คัดกรองความเสี่ยงอีกครั้งโดยการทำ 100 g Oral Glucose Tolerance Test (OGTT) เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
แนะนำให้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ รับประทานอาหารที่หลากหลายให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เน้นอาหารประเภทโปรตีน หญิงตั้งครรภ์ควรรับประทานเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา มีไขมันต่ำและมีกรดไขมันที่จำเป็นช่วยในการสร้างระบบประสาทและสมองของทารกในครรภ์ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เต้าหู้ ไข่ ถั่วต่างๆ และเสริมด้วยนมวันละ 2 แก้ว อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต แนะนำเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต เป็นต้น รับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ โดยเฉพาะผักใบเขียว หลีกเลี่ยงผลไม้ที่ให้พลังงานสูงและมีน้ำตาลมาก เช่น ทุเรียน ขนุน ลำไย เป็นต้น ควรงดอาหารหวานและขนมขบเคี้ยวต่างๆ
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแต่ไม่หักโหมมากเกินไป เช่น การเดิน วันละ 10-20 นาที การว่ายน้ำ เล่นโยคะเบาๆ เป็นต้น
ชั่งน้ำหนักทุกวันตอนเช้า และควรชั่งเวลาเดียวกัน ควบคุมน้ำหนักให้ขึ้นสัปดาห์ละ 0.5 กิโลกรัม ใน1 เดือน ไม่ควรน้ำหนึกขึ้นเกิน 2 กิโลกรัม
แนะนำให้มาฝากครรภ์ตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้รับการตรวจและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ขณะตั้งครรภ์
การประเมินผล
-หญิงตั้งครรภ์มีค่า Glucose challenge test (BS 50 gm) เท่ากับ 106 mg/dL (ปกติ)
-หญิงตั้งครรภ์มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1.3 กิโลกรัม ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 2 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะแทรกซ้อนจากภาวะโลหิตจาง
ข้อมูลสนับสนุน
OD : -Conjunctiva มีสีซีดเล็กน้อย
-ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ 2/03/65
Hb = 10.1 g/dL (ค่าปกติ 11-15.5 g/dL) ต่ำกว่าปกติ
Hct = 31.0 % (ค่าปกติ 33-46.6 %) ต่ำกว่าปกติ
MCV = 86.8 fL (ค่าปกติ 79.9-97.6) ปกติ
DCIP = Negative
เกณฑ์การประเมิน
Conjunctiva ไม่ซีด
Hb อยู่ระหว่าง 11-15.5 g/dL
Hct อยู่ระหว่าง 33-46.6 %
WBC อยู่ระหว่าง 4.24-10.18 10^3/uL
Neutrophil อยู่ระหว่าง 48.2-71.2 %
Lymphocyte อยู่ระหว่าง 21.1-42.7 %
Monocyte อยู่ระหว่าง 3.3-10.2 %
Eocinophil อยู่ระหว่าง 0.4-7.2 %
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ เพื่อประเมินปัญหาและวางแผนการพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ เพื่อดูความผิดปกติของร่างกาย ตรวจร่างกาย การตรวจเยื่อบุตา ริมฝีปาก และเยื่อบุในช่องปาก และการคืนตัวของสีเล็บ
ดูแลความสะอากช่องปากและฟัน โดยหลังจากรับประทานอาหารให้บ้วนปากหรือแปรงฟันทุกครั้ง เพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย และใช้แปรงสีฟันขนนุ่มเพื่อป้องกันการเกิดเลือดออกที่เหงือกและในช่องปาก
ดูแลความสะอาดทางช่องคลอด โดยการเช็ดทำความสะอาดทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำไม่ให้อับชื้น เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรค
ดูแลความสะอาดร่างกายด้วยการอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค
ดูแลสิ่งแวดล้อมให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กและโฟเลต เช่น ผักใบเขียว เครื่องในสัตว์ หรือวิตามินเสริมธาตุเหล็ก
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์สังเกตอาการผิดปกติที่เกิดจากภาวะโลหิตจาง ได้แก่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง เวียนศีรษะ หายใจตื้น หอบ หัวใจเต้นเร็ว ให้รีบปรึกษาแพทย์หรือพยาบาล
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์
Calvin 600 + D 200 IU.TAB. รับประทาน ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
สรรพคุณ : ช่วยเสริมสร้างแคลเซียม เพิ่มส่วนประกอบวิตามินดี และแร่ธาตุต่างๆ ช่วยเสริมสร้างการทำงานของร่างกาย
ผลข้างเคียง : ทำให้เลือดแข็งตัวช้า
Nataral tab.30’s
รับประทาน ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเย็น
สรรพคุณ : ประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆที่จำเป็นต่อสตรีตั้งครรภ์ ก่อน - หลังคลอด และระหว่างให้นมบุตร ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง การขาดแคลเซียมและแร่ธาตุอื่นๆขณะตั้งครรภ์
ผลข้างเคียง : คลื่นไส้อาเจียน
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ Hb, Hct,WBC,Lymphocyte,Monocyte ,Eosinophil, Neutrophil
การประเมินผล
Conjunctiva ไม่ซีด
Hb อยู่ระหว่าง 12.3-15.5 g/dL
Hct อยู่ระหว่าง 36.8-46.6 %
WBC อยู่ระหว่าง 4.24-10.18 10^3/uL
Neutrophil อยู่ระหว่าง 48.2-71.2 %
Monocyte อยู่ระหว่าง 3.3-10.2 %
Lymphocyte อยู่ระหว่าง 21.1-42.7 %
Eocinophil อยู่ระหว่าง 0.4-7.2 %
ไตรมาส 3
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 1 ส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ไตรมาสที่ 3
ข้อมูลสนับสนุน
OD : เมื่อหญิงตั้งครรภ์มีอายุครรภ์ มากกว่า 28 สัปดาห์ขึ้นไป
วัตถุประสงค์ : เพื่อกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์
เกณฑ์การประเมิน
หญิงตั้งครรภ์สามารถบอกวิธีการส่งเสริมทารกได้อย่างถูกต้อง
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์สังเกตลูกดิ้น เพื่อประเมินว่าทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงดี โดยให้นับ 3 ครั้ง หลังทานอาหาร 1 ชั่วโมง ซึ่งทารกในครรภ์ต้องดิ้นอย่างน้อย 10 ครั้ง/วัน
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์นั่งเก้าอี้โยกเพื่อส่งเสริมการทรงตัวของทารกในครรภ์ในช่วง 15 สัปดาห์
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์กระตุ้นพัฒนาการการได้ยิน โดยการพูดคุยกับทารกในครรภ์ หรือการเล่านิทานโทนเสียงทุ้มต่ำสูงสลับกัน เปิดเพลงแนวคลาสสิคก็ได้เช่นกัน แต่ไม่ควรเปิดเพลงที่มีจังหวะเสียงดัง รุนแรง เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกเกิดภาวะเครียด
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์กระตุ้นการมองเห็นของทารกในครรภ์ ตาของทารกสามารถมองเห็นได้ โดยการใช้ไฟฉายส่อง ส่องไปมาซ้ายขวา หรือส่องแบบกระพริบไปมา เพื่อกระตุ้นด้านการกรอกตาของทารกในครรภ์ให้กล้ามเนื้อตาแข็งแรง
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์กระตุ้นการสัมผัส ลูบหน้าท้องขณะลูกดิ้น อาจใช้น้ำร้อนหรือน้ำเย็นร่วมด้วย
การประเมินผล
หญิงตั้งครรค์สามารถบอกวิธีการส่งเสริมทารกได้
ไตรมาส 1
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 1 : หญิงตั้งครรภ์มีภาวะไม่สุขสบายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ข้อมูลสนับสนุน
SD : - มารดาบอกว่ามีอาการคลื่นไส้อาเจียน
-มารดาบอกว่ามีอาการปัสสาวะบ่อย
วัตถุประสงค์ : เพื่อลดอาการไม่สขสบายของมารดา
เกณฑ์การประเมิน
-หญิงตั้งครรภ์รับประทานอาหารได้มากขึ้น คลื่นไส้อาเจียนน้อยลง
-หญิงตั้งครรภ์สามารถปรับตัวและขับถ่ายปัสสาวะได้ดีขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการและระดับความรุนแรงของการแพ้ท้อง และอาการท้องผูกของมารดาเพื่อประกอบการวางแผนการพยาบาล
แนะนำมารดาในเรื่องการรับประทานอาหาร ดังนี้
2.1 อธิบายให้มารดาเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายขณะตั้งครรภ์ เพื่อให้มารดามีความเข้าใจและปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงนี้ได้
2.2 แนะนำมารดารับประทานอาหารให้เพียงพอ เนื่องจากหากปล่อยให้กระเพาะว่างจะเป็นเหตุให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนมากขึ้น แนะนำให้รับประทาน น้ำขิงอุ่น แครกเกอร์ เพื่อลดการคลื่นไส้อาเจียน
2.3 แนะนำให้มารดาหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมาก ย่อยยาก อาหารทีมีกลิ่นแรง อาหารที่ทำให้เกิดก๊าซในกระเพาะอาหารและลำไส้มาก
2.4 แนะนำให้มารดารับประทานอาหารครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้ง และดื่มน้ำระหว่างมื้อ
ให้การพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับอาการปัสสาวะบ่อย ดังนี้
3.1 อธิบายให้มารดาเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อมีการตั้งครรภ์
3.2 ให้คำแนะนำมารดาในการปรับเวลาในการดื่มน้ำก่อนเข้านอน
3.3 ให้คำแนะนำมารดาในการทำความสะอาดอวัยวะเพศเพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
การประเมินผล
หญิงตั้งครรภ์รับประทานอาหารได้มากขึ้น คลื่นไส้อาเจียนน้อยลง
หญิงตั้งครรภ์สามารถปรับตัวและขับถ่ายปัสสาวะได้ดีขึ้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่ 2 : หญิงตั้งครรภ์ขาดความตระหนักในการมาฝากครรภ์
ข้อมูลสนับสนุน
SD : - มารดาบอกว่าในตอนแรกจะไปฝากครรภ์ที่ประเทศบ้านเกิดของสามีคือ ประเทศเวียดนาม
OD : มารดาฝากครรภ์ครั้งแรก GA 24 wks 1 day by date
วัตถุประสงค์ : เพื่อตรวจคัดกรองความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์
เกณฑ์การประเมิน
-หญิงตั้งครรภ์ตระหนักถึงความสำคัญของการมาฝากครรภ์และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ความรู้ของความสำคัญของการมาฝากครรภ์ ควรมาฝากครรภ์ครั้งแรกตอนอายุครรภ์ ไม่เกิน 12 wks เพื่อตรวจคัดกรองความเสี่ยงและส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
ให้คำแนะนำและการส่งเสริมทารกครรภ์
การวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิดหลังคลอด โดยปรึกษาสามีเกี่ยวกับจำนวนบุตรที่ต้องการ ถ้ามีบุตรเพียงพอแล้วควรทำหมันเพื่อคุมกำเนิดแบบถาวร
ควรมาตรวจตามนัดทุกครั้ง เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
การประเมินผล
-หญิงตั้งครรภ์ตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง
การตรวจครรภ์
ดู : หน้าท้องพบ Linea Nigra สีดำตรงยาว
คลำ : Leopold’s maneuver
Fundal grip : Height Fundus 1/4 เหนือระดับสะดือ (ตรงตามเกณฑ์อายุครรภ์)
Umbilical grip : Large part อยู่ด้านขวา Small part อยู่ด้านซ้าย แถวสะดือห่างจากสะดือ 2-3 finger base
Pawlik’s grip : Vertex presentation , Head float
Bilateral inquinal grip : No Engagement
ฟัง : FHS 136 bmp ด้านขวา ( Right lower quadrant)
สรุปท่าของทารก : ROA
ยา
Calvin 600 + D 200 IU.TAB.
รับประทาน ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
สรรพคุณ : ช่วยเสริมสร้างแคลเซียม เพิ่มส่วนประกอบวิตามินดี และแร่ธาตุต่างๆ ช่วยเสริมสร้างการทำงานของร่างกาย
ผลข้างเคียง : ทำให้เลือดแข็งตัวช้า
Nataral tab.30’s
รับประทาน ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเย็น
สรรพคุณ : ประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆที่จำเป็นต่อสตรีตั้งครรภ์ ก่อน - หลังคลอด และระหว่างให้นมบุตร ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง การขาดแคลเซียมและแร่ธาตุอื่นๆขณะตั้งครรภ์
ผลข้างเคียง : ระคายเคืองกระเพาะอาหาร คลื่นไส้อาเจียน