Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดเศรษฐศาสตร์เคนส์ (Keynesian Economics) - Coggle Diagram
แนวคิดเศรษฐศาสตร์เคนส์ (Keynesian Economics)
Great Depression (1930 – 1940)
การพัฒนาอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 จนถึงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 (ก่อนปีค.ศ. 1914) อังกฤษเป็นประเทศมหาอํานาจทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองของโลกเงินปอนด์สเตอริงเป็นเงินตราหลักเพียงสกุลเดียวในการค้าโลกมีการขยายตัวของกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมจากสหราชอาณาจักรไปสู่ประเทศอื่นๆทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกานอกจากปริมาณการค้าระหว่างประเทศจะขยายตัวเพิ่มขึ้นการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศทั้งการลงทุนโดยตรงและการลงทุนโดยอ้อม
ค.ศ. 1874 – 1914 ยังมีการอพยพแรงงานระหว่างประเทศเป็นจํานวนมากโดยเฉพาะการอพยพเดินทางจากยุโรปข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปตั้งถิ่นฐานที่ทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้รวมไปถึงผู้คนที่อพยพจากจากจีนและอินเดียไปทํางานในไร่ที่ผลิตเพื่อการค้าขนาดใหญ่ที่มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก
ประชากรของประเทศอุตสาหกรรมและผู้อพยพส่วนใหญ่มีฐานะเป็น “ลูกจ้าง” และทํางานในภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็นสําคัญ
่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้น (1914 -1918) การเข้าสู่ภาวะสงครามทําให้การค้าระหว่างประเทศหยุดชะงักประเทศมหาอํานาจในยุโรปอย่างเช่นอังกฤษฝรั่งเศสเยอรมันที่เข้าร่วมสงครามต่างสูญเสียกําลังแรงงานไปเป็นจํานวนมากซึ่งส่งผลให้สูญเสียผลิตภาพในการผลิตของเทศไปด้วยในขณะที่สหรัฐฯซึ่งเข้าร่วมรบด้วยกลับเสียหายไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจโลกเข้าสู่สภาวะยุ่งเหยิงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศไม่มีเสถียรภาพอัตราการว่างงานสูงขึ้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะสงครามได้ทําลายโรงงานเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตรวมถึงสินค้าทุนอื่นๆหลายประเทศได้หันมาใช้นโยบายกีดกันการค้าระหว่างประเทศโดยการตั้งกําแพงภาษีและห้ามการนําเข้าส่งผลให้แทบทุกประเทศประสบปัญหาเงินเฟ้อเนื่องจากอาหารขาดแคลน
ผลจากภาวะสงครามทําให้มูลค่าการถือครองทรัพย์สินของประเทศชั้นนําทางอุตสาหกรรมในยุโรปลดลงในขณะที่สหรัฐอเมริกากลับมีสัดส่วนการถือครองทรัพย์สินมากขึ้นเรื่อยๆโดยในปีค.ศ.1921 สหรัฐฯครอบครองทองคําถึงร้อยละ 40 ของทองคําทั้งหมดทั่วโลกทั้งนี้เพราะในช่วงสงครามสหรัฐฯเป็นประเทศที่ขายอาวุทยุทโธปกรณ์รวมทั้งอาหารและยารักษาโรคเพื่อใช้ในยามสงครามให้แก่พันธมิตรยุโรปในรูปทองคําจึงทําให้ทองคําไหลเข้าสู่สหรัฐฯเพิ่มขึ้น
แนวคิด Keynes
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของสํานักนีโอคลาสสิกอธิบายว่าการที่มีคนว่างงานมากเพราะอัตราค่าจ้างที่แท้จริงคือปริมาณของสินค้าและบริการที่จะซื้อได้จากค่าจ้างที่ได้รับสูงเกินไปดังนั้นหากลดลงบ้างก็จะมีเงินสําหรับที่จะใช้ในการจ้างงานมากขึ้นและการจ้างงานก็จะเพิ่มขึ้นขณะที่เงินที่ประหยัดได้นั้นก็จะนําไปสู่การลงทุนต่อไป
ทฤษฎีดังกล่าวนี้เป็นไปตาม “กฎของเซย์” ที่ว่า “อุปทานสร้างอุปสงค์ของตนขึ้นเอง” ซึ่งหมายถึงสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นมาจะจําหน่ายได้หมดเสมอไปและเช่นเดียวกันแรงงานทั้งหมดจะได้รับการว่าจ้างทั้งนี้อยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าราคาสินค้าและบริการตลอดจนอัตราค่าจ้างแรงงานจะต้องอยู่ในระดับที่ “เหมาะสม”
Keynes ไม่เห็นด้วยกับคําอธิบายของกลุ่ม Neo-classic โดยได้เสนอแนวคิดที่ไม่ได้เป็นการแก้ไขตลาดแรงงานโดยโตรงแต่เสนอว่าปัจจัยที่กําหนดระดับการจ้างงานและระดับการผลิตคือ “อุปสงค์ที่มีผล”
สําหรับการลงทุน (Investment) จะเพิ่มขึ้นได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ (Decision) ของผู้ผลิตซึ่งขึ้นอยู่กับการคาดการณ์อุปสงค์ในอนาคต (Anticipation of Future Demand) ของผู้ผลิตเองแต่เนื่องจากในช่วงดังกล่าว (ค.ศ.1929) มีการผลิตที่มากเกินอยู่แล้วดังนั้นการลงทุน (I) จึงไม่เพิ่มอย่างที่ควรจะเป็นและในขณะเดียวกันบุคคลก็จะนําเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์แทน
การแก้ไขปัญหาการว่างงานที่เกิดขึ้นในขณะนั้น Keynes ได้ชี้ว่าการปล่อยให้เศรษฐกิจปรับตัวเองโดยมือที่มองไม่เห็นนั้นไม่สามารถทําได้และไม่เห็นด้วยกับนักเศรษฐศาสตร์กลุ่ม Neo-classic ที่อาศัยนโยบายการเงิน (Monetary Policy) ด้วยการเพิ่มปริมาณเงินเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยลดลงโดยเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงจะทําให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้การจ้างงานเพิ่มขึ้นได้ซึ่ง Keynes กลับเห็นในลักษณะที่ตรงกันข้าม
การนําแนวคิดของ Keynes มาปฏิบัติใช้
ในช่วงทศวรรษที่ 1940s Keynes ได้เป็นที่ปรึกษาให้กับรัฐบาลอังกฤษโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังสภาวะสงครามนอกจากนี้แนวคิดของ Keynes ได้แพร่หลายใน “สังคมอุตสาหกรรมตะวันตก” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกาจนทําให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า “State Welfare Model”
โดยในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ํา (The Great Depression ; 1930 – 1940) สหรัฐฯซึ่งเป็นประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ําอย่างรุนแรงและผลจากความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประธานาธิบดีHerbert Hoover ทําให้ในปีค.ศ.1933 พรรคเดโมแครต (Democratic Party) ชนะการเลือกตั้งและประธานาธิบดี Franklin Delano Roosevelt (1882 – 1945)2ได้นําแนวคิดของ Keynes มาใช้ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวโดยออกนโยบายที่เรียกว่า “New Deal Policy”
ประธานาธิบดี Roosevelt ยังได้รื้อฟื้นกฎหมายแรงงานโดยส่งเสริมให้มีCollective Bargaining หรือการเอื้ออํานวยให้เกิดการเจรจาต่อรองโดยเฉพาะเรื่องของค่าจ้างขั้นต่ําเพราะในสหรัฐฯส่วนใหญ่เป็นการผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งแรงงานได้รับค่าจ้างเป็นค่าตอบแทนและเมื่อมีการใช้จ่ายของรัฐเพิ่มขึ้นก็จะกระตุ้นทําให้เกิดการใช้จ่ายจนเกิดภาวะเงินเฟ้อได้ซึ่งภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทําให้ค่าจ้างที่เป็นตัวเงินเพิ่มขึ้นแต่ค่าจ้างที่แท้จริงอาจไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ดังนั้นจึงต้องมีการเจรจาต่อรองเพื่อทําให้อัตราค่าจ้างที่แท้จริงเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจได้
เพิ่มค่าจ้างโดยตรงเพื่อกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์ของครัวเรือนผ่านค่าจ้างที่แท้จริงแล้วยังได้มีความพยายามกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของครัวเรือนที่เรียกว่าการใช้จ่ายทางอ้อมโดยผ่านการเพิ่ม “ค่าจ้างทางอ้อม” (Indirect wage) เช่นการจัดสวัสดิการสังคมโดยการจัดระบบประกันสังคม (Social Security System) แต่ถ้าเป็นฝั่งยุโรป Social Security System เป็นส่วนหนึ่งที่สําคัญของ Compensate Welfare System ซึ่งระบบประกันสังคมเป็นระบบที่ประกอบด้วยการต่อรองจาก 3 ฝ่ายคือฝ่ายลูกจ้างนายจ้างและรัฐบาลดังนั้นจะเห็นได้ว่าการกําหนดค่าจ้างไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาดตามแนวคิดของ Classic หรือ Neo-classic
เงื่อนไขของภาวะสงคราม” (1939) ก็มีส่วนที่ทําให้เกิดการใช้จ่ายของรัฐโดยในช่วงภาวะสงครามโลกที่ 2 (1939 – 1945) สหรัฐฯได้เข้าร่วมสงครามซึ่ง Paul Samuelson (1915 - 2009) เห็นว่าการเข้าร่วมสงครามของสหรัฐฯก่อให้เกิดการใช้จ่ายขนาดใหญ่โดยสร้างอุตสาหกรรมเกี่ยวกับสงครามที่เรียกว่า “Techno-Military Structure Complex” (GALBRIATH) ซึ่งเป็นการใช้จ่ายเพื่อการคิดค้นเทคโนโลยีทางการทหารการจ้างนักวิทยาศาสตร์นักเทคโนโลยีทหารฯลฯซึ่งผลของการใช้จ่ายเป็นจํานวนมากดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่ทําให้สหรัฐสามารถแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได
“แผนงานฟื้นฟูยุโรป” (European Recovery Programme: ERP)
เกิดการใช้จ่ายเงินจํานวนมากเพื่อฟื้นฟูยุโรปและเมื่อยุโรปฟื้นตัวก็จะเป็นคู่ค้าที่สําคัญกับสหรัฐฯซึ่งก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อสหรัฐฯเพราะจะสามารถขายสินค้าให้กับประเทศต่างๆในยุโรปได
ยุโรปไม่เป็นคอมมิวนิสต
สหรัฐเข้าไปให้ความช่วยเหลือกับเยอรมนีดังนั้นเยอรมนีก็ต้องยอมรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งจะเป็นการทําลายลัทธินาซีในเยอรมนี