Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การซักประวัติหญิงตั้งครรภ์ G3P1-0-1-1 GA7+1 by date - Coggle Diagram
การซักประวัติหญิงตั้งครรภ์
G3P1-0-1-1 GA7+1 by date
11 แบบแผนกอร์ดอน
1.รับรู้และการดูแลสุขภาพ หญิงไทยวัยเจริญพันธุ์ ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ และมีการดูแลตนเองดี
2.โภชนาการและการเผาผลาญ รับประทานอาหารได้ปกติ รับประทานวันละ 3 มื้อ ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน
3.การขับถ่าย การขับถ่ายปกติ ปัสสาวะวันละ4-5ครั้ง/วัน ไม่มีแสบขัด ไม่มีท้องอืด ไม่มีท้องผูก อุจจาระวันละ 1-2 ครั้ง
4.การออกกำลังกาย ก่อนและขณะตั้งครรภ์ไม่ได้ออกกำลังกาย
5.การพักผ่อนนอนหลับ นอนวันละ 8 ชั่วโมง 21.0-05.00น. ไม่มีตื่นกลางดึก
6.สติปัญญาและการรับรู้ รู้สึกตัวรู้เรื่องดี รับรู้วันเวลาสถานที่ ระดับการรู้สึกตัวปกติ ประสาทการรับรู้ปกติ มีความเข้าใจในคำแนะนำของพยาบาลและปฏิบัติตามได้
7.อัตมโนทัศน์ หญิงตั้งครรภ์รับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของตนเองด้านร่างกาย และด้านอารมณ์
8.บทบาทและสัมพันธภาพ หญิงตั้งครรภ์อาศัยอยู่กับสามี มีสัมพันธภาพที่ดี
9.เพศและการเจริญพันธุ์ เคยเป็นซิฟิลิสที่อวัยวะเพศเมื่อปี2562ปัจจุบันรักษาหายแล้ว ไม่ได้คุมกำเนิด
10.การเผชิญความเครียด สามารถจัดการความเครียดได้ ด้วยการฟังเพลง ระบายและปรึกษากับคนที่ไว้ใจ
11.คุณค่าและความเชื่อ การรักษาของแพทย์ไม่ขัดต่อความเชื่อของหญิงตั้งครรภ์
สรุป
จากการซักประวัติตามแบบแผนสุขภาพกอร์ดอน พบว่ามารดาไม่มีปัญหา
ข้อมูลส่วนบุคคล
หญิงตั้งครรภ์ สัญชาติไทย อายุ 43ปี 1เดือน 16วัน
G3P1-0-1-1 LMP 09 มกราคม 2565 x 2 day
EDC by date 16 ตุลาคม 2565 GA7 +1 wks, by date ฝากครรภ์ครั้งแรก วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ที่โรงพยาบาลตำรวจ น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ 60.0 kg. ส่วนสูง 153 cm. BMI 25.63 kg/m 2 น้ำหนักปัจจุบัน 59.9 kg. ส่วนสูง 153 cm.
ประวัติการเจ็บป่วย ปฏิเสธการเจ็บป่วย
ประวัติครอบครัว ปฏิเสธการเจ็บป่วย
ประวัติการแพ้ ปฏิเสธการแพ้
ประวัติการตั้งครรภ์
G1 2546 FT NL เพศชาย น้ำหนัก2800kg. รพ.จุฬา
G2 2563 ~2 เดือน Spontaneous abortion ไม่ได้ขูดมดลูก รพ.สุโขทัย
ประวัติการรับวัคซีนบาดทะยัก -
ผลทางห้องปฏิบัติการ
28/02/2565
Complete blood count
Hb 12.4 g/dL (เกณฑ์ปกติ>11g/dL)
Hct 37.6 (เกณฑ์ปกติ>33%)
ไม่มีภาวะซีด
Hb E screening (DCIP) Negative (เกณฑ์ปกติ Negative) ไม่เป็นThalassemia สามีไม่ต้องมาตรวจด้วย
Urinalysis
Glucose(UA) Negative (เกณฑ์ปกติ Negative)
Albumin(UA) Negative (เกณฑ์ปกติ Negative)
RBC (UA)0-1/HPF (เกณฑ์ปกติ0-5/HPF)
WBC(UA) 5-10/HPF (เกณฑ์ปกติ0-5/HPF)
Mucous Trac (เกณฑ์ปกติNot found)พบmucous เล็กน้อย
Bacteria Few (เกณฑ์ปกติNot Found) พบbacteria เล็กน้อย
อาจมีการปนเปื้อนขณะเก็บปัสสาวะ หรือ ล้างทำความสะอาดไม่ดีทำให้พบWBC Mocous Bacteria ได้
หญิงตั้งครรภ์มีปัจจัยเรื่องอายุ จึงต้องคัดกรองเบาหวาน ใช้วิธี 50 grams glucose challenge testหลังจากนั้นจึงทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ได้ 174 mg/dL (เกณฑ์ปกติ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 140 mg/dL มีโอกาสเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
วินิจฉัยการตั้งครรภ์
ตามทฤษฎี
Presumptive sign (คาดว่า/สงสัย) : ขาดประจำเดือน, คลื่นไส้, อาเจียน, ถ่ายปัสสาวะบ่อย, เหนื่อยล้า, รู้สึกลูกดิ้นครั้งแรก, การเปลี่ยนแปลงของเต้านม, การเปลี่ยนแปลงของสีผิดและรอยแตกของผิวหนัง
Probable sign (อาจจะ) : หน้าท้องโตขึ้น, การหดรัดตัวของมดลูก (braxton hicks contraction), มดลูกนิ่มขึ้น (Hegar’s sign), ปากมดลูกนิ่ม (goodell’s sign), การขยับคลอนทารก (ballotment), คลำขอบเขตทารกได้, ผล UPT : positive
Positive sign (แน่นอน) : ได้ยินเสียงหัวใจทารก, เห็นการเคลื่อนไหวและคลำส่วนต่างๆของทารกได้, เห็นทารกผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound)
ข้อมูลผู้ป่วย
Presumptive sign (คาดว่า/สงสัย) : ขาดประจำเดือน~7วัน
Probable sign (อาจจะ) : ผลUPT (28/02/2565) ผลเป็นPositive
Positive sign (แน่นอน) : -
คำแนะนำ
การฝากครรภ์
มารดาควรมาตามนัดแพทย์ทุกครั้งเพื่อติดตามอาการของมารดาและลูกในครรภ์ดังนี้
วันที่ 7 มีนาคม มาตรวจOGTT โดยเตรียมตัวก่อนมารพ.ดังนี้ งดอาหารก่อนวันตรวจเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 14 ชั่วโมงและก่อนการตรวจให้สตรีตั้งครรภ์รับประทานอาหารตามปกติที่เคยรับประทานอยู่โดยไม่ต้องจำกัดปริมาณอาหารโดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรตเป็นเวลา 3 วันก่อนวันนัดตรวจ ปริมาณคาร์โบไฮเดรตควรมากกว่า 150 กรัมต่อวัน และไม่จำกัดการออกกำลังกาย การที่สตรีตั้งครรภ์รับประทานอาหารให้น้อยลง (ซึ่งอาจเกิดจากความวิตกกังวลว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงเกินไปในวันตรวจ) จะส่งผลให้ร่างกายมีการตอบสนองเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำตาลให้มากขึ้นและทำให้การตรวจ OGTT ได้ผลคลาดเคลื่อน
มาตามนัดเพื่อทำ u/s เพื่อดูว่าอายุครรภ์สัมพันธ์กับขนาดหน้าท้อง GA และby date หรือไม่ และเพื่อเตรียมทำการเจาะน้ำคร่ำ
ซึ่งแพทย์และพยาบาลจะให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวต่างๆที่ถูกต้องขณะตั้งครรภ์และช่วยวินิจฉัยโรคขณะตั้งครรภ์ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
โภชนาการ
ก่อนตั้งครรภ์มารดามีน้ำหนักอยู่ที่ 60.0 กิโลกรัม ส่วนสูง 153 เซนติเมตร BMI 25.63 kg/m2 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกิน ดังนั้นตลอดการตั้งครรภ์น้ำหนักของมารดาควรจะเพิ่มขึ้นในช่วง 7-11.5 กิโลกรัมหรือสัปดาห์ละ 0.28 กิโลกรัมซึ่งปัจจุบันมารดามีน้ำหนัก 59.9 กิโลกรัม ส่วนสูง 153 แนะนำให้มารดารับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่ควรรับประทานอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน ควรเน้นโปรตีน ผัก ผลไม้ อาหารที่มีกากใยสูง ธาตุเหล็กมีในตับ เครื่องใน ไข่แดง ผักใบเขียว และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัดเพราะจะส่งผลให้หัวใจและไตทำงานหนักขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัดเพราะทำให้ตับอ่อนทำงานหนักผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลมากขึ้นอีกทั้งยังทำให้มารดามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกด้วยอีกทั้งหลีกเลี่ยงอาหารเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด เพราะจะทำให้ระคายเคืองกะระเพาะอาหาร ทำให้ท้องอืด หรือ ท้องเสียได้ หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนให้รับประทานเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่ายโดยอาจจะแบ่งเป็นรับประทานวันละ 4-6 มื้อ รับประทานมื้อละเล็กน้อย
ฉีดวัคซีนบาดทะยัก
แนะนำให้มารดาฉีดวัคซีนบาดทะยักเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อบาดทะยัด เข็มที่1 อายุครรภ์ 12 อาทิตย์ เข็มที่2 ห่างกัน 1 เดือนและเข็มที่3 ห่างจากเข็ม 2 6เดือน
การมีเพศสัมพันธ์
ไม่มีข้อห้ามในการมีเพศสัมพันธ์ สามารถมีได้จนถึง 4 สัปดาห์ก่อนคลอด เว้นแต่มีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกขณะตั้งครรภ์ และต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
อาการสำคัญที่ควรมาพบแพทย์
มีเลือดออกทางช่องคลอด ปวดท้องน้อยเป็นพักๆ และ ปัสสาวะแล้วรู้สึกแสบขัด
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
แนะนำให้มารดาดูแลรักษาความสะอาดบริเวณช่องคลอด ทุกครั้งหลังการขับถ่าย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ให้มารดาทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าและซับให้แห้งไม่ให้อับชื้น ไม่ควรจุ่มตัวลงไปอาบน้ำในแม่น้ำลำคลองหรือนอนอาบในอ่างอาบน้ำ ทั้งนี้เพื่อกันไม่ให้น้ำสกปรกแทรกซึมเข้าไปในช่องคลอดทำให้เกิดการอักเสบได้และไม่ควรล้างเข้าไปภายในช่องคลอด แนะนำให้คุณแม่สังเกตลักษณะตกขาวว่ามีสีหรือกลิ่นที่ผิดปกติหรือไม่ เพราะจะแสดงถึงภาวะที่ร่างกายติดเชื้อได้ และแนะนำให้ใส่กางเกงชั้นในและกางเกงที่ระบายอากาศได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย เป็นต้น
คำแนะนำการปฏิบัติตัวในการเจาะน้ำคร่ำ
ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวและการพยาบาลหลังทำหัตถการเจาะน้ำคร่ำ
1.ให้มารดานอนราบหรือนอนตะแคง พักบนเตียงนาน 30 นาที ( หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนให้นอนตะแคง สังเกตอาการฟังเสียงหัวใจทารกเป็นระยะ หากทารกมีภาวะอาการ Fetal distress รายงานแพทย์ทันที
2.เฝ้าระวังสังเกตมารดาว่ามีอาการหดเกร็งของมดลูกถี่ขึ้น / มีเลือดออกทางช่องคลอดหรือไม่ รายงานแพทย์เมื่อพบอาการผิดปกติ
3.ให้มารดานอนพักผ่อนอย่างน้อย 30นาที สังเกตอาการต่อเนื่อง หากไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ให้กลับบ้านได้
ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่บ้านภายหลังทำการเจาะน้ำคร่ำ ดังนี้
1.แนะนำให้นอนพักต่อที่บ้านอีก 24 ชั่วโมงและลุกเดินเข้าห้องน้ำได้เท่านั้น
2.งดอาบน้ำใน 24 ชั่วโมงแรกหลังทำการเจาะน้ำคร่ำ และดึงผ้าก๊อสปีดแผลออกภายหลังทำหัตถการ24 ชั่วโมง
3.ให้สังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น มีไข้ ลูกดิ้นน้อยลงกรณีลูกเคยดิ้นแล้ว อาการหดเกร็งของมดลูกถี่ขึ้น มีน้ำเดิน หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด ถ้ามีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ปรึกษาแพทย์ทันที
4.หลังทำหัตถการ 2 สัปดาห์ ควรงดการทำงานหนักการร่วมเพศ และการสวนล้างช่องคลอด
ก่อนเจาะน้ำคร่ำแนะนำให้มารดาปัสสาวะให้เรียบร้อยและพาญาติมาด้วยเพื่อช่วยดูแลขณะเดินทางกลับ(ในกรณีมารดาเดินทางด้วยตนเอง)และแนะนำให้มารดาหยุดพักการทำงานหรือลางาน 2 วัน คือวันที่เจาะและหลังวันที่เจาะ
Elderly pregnancy
ดาวน์ซินโดรม
ความหมาย กลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม ( Down syndrome) กลุ่มอาการดาวน์เป็นภาวะโครโมโซมผิดปกติ และเป็นโรคพันธุกรรมที่เกิดจากการมีโครโมโซม 21 เกินมาทั้งอันหรือบางส่วน ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการล่าช้า มีใบหน้าเป็นลักษณะเฉพาะ หน้าตาของเด็กดาวน์ จะมีดวงตาทั้ง 2 ข้างเฉียงขึ้น หัวคิ้วด้านใกล้จมูกหนาตัวขึ้น ม่านตามีจุดสีขาว สันจมูกแบน ปากเปิดออก ลิ้นมักจะจุกอยู่ที่ปาก หูมีขนาดเล็ก รอยพับของหูมีมากกว่าปกติ รูปร่างจะมีระยะห่างระหว่างหัวนมใกล้กว่าเด็กทั่วไป มือสั้นและกว้าง ลักษณะนิ้วและลายมือ ไม่เหมือนเด็กปกติ ศีรษะเล็ก กะโหลกศีรษะด้านหลังแบน เมื่อเติบโตขึ้นก็จะตัวเตี้ยและส่วนใหญ่จะอ้วน) และมีความพิการทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ระดับเชาวน์ปัญญาโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอยู่ประมาณ 50 เทียบเท่ากับเด็กอายุ 8-9 ปี อย่างไรก็ดีระดับสติปัญญาของผู้ป่วยเหล่านี้อาจมีความแตกต่างกันได้มาก
ปัจจัยเสี่ยงในการคลอดบุตรเป็นดาวน์ซินโดรม
แม่ที่ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ตอนอายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสที่ทารกจะเป็นดาวน์ซินโดรมสูงถึง 1 ใน 250 และยิ่งอายุของแม่มากเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็จะยิ่งสูงขึ้นอีก ในขณะที่ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ตอนอายุต่ำกว่า 30 ปี จะมีความเสี่ยงไม่มากนัก
แม่ที่เคยคลอดบุตรคนก่อนเป็นดาวน์ซินโดรม หากตั้งท้องครั้งต่อไป ก็มีโอกาสที่ทารกจะเป็นดาวน์ซินโดรมได้เช่นกัน
มีประวัติคนในครอบครัวเป็นดาวน์ซินโดรม เช่น พี่น้อง หรือญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด
ผลตรวจอัลตราซาวน์พบลักษณะที่บ่งชี้ว่าเป็นดาวน์ซินโดรม เช่น ทารกมีขาสั้น ลิ้นโตกว่าปกติ
การตรวจคัดครอง
การตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อวัดความหนาของน้ำที่สะสมบริเวณต้นคอทารก (NT:Nuchal Translucency) ขณะอายุครรภ์ 10-14 สัปดาห์ ถ้าหนาผิดปกติก็จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น ส่วนการตรวจอัลตราซาวด์ในช่วงอายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์อาจจะใช้บอกระดับความเสี่ยงได้บ้าง
จากการตรวจเลือดมารดา โดยตรวจหาระดับสารชีวเคมีต่าง ๆ ที่สร้างจากทารก ซึ่งจะสามารถนำมาประเมินได้ว่า หญิงตั้งครรภ์รายใดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง สามารถตรวจได้ 2 ช่วงอายุครรภ์ คือ ช่วงอายุครรภ์ 10-14 สัปดาห์ และช่วงอายุครรภ์ 15-18 สัปดาห์ เป็นการตรวจสารชีวเคมีคนละชนิด
จากอายุมารดาขณะตั้งครรภ์ หรือประวัติเคยมีบุตรเป็นดาวน์ ความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุมารดา โดยทั่วไปถือว่าถ้าอายุเกิน 35 ปี ความเสี่ยงต่อการมีลูกมีโครโมโซมผิดปกติมากกว่า 1 ใน 200 คน (1:200) แต่การประเมินความเสี่ยงด้วยอายุมารดาอย่างเดียว มีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำ
การตรวจเลือดคัดกรองดาวน์ซินโดรม โดยการดูฮอร์โมนในเลือด
ตรวจคัดกรองในไตรมาสแรก ตอนอายุครรภ์ 10-14 สัปดาห์ : เป็นการประเมินความเสี่ยงจากเกณฑ์อายุมารดา ร่วมกับระดับสารชีวเคมีในเลือด มารดา ได้แก่ PAPP-A หรือ Free -hCG อาจร่วมกับการตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อวัดความหนาของน้ำที่บริเวณต้นคอทารก (NT)
ตรวจคัดกรองในไตรมาสที่สอง ตอนอายุครรภ์ 15-18 สัปดาห์ : ซึ่งเป็นการประเมินความเสี่ยงจากเกณฑ์อายุของมารดา ร่วมกับระดับสารชีวเคมีในเลือดมารดา ได้แก่ AFP,Free -hCG และ uE3 (หรือที่เรียกว่า triple screen) และอาจรวมถึง inhibin A
การวินิจฉัย
การเจาะเลือดจากสายสะดือทารกแพทย์จะเจาะนำตัวอย่างเลือดจากเส้นเลือดบริเวณสายสะดือของทารก เพื่อตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม ใช้ตรวจในอายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์ มีความเสี่ยงต่อการแท้งสูงกว่าการเจาะน้ำคร่ำและการตรวจเนื้อเยื่อจากรก จึงเป็นวิธีที่แนะนำต่อเมื่อการตรวจด้วยวิธีการอื่นข้างต้นแล้วไม่ทราบผลที่ชัดเจน
วิธีการตรวจทำโดยใช้เข็มขนาดเล็กเจาะผ่านหน้าท้องของสตรีตั้งครรภ์และดูดน้ำคร่ำทำได้ตั้งแต่16-18wks. ข้อจำกัดของการตรวจ บางครั้งไม่สามารถดูดน้ำคร่ำมาตรวจได้หรือการเพาะเลี้ยงเซลล์ในน้ำคร่ำอาจไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ไม่สามารถทราบผลการตรวจ แม้ว่าผลการตรวจจะเป็นปกติแต่ทารกอาจมีความพิการแต่กำเนิดหรือมีพัฒนาการช้าจากสาเหตุอื่น
การตรวจโครโมโซมจากรกเด็ก แพทย์จะนำตัวอย่างเนื้อเยื่อจากรกมาตรวจหาโครโมโซมที่ผิดปกติ ใช้ตรวจในอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป แต่เป็นวิธีที่มีความเสี่ยงต่อการแท้งสูงกว่าการเจาะน้ำคร่ำ
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM)
การตรวจกัดกรองเบาหวานในขณะตั้งครรภ์
กลุ่มความเสี่ยงสูง
อายุ 30 ปีขึ้นไป
เคยมีประวัติ gestational diabetes (GDM) ในครรภ์ก่อน
น้ำหนักตัวมาก BMI >27
มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน (บิดามารดาหรือที่น้องท้องเดียวกัน)
ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ มากกว่าหรือเท่ากับ2
มีประวัติไม่ดีทางสูติสาสตร์
ทารกตายคลอดไม่ทราบสาเหตุ
ทารกพิการโดยกำเนิด
มีประวัติคลอดบุตรน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม
ทารกเสียชีวิตในครรภ์
ตรวจพบมีภาวะความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์หรือมีประวัติโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
พบภาวะตั้งครรภ์แฝดน้ำ
ใช้วิธี 50 grams glucose challenge test โดยผู้ป่วยไม่ต้องงดอาหารให้ผู้ป่วยรับประทานกลูโคส 50 กรัมจากนั้นเจาะเลือดตรวจหลังรับประทานกลูโคส 1 ชั่วโมง ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 140 mg/dLถือว่าผิดปกติให้ตรวจต่อโดยใช้ 100-gm-3-hr OGTT (Oral glucose tolerance test)
ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากรับประทานกลูโคส 50 กรัม 174 mg/dL(มีภาวะเสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์)มีนัดมาตรวจOGTT วันที่ 7 มีนาคม 2565
Spontaneous abortion
สาเหตุ
สาเหตุจากสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อ เช่น โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ ซิฟิลิส (Syhilis)หัดเยอรมัน(Rubella) เป็นต้น
โรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง ความดันโลหิตสูง วัณโรค
ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน
ความผิดปกติของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น เนื้องอกในมดลูก ปากมดลูกไม่แข็งแรง มีผนังกั้นโพรงมดลูก
ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โรคภูมิต้านทานพร่อง (SLE)
การได้รับสารเคมี ยา หรือภาวะแวดล้อมที่เอื้อคำนวย เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ การฉายแสง การได้รับสารพิษ เช่น สารหนู สารตะกั่ว
อุบัติเหตุ เช่นหกล้ม รถชน หรือ ถูกทำร้ายร่างกาย
สาเหตุจากทารก
สาเหตุส่วนใหญ่มาก กว่าร้อยละ 80 เกิดจากความผิดปกติของโครโมโชมของทารก ซึ่งเกิดขึ้นในไตรมาสแรก และเกิดจากทารกในครรภ์เสียชีวิต ตั้งครรภ์ไข่ลม
การแท้งเองส่วนใหญ่จะเกิดจากสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ และความผิดปกติของทารกซึ่งเกิดจากการพัฒนาตัวอ่อนที่ผิดปกติ หรือ เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมซึ่งในประเทศไทยได้กำหนดการแท้งไว้ที่อายุครรภ์ที่สิ้นสุดก่อน 28 สัปดาห์ถือเป็นการแท้ง
ประเภท
แท้งบุตรที่เกิดขึ้นเอง
การแท้งโดยสมบูรณ์ (Complete abortion) เป็นการแท้งทารกและรกออกมาทั้งหมดโดยสมบูรณ์ (เมื่อตรวจอัลตราซาวนด์จะไม่พบตัวอ่อน) ตามธรรมชาติแล้วการแท้งมักจะสิ้นสุดด้วยตัวเอง ร่างกายจะขับทารกและรกที่อยู่ในโพรงมดลูกออกมาจนหมด มารดาจะมีอาการปวดท้องและมีเลือดออกมาจนหยุดไปเอง (มีชิ้นเนื้อหลุดออกมาแล้วมีเลือดออกลดลง) จึงไม่จำเป็นต้องขูดมดลูก
การแท้งไม่สมบูรณ์ (Incomplete abortion) เป็นการแท้งออกมาเพียงบางส่วนของทารกหรือของรกและยังมีอีกส่วนหนึ่งที่เหลือค้างอยู่ในโพรงมดลูก ซึ่งการแท้งชนิดนี้จะทำให้มดลูกบีบตัวได้ไม่ดี มารดาจึงมีอาการปวดท้องน้อยมากและมีเลือดออกทางช่องคลอดมากจนทำให้ช็อกได้ แพทย์จะให้น้ำเกลือหรือให้เลือดทดแทน แล้วทำการขูดมดลูกเอาส่วนที่เหลือออกมาให้หมด เพื่อให้เลือดหยุดไหลโดยเร็วที่สุด และป้องกันการติดเชื้อในโพรงมดลูก หลังจากนั้นมดลูกจะบีบตัวได้ดีขึ้นและเลือดก็จะหยุดไปเอง
การแท้งคุกคาม (Threatened abortion) เป็นภาวะใกล้แท้ง พบได้ประมาณ 10% ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด และครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้จะมีอาการแท้งตามมา (ส่วนอีกครึ่งมารดาจะตั้งครรภ์ต่อไปได้) มารดาจะมีเลือดออกไม่มากทางช่องคลอดแบบกะปริดกะปรอยโดยที่ปากมดลูกยังปิดอยู่ และมีอาการปวดท้องน้อยหรืออาจไม่มีอาการปวดท้อง จึงทำให้มารดาสับสนได้ว่าเป็นประจำเดือน
การแท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (Inevitable abortion) มารดาจะมีเลือดออกทางช่องคลอด มีอาการปวดท้องน้อยมากขึ้น และปากมดลูกเปิดแล้ว เนื่องจากการหดรัดตัวของมดลูก บางครั้งก็มีการแตกของถุงน้ำคร่ำร่วมด้วย เมื่อปากมดลูกเปิดออกแล้ว จะไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้และตัวอ่อนก็จะแท้งออกมาเอง หรือหากมาพบแพทย์ แพทย์อาจทำการดูดเอาทารกออกมาเพื่อให้เป็นการแท้งโดยสมบูรณ์
การแท้งเป็นนิจ หรือ การแท้งเป็นอาจิณ หรือ การแท้งซ้ำ (Recurrent miscarriage, Habitual abortion, Recurrent pregnancy loss - RPL) เป็นการแท้งติดต่อกันเกิน 3 ครั้งขึ้นไปในช่วงอายุครรภ์ใกล้เคียงกัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากปากมดลูกปิดไม่สนิท (Cervical incompetence), การขาดฮอร์โมนเพศ, ความผิดปกติของโครโมโซม
แท้งบุตรที่เกิดจากการกระทำ
การแท้งเพื่อการรักษา (therapeutic abortion)คือการทำแท้งเมื่อข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เพื่อสุขภาพของมารดา หากปล่อยไว้จะมีอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตของสตรีที่ตั้งครรภ์ เป็นการทำแท้งในกรณีที่ทารกในครรภ์มีภาวะผิดปกติ หากปล่อยให้ตั้งครรภ์ทารกมีความพิการอย่างรุนแรง หรือการตั้งครรภ์เกิดจากการถูกข่มขืน
การทำแท้งผิดกฎหมาย (illegal abortion หรือ criminal abortion) เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางกฎหมาย ซึ่งการทำแท้งอาจทำโคยแพทย์ หรือผู้อื่นที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ที่เรียกว่าหมอเถื่อน หรือการทำแท้งด้วยตนเอง
ผลกระทบ
ผลกระทบต่อร่างกายมารดา
ตกเลือด หลังแท้งถ้าสั่งปฏิสนธิออกไม่หมด จะทำให้เสียเลือดตั้งแต่น้อยจนกระทั่งทำให้เกิดการช็อคและเสียชีวิต
ติดเชื้อในโพรงมดลูกและกระแสเลือด
มดลูกทะลุ หรือมดลูกแตก ทำให้เสียเลือดมากจึงจำเป็นต้องตัดมดลูกออกมีผลให้ไม่สามารถมีบุตรได้อีก
ไตวายเฉียบพลัน ผลมาจากมีภาวะตกเลือดรุนแรง
การสูญเสียอวยวะภายในอื่น ๆ เช่น เยื่อบุช่องท้องอักเสบทั่วไป ลำไส้ใหญ่ทะลุ
ผลกระทบต่อจิตใจมารดา
ผลกระทบด้านจิตใจของสตรีที่แท้งเองและทำแท้งจะมีผลกระทบแตกต่างกัน เนื่องจากสตรีที่แท้งเองต้องการบุตรเมื่อเกิดการแท้งจะเสียใจ และมีความเศร้าโศก ส่วนสตรีที่ทำแท้งจะรู้สึกโล่งใจ และสตรีบางรายรู้สึกผิด และกลัวบาปกรณีที่แท้งเอง มีการสูญเสียบุตรอันเป็นที่รัก ลักษณะเศร้าโศกจะมีอาการแสดงออกมา 6 ลักษณะคือ เศร้าเสียใจ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ฉุนเฉียวง่าย คิดหมกมุ่นถึงทารกที่สูญเสียไป และไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้
ผลกระทบต่อมารดา
ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ : รกเกาะต่ำ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ : การตั้งครรภ์นอกมดลูก
การแท้งบุตร : สูญเสียทารกในระหว่าง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์
ปัญหาในระยะคลอด : คลอดก่อนกำหนด การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ผลกระทบต่อทารก
low birth weight
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
Down’s Syndrome
คลอดก่อนกำหนดหรือเกินกำหนด
ทารกตัวโตและคลอดไหล่ยาก
การเปลี่ยนแปลงขณะตั้งครรภ์
ไตรมาสที่ 1
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ประจำเดือนขาด
แพ้ท้อง เกิดจากฮอร์โมนเพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว
เต้านมขยายใหญ่ขึ้น คัดตึงเต้านม
เหนื่อยเพลีย อยากนอนพักผ่อน
น้ำหนักตัวคงที่หรือเพิ่มขึ้น1-3กก.ในรายที่ไม่มีแพ้ท้อง
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคม
Task : accepting the pregnancy รู้สึกสองฝักสองฝ่ายมีความไม่แน่ใจ ลังเล เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงร่างกายและแพ้ท้อง จะทำให้เกิดการยอมรับการตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์
จะรู้สึกว่าร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง และไม่แน่ใจว่าตนเองมีการตั้งครรภ์ หรือไม่ จะรู้สึกแปลกใจเมื่อตนเองตั้ง ครรภ์เนื่องจากมีการวางแผนการตั้ง ครรภ์ไว้เป็นอย่างดีแล้ว หรือสิ่งที่ เกิดขึ้นอาจรู้สึกว่าเป็นสิ่งเหลือเชื่อ อาจรู้สึกว่ายังไม่พร้อมจะมีบุตรจาก เหตุผลด้านความสัมพันธ์ส่วนตัว
ไตรมาสที่ 2
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น ควรเพิ่มประมาณเดือนละ 1-2 กก.(รวมประมาณ 4-5 กก.)
ผิวคล้ำตามใบหน้า คอ ลำตัว รักแร้ มีเส้นขึ้นเป็นทางยาวกลางท้องตั้งแต่สะดือ ลงไปถึงหัวหน่าวเกิดจากระดับฮอร์โมน ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงอาจมีหน้าท้องลายเกิดจากมดลูกที่โตขึ้นรวดเร็วทำให้หน้าท้อง ต้องยืดขยายมากขึ้น
ตกขาวหรือมูกในช่องคลอดมากขึ้นกว่าปกติ จากการเพิ่มระดับฮอร์โมนและเลือด ที่มาหล่อเลี้ยงบริเวณช่องคลอดมากขึ้นในขณะตั้งครรภ์
ระบบย่อยอาหารเปลี่ยนแปลง อาจมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก
มดลูกโตขึ้น และจะเริ่มรู้สึกว่าลูกต้นในสัปตาห์ที่ 16-22
เป็นตะคริว
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคม
Task accepting the baby การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ คือ หมกหมุ่นคิดถึงแต่ ตนเอง (narcissism and introversion) จะมีมากขึ้นเมื่อยอมรับการตั้งครรภ์ การดิ้นของทารกในครรภ์ (Quickening) ครั้งแรกจะทำให้หญิงตั้งครรภ์ตื่นเต้น และมีความสุข เกิดการยอมรับความเป็นบุคคลของทารกในครรภ์ เริ่มมีจินตนาการ (Dreaming ถึงเพศและรูปลักษณ์ของทารกในครรภ์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับ ความคิดและเตรียมตัวรับบทบาทความเป็นมารดา
การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์
อาการแพ้ท้องจะทุเลาลงเมื่อเริ่มเข้าไตรมาสที่ 2 และจะหายไปในที่สุด แนวโน้มของ การแท้งมีลดลง จะยอมรับการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น แม้ว่ารูปร่างยังเปลี่ยนแปลงไปไม่ มากก็จะเริ่มใส่ชุดคลุมท้อง ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงภาวะตั้งครรภ์ และบางคนก็เริ่ม จัดหาของใช้สำหรับบุตรแล้ว ในช่วงไตรมาสที่ 2 ทารกในครรภ์จะมีการดิ้นเป็นครั้ง แรก ทำให้หญิงตั้งครรภ์ยอมรับทารกในครรภ์มาขึ้น ทำให้มีความสุขและตื่นเต้นกับ การตั้งครรภ์
ไตรมาสที่ 3
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ควรเพิ่มเดือนละ 2 kg. รวม 6 kg.
ปัสสาวะบ่อยขึ้น โดยเฉพาะช่วงใกล้คลอด ที่ศีรษะลูกเคลื่อนต่ำลง
เหนื่อยง่าย นอนหลับไม่สบาย อึดอัด จากภาวะที่มดลูกโตขึ้น
ปวดหลัง จากลาเหตุน้ำหนักของมดลูกและตัวเด็กที่มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คุณ แม่ต้องแอ่นหลังหรือเกร็งกล้ามเนื้อหลังมากกว่า ปกติ ทำให้เพิ่มการะแก่กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ
ตะคริว เกิดจากกล้ามเนื้อขาต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ หรือ จาก การได้รับปริมาณแคลเซียมที่ไม่เพียงพอ
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคม
Task: preparing for the baby and end of pregnancy วิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอด คิดว่าตนเองอยู่ในภาวะอันตราย (Vulnerability) กลัวสูญเสียลูกจึงหลีกเลี่ยงการพบปะกับกลุ่มคน กลัวติด เชื้อและเริ่มมีความรู้สึกภูมิใจในความเป็นแม่
-หมกหมุ่นคิดถึงแต่ตนเอง (Introversion) หญิงตั้งครรภ์สนใจเฉพาะเรื่อง ของตนเอง ต้องการพักผ่อนตามลำพัง ทั้งนี้เพื่อใช้เวลาในการวางแผน ปรับ ตนเองให้เข้ากับการตั้งครรภ์ และการคลอดมีอารมณ์แปรปรวน (Emotional lability) ได้ง่าย ต้องการการเอาใจใส่โดยเฉพาะสามี
การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์
หญิงตั้งครรภ์จะเริ่มกลัวและวิตกกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการคลอด เช่น กลัวเจ็บ กลัวการผ่าตัด กลัวว่าขณะคลอดจะได้รับอันตราย กลัวการอยู่โรงพยาบาล หรือกลัวไม่ได้บุตรตามที่ต้องการ