Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม, นางสาว…
การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม
1.ผู้ที่มีพฤติกรรมไม่เป็นมิตร (Hostility)
ลักษณะของผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตร
รู้สึกเป็นปรปักษ์
ต้องการที่จะทำลายผู้อื่น
ทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย
สาเหตุและกลไกทางจิต
ความไม่เป็นมิตรมักถูกปลูกฝังตั้งแต่วัยทารกเมื่อมีสิ่งคุกคามทางจิตใจ บุคคลไม่สามารถแสดงออกถึงความคับข้องใจได้ ส่งผลให้บุคคลเรียนรู้ที่จะเก็บซ่อนความคิด ความรู้สึก มักจะส่งผลให้บุคคลนั้นรับรู้การมีคุณค่าในตนเองต่ำ เกิดการสะสมความคับข้องใจในตนเองมากขึ้น จนเกิดความวิตกกังวลอย่างมากซึ่งจะแสดงความไม่เป็นมิตรออกมาอย่างเปิดเผยหรือแอบเก็บกดความรู้สึกนั้นเอาไว้
วิธีการบำบัดทางการพยาบาล
การประเมินปัญหาทางการพยาบาล
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ความดันโลหิตสูง
ชีพจรเต้นเร็ว
เกร็ง
ด้านคำพูด
การพูดกระทบกระเทือน
ข่มขู่
พูดจาชวนทะเลาะ
ด้านพฤติกรรม
ท่าทีเฉยเมย
ต่อต้าน
กำหมัดแน่น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
พิจารณาคือปัจจัยต้นเหตุที่กระตุ้นหรือมีอิทธิพลทำให้บุคคลนั้นเกิดความรู้สึกไม่เป็นมิตร
กิจกรรมทางการพยาบาล
ดำเนินการวิเคราะห์ว่าบุคคลมีภาวะความไม่เป็นมิตรหรือไม่เพื่อจะให้การพยาบาลได้อย่างทันท่วงที
การจัดการกับสิ่งแวดล้อมและบุคคลรอบข้างเพื่อป้องกันอันตราย
เปิดโอกาสให้บุคคลนั้นๆได้ระบายความรู้สึกคับข้องใจ ความไม่พอใจ หรือความไม่เป็นมิตร
การประเมินผลทางการพยาบาล
ช่วยเหลือมุ่งที่จะช่วยลดความรู้สึกไม่เป็นมิตร หาแนวทางในการป้องกันและการเผชิญปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว (Aggression)
ลักษณะของผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
ใช้คำพูดตำหนิ วาจาหยาบคาย พูดในแง่ร้าย
มีสีหน้าบึ้งตึงแววตาไม่เป็นมิตร ทุบทำลายสิ่งของ หาเรื่องวิวาททำร้าย การใช้มีดกรีดข้อมือตนเอง
สาเหตุ
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
ระดับความผิดปกติของสารเคมีในสมอ
การเจ็บป่วยด้วยโรคทางร่างกาย
ปัจจัยทางด้านจิตสังคม
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ความก้าวร้าวเป็นสัญชาติญาณหนึ่งของมนุษย์ที่แสดงออกของความโกรธ ซึ่งถ้าหันความโกรธเข้าสู่ตนเองจะส่งผลให้บุคคลดังกล่าวมีอารมณ์เศร้าได้
ทฤษฎีทางด้านจิตวิทยา พฤติกรรมก้าวร้าวเกิดจากการไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน อาจจะเป็นสาเหตุให้บุคคลตอบสนองไปในวิธีการก้าวร้าว
ทฤษฎีทางด้านสังคมวิทยา เด็กที่มีประวัติถูกทำร้ายร่างกาย ประวัติการถูกล่วงเกินทางเพศ การถูกทอดทิ้งในวัยเด็ก และการที่พ่อแม่มีพฤติกรรมที่รุนแรงจากการศึกษาพบว่าเด็กจะมีพัฒนาการพฤติกรรมรุนแรงเกิดขึ้นได้
การถือแบบอย่าง เด็กจะลอกเลียนแบบการแสดงความโกรธจากพ่อแม่หรือบุคคลสำคัญในชีวิตของเขา หรือ เด็กที่ดูสื่อ ทำให้เด็กมีพฤติกรรมรุนแรงเป็นปัจจัยเสริมให้เด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวในเวลาต่อมา
วิธีการบำบัดทางการพยาบาล
การประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
ประวัติการมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของบุคคลนั้น
การได้รับการวินิจการเจ็บป่วยของบุคคลนั้น
พฤติกรรมในปัจจุบันของบุคคลนั้น
พูดจาถากถางผู้อื่น พูดคุกคามผู้อื่น ตะโกนเสียงดัง
ขบกราม หน้านิ่วคิ้วขมวด จ้องมองด้วยความโกรธ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงที่จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงเนื่องจากมีประวัติพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
มีพฤติกรรมทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นเนื่องจากมีประวัติพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
มีพฤติกรรมหงุดหงิดก้าวร้าวไม่เหมาะสมเนื่องจากขาดทักษะการควบคุมอารมณ์
การวางแผนและ
การปฏิบัติการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกไว้วางใจ รู้สึกปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
เปิดโอกาสให้ได้พูดระบายถึง ความรู้สึกไม่พอใจออกมา รับฟังโดยไม่ขัดจังหวะ
เมื่อความโกรธลดลงให้บุคคลนั้นสำรวจถึงสาเหตุที่ทำให้รู้สึกโกรธ ไม่ พอใจ
ให้คำแนะนำถึงวิธีการจัดการกับความโกรธในทางที่เหมาะสม
ผู้ที่มีพฤติกรรมรุนแรง (Violence)
ลักษณะของผู้ที่มีพฤติกรรมรุนแรง
พฤติกรรมคุกคามที่มีผลทำให้คนอื่นตกใจกลัว
มีพฤติกรรมที่พยายามจะใช้กำลังและอาวุธทำร้ายคนอื่น
มีการใช้กำลัง หรือ อาวุธทำร้ายคนอื่น
วิธีการบำบัดทางการพยาบาล สำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
ประเมินสภาพผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง โดยประเมินระดับความรุนแรงของพฤติกรรม
ประเมินอาการและการแสดงที่เป็นสัญญาณของพฤติกรรม
สีหน้าบึ้งตึง แววตาไม่เป็นมิตร
การเคลื่อนไหวกระวนกระวายอยู่นิ่งไม่ได้
ประเมินการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกและอารมณ์อย่างเฉียบพลันและการศึกษาประวัติจากญาติ เกี่ยวกับพฤติกรรมในอดีต
พยาบาลควรมีท่าทีที่เป็นมิตร สงบ และให้เกียรติเพื่อให้เกิดความรู้สึกไว้วางใจ เพราะทางทางของพยาบาลอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น
จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยรวมทั้งลดสิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม โดยลดเสียงดัง ลดแสงสว่าง ลดการที่มีคนพลุกพล่าน เพื่อลดสิ่งคุกคามความรู้สึกผู้ป่วย พยาบาลต้องเผชิญสถานการณ์ด้วยความมั่นใจ อย่างมีแผน ระมัดระวัง และมีท่าทีสงบ
หลังจากที่ผู้ป่วยมีอาการสงบพยาบาลควรเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความรู้สึกเกี่ยวกับการถูกการจำกัดพฤติกรรม เพื่อช่วยลดความโกรธและความกังวลและพยาบาลควรบอกถึงสาเหตุที่ต้องผูกยึดไว้และการยุติการผูกยึดให้ผู้ป่วยทราบทุกครั้ง
พยาบาลควรให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีจัดการกับอารมณ์ ความโกรธออกไปในทางที่เหมาะสม
นางสาว ศิริวรรณ วงศรีลา เลขที่26 ห้องA