Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหัวใจวาย/ภาวะหัวใจล้มเหลว Congestive heart failure …
โรคหัวใจวาย/ภาวะหัวใจล้มเหลว
Congestive heart failure ; CHF
การรักษา
รักษาด้วยยา
การเพิ่มประสิทธิภาพในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
กลุ่มยา Digitalis glycosides ยาที่ใช้บ่อยได้แก่ digitoxin และ digoxin
กลุ่มยากระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ (intropic agents) ได้แก่ Dopamine และ Dobutamine
การลดการทำงานของหัวใจ
ยากลุ่มยาขับปัสสาวะ (diuretics) ได้แก่ thaizide, furosemide, moduretic, Aldactone
การลดแรงต้านในขณะหัวใจบีบตัว (reduced afterload)
กลุ่มยาขยายหลอดเลือด (Vasodilators)
ยาขยายหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงร่วมกัน ได้แก่ ยา nitroglycerin, isosorbide dinitrate, isosorbide mononitrate, sodium nitroprusside, prazosin
ยาขยายหลอดเลือดแดง ยาที่นิยมใช้คือ hydralazine กลุ่มยา ACE Inhibitor ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ captopril, enalapril, ramipril, lisinopril
กลุมยา Bata-adrenergic blockers ได้แก่ metoprolol, atenolol, propranolol, acebutolol, nadolol, labetalol
การให้ออกซิเจน ในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวที่มีอาการหายใจหอบเหนื่อยอาจมีออกซิเจนในเลือดต่ำ การให้ออกซิเจนจะช่วยให้บรรเทาอาการหายใจเหนื่อยหอบ และกล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนเพียงพอทำให้หัวใจบีบตัวได้ดีขึ้น
การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงการไหลเวียน (mechanical circulatory support system) ได้แก่ Intra-aortic balloon pump (IABP)
การใส่ Ventricular assist device (VAD) เป็นเครื่องที่ออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่แทนหัวใจห้องล่าง
การผ่าตัด เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ(Heart transplantation)การผ่าตัดลิ้นหัวใจ เป็นต้น
ความหมาย
ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายได้เพียงพอ
กับความต้องการ
การประเมินภาวะสุขภาพ
1.การซักประวัติ
ประวัติหายใจลำบาก และอาการของหัวใจล้มเหลว เช่น อาการบวม ใจสั่น
ประวัติครอบครัวที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวและสาเหตุที่ทำให้เกิด เช่น โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ
การตรวจร่างกาย
การประเมินภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น บวม ชีพจรเต้นเร็ว หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง (jugular vein distension) ฟังปอดได้ยินเสียง rales, wheeze และเสียงหายใจเบา
พยาธิสภาพ
เมื่อมีสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้การทำงานของหัวใจผิดปกติ
ส่งผลให้ปริมาณของเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง อวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายจึงได้รับ เลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้หัวใจต้องรักษาระดับปริมาณเลือดให้คงที่ โดยกระตุ้นการทำงานของ sympathetic system ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นหลอดเลือดดำและแดงหดตัวและเพิ่มแรงการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ และยังกระตุ้นระบบเรนินแองจิโอเทนซิน แอลโดสเตอโรน ทำให้เพิ่มการดูดน้ำและเกลือกลับที่ท่อไตเพื่อเพิ่มปริมาณเลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจมากขึ้น
สาเหตุ
การทำงานของหัวใจมากเกินไป (abnormal loading condition) - ปริมาณเลือดที่กลับเข้าสู่หัวใจก่อนหัวใจบีบตัว (preload) เพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว
(Mitral regurgitation) หรือไตรคัสปิดรั่ว (tricuspid regurgitation) การให้สารน้ำอย่างรวดเร็วหรือปริมาตรมาก (volume overload)
แรงต้านในขณะหัวใจบีบตัว (afterload) เพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง ความดันเลือด
ในปอดสูง ลิ้นหัวใจเอออร์ติคหรือพัลโมนิคตีบ
หัวใจห้องล่างมีความจำกัดในการคลายตัวรับเลือด (limited ventricular filling) ได้แก่
เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis) ภาวะหัวใจถูกบีบรัด (cardiac tamponade)
อาการและอาการแสดง
อาการเหนื่อยหอบ (dyspnea)
อาการนอนราบไม่ได้ (orthopnea)
อาการหายใจหอบเหนื่อยตอนกลางคืน (paroxysmal nocturnal dyspnes, PND)
อาการไอ
อาการบวม (edema)
เบื่ออาหาร คลื่นไส้และแน่นท้อง
การตรวจวินิจฉัยโรค
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จะช่วยบอกความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลว
การตรวจคลื่นสะท้อนเสียงหัวใจ
การถ่ายภาพรังสีของทรวงอก (CXR)
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะช็อคจากหัวใจ (Cardiogenic shock)
ภาวะน้ำท่วมปอด (Pulmonary edema)
การพยาบาล
ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวมักมีความวิตกกังวลและกลัว โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการหอบเหนื่อยรุนแรงประกอบกับต้องจำกัดกิจกรรมและพึ่งพาบุคคลอื่นอาจก่อให้เกิดความคบัข้องใจและสูญเสียความมีคุณค่าใน
ตนเอง ซึ่งพยาบาลควรให้การดูแลผู้ป่วย ดังนี้
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและญาติ ให้การสนับสนุนทางด้านอารมณ์แก่ทั้งผู้ป่วยและญาติ
ให้ข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ป่วยและญาติรับทราบสภาพของผู้ป่วยและเหตุผลของการ
รักษาพยาบาลต่างๆ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ระบายและรับฟังในสิ่งที่ผู้ป่วยกังวลและห่วงใย
ให้ผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในการดูแลตนเองตามความเหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าแม้จะไม่สา
มาระทำกิจกรรมได้ตามปกติแต่ยังสามารถควบคุมตนเองและสิ่งแวดล้อมได้ด้วย
เปิดโอกาสให้ญาติได้ช่วยเหลือกิจกรรมหรือตามความต้องการของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจที่
จะอดทน เผชิญและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ตนประสบได้ดีขึ้น
การวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย
ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวมักจะกลับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลด้วยปัญหาของการขาดความระมัดระวังในการดแูลตนเอง การใช้ยาและอาหาร พยาบาลจึงต้องเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล เพื่อการควบคมุ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการหัวใจล้มเหลว ดังนี้
การเฝ้าระวังและการค้นหาอาการแสดงของความผิดปกติ ได้แก่ แนะนำให้ชั่งน้ำหนักทุกวันเป็นประจำในเวลาเดิม เพื่อประเมินภาวะน้ำเกินในร่างกาย การประเมินอาการท้องโตและอาการบวม โดยสอนให้วัดรอบท้องและแขนขาที่ตำแหน่งเดิมทุกวัน การบันทึกน้ำเข้าและน้ำออกอย่างง่าย โดยแนะนำให้บันทึกสารน้ำจากอาหารต่างๆ และปริมาณปัสสาวะ และการสังเกตอาการที่บ่งบอกถึงการควบคุมโรคไม่ได้ เช่น เบื่ออาหาร หายใจตื้นบวมหรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 0.5-1 กิโลกรัมในเวลาหนึ่งวันติดต่อกันสองวัน ซึ่งต้องปรึกษากับแพทย์
การจำกัดเกลือและน้ำ โดยจำกัดเกลือประมาณวันละไม่เกิน 2 กรัม และน้ำดื่มไม่เกิน 2,000 มิลลิลิตร
การบริหารยา อธิบายการใช้ยาโดยละเอียด ถ้าไม่สามารถจำชื่อยาได้อย่างน้อยควรจะทราบว่ายาตัวใดเป็นยาโรคหัวใจ ยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดเลือด เข้าใจถึงผลและอาการข้างเคียงของยา และอันตรายของการรับประทานยาไม่ถูกต้อง ผู้ป่วยบางรายอาจสอนวิธีการจับชีพจร
การทำกิจกรรมและการออกกำลังกาย เมื่อแรกกลับบ้านให้ทำกิจกรรมต่างๆ เท่ากับขณะอยู่ในโรงพยาบาล หลังจากนั้นค่อยๆ เพิ่มกิจกรรมตามความเหมาะสมกับระดับความสามารถ
การลดความเครียดในผู้ป่วยบางราย จึงควรแนะนำวิธีการผ่อนคลายที่ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้ เช่น การนั่งสมาธิ อ่านหนังสือ เป็นต้น
การควบคุมระดับความดันโลหิต โดยควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติคือ น้อยกว่า 140/90 มลิลิเมตร
ปรอท
การเลิกสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงไม่อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีควันบุหรี่
การควบคุมระดับไขมันในเลือด โดยให้ระดับไขมัน (LDL-C) น้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดย
หลีกเลี่ยงอาหารพวกเครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ที่ติดมันทุกชนิด สมองสัตว์ อาหารทะเลบางชนิด เช่น หอยนางรมปลาหมึก หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันมะพร้าว ควรดื่มนมพร่องมันเนย เป็นต้น
ควบคุมเบาหวานในผู้ที่เป็นเบาหวาน โดยควบคุมให้ระดับ HbA1c น้อยกว่า 7%
การควบคุมน้ำหนักตัว โดยให้ค่าดัชนีมวลรวมกาย (body mass index, BMI) อยู่ในช่วง 18.5-24.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร ความยาวรอบเอวในผู้ชายควรน้อยกว่า 40 นิ้ว และในผู้หญิงควรน้อยกว่า 35 นิ้ว