Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Head+Neck injury - Coggle Diagram
Head+Neck injury
Head injury
ความหมาย
การบาดเจ็บใดๆที่มีต่อหนังศีรษะ กะโหลกศีรษะ และเนื้อเยื่อที่เป็นส่วนประกอบภายในกะโหลกศีรษะ
ซึ่งอาจทำให้มีหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึก
สาเหตุ
- อุบัติเหตุจราจร
- การตกจากที่สูง
- การทำร้ายร่างกาย
- การเล่นกีฬาและนันทนาการ
- การถูกแทง ถูกยิง
พยาธิสภาพ
- บาดเจ็บที่ศีรษะระยะแรก (Primary head injury)
เกิดทันทีที่มีแรงกระทบต่ออวัยวะชั้นต่างๆของศีรษะ อาการและอาการแสดงขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพและตำแหน่งของสมองที่ได้รับบาดเจ็บ อาจเป็นแบบเฉพาะที่หรือมีการกระจายและมีความรุนแรง เช่น หนังศีรษะฉีกขาด กะโหลกแตกร้าว มีเลือดในสมอง สมองและแกนสมองช้ำ
- บาดเจ็บที่ศีรษะระยะสอง (Secondary head injury)
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการบาดเจ็บที่ศีรษะระยะแรก ใช้เวลาเป็นนาที ชั่วโมงหรือเป็นวันหลังบาดเจ็บ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญได้แก่ ไข้ อาการชัก ภาวะพร่องออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์คั่ง การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เสียเลือดมากทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอเกิดสมองขาดเลือด
การวินิจฉัย
- skull x-ray เอกซเรย์กะโหลกศีรษะ
- cervical spine x-ray เอกซเรย์กระดูกสันหลังส่วนคอ
- CT scan เอกซเรย์คอมพิวเตอร์
- MRI ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- cerebral angiography ตรวจหลอดเลือดสมองและคอด้วยเครื่องเอกซเรย์
- CSF analysis
กายวิภาค
- หนังศีรษะ (Scalp) มี 5 ชั้น ผิวหนัง เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
กาเลีย ใต้กาเลีย และเยื่อหุ้มกะโหลก
- กะโหลก (Skull) ส่วนที่เป็นกะโหลกกับฐานกะโหลก
บริเวณฐานกะโหลก แบ่งเป็น 3 แอ่ง (fossa)
- แอ่งด้านหน้า (Anterior fossa)
- แอ่งกลาง (Middle fossa)
- แอ่งด้านหลัง (Posterior fossa)
- เยื่อหุ้มสมอง (Meninges)
- Dura mater
- Arachnoid mater
- Pia mater
- สมองใหญ่ (Cerebrum)
- กลีบหน้า (Frontal lobe)
- กลีบข้าง (Parietal lobe)
- กลับขมับ (Temporal lobe)
- กลีบท้ายทอย (Occipital lobe)
- สมองน้อย (Cerebellum)
- แกนสมอง (Brain stem)
-
-
-
กลไกการบาดเจ็บที่ศีรษะ
- การบาดเจ็บโดยตรง (direct injury)
- บาดเจ็บที่เกิดขณะศีรษะอยู่นิ่ง (Static head injury)
1.1 การบาดเจ็บที่เกิดขณะศีรษะอยู่นิ่ง
(static head injury)
- การถูกตี ถูกยิง
- เกิดขึ้นเฉพาะที่หรือสมองอาจเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงถ้าวัตถุที่มากระแทกมีความเร็วสูง เช่น หัวโน ฟกช้ำ
-
1.2 การบาดเจ็บที่เกิดขณะศีรษะเคลื่อนที่
(dynamic head injury )
- เกิดการบาดเจ็บที่สมองส่วนนั้น มักมีการแตกร้าวของกะโหลกศีรษะร่วมด้วย (coup lesion)
- สมองด้านตรงข้ามกับบริเวณที่กระทบวัตถุนั้น อาจมีการฉีกขาดและเลือดออกร่วมด้วย (contra coup lesion)
-
-
- การบาดเจ็บโดยอ้อม (indirect injury)
- การตกจากที่สูง ก้นกระแทกพื้นศีรษะกระแทกลงมาบนส่วนของกระดูกคอ
- การเคลื่อนไหวของลำตัวอย่างรวดเร็ว ศีรษะไม่ได้รองรับ ทำให้ศีรษะคว่ำไปด้านหน้าหรือหงายไปด้านหลังอย่างรวดเร็ว แต่ไม่มีบาดแผลที่หนังศีรษะและกะโหลกศีรษะ
ประเภทการบาดเจ็บ
การบาดเจ็บต่อหนังศีรษะ (Scalp Injury)
- บวม ช้ำ โน (contusion)
- ถลอก (abrasion)
- ฉีกขาด (laceration)
- หนังศีรษะขาดหาย (avulsion)
การบาดเจ็บต่อกะโหลกศีรษะ (Skull Injury)
- กะโหลกศีรษะร้าวเป็นแนว (linear skull fracture)
- กะโหลกแตกยุบ (depressed skull fracture)
- กะโหลกแตกร้าวบริเวณฐาน (basilar skull fracture)
• น้ำไขสันหลังออกทางจมูกและรูหู (CSF leakage)
• ขอบตาฟกช้ำ (Raccoon eyes)
• รอยช้ำหลังหู (Battle’s sign)
-
-
การบาดเจ็บที่สมอง (Traumatic Brain Injuries)
- สมองกระทบกระเทือน (Cerebral Concussion)
สมองได้รับการกระทบกระเทือนขั่วคราว หมดสติไปชั่วขณะ 5-10 นาทีหลังเกิดเหตุ ตื่นมาจำเหตุการก่อนเกิดอุบัติเหตุไม่ได้ มีอาการปวดศีรษะ ง่วง เพลีย สับสน กระสับกระส่าย ตาพล่ามัว เดินเซ สมาธิสั้น หลงลืม วิตกกังวล อาจอยู่นานเป็นวันหรือเป็นเดือน และ CT scan ปกติไม่พบพยาธิสภาพ
- สมองช้ำ (Cerebral Contusion)
CT scan ทั่วไปสมองจะช้ำบริเวณเปลือกสมอง แต่ถ้าบาดเจ็บรุนแรงอาจช่ำบริเวณกว้างทำให้มีเลือดออกในเนื้อสมองและบวมตามมา ต่ำแหน่งที่ช้ำบ่อย คือ สมองส่วนหน้า (frontal brain) และส่วนขมับ (temporal brain)
- สมองฉีกขาด (Cerebral Laceration)
การฉีกขาดของเนื้อสมองร่วมกับการฉีกขาดของเยื่อ Aracnoid และเยื่อ Pia
- การบาดเจ็บกระจายทั่วสมอง (Diffuse axon injury : DAI) กระทบกระเทือนจากแรงเหวี่ยงและแรงเสียดทาน เกิดการดึงรั้งหรือฉีกขาดของเซลล์ประสาทและใยประสาทในสมอง
- เลือดออกภายในกะโหลกศีรษะ (Intracranial hemorrhage)
• เลือดออกนอกเยื่อดูรา (Epidural hematoma : EDH)
• เลือดออกในเยื่อดูรา (Subdural hematoma : SDH)
• เลือดออกในเนื้อสมอง (Intracerebral hemorrhage : ICH)
• เลือดออกในโพรงสมอง (Intraventricular hemorrhage : IVH)
• เลือดออกใต้ชั้นอะแร็กนอยด์ (Subaracnoid hemorrhage : SAH)
โรคที่พบ
-
-
สมองบวม (cerebral edema)
- vasogenic edema น้ำและโปรตีนรั่วเข้าสู่ช่องว่างระหว่างเซลล์
- cytotoxic edema มีโซเดียมและน้ำสูงภายในเซลล์เฉียบพลัน จากการได้รับสารน้ำที่มีความเข้มข้นต่ำกว่าพลาสม่า มี co2 คั่งในร่างกาย
ความดันในโพรงกะโหลกศีรษะสูง (increased intracranial pressure)
- ภาวะที่มีความดันของสารเหลวในช่องเวนตริเคิล (Ventricular fluid pressure) มากกว่า 20 มิลลิเมตรปรอท
การรักษา
- การรักษาด้วยยา เช่น Manitol, Dexamethasone
- การรักษาโดยการทำให้ระบายอากาศมากขึ้น เช่น ใช้เครื่องช่วยหายใจ
- การผ่าตัด เพื่อลดความดันในกะโหลกศีรษะสูง เช่น Burr hole, craniectomy, craniotomy,ventriculostomy , shunting
- Burr hole
เป็เป็นการผ่าตัดโดยเจาะกระโรคด้วยสว่านเพื่อระบายเลือดหรือของเสียจากใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นดูรา
- Craniotomy
เป็นการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อเอาก้อนเลือดออกแล้วปิดกะโหลก
- Craniectomy
เป็นการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อเอาก้อนเลือดออกไม่ปิดกะโหลกศีรษะ
การพยาบาลหลังผ่าตัด
Craniotomy, Craniectomy
1.การดูแลเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
• สังเกตการหายใจ
• จัดท่านอนศีรษะสูง 15 - 30 องศา
• ดูดเสมหะในปากและลำคอตามความจำเป็น
• สังเกตสีผิวริมฝีปากเล็บมือเล็บเท้า
• เจาะ Arterial blood gas
• หลีกเลี่ยงการให้ยานอนหลับ
- การดูแลการไหลเวียนของเลือด
• สังเกตและบันทึก BP
• บันทึกจำนวนเลือดที่เสียไปขณะทำผ่าตัด
• ดูแลให้เลือด,IV ตามแผนการรักษา
• จัดถ้านอนศีรษะสูง 30 องศา นอนไม่ทับแผลผ่าตัด
3.การบันทึกอาการทางสมอง
• บันทึกโดยใช้ Glasgow coma scale
• รายงานแพทย์เมื่อมีการการเปลี่ยนแปลง เช่น ระดับความรู้สึกตัวเลวลง รูม่านตาตาขยายไม่เท่ากัน สัญญาณชีพเปลี่ยนแปลง ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ตาพร่ามัว ประสาทตาบวม
4.การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
• วัดปรอททุก 4 ชั่วโมง
• เช็ดตัวลดไข้
• ให้ยาลดไข้
•ดูแลให้ผิวหนังแห้งสบาย
5.การดูแลและป้องกันการคลื่นไส้อาเจียน
• สังเกตลักษณะสี กลิ่น ปริมาณของอาเจียน
•ให้ยาแก้อาเจียนตามแผนการรักษาของแพทย์
• ทำความสะอาดปาก ฟัน เมื่ออาเจียนทุกครั้ง
- การดูแลเกี่ยวกับความเจ็บปวด
• จัดท่านอนให้สุขสบาย
• พูดคุยให้กำลังใจ
• เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก
• สังเกตตำแหน่ง ลักษณะ ระยะเวลาในการปวด
• ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาของแพทย์
7.การควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่
• record I/O
• สังเกตอาการขาดน้ำ เช่น ผิวหนังแห้ง
• ชั่งน้ำหนักทุกวัน
• ตรวจสอบค่า electrolyte BUN Cr
• ให้สารละลายเข้าเส้นเลือดดำตามแผนการรักษา
• สังเกตอาการอ่อนแรงของแขนขา ชัก
8.การดูแลท่อระบายจากแผล
• ให้ท่อระบายอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ ไม่มีการหักพับงอของสาย
• ตรวจดูการทำงานของเครื่อง radivac drain
• สังเกตสี กลิ่น จำนวน ปริมาณเลือด
• ทำแผลทุกครั้งระมัดระวังอย่าให้สายท่อระบายหลุด
9.การดูแลแผลผ่าตัด
• สังเกตลักษณะและ discharge จากแผล
• ตรวจสอบสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิ
• ทำแผลด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ
• ระมัดระวังไม่ให้ผู้ป่วยเกา ดึง แกะ แผล
• ไม่ควรนอนทับศีรษะข้างที่ทำผ่าตัด craniectomy
• สังเกตอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
10.การดูแลเกี่ยวกับการขับถ่าย
• การคาสายสวนไว้นาน ควรเปลี่ยนทุก 2 สัปดาห์
• ทำความสะอาดบริเวณ perineum
• record I/O
• สังเกตการติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะ ดู UA
• ผู้ป่วยท้องผูก ให้ยาเหน็บหรือยาถ่าย
• แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีกากใย
11.การป้องกันจากการชัก
• ระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุและชัก เช่น ตกเตียง กัดลิ้น
• ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งสะดวก
• สังเกตอาการชัก ระยะเวลาชัก
• หลังชักให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ
• ดูแลให้ยาป้องกันการชักตามแผนการรักษา
การพยาบาลก่อนผ่าตัด
Craniotomy, Craniectomy
ด้านจิตใจ
- ประเมินความรู้
- อธิบายพยาธิสภาพและการรักษา
- สร้างความมั่นใจเพื่อให้ได้รับความร่วมมือ
- ให้คำแนะนำและคอยให้กำลังใจ
เตรียมร่างกาย
- ประเมินสภาพน่างกาย โรคประจำตัว
- NPO ก่อนผ่าตัด 6 ชม.
- ให้ยาและน้ำเกลืก่อนผ่าตัด
- โกนส่วนที่จะผ่าตัด ดูแลให้ถอดเครื่องประดับ ฟันปลอม
- ไม่สวนอุจจาระ
เตรียมอุปกรณ์และเอกสาร
- ประสานงานกับทีม OR, วิสัญญี, ICU
- ตรวจสอบใบยินยอมการผ่าตัด
- เตรียมผลทางห้องปฏิบัติการ
- เตรียมฟิล์ม ผล EKG
- เตรียมเลือด
-
Neck injury
-
สาเหตุ
Blunt trauma พบได้บ่อยจากอุบัติเหตุทางท้องถนน จากการทำร้ายร่างกายและการบาดเจ็บจากการกีฬา กลไกการบาดเจ็บเกิดจากขณะเกิดอุบัติเหตุ บริเวณคอมักหงายมากกว่าปกติ (Hyperextension)
สำหรับการบาดเจ็บจากการกีฬานั้น ส่วนใหญ่พบในกีฬาที่ผู้เล่นต้องเข้าปะทะโดยตรง เช่น ฟุตบอล อเมริกันฟุตบอล และบาสเกตบอล หรือบาดเจ็บจากถูกกระแทกของอุปกรณ์กีฬา เช่น ฮอกกี้ เป็นต้น
Penetrating Trauma พบบ่อยจากการอาวุธที่แหลมคม เช่น มีด และปืนชนิดต่างๆ เป็นต้น
ปืนมักมีความรุนแรงของการบาดเจ็บมากกว่า และยากจะบอกความลึกของบาดแผล
ขึ้นอยู่กับชนิด ความเร็ว และ อานุภาพของปืน
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงของอวัยวะสำคัญที่อาจได้รับบาดเจ็บในลำคอ อาจมากหรือน้อย แตกต่างกันไปตามระบบ เช่น
- ระบบทางเดินหายใจ ; มี subcutaneous emphysema, หายใจมีเสียง (stridor) ,เสียงแหบหรือไม่มีเสียง (dysphonia), ไอเป็นเลือด (hemoptysis) และ pneumomediastinum
- ทางเดินอาหาร : กลืนลำบาก, crepitation, retropharyngeal air, pneumomediastinum
- ระบบหลอดเลือด : เลือดออก, ความดันโลหิตต่ำ, คลำชีพจรไม่ได้, bruit or thrill, neurologic deficit การตรวจร่างกายอาจไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์ หากผู้ป่วยอยู่ในภาวะช็อค ไม่ร่วมมือหรือไม่รู้สึกตัว
ลักษณะอาการที่พบร่วมกับการบาดเจ็บของอวัยวะสำคัญบริเวณลำคอ
- มีเลือดออกจากบาดแผลตลอดเวลา
- (active external bleeding)
- bruit or thrill
- กลืนลำบาก
- เสียงแหบ
- subcutaneous emphysema
- large, expanding or pulsatile hematoma
- oropharyngeal bleeding
- มีลมเข้าหรือออกทางบาดแผล (sucking neck wound)
- neurologic deficit
พยาธิสภาพ
เนื้อเยื่อชิ้น Deep cervical fascia แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่
- Investing layer ชิ้นนี้ปกคลุมหลายส่วนรวมทั้ง กล้ามเนื้อ Trapezius และ Sternocleidomastoid
- Pretrachial layer เชื่อมต่อไปในทรวงอก และกลายเป็นเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardium)
ชิ้นเนื้อยังห่อหุ้มต่อมไทรอยด์และช่วยยึดต่อมติดกับกล่องเสียง
- Prevertebral layer ปกคลุม prevertebral muscles ต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อ scalenus, levator scapulae รวมไปถึง axillary sheath ซึ่งห่อหุ้มเส้นเลือดแดง subclavian ไว้ภายใน
Deep cervical fascia ทั้ง 3 ชั้น ยังประกอบรวมกันเป็น carotid sheath ซึ่งสามารถก่อให้เกิด temponade effect ตามธรรมชาติ เวลาเกิดการบาดเจ็บต่อหลอดเลือดแดง carotid หรือหลอดเลือดดำ internal jugular แต่ในทางกลับกันก็สามารถกดหลอดลม ทำให้ทางเดินหายใจอุดตันได้ (larynx)
รูป แสดงการแบ่ง fascia of neck
ลำคอแบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามเส้นแบ่งในแนวระนาบ
เพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่บาดเจ็บจากถูกยิงหรือแทง (penetrating injuries)
ส่วนที่ 1 : zone l
อยู่ระหว่างกระดูกไหปลาร้า (clavicles) ทั้ง 2 และกระดูกอ่อน cricoid cartilage
อวัยวะสำคัญอยู่ใน zone 1 ได้แก่ หลอดเลือดแดง vertebral และ carotid ปอด หลอดลม หลอดอาหาร
ไขสันหลังส่วนคอ (cervical spinal cord) ท่อน้ำเหลือง (thoracic duct) และเส้นประสาทต่างๆ
ส่วนที่ 2 : zone Il
อยู่ระหว่างกระดูกอ่อน cricoid cartilage กับ กระดูกกราม (angle of mandible)
อวัยวะสำคัญที่อยู่ในส่วนนี้ได้แก่ หลอดเลือดดำ jugular, หลอดเลือดแดง vertebral และ
carotid ทั้งส่วน common, internal และ external หลอดลมและกล่องเสียง หลอดอาหาร ไขสันหลัง
ส่วนที่ 3 : zone III
อยู่ระหว่าง angle of mandible และฐานกระโหลก (base of skull)
อวัยวะสำคัญในส่วนนี้ ได้แก่ คอหอย (pharynx) หลอดเลือดดำ jugular หลอดเลือดแดง vertebral หลอดเลือดแดง internal carotid
รูป แสดงการแบ่งคอ ออกเป็น 3 zone
การวินิจฉัย
การตรวจพิเศษที่ใช้ในการวินิจฉัยการบาดเจ็บที่คอ
- angiography
- doppler studies
- laryngoscopy
- bronchoscopy
- esophagoscopy
- esophagogram
- computed tomography
angiography
ให้ความแม่นยำ(accuracy)ถึง 100% นอกเหนือจากเป็นตัวบ่งชี้ถึงความต้องการผ่าตัดหรือไม่ ยังบอกรายละเอียด ช่วยให้การผ่าตัดทำได้ง่าย เร็ว และปลอดภัยมากขึ้น
ควรทำในกรณีที่การประเมินโดย
การตรวจร่างกายบอกไม่ได้ชัดเจน
Color-flow doppler imaging
สามารถแสดงรายละเอียดของการบาดเจ็บต่อหลอดเลือดได้อย่างน่าเชื่อถือ และอาจเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง ซึ่งมีความปลอดภัยสูง เมื่อเทียบกับ angiography
Laryngoscope และ bronchoscopy
มีประโยชน์อย่างมากในการวินิจฉัยการบาดเจ็บต่อกล่องเสียงและหลอดลม แต่ผู้ป่วยที่นำมาตรวจควรอยู่ในภาวะที่มีความปลอดภัยของทางเดินหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตเพียงพอ
การตรวจด้วยMRI (magnetic resonance imaging)
ยังไม่มีที่ใช้ชัดเจนใน penetrating neck injuries
การวินิจฉัยการบาดเจ็บต่อ pharynx และหลอดอาหาร ต้องอาศัยการตรวจพิจารณาโดยละเอียดถี่ถ้วน โดยใช้การส่องกล้อง (endoscopy) หรือ เอ็กซเรย์กับสารทึบแสง (contrast radiography)
การตรวจพบการบาดเจ็บต่อหลอดอาหารยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งสามารถลดอัตราตาย ได้มากยิ่งขึ้น
การวินิจฉัยที่ล่าช้ากว่า 12 ชั่วโมง มีอัตราตายสูงถึง 17%
การใช้ barium esophagography มี sensitivity เพียง 70-80%
การใช้ esophagography ร่วมกับ rigid esophagoscopy ให้ sensitivity ถึง 100%
การใช้ fexible esophagoscopy ให้ความถูกต้องน้อยกว่า rigid esophagoscopy แต่ก็มีความปลอดภัยสูงกว่า เนื่องจากไม่ต้องวางยาสลบและทำให้เกิดหลอดอาหารทะลุน้อยกว่า
การส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยมักเป็นสิ่งจำเป็นในผู้ป่วย penetrating neck injuries การส่งตรวจที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับกลไกและตำแหน่งของการบาดเจ็บ แต่ถ้าหากผู้ป่วยอยู่ในภาวะช็อค ที่ไม่ตอบสนองต่อการให้สารน้ำ ก้อนคอโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีเลือดออกอย่างมาก ควรนำเข้าไปผ่าตัดทันทีโดยไม่ต้องส่งตรวจวินิจฉัยใดๆ
ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตดี การตรวจวินิจฉัยโดยเครื่องมือพิเศษ อาจมีความจำเป็นโดยแยกแยะตามอวัยวะที่สงสัยว่ามีอาการบาดเจ็บเกิดขึ้น สำหรับการบาดเจ็บต่อหลอดเลือด
การรักษา
การที่มีภาวะช็อค, เสียเลือดอย่างมาก expainding or pulsatile hematoma
มีลมออกทางปากแผล (air bubbling from the wound) หรือ หายใจมีเสียง (stridor)
ควรได้รับการผ่าตัด neck exploration ทันทีโดยไม่ต้องส่งตรวจต่อ
การบาดเจ็บต่อ zoกe I หรือ zone IlI มักต้องการการตรวจพิเศษก่อนการผ่าตัด
เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการเข้าถึงอวัยวะสำคัญที่ได้รับบาดเจ็บ
เช่น หลอดเลือดแดง รวมทั้งช่วยในการเลือกวิธีและตำแหน่งการลงแผลผ่าตัด
ตัวอย่างเช่น การบาดเจ็บใน zone I อาจต้องเลือกการลงแผลระหว่าง median sternotomy หรือ anterolateral thoracotomy การบาดเจ็บต่อ zone III อาจต้องทำให้ข้อต่อกระดูกกรามเคลื่อน ตัดกระดูก styloid เพื่อเข้าถึงหลอดเลือดแดงที่บาดเจ็บได้ง่ายขึ้น
การบาดเจ็บหลอดเลือดอย่างชัดเจนจากการถูกยิงหรือแทงใน zone II มักไม่ค่อยต้องการการตรวจพิเศษเพิ่มเติมมากเท่ากับใน zone I หรือ zone III เนื่องจากอาการและอาการแสดงมักจะชัดเจน
รวมทั้งการผ่าตัดสามารถควบคุมเส้นเลือดต่าง ๆ ได้สะดวกและง่ายกว่า
การบาดเจ็บบริเวณ zone II ที่ผู้ป่วยความดันโลหิตปกติ และไม่มีการบาดเจ็บต่ออวัยวะสำคัญถึงแก่ชีวิต (vital organ)
การดูแลรักษาผู้ป่วยเหล่านี้สามารถทำได้ 2 แนวทางคือ
- ผ่าตัดทำ neck exploration ทุกรายที่บาดแผลลึกเกินชั้น platysma (mandatory neck exploration)
- พิจารณารักษาตามความเหมาะสม(selective management) โดยอาศัยการตรวจพิเศษจาก panendoscopy (laryngoscopy, tracheoscopy, bronchoscopy, esophagoscopy), esophagography และ angiography
ใน selective management จะผ่าตัดทำneck exploration
เฉพาะเมื่อมีอวัยวะสำคัญบาดเจ็บเท่านั้น
ส่วน mandatory neck exploration ซึ่งมีการปฏิบัติมานาน ได้ถูกพบว่า
การผ่าแล้วไม่พบการบาดเจ็บที่สำคัญ (negative exploration) ในอัตราค่อนข้างสูง
ดังนั้นในปัจจุบัน selective management จึงได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจาก
สามารถหลีกเลี่ยงการผ่าตัดโดยไม่จำเป็นและการมีแผลเป็น
การตัดสินใจเลือกการรักษาระหว่าง selective management และ mandatory exploration นั้น
ต้องขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ คือ ทรัพยากรที่มีในสถานพยาบาลนั้น ๆ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ประสบการณ์ของศัลยแพทย์ สภาวะและความร่วมมือของผู้ป่วย
selective management เป็นการรักษาที่นิยมใช้กันในโรงพยาบาลขนาดใหญ่
หรือโรงเรียนแพทย์ซึ่งรับการส่งต่อ (tertiary medical center)
เป้าหมายหลักของการทำ selective management จาn penetrating zone II neck injuries คือ
ตรวจหาการบาดเจ็บต่อหลอดเลือดแดง หลอดอาหาร กล่องเสียง และหลอดลม
ในกรณีที่มีการถูกยิงที่คอทะลุจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง การผ่าตัดยังเป็นวิธีที่แนะนำ และเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด
แต่บางกรณีหากที่สามารถตรวจร่างกายโดยละเอียดถี่ถ้วนร่วมกับ
การส่งตรวจพิเศษที่เหมาะสมและรวดเร็ว สามารถทำ selective management ได้
อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ zone II ที่ความดันโลหิตปกติการส่งตรวจพิเศษ เช่น angiography และการผ่าตัดยังเป็นการรักษาที่แนะนำและเหมาะสม
การถูกยิงด้วยกระสุนความเร็วสูงควรจะต้องผ่าตัดทุกราย หรือแม้กระทั่งการถูกยิงโดยกระสุนความเร็วต่ำ เช่น ปืนลูกซองในระยะประชิด ก็ควรผ่าตัดรักษาเช่นกัน
-
การประเมินอาการบาดเจ็บ
การประเมินการบาดเจ็บบริเวณคอ ต้องเริ่มจากกฎพื้นฐาน ABC (Airway, breathing, circulation) ก่อนเสมอ
โดยพิจารณาทางเดินหายใจ การหายใจ การเต้นของหัวใจ ชีพจรและความดันโลหิต ตามลำดับ นำไปถึงการกู้ชีพ (resuscitation)
เป็นขั้นตอนต่อไป หลังจากนั้นจึงตรวจพิจารณาโดยละเอียด (secondary survey) ก่อนให้การรักษาจำเพาะต่อไป (definitive treatment)
การดูแลทางเดินหายใจ (airway management) ควรให้ความสำคัญสูงสุด การที่ผู้ป่วยซึมลง ไม่ค่อยรู้สึกตัว มีลักษณะของขาดออกซิเจนหรือหายใจไม่เพียงพอ จะต้องมีทางเดินหายใจที่เหมาะสมและปลอดภัย ควรใส่ท่อช่วยหายใจ (endotrachial intubation) โดยเร็ว ในผู้ป่วยที่บาดเจ็บที่คอ และมีทางเดินหายใจอุดตันหรือถูกกด ในกรณีที่ไม่สามารถใส่ท่อช่วยหายใจผ่านทางปาก หรือทางจมูกได้ (orotracheal or nasotracheal intubation) ควรพิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจโดยการผ่าตัด ซึ่ง cricothyroidotomy เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ส่วนใหญ่ ในกรณีฉุกเฉินที่มีหลอดลมฉีกขาดต่อกับแผลถูกแทงฟันหรือยิง บริเวณนั้นอาจพิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจผ่านทางปากแผลนั้น เข้าไปยังหลอดลมโดยตรงได้เลย
หลังจากดูแลเรื่องของทางเดินหายใจ การหายใจ การเต้นของหัวใจและความดันโลหิตเรียบร้อย ดีแล้ว ควรจะตรวจร่างกายโดยละเอียด ถึงแม้ว่าการบาดเจ็บจะจำเพาะอยู่แค่บริเวณคอ การตรวจศีรษะ ทรวงอก และแขน เป็นสิ่งที่จำเป็นเนื่องจากอยู่ใกล้ชิดกัน ปากแผลหรือรูกระสุนเข้าออก ควรตรวจโดยถี่ถ้วน
-
-