Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม (ต่อ) - Coggle…
การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม (ต่อ)
ผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว (Aggression)
:star:
ลักษณะของผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
พฤติกรรมก้าวร้าวทางคำพูด :
ใช้คำพูดตำหนิ ติเตียน วิพากษ์วิจารณ์ พูดในแง่ร้าย เสียงดัง ขู่ตะคอก เอะอะอาละวาด วางอำนาจ วาจาหยาบคาย
พฤติกรรมก้าวร้าวแสดงออกทางร่างกาย :
มีสีหน้าบึ้งตึงแววตาไม่เป็นมิตร ท่าทางไม่พอใจ กระวนกระวาย อยู่ไม่นิ่ง ไม่สนใจเรื่องการกินการนอน การขับถ่าย แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ
พฤติกรรมก้าวร้าวทำลายสิ่งของ
ได้แก่ ทุบทำลายสิ่งของเครื่องใช้ ทุบกระจกจุดไฟเผา ปิดประตูเสียงดัง
พฤติกรรมก้าวร้าวทำร้ายคนอื่น
หาเรื่องวิวาททำร้าย และละเมิดสิทธิผู้อื่น โดยการกัด การตี การผลัก และการใช้อาวุธทำร้ายคนอื่นให้ได้รับบาดเจ็บ
พฤติกรรมก้าวร้าวทำร้ายตนเอง
เช่น การหยิกข่วนตนเอง การใช้มีดกรีดข้อมือตนเอง การดึงผม จุดไฟเผาตนเอง การฆ่าตัวตาย เป็นต้น
สาเหตุ
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ (Biological factors)
ระดับความผิดปกติของสารเคมีในสมอง เช่น serotonin, dopamine และ norepinephrine เพิ่มหรือลดลง การได้รับอุบัติเหตุทางศีรษะ และ การมีเนื้องอกที่สมอง เป็นต้น
การเจ็บป่วยด้วยโรคทางร่างกาย เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคสมองเสื่อม เป็นต้น
ปัจจัยทางด้านจิตสังคม (Psychosocial factors)
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
ความก้าวร้าวเป็นสัญชาตญาณหนึ่งของมนุษย์ที่แสดงออกของความโกรธ ซึ่งถ้าหันความโกรธเข้าสู่ตนเองจะส่งผลให้บุคคลดังกล่าวมีอารมณ์เศร้าได้
ทฤษฎีทางด้านจิตวิทยา
พฤติกรรมก้าวร้าวเกิดจากการไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน อาจจะเป็นสาเหตุให้บุคคลตอบสนองไปในวิธีการก้าวร้าว
ทฤษฎีทางด้านสังคมวิทยา
เด็กที่มีประวัติถูกทำร้ายร่างกาย ประวัติการถูกล่วงเกินทางเพศ การถูกทอดทิ้งในวัยเด็ก และการที่พ่อแม่มีพฤติกรรมที่รุนแรง จากการศึกษาพบว่าเด็กจะมีพัฒนาการพฤติกรรมรุนแรงเกิดขึ้นได้
การถือแบบอย่าง
เด็กจะลอกเลียนแบบการแสดงความโกรธจากพ่อแม่หรือบุคคลสำคัญในชีวิตของเขา หรือ เด็กที่ดูสื่อ เช่น วิดีโอ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ อินเตอร์เนต ทำให้เด็กมีพฤติกรรมรุนแรงเป็นปัจจัยเสริมให้เด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวในเวลาต่อมา
วิธีการบำบัดทางการพยาบาล
การประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
ประวัติการมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของบุคคลนั้น
การได้รับการวินิจการเจ็บป่วยของบุคคลนั้น เช่น โรคจิตเภท การติดสารเสพติด เป็นต้น
พฤติกรรมในปัจจุบันของบุคคลนั้น เช่น มีความก้าวร้าวมากน้อยในระดับใด สังเกตได้จาก
ด้านคำพูด เช่น พูดจาถากถางผู้อื่น พูดคุกคามผู้อื่น พูดมาก พูดเสียงดัง ตะโกนเสียงดัง มีคำพูดแสดงถึงความกลัว เป็นต้น
ด้านพฤติกรรม เช่น ขบกราม หน้านิ่วคิ้วขมวด จ้องมองด้วยความโกรธ หน้าแดงท่าทางระมัดระวังตัวเองสูง เป็นต้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงที่จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงเนื่องจากมีประวัติพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
มีพฤติกรรมทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นเนื่องจากมีประวัติพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
มีพฤติกรรมหงุดหงิดก้าวร้าวไม่เหมาะสมเนื่องจากขาดทักษะการควบคุมอารมณ์
การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกไว้วางใจ รู้สึกปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
ฟังอย่างตั้งใจ เปิดโอกาสให้ได้พูดระบายถึง ความรู้สึกไม่พอใจออกมา รับฟังโดยไม่ขัดจังหวะ
เมื่อความโกรธลดลงให้บุคคลนั้นสำรวจถึงสาเหตุที่ทำให้รู้สึกโกรธ ไม่พอใจ
จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการออกแรงเพื่อปลดปล่อยพลังงานจากความกดดัน ความโกรธ เช่น ดนตรี ออกกำลังกาย (การชกกระสอบทราย)
ให้คำแนะนำถึงวิธีการจัดการกับความโกรธในทางที่เหมาะสม