Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ชนิดและหน้าที่ของสารอาหาร, นางสาวกชกร ผ่องแก้ว รหัสนักศึกษา 644N46101…
ชนิดและหน้าที่ของสารอาหาร
กลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงาน
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)
เป็นสารอาหารหลักที่สำคัญในการให้พลังงาน เมื่อรับประทาน คาร์โบไฮเดรตเข้าไปจะถูกย่อยด้วยเอนไซม์ที่อยู่ในปาก กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กจนได้น้ำตาล กลูโคสซึ่งจะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือดและส่งไปยังเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายและถูกเผาผลาญให้เป็นพลังงานต่อไป
ชนิดคาร์โบไฮเดรตตามขนาดโมเลกุล
ไดแซคคาไรด์(disaccharide)
เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยโมโนแซ็กคาไรด์ 2 ตัวมารวมกันอยู่ เมื่อรับประทานเข้าไปร่างกายจะย่อยเป็นโมโนแซ็กคาไรด์ก่อนจึงสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้
โอลิโกแซคคาไรด์ (oligosaccharide)
เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยโมโนแซคคาไรด์ตั้งแต่ 3-10 โมเลกุล เช่น น้ำตาลแรฟฟิโนส (Raffinose) ที่พบในถั่ว จัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยยากทำให้เกิดกระบวนการหมักและเกิดก๊าซขึ้นในลำไส้
โมโนแซคคาไรด์(monosaccharide)
เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและจัดเป็น คาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด ร่างกายสามารถดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านการย่อย
โพลีแซคคาไรด์(polysaccharide)
โพลีแซคคาไรด์ชนิดที่ย่อยได้ (digestible polysaccharide)
ได้แก่ แป้ง (starch) พบ ได้ในพืช และไกลโคเจน (glycogen) พบในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์
โพลีแซคคาไรด์ชนิดที่ย่อยไม่ได้ (indigestible polysaccharide)
พบมากตามใบผัก ก้านผัก และเปลือกนอกของผลไม้ จุลินทรีย์บางชนิดในลำไส้ใหญ่สามารถย่อยสลายบางส่วนได้ มีประโยชน์ช่วยในระบบขับถ่าย
หน้าที่และความสำคัญของคาร์โบไฮเดรต
ให้พลังงานแก่ร่างกาย
สงวนคุณค่าของโปรตีนไว้ไม่ให้เผาผลาญเป็นพลังงาน
โปรตีน (Protein)
โปรตีนเป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่ร่างกายขาดไม่ได้เป็นสารประกอบไนโตรเจนอินทรีย์ที่สำคัญในเซลล์สิ่งมีชีวิตจึงพบได้ทั้งในพืชและสัตว์
ชนิดของโปรตีน
โปรตีนสมบูรณ์ (complete protein or high-quality protein)
โปรตีนที่ ประกอบด้วยกรดอะมิโนจ าเป็นแก่ร่างกายครบทุกชนิด และมีปริมาณพอเหมาะกับความต้องการของ ร่างกาย ได้แก่ โปรตีนที่มีอยู่ในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
โปรตีนไม่สมบูรณ์ (incomplete protein)
โปรตีนที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกายไม่ครบทุกชนิด ส่วนใหญ่โปรตีนที่พบในพืชเป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์
หน้าที่และความสำคัญของโปรตีน
ควบคุมสมดุลน้ำในร่างกาย
ควบคุมการทำงานต่างๆ ของร่างกาย
สร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ นำโปรตีนไปทดแทนโปรตีนที่สลายไป
รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย
เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต
ให้พลังงาน โปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี
ไขมัน (Lipid)
ไขมันในอาหาร ประกอบด้วย ไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides) เป็นส่วนใหญ่ และ โคเลสเตอรอล (cholesterol) เป็นส่วนน้อย ไตรกลีเซอไรด์เมื่ออยู่ในรูปของแข็งที่อุณหภูมิห้องปกติ จะเรียกว่าไขมัน (Fat) หากเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้องปกติจะเรียกว่าน้ำมัน (oil)
การจำแนกไขมันตามบทบาท
ฟอสฟอลิปิด (phospholipids)
เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเมมเบรนของเซลล์ต่างๆ
โคเลสเตอรอล
เป็นไขมันที่พบในอาหารประเภทสัตว์ ไม่พบในอาหาร ประเภทพืช โคเลสเตอรอลเป็นสารประกอบสำคัญที่ใช้ในการสังเคราะห์สารสเตอรอล ฮอร์โมนเพศ และวิตามินดี 2
ไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides; TG)
ถ้าอยู่ในรูปของแข็ง เรียก “ไขมันแข็ง (fats)” อยู่ในรูปของเหลว น้ำมัน (oil) ได้จากพืชและสัตว์ นอกจากนี้ยังได้จากขบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต เช่น น้ำตาล
หน้าที่และความสำคัญของไขมัน
ช่วยปกป้องและกันความร้อน รวมทั้งคอยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่
ช่วยป้องกันการกระเทือนของอวัยวะภายในร่างกาย ที่เกิดจากแรงกระแทกหรือ คอยป้องกันการบาดเจ็บของอวัยวะภายในร่างกาย
ให้พลังงานแก่ร่างกายที่สูงที่สุดคือ 9 แคลอรีต่อ 1 กรัม
เป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อประสาท เส้นประสาทจะมีไขมันหุ้ม เส้นประสาท ช่วยให้เส้นประสาททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ช่วยในการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน (fat soluble vitamins)
เป็นส่วนประกอบของร่างกาย ไขมันรวมกับโปรตีนเรียกว่าไลโปโปรตีน (lipoproteins) ทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบสำคัญผนังเซลล์และไมโตคอนเดรีย ถ้าขาดไขมันผนังเซลล์ ของร่างกายจะอ่อนแอ เซลล์ที่ตายไปจะไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้
ช่วยให้อาหารมีรส กลิ่น และเนื้อสัมผัสที่ดี ทำให้อิ่มท้องนาน
กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน
น้ำ (Water)
หน้าที่และความสำคัญของน้ำ
เป็นส่วนประกอบของเซลล์และเป็นส่วนประกอบของเลือดน้ำเหลือง น้ำลาย น้ำตา เหงื่อ ปัสสาวะ และน้ำย่อย
เป็นส่วนประกอบของสารโครงสร้างเซลล์
ช่วยในการกระจายและนำพาสารอาหารไปส่วนต่างๆของร่างกาย
ช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่
ช่วยในการทำงานของเซลล์และปฏิกิริยาชีวเคมีต่างๆ
เป็นสารหล่อลื่นในร่างกายป้องกันการเสียดสีของอวัยวะภายใน
ความต้องการน้ำของร่างกาย
ต้องได้รับน้ำจากการดื่มน้ำ ประมาณ 500-1,500 มิลลิลิตร จากน้ำในอาหารที่รับประทาน 700-1,000 มิลลิลิตร จึงจะเกิดความ สมดุล
เกลือแร่ (Minerals)
เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการจำนวนมาก
แคลเซียม (calcium; Ca)
เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟันโดยช่วยให้ กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยควบคุมการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และหัวใจ
ฟอสฟอรัส (phosphorus; P)
เป็นส่วนประกอบของสารพลังงานสูง (ATP) กระตุ้นการหดตัวของ กล้ามเนื้อ จำเป็นสำหรับการทำงานของไตและการส่งสัญญาณประสาท
โพแทสเซียม (potassium; K)
ช่วยรักษาสมดุลกรดด่าง ควบคุมสมดุล ของน้ำ กระตุ้นการส่งสัญญาณประสาทสำหรับการหดตัวของกล้ามเนื้อ ท าให้หัวใจเต้นเป็นปกติ
โซเดียม (sodium; Na)
ทำหน้าที่รักษาสมดุลกรดด่าง
คลอไรด์(chloride; Cl)
รักษาสมดุลกรดและด่างในเลือด ควบคุมสมดุลน้ำในร่างกาย
แมกนีเซียม (magnesium; Mg)
ทำงานร่วมกับแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินดีในการสร้างกระดูก เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน เกี่ยวข้องกับการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ
กำมะถัน (sulfur; S)
เป็นโปรตีนสำคัญใน การรักษาผม ผิว เล็บให้แข็งแรง และยังช่วยในการสร้างโปรตีนคอลลาเจน
เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการจำนวนน้อย
สังกะสี(zinc; Zn)
ช่วยการหดตัวของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอินซูลิน ช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น
ทองแดง (copper; Cu)
ช่วยในขบวนการสร้างเนื้อหนังขึ้นใหม่ใน บริเวณที่เป็นแผลช่วยในการ
สร้างฮีโมโกลบิน
โครเมียม (chromium; Cr)
ช่วยกระตุ้นการสังเคราะห์กรดไขมัน และโคเลสเตอรอล
แมงกานีส (manganese; Mn)
ช่วยในการสังเคราะห์กรดไขมันและโคเลสเตอรอล ช่วยในการทำงานของอินซูลินควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
ซีลีเนียม (selenium; Se)
ส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายให้เป็นปกติควบคุมสุขภาพของสายตา ผิวหนัง และเส้นผม
ไอโอดีน (iodine; I2)
ช่วยในการทำงานของต่อมไทรอยด์และเป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนไทรอกซิน (thyroxin) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมอัตราการเผาผลาญของร่างกาย
เหล็ก (iron; Fe)
เป็นเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง
วิตามิน (Vitamins)
วิตามินที่ละลายในไขมัน (fat-soluble vitamin)
วิตามินเอ (vitamin A)
ช่วยในการมองเห็น
วิตามินดี(calciferol)
มีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากลำไส้นำมาใช้ในการสร้างกระดูก
วิตามินอี(tocopherol)
ช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจโดยการช่วยลดโคเลสเตอรอลในเลือด ระบบ ภูมิคุ้มกัน กระบวนการเผาผลาญสารอาหาร สร้างฮอร์โมน และสร้างเม็ดเลือดแดง
วิตามินเค (vitamin K)
ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแข็งตัวของเลือด
วิตามินที่ละลายในน้ำ (water-soluble vitamin)
วิตามินบี 1 (thiamine)
ช่วยในกระบวนการทำงานของระบบ ทางเดินอาหาร ช่วยให้เกิดความอยากอาหารและการขับถ่ายดีขึ้น ช่วยในการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อ และระบบประสาท
วิตามินบี 2 (riboflavin)
ช่วยในการเจริญเติบโต ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยบำรุง ผิวหนัง
ไนอาซิน(niacin) หรือกรดนิโคตินิก
ช่วยในกระบวนการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ช่วยในการทำงานของเส้นประสาทและสมองส่วนปลาย ช่วยรักษาสุขภาพของ ผิวหนัง ลิ้น และเนื้อเยื่อของระบบย่อยอาหาร
กรดแพนโทเทนิก (pantothenic acid) หรือวิตามินบี 5
ช่วยในการสร้างฮอร์โมน และโคเลสเตอรอล
วิตามินบี 6 (pyridoxine)
ทำหน้าที่สร้างฮีโมโกลบิน สร้างสารภูมิคุ้มกัน
ไบโอติน (biotin) หรือวิตามินบี 7
ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในการสังเคราะห์กรดไขมัน และกรดอะมิโน
โฟเลต (folate) หรือกรดโฟลิก (folic acid) หรือวิตามินบี 9
ช่วยในการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิกซึ่งเป็นสารพันธุกรรมสำหรับกระบวนการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์ต่างๆ
วิตามินบี 12 (cobalamin)
มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะไขกระดูก ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบทางเดินอาหาร
วิตามินซี
ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก และทำหน้าที่สำคัญในการต้านอนุมูลอิสระ
นางสาวกชกร ผ่องแก้ว รหัสนักศึกษา 644N46101 สาขาพยาบาลศาสตร์