Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหลอดเลือดหัวใจ Coronary Artery Disease: CAD /Coronary Heart Disease:…
โรคหลอดเลือดหัวใจ
Coronary Artery Disease: CAD
/Coronary Heart Disease: CHD)
ความหมาย
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD/Coronary Heart Disease: CHD)
คือโรคที่เกิดจากการเกาะของคราบไขมัน (Plaque) ภายในผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นการสะสมของคอเลสเตอรอลและสารต่าง ๆ ภายในหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดตีบและอุดตันจนปิดกั้นการไหลเวียนของกระแสเลือด ผู้ป่วยจึงมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจติดขัด หรือรุนแรงถึงขั้นหัวใจวาย หากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้
สาเหตุ
โรคหลอดเลือดหัวใจมีสาเหตุจากการรวมตัวกันของไขมันที่ผนังภายในหลอดเลือดหัวใจ โดยก้อนไขมันนี้เกิดจากคอเลสเตอรอลและของเสียอื่น ๆ และมีชื่อว่าอเธอโรมา (Atheroma) การเกาะตัวกันของก้อนไขมันทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวหรือกระบวนการที่เรียกว่าอะเทอโรสเคลอโรซิส (Atherosclerosis) รวมถึงการขัดขวางทางเดินของเลือด ร่างกายจึงไม่สามารถส่งเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดกระบวนการเหล่านี้ ได้แก่
คอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัวในอาหารที่มีความจำเป็นต่อเซลล์ในร่างกาย แต่คอเลสเตอรอลในกระแสเลือดที่มากเกินไปอาจก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ คอเลสเตอรอลแบ่งออกเป็นหลายประเภท แต่มี 2 ประเภทที่สำคัญ คือ
LDL หรือ “ไขมันร้าย” ไขมันร้าย LDL คือตัวการปิดกั้นหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจ
HDL หรือ “ไขมันดี” ทำหน้าที่นำไขมันร้ายออกจากเซลล์ต่าง ๆ และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงส่งผลให้หัวใจทำงานหนักจนเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งอาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ
การสูบบุหรี่ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจคือการสูบบุหรี่ ซึ่งส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจมากถึง 24% สารนิโคตินและก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ในควันบุหรี่ส่งผลให้หัวใจเกิดความเครียด มีอัตราการเต้นที่เร็วขึ้นในขณะพัก ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงให้เลือดจับตัวกันเป็นลิ่มหรือก้อนอีกด้วย
ภาวะหลอดเลือดอุดตัน (Thrombosis) คือการที่เลือดจับตัวกันเป็นลิ่มหรือก้อนในเส้นเลือดใหญ่หรือหลอดเลือด มักเกิดขึ้นบริเวณเดิม ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการอะเทอโรสเคลอโรซิส (Atherosclerosis) หากภาวะนี้เกิดขึ้นในหลอดเลือดหัวใจจะทำให้หลอดเลือดตีบและขัดขวางการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจในการสำรองเลือดได้ จึงอาจส่งผลต่อภาวะหัวใจวาย
การรักษา
การรักษาด้วยยา
โรคหลอดเลือดหัวใจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีวิธีจัดการเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
หากอาการไม่ดีขึ้นผู้ป่วยอาจต้องรับการรักษาโดยการใช้ยา ซึ่งมีหน้าที่ลดความดันโลหิตหรือขยายหลอดเลือดเพื่อให้การไหลเวียนและการสูบฉีดเลือดในหัวใจดีขึ้น ยาบางชนิดอาจส่งผลข้างเคียงจึงควรพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง ทั้งนี้ ผู้ป่วยไม่ควรหยุดใช้ยาหากไม่ได้รับการยืนยันจากแพทย์ เนื่องจากอาจทำให้อาการของผู้ป่วยแย่ลงได้ ยาที่ใช้มีตัวอย่างเช่น
กลุ่มยาคอเลสเตอรอล ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด โดยเฉพาะในส่วนของไขมันร้ายหรือ LDL ซึ่งมักจับตัวสะสมในหลอดเลือดหัวใจ
ยาต้านเกล็ดเลือด
ยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ ใช้รักษาความดันโลหิตสูงและป้องกันอาการเจ็บหน้าอก โดยการปิดกั้นฮอร์โมน
ในร่างกาย ซึ่งช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ
และความดันโลหิต ฟื้นฟูการไหลเวียนของเลือด
และลดความเสี่ยงของภาวะหัวใจวายเช่นกัน
ยาขยายหลอดเลือด มีทั้งในรูปแบบเม็ด สเปรย์ หรือแผ่นสำหรับติดบริเวณผิวหนัง ยาประเภทนี้ทำหน้าที่ลดความดันโลหิตและอาการปวดบริเวณหัวใจ
แต่อาจทำให้ปวดหัวและมึนงงได้
ยาปิดกั้นแคลเซียม ใช้ในการลดความดันโลหิตโดยการสร้างความผ่อนคลายให้กับกล้ามเนื้อของผนังหลอดเลือด จึงทำให้หลอดเลือดกว้างขึ้น
แต่อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว
ยาขับปัสสาวะ ช่วยขับน้ำและ
เกลือส่วนเกินออกจากร่างกายผ่านปัสสาวะ
การรักษาด้วยตนเอง
งดสูบบุหรี่
ลดนำ้หนักส่วนเกิน
ควบคุมความเครียด
หลีกเลี่ยงเอาหารสำเร็จรูปและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีไขมันต่ำหรือน้ำตาลน้อยเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเอง
ภาวะแทรกซ้อน
โรคหลอดเลือดหัวใจอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อไปนี้
เจ็บหน้าอก การอุดตันของหลอดเลือดทำให้เลือดไม่สูบฉีดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะขณะออกกำลังกายหรือกิจกรรมที่หัวใจต้องทำงานหนัก จึงทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกขึ้น
หัวใจวาย การสะสมของคราบไขมันและลิ่มเลือดคือสาเหตุของหลอดเลือดอุดตัน ซึ่งทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายจึงไม่สามารถส่งเลือดไปยังหัวใจและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ
หัวใจล้มเหลว หากผู้ป่วยมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจวายตายจากการขาดเลือด หัวใจจะไม่สามารถสูบฉีดเลือดตามความต้องการของร่างกายได้ ส่งผลให้น้ำท่วมปอด หายใจติดขัด จนทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวขึ้น
หัวใจเต้นผิดจังหวะ คนปกติมีอัตราการเต้นของหัวใจ 60–100 ครั้งต่อนาที แต่เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย คลื่นไฟฟ้าของหัวใจจะทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจมีอัตราการเต้นช้าลง (Bradycardia) เร็วขึ้น (Tachycardia) หรือสั่นพลิ้ว (Fibrillation) ได้ ความผิดปกติของอัตราการเต้นหัวใจอาจทำให้เกิดการเสียชีวิตทันที เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างเหมาะสม
การพยาบาล
1.งดการสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในบุหรี่จะไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด กระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ปริมาณของออกซิเจนในเลือดลดลง และทำลายผนังหลอดเลือดอีกด้วย ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้
2.งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ แต่หากไม่สามารถงดได้ ควรควบคุมปริมาณในการดื่มให้เหมาะสม (ไม่เกินสัปดาห์ละ 14 แก้ว) และไม่ควรดื่มอย่างต่อเนื่อง เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหัวใจวายได้
3.กำจัดความเครียด ซึ่งวิธีการกำจัดความเครียดที่ดีที่สุด คือ วิธีที่ตนเองชอบและพึงพอใจ เช่น การเจริญสมาธิ การออกกำลังกาย การฝึกโยคะ การรำมวยจีน
การทำงานจิตอาสา การทำงานอดิเรก
การฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและการหายใจ ฯลฯ
4.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพและเพิ่มกิจกรรมทางกายให้มากขึ้น
5.ปรับเปลี่ยนพติกรรมการรับประทานอาหาร โดยเน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างหลากหลายและครบ 5 หมู่ เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนัก ความดันโลหิต และคอเลสเตอรอล
6.ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (ดัชนีมวลกาย 18.5-23 กิโลกรัม/ตารางเมตร)
7.ควบคุมโรคต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง (โรคเบาหวาน ความดันโลหิต ไขมันในเลือดสูง และโรคอ้วน) ให้ได้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมถึงรักษาสุขอนามัยพื้นฐานตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพจิตที่ดี
8.ตรวจสุขภาพเป็นประจำ ในคนทั่วไปที่ยังไม่มีอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์ทั่วไปเพื่อตรวจสุขภาพประจำปีอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มตั้งแต่อายุ 18-20 ปี เพื่อรักษาสุขภาพหัวใจและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจที่อาจจะเกิดขึ้น
อาการและอาการแสดง
เจ็บบริเวณหัวใจ (Chest pain) โดยมีความรู้สึกเจ็บเหมือนถูกบีบรัดบริเวณ หน้าอก มีอาการเจ็บหนักๆ อาจรู้สึกเหมือนมีแก๊สจุกบริเวณยอดอก ตำแหน่งที่ เจ็บจะอยู่ลึกใต้กระดูกค่อนไปข้างซ้าย มักจะร้าวไปตามไหล่ซ้ายและต้นแขน หรือ อาจร้าวไปตามแขนซ้าย ถึงข้อศอก ข้อมือ นิ้วก้อย และนิ้วนาง รวมทั้งต้นคอ กราม ระยะเวลาปวดมักจะสั้นๆ มีอาการอยู่ไม่เกิน 5 นาที ถ้ามีอาการภายหลัง รับประทานอาหารมื้อหลักหรือโกรธจัด อาจมีอาการอยู่นานถึง 15-20 นาที ถ้า - ทำกิจกรรมต่อไปอาการเจ็บหน้าอกจะรุนแรงขึ้น จะหายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน เมื่อยล้า เหงื่อออก ขีด อ่อนเพลีย เป็นลม หรือมีความ แตก รู้สึกกลัวตาย
การวิฉัยโรค
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ ได้แก่
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram)
การถ่ายภาพรังสีของทรวงอก (chest X-ray)
การตรวจระดับเอนไซม์กล้ามเนื้อหัวใจในเลือด
(cardiac enzyme test)
การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย
(exercise stress test)
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (echocardiogram)
การตรวจวินิจฉัยโรคของหลอดเลือดหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (computed tomographic angiography)
การสวนหัวใจหรือการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ (cardiac catheterization or coronary angiogram)
การตรวจร่างกายและการซักประวัติ เช่น ประวัติในครอบครัว ประวัติการสูบบุหรี่ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย โรคประจำตัว เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ทราบว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจหรือไม่
พยาธิสรีรภาพ
ผนังหลอดเลือด ทำให้รูของหลอดเลือดแดงโคโรนารีตีบแคบ ต่อมาจะมีการสะสมของทั้งไขมันและแคลเซียมยิ่งทำให้เซลล์แบ่งตัวมากขึ้นในที่สุดหลอดเลือด
จะตีบแข็ง ขาดความยืดหยุ่น และฉีกขาดง่าย เมื่อไรก็ตามที่มีการฉีกขาดของหลอด เลือด เกล็ดเลือดจะมาจับกันเป็นก้อนลิ่มเลือดก็จะยิ่งทำให้รูของหลอดเลือดตีบแคบ และอาจอุดตันได้ เมื่อมีการอุดตันของหลอดเลือดบางส่วนหรือทั้งหมด จะส่งผลให้ เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงเกิดเมตาบอลิซึมแบบไม่ใช้ ออกซิเจนและผลิตกรดแลคติกออกมา
ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเจ็บหน้าอก (Chest pain หรือ Angina) และกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ภาวะหลอดเลือดแดงตีบแข็งเกิดจากการตอบส ต่อปัจจัยต่างๆ เช่น การได้รับสารเคมี ฮอร์โมน ภูมิคุ้มกันโรค ไฮโดรคา จากการสูบบุหรี่ คอเลสเตอรอล แคทโคลามีน แองจิโอเทนซิน มีความดัน สูง ทำให้ผนังชั้นในของหลอดเลือดบางลง สารต่างๆ สามารถซึมผ่านเยื่อ หลอดเลือดได้ง่ายขึ้น
ผลกระทบ
เมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบจะทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจให้ทำงานได้อย่างปกติ การที่เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจได้อย่างปกตินั้น ก่อให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งจะมีอาการเจ็บหน้าอก ผู้ป่วยจึงมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจติดขัด หรือรุนแรงถึงขั้นหัวใจวาย หากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้