Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:<3: การพยาบาลผู้คลอดที่ได้รับการชักนำการคลอดและเร่งคลอด :<3:,…
:<3:
การพยาบาลผู้คลอดที่ได้รับการชักนำการคลอดและเร่งคลอด
:<3:
:pencil2:
ความหมาย
การชักนำการคลอด
(induction of labor) คือ การช่วยให้หญิงตั้งครรภ์ที่ยังไม่มีอาการเจ็บครรภ์เกิดการเจ็บครรภ์คลอด โดยใช้วิธีต่างๆ ที่ไม่ใช่วิธีธรรมชาติ
การเร่งคลอด
(augmentation of labor) คือ การกระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดหลังจากที่มีอาการเจ็บครรภ์จริงตามธรรมชาติอยู่ก่อนแล้ว เพื่อให้มดลูกมีการหดรัดตัวที่ดีขึ้น
:check:
ข้อบ่งชี้ในการชักนำการคลอด
ทางอายุรกรรม
โรคทางอายุรกรรมที่มีการดำเนินโรคแย่ลงในขณะตั้งครรภ์ หรือหากตั้งครรภ์ต่อไปอาจทำให้เกิดอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์ และ/หรือต่อทารกในครรภ์ เช่น โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคความดันโลหิตสูง รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นมะเร็ง และต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เป็นต้น
ทางสูติกรรม
มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (severe preeclampsia) หรือมีภาวะชัก (eclampsia)
มีภาวะครรภ์เกินกำหนด (postterm pregnancy)
มีภาวะน้ำคร่ำน้อย (oligohydramnios)
มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (abruptio placenta)
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ที่อายุครรภ์เกิน 34 สัปดาห์ (premature rupture of membranes)
มีการติดเชื้อภายในถุงน้ำคร่ำ (chorioamnionitis)
ครรภ์แฝดที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 38 สัปดาห์ขึ้นไป (twin)
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (intrauterine growth restriction)
ทารกมีความพิการแต่กำเนิดที่ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้หลังคลอด (Congenital anomalies) เช่น Bart's hydrops fetalis, anencephaly เป็นต้น
ทารกเสียชีวิตในครรภ์ (dead fetus in utero)
:forbidden:
ข้อห้ามในการชักนำการคลอด
โดยเด็ดขาด
ภาวะรกเกาะต่ำ (placenta previa) หรือมีภาวะ vasa previa
มีการผิดสัดส่วนระหว่างทารกและช่องเชิงกราน (CPD)
ทารกอยู่ในท่าขวาง (transverse lie)
ภาวะสายสะดือย้อย (prolapsed cord)
เคยได้รับการผ่าตัดคลอดชนิด classical cesarean section หรือผ่าตัดมดลูก ที่แผลผ่าตัดเข้าถึงโพรงมดลูก หรือเคยมดลูกแตกมาก่อน (previous uterine rupture)
มะเร็งปากมดลูกชนิดลุกลาม
มีแผลโรคเริมที่อวัยวะสืบพันธุ์ (active genital herpes infection)
อนุโลมได้หากมีความจำเป็น
มีแผลผ่าตัดคลอดชนิด low transverse Cesarean section
ทารกมีส่วนนำเป็นก้น (frank breech presentation)
ส่วนนำของทารกยังไม่เข้าสู่อุ้งเชิงกราน
เป็นโรคหัวใจ
หัวใจทารกเต้นผิดปกติ (NST non-reactive) แต่ยังไม่มีภาวะฉุกเฉินที่ต้องรีบผ่าตัดคลอด
การตั้งครรภ์แฝดน้ำ (polyhydramnios)
:warning:
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการชักนำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอด
สภาพและความพร้อมของปากมดลูก
เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีผลต่อความสำเร็จในการซักนำการคลอด โดยก่อนที่จะชักนำการคลอดจะต้องมีการตรวจภายในเพื่อประเมินปากมดลูกและระดับส่วนนำของทารก โดยจะมีเกณฑ์การให้คะแนนตามระบบของ Bishop score
จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร
หญิงที่เคยตั้งครรภ์หรือเคยคลอดบุตรมาก่อน มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการชักนำการคลอดมากกว่าหญิงที่ตั้งครรภ์ครั้งแรก
อายุครรภ์
ความสำเร็จในการชักนำการคลอดจะแปรผันตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น ถ้าอายุครรภ์ใกล้ครบกำหนดมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการชักนำการคลอดมากกว่าการตั้งครรภ์อายุน้อย
ดัชนีมวลกาย (BMI)
หญิงตั้งครรภ์ที่มี BMI น้อยกว่า 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรมีโอกาสที่จะชักนำการคลอดประสบความสำเร็จได้มากกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มี BMI มากกว่า
น้ำหนักทารกในครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ที่ทารกในครรภ์ที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 3,500 กรัม มีโอกาสที่จะชักนำการคลอดประสบความสำเร็จมากกว่าในรายที่ทารกในครรภ์น้ำหนักมากกว่า 3,500 กรัม
ความยาวของปากมดลูก
ประเมินได้จากการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด (TVUS) โดยความยาวของปากมดลูกจะแปรผกผันกับโอกาสประสบความสำเร็จในการชักนำการคลอด
:star:
วิธีการชักนำการคลอด
ใช้หัตถการ
:explode:
การเซาะแยกถุงน้ำคร่ำ
(membranes stripping) เป็นการเลาะแยกถุงน้ำคร่ำออกจากปากมดลูกและผนังมดลูกส่วนล่าง กล้ามเนื้อมดลูกเกิดการหดรัดตัว และเข้าสู่กระบวนการเจ็บครรภ์คลอดตามธรรมชาติ มักจะทำไปพร้อมกับการตรวจภายใน
ภาวะแทรกซ้อน
อาจเกิดการติดเชื้อ หรือถุงน้ำคร่ำแตก ในรายที่มีภาวะรกเกาะต่ำ จะทำให้เกิดการตกเลือด หรือมีอาการเจ็บปวดมากขณะทำการเซาะแยกถุงน้ำคร่ำ
วิธีการ
สอดนิ้วผ่านปากมดลูกเข้าไปถึงผนังมดลูกส่วนล่าง จากนั้นทำการเซาะแยกถุงน้ำคร่ำออกจากปากมดลูกและผนังมดลูกส่วนล่าง ในกรณีปากมดลูกปิดทำการนวดปากมดลูกด้วยนิ้วชี้และนิ้วกลาง15-30 วินาที
:explode:
การเจาะถุงน้ำคร่ำ
(amniotomy หรือ artificial rupture of membranes [ARM]) เป็นการเจาะถุงน้ำคร่ำให้แตก ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกเกิดการหดรัดตัว และเข้าสู่การเจ็บครรภ์คลอดตามธรรมชาติ
วิธีการ
ให้ผู้คลอดนอนหงายชันเข่าและวางก้นบน bed pan เพื่อรองรับน้ำคร่ำ ผู้ที่จะทำการเจาะถุงน้ำคร่ำต้องสวมถุงมือ sterile ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ภายนอก ก่อนเจาะถุงน้ำคร่ำจะต้องประเมินการเปิดขยายและความบางของปากมดลูก ประเมินส่วนนำของทารก ขนาดของเชิงกราน คลำดูว่ามีเส้นเลือดของสายสะดือหรือของรกที่ทอดอยู่บนเยื่อหุ้มทารกหรือไม่ (vasa previa) และประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารก จากนั้นใช้นิ้วมือเซาะแยกถุงน้ำคร่ำออกจากปากมดลูกเพื่อให้น้ำคร่ำไหลมารวมกันบริเวณ fore water มากขึ้น
ภาวะแทรกซ้อน
เกิดการติดเชื้อ การคลอดแห้ง (dry labor) การบาดเจ็บบริเวณปากมดลูก ผนังมดลูกหรือที่ศีรษะทารก สายสะดือพลัดต่ำ หรือเจาะโดนเส้นเลือดของสายสะดือหรือของรกที่ทอดอยู่บนเยื่อหุ้มทารก (vasa previa) รกลอกตัวก่อนกำหนด และการเกิดภาวะ amniotic fuid embolism
ใช้ยา
Oxytocin
เป็นฮอร์โมนที่มี half-life ประมาณ 3-5 นาที มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวและทำให้ปากมดลูกเปิดขยาย
วิธีการให้ยา
Oxytocin 10 unit ในสารน้ำ cystalloid เช่น 5%D/NSS/2 หรือ Ringer lactate solution 1000 ml หยดเข้าทางหลอดเลือดดำ หลังจากได้รับยา 35 นาที มดลูกจะเริ่มมีการตอบสนองต่อ oxytocin ซึ่งการตอบสนองต่อ oxytocin ของผู้คลอดแต่ละรายจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการเปิดขยายของปากมดลูก อายุครรภ์ ประวัติการคลอดบุตร ความถี่ ความแรงในการหดรัดตัวของมดลูกก่อนที่จะเริ่มให้ยา และปัจจัยทางชีวภาพของหญิงตั้งครรภ์แต่ละราย ยาจะมีระดับคงที่ในกระแสเลือดภายในเวลา 40 นาที
การบริหารยา
ส่วนใหญ่จะมีวิธีการให้ 2 แบบคือ ให้ในขนาดต่ำ (low dose) จะเริ่มตันให้ 0.5-2 มิลลิยูนิต/นาที หรือให้ในขนาดสูง (high dose) จะเริ่มต้นให้ 4-6 มิลลิ-ยูนิต/นาที ซึ่งการให้ยาทั้ง 2 แบบสามารถปรับยาเพิ่มขึ้นได้ทุก 15-30 นาที ปรับไปจนมดลูกหดรัดตัวดีและสม่ำเสมอ
ภาวะแทรกซ้อน
มดลูกหดรัดตัวตลอดเวลา (tetanic contraction) ส่งผลให้ทารกในครรภ์จะเกิดภาวะขาดออกซิเจนและเสียชีวิตได้
น้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือด (amniotic fluid embolism) เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวรุนแรง ทำให้ความดันในโพรงมดลูกสูงมาก ซึ่งจะดันให้น้ำคร่ำผ่านเข้าไปในกระแสเลือดของมารดา ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายและมารดาอาจเสียชีวิตได้หากให้การช่วยเหลือไม่ทัน
มดลูกแตก (uterine rupture) พบได้ในผู้คลอดที่มีสิ่งกีดขวางช่องทางคลอด หรือในผู้คลอดที่มีแผลผ่าตัดที่มดลูกมาก่อน
ภาวะความดันโลหิตต่ำชั่วคราว (hypotension) ในรายที่ได้รับยาในขนาดน้อยแต่ใด้รับอย่างรวดเร็ว อาจเกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบที่ผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย ทำให้ความดันโลหิตลดลงและหัวใจเต้นเร็วขึ้น
ภาวะน้ำเกิน (water intoxication) ในรายที่ได้รับยาในขนาดที่สูงมากและให้เป็นเวลานานจะเกิดผลข้างเคียงของยา คือ ปัสสาวะออกน้อยเนื่องจากการดูดกลับน้ำของไตเพิ่มมากขึ้น จนอาจทำให้เกิดอาการชัก หมดสติ และเสียชีวิต
ตกเลือดหลังคลอด (PPH) เป็นผลมาจากกล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวมากเกินไป จนเกิดการอ่อนล้าหมดแรงในการหดรัดตัวในระยะหลังคลอด
Prostaglanins
มีฤทธิ์ทำให้ปากมดลูกพร้อมสำหรับการคลอด และกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
Prostagladin E1 (PGE1)
ที่มีใช้ในปัจจุบัน คือ Misoprosol หรือ Cytotec มีขนาด 100 และ 200 ไมโครกรัม ซึ่ง PGE1 มีราคาถูกและประสิทธิภาพในการชักนำการคลอดดีกว่าเมื่อเทียบกับ PGE2 การบริหารยาใช้ได้ทั้งแบบรับประทาน อมใต้ลิ้น เหน็บทางช่องคลอดหรือทวารหนัก ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้รับประทานในขนาด 25 ไมโครกรัมทุก 2 ชั่วโมง หรือเหน็บทางช่องคลอดในขนาด 25 ไมโครกรัม ทุก 6 ชั่วโมง
Prostagladin E2 (PGE2)
หรือ dinoprostone ออกฤทธิ์ทำให้ปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่กระบวนการเจ็บครรภ์คลอด และกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกไวต่อฮอร์โมน Oxytocin มากขึ้น
Intracervical gel (Prepidil)
บรรจุอยู่ในหลอดสำหรับฉีดเข้าไปใน endocervical canal ขนาด 0.5 มิลลิกรัมต่อเจล 2.5 มิลลิลิตร หลังให้ยาต้องนอนราบอย่างน้อย 30 นาที สามารถให้ช้ำได้ทุก 6 ชั่วโมง ขนาดที่ให้ได้สูงสุดคือ 3 ครั้งใน 24 ชั่วโมง โดยยาจะต้องเก็บไว้ในตู้เย็นและควรนำมาไว้ที่อุณหภูมิห้องก่อนนำมาใช้ประมาณ 30 นาที
Intravaginal gel (Prostin)
บรรจุเป็นเม็ด ขนาดเม็ดละ 1 และ 2 มิลลิกรัม ใช้เหน็บในช่องคลอดบริเวณ posterior fornix สามารถเหน็บซ้ำได้ทุก 6 ชั่วโมง
Controlled-released vaginal insertion (Cevidil)
บรรจุอยู่ในถุงที่ทำมาจากโพลิเมอร์ ลักษณะบางๆ แบนๆ และมีหางยาวออกมาเพื่อสำหรับสอดใส่และถอดออกจากช่องคลอด แต่ละถุงจะมี PGE2 อยู่ถุงละ 10 mg ใช้เหน็บในช่องคลอดบริเวณ posterior fornix จากนั้น PGE2 จะค่อยๆ ถูกปล่อยออกมาจากถุง หมดภายใน 12 ชั่วโมง ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารหล่อลื่นขณะสอดใส่เพราะอาจขัดขวางการปล่อยยา หลังเหน็บให้นอนหงายราบอย่างน้อย 2 ชั่วโมง และเมื่อครบ 12 ชั่วโมงแล้วให้ถอดออก หรือถอดออกเมื่อมี true labor pain
:tangerine:
การพยาบาลผู้คลอดที่ได้รับการชักนำการคลอดและเร่งคลอด
ดูแลผู้คลอดที่อยู่ในระยะรอคลอด โดยติดตาม ประเมินความก้าวหน้าของการคลอด การหดรัดตัวของมดลูก ประเมินสี กลิ่น และลักษณะของน้ำคร่ำ และติดตามประเมินสภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด
ให้การพยาบาลเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดและความไม่สุขสบายของผู้คลอด
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษาของแพทย์
จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้คลอดพักผ่อนให้เพียงพอ
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
ใช้หัตถการ
เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ให้พร้อมใช้งาน
อธิบายให้ผู้คลอดเข้าใจถึงความจำเป็นที่ต้องทำหัตถการ ขั้นตอนการทำหัตถการ การปฏิบัติตัวก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำหัตถการ
อยู่เป็นเพื่อนขณะทำหัตถการ
กรณีชักนำการคลอดโดยการเซาะแยกถุงน้ำคร่ำ ขณะทำแนะนำให้ผู้คลอดหายใจเข้าลึกๆ ไม่เกร็งขณะที่ทำการเซะแยกถุงน้ำคร่ำ หลังทำแนะนำให้ผู้คลอดสังเกตอาการที่อาจเกิดขึ้นภายหลังทำ
กรณีชักนำการคลอดโดยการเจาะถุงน้ำคร่ำ ขณะทำให้นอนหงายชันเข่า ฟังเสียงหัวใจทารกก่อนเจาะ หลังทำการเจาะให้ประเมินเสียงหัวใจทารกทันที ประเมินลักษณะ สี ปริมาณของน้ำคร่ำ การหดรัดตัวของมดลูก และดูแลให้นอนพักบนเตียง เลี่ยงการลุกเดิน ให้ผู้คลอดเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกครั้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และประเมินภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
ใช้ยา
อธิบายให้ผู้คลอดเข้าใจขั้นตอนการใช้ยา การปฏิบัติตัว การให้ความร่วมมือ และเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา ตามหลัก 6R
กรณีใช้ Oxytocin ให้ประเมินเสียงหัวใจทารกทุก 30-60 นาที ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกทุก 15-30 นาที ประเมินอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ให้ผู้ป่วยได้รับยาจนถึงระยะที่ 4 ของการคลอด ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่าง และติดตามปริมาณน้ำเข้าและออกจากร่างกาย
กรณีใช้ Prostaglandins หลังเหน็บยาจะต้องนอนยกก้นสูงอย่างน้อย 30 นาที ในกลุ่ม PGE1 ส่วนถ้านอนหงายจะใช้กับ PGE2 จากนั้นประเมินการหดรัดตัวของมดลูก เสียงหัวใจทารก อาการผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่างและตรวจภายในเพื่อประเมินความก้าวหน้าของการคลอด
นางสาวตุลยดา สิงห์รัมย์ รหัสนิสิต 62010053 กลุ่ม 03 เลขที่ 16