Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ urinary system - Coggle Diagram
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ urinary system
อวัยวะที่สำคัญ
ไต (Kidney)
สำคัญที่สุดในระบบนี้ เป็นที่กรองน้ำและของเสียออกจากเลือดเป็นน้ำปัสสาวะ
หลอดไต (Ureter)
นำน้ำปัสสาวะออกจากไตสู่กระเพาะปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะ (bladder)
เป็นที่เก็บน้ำปัสสาวะได้ชั่วคราว เมื่อได้จำนวนที่เหมาะจึงหดตัวบีบขับน้ำปัสสาวะไปสู่หลอดปัสสาวะ
หลอดปัสสาวะ (urethra)
เป็นทางผ่านของน้ำปัสสาวะจากกระเพาะไปสู่ภายนอกร่างกาย
การขับปัสสาวะ
เป็นการรักษาสมดุลของเหลว เกลือแร่ และสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
เป็นการทำงานระบบประสาทที่อยู่ในอำนาจจิตใจ มีบทบาทดังนี้
ท่อไต ทำหน้าที่ลำเลียงของเหลวลงไปสู่กระเพาะปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะ (Urinary bladder) ทำหน้าที่กักเก็บของเหลวเพื่อรอการระบาย
ท่อปัสสาวะ (Ureter) ทำหน้าที่ในการเป็นช่องทางการระบายของเหลวสู่ภายนอก
หน่วยไตจะทำหน้าที่ในการสร้างน้ำปัสสาวะ
(Urine formation) ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ 3 ขั้นตอน
1.การกรองสารที่โกลเมอรูลัส (Glomerular filtration / Ultrafiltration)
2.การดูดสารกลับที่ท่อหน่วยไต (Tubular reabsorption)
3.การหลั่งสารโดยท่อหน่วยไต (Tubular Secretion)
โครงสร้างภายในของไตประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ คือ
1.รีนัลแคปซูล (Renal capsule) เป็นส่วนเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ด้านนอกสุดหุ้มรอบไต
2.เนื้อไต ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
2.1 เนื้อไตชั้นนอก หรือรีนัลคอร์เทกซ์ (Renal Cortex)
มีสีแดง ลักษณะเป็นจุดๆ แต่ละจุดเมื่อขยายดูเป็นกลุ่มของเส้นเลือดฝอยที่เรียกว่า โกลเมอรูลัส (Glomerulus) และถุงโบว์แมนส์แคบซูล (Bowman's Capsule)
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกรองของเสียออกจากเลือด
2.2 เนื้อไตชั้นใน หรือรีนัลเมดัลลา (Renal medulla)
เป็นชั้นที่มีสีจางกว่าเนื้อไตชั้นนอก มีลักษณะเป็นเส้น ๆ หรือหลอดเล็ก ๆ รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ
มีรูปร่างลักษณะ เป็นภาพสามเหลี่ยมคล้ายพีระมิด เรียกว่า รีนัลพีระมิด (Renal pyramid)
ปลายยอดของพีระมิดเป็นยอดแหลมซึ่งเกิดจากท่อรวม (Collecting tubule) มารวมกันเรียกว่าพาพิลลา (Papilla)
จะยื่นและเปิดเข้าไปในไมเนอร์แคลิกซ์ (Minor calyx) ซึ่งเป็นที่รองรับน้ำปัสสาวะจากพาพิลลา
หลาย ๆ ไมเนอร์แคลิกซ์ รวมเป็นเมเจอร์แคลิกซ์ (Major calyx) และนำน้ำปัสสาวะส่งเข้าสู่บริเวณที่มีลักษณะเป็นกรวย เรียกว่า กรวยไต (Renal pelvis)
3.กรวยไต (Renal pelvis)
ทำหน้าที่รองรับน้ำปัสสาวะที่มาจากแคลิกซ์ และส่งต่อไปสู่ท่อไต (Ureter) นำเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะและนำน้ำปัสสาวะออกทางท่อปัสสวะ
กลไกการทำงานของไต
ไตจะทำหน้าที่ดูดซึมสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กลับเข้าสู่ร่างกายและขับสารที่ไม่ต้องการทิ้งไปใน ปัสสาวะ ปัสสาวะจากท่อรวมจะไหลเข้าสู่กรวยไตและหลอดไต
เพื่อนำไปเก็บไว้ในกระเพาะปัสสาวะและขับออกจากร่างกาย ขบวนการสร้างปัสสาวะ
ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ
1.การกรองที่โกลเมรูลัส (Glomerulus Filtration)
การกรองจะเกิดที่โกลเมอรูลัส โดยเลือดที่ผ่านเข้ามาในโกลเมอรูลัส จะถูกกรองภายใต้แรงดัน ผ่านผนังหลอดเลือดฝอยเล็ก ๆไปยังช่องระหว่างโบวแมนแคปซูล
การกรองนี้ไม่ได้ถูกขับออกจากร่างกายทั้งหมดเพราะยังต้องผ่านสู่ท่อไตเพื่อเข้ากระบวนการสร้าง ปัสสาวะอีก 2 ขั้นตอน
2.การดูดกลับของไต (Tular Reabsorbtion)
คือขบวนการดูดกลับสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จากท่อไตกลับเข้าสู่กระแสเลือดจะเกิดขึ้นตลอดความยาวของท่อเล็กๆ ในหน่วยทำงานของไต
จะดูดซึมเอาน้ำและสารบางอย่างที่ร่างกายต้องการกลับ คืนสู่กระแสเลือด
การดูดซึมกลับจะเกิดขึ้นมากบริเวณหลอดฝอยไตส่วนต้น สารที่ถูกดูดซึมกลับ ได้แก่ กลูโคส ฟอสเฟต กรดแลคติก กรดอะมิโน วิตามินซีซิเตรท (Citrate) มอลเลท (Malate) โซเดียม น้ำ ไบคาร์บอเนต ยูเรีย และคลอไรด์
3.การขับทิ้ง (Tubular Secretion)
คือขบวนการขับสารที่เป็นพิษหรือเกินความต้องการออกจากกระแสเลือดเข้าสู่ท่อไต สารที่ได้จากการกรอง
ไม่สามารถดูดซึมกลับเข้าสู่เส้นเลือด จะเหลืออยู่ในท่อเล็กๆ ในหน่วยทำงานของไต สะสมรวมกันเป็นน้ำปัสสาวะ สารเหล่านี้ได้แก่ ยูเรีย กรดยูริค ครีอะตินิน ของเสียจากกระบวนการเผาผลาญของโปรตีนและยาต่างๆ
ระบบขับถ่ายปัสสาวะแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1.ระบบขับถ่ายปัสสาวะส่วนบน (upper urinary tract)
1.ไต (Kidneys)
หน่วยไต (Nephron)
กรวยไต (Renal pelvis)
2.ท่อไต (Ureter)
2.ระบบขับถ่ายปัสสาวะส่วนล่าง (Lower urinary tract)
1.กระเพาะปัสสาวะ (Urinary bladder)
2.ท่อปัสสาวะ (Urethra)
ระบบประสาทที่ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ
สมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ
ตำแหน่งของสมองที่สำคัญของสมองที่สำคัญคอยกระตุ้นการขับถ่ายปัสสาวะอยู่ที่หน้าของพอนส์ (Pons) และไฮโปทาลามัส (hypothalamus) ส่วนหลัง
ประกอบด้วย 3 ระบบ คือ
1.ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic nerve)
2.ระบบซิมพาเทติก (Sympathetic nerve)
3.ระบบโซมาติก (Somatic nerve)