Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การฝึกปฎิบัติงานไปพร้อมการทำงานจริง (On Job Training : OJT) - Coggle…
การฝึกปฎิบัติงานไปพร้อมการทำงานจริง (On Job Training : OJT)
เหตุผลที่ต้องเลือกอบรมแบบ(OJT)
OJT ที่ดีควรมี ผู้ฝึกสอน (Trainer) และ พี่เลี้ยง (Mentor) ที่ดี ที่พร้อมดูแลและสอนงาน
OJT ควรเลือกใช้กับงานที่มีความเสี่ยงต่ำ สร้างผลกระทบในยามผิดพลาดต่ำ
OJT ทำได้รวดเร็ว ประหยัดเวลา ประหยัดงบประมาณ สร้างผลประกอบการได้ทันที
OJT ที่ดีต้องเริ่มต้นจากการประเมินศักยภาพพนักงานใหม่เสียก่อน และมอบมายงานให้เหมาะสมกับศักยภาพ
ขั้นตอนในการทำ OJT
2.ขั้นตอนการวางแผนดำเนินการให้ครอบคลุม
หลังจากสำรวจข้อมูลมาครบถ้วนแล้วก็ต้องนำมาวางแผนการทำ OJT ให้ครอบคลุมและชัดเจน ตั้งแต่การกำหนดระยะเวลาในการทำ OJT, ขอบเขตของงานและหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ, สายการบังคับบัญชา, หัวหน้าและพี่เลี้ยงที่คอยดูแล, ตลอดจนอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน
3.ขั้นตอนการสื่อสารให้ทุกคนเข้าใจ
หลังจากวางแผนเสร็จแล้วก็ควรแจ้งให้ทุกคนทราบถึงรายละเอียดของกระบวนการทั้งหมดด้วย สื่อสารให้ชัดเจน และสิ่งสำคัญที่สุดคือทุกคนต้องทำความเข้าใจได้ตรงกัน และดำเนินไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ในขั้นตอนนี้ควรทำการสอบถาม พูดคุย กับผู้ที่รับผิดชอบดูแลพนักงานใหม่ให้พร้อมด้วย และเปิดใจรับกระบวนการ OJT นี้โดยที่ไม่คิดว่าเป็นภาระ เพื่อให้การทำ OJT เกิดความราบรื่นไม่ติดขัด นอกจากนี้ก็ยังต้องเตรียมการสื่อสารกับพนักงานใหม่ ตั้งแต่เอกสารตลอดจนข้อมูลที่จำเป็น รวมไปถึงการปฐมนิเทศให้พนักงานใหม่เข้าใจองค์กรตลอดจนการทำงานตลอดระยะเวลาฝึกงานจริงแบบ OJT นี้
1.ขั้นตอนสำรวจข้อมูลเบื้องต้น
หากจะเริ่มทำ OJT จริงๆ ควรจะต้องมีการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเตรียมความพร้อมกันก่อน การสำรวจนั้นต้องรอบด้าน เริ่มตั้งสำรวจพนักงานที่เข้ามาใหม่ว่ามีความสามารถหรือศักยภาพอยู่ในระดับใด เพื่อนที่จะทำ OJT ได้ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด รวมถึงวางแผนมอบหมายงานตามศักยภาพตลอดจนวางตัวผู้ฝึกสอนหรือพี่เลี้ยงให้เหมาะสมด้วย ในส่วนงานของบริษัทนั้นก็ควรสำรวจด้วยว่ามีความพร้อมที่จะทำ OJT มากน้อยเพียงไร และมีคนคอยกำกับดูแลพนักงานใหม่ได้หรือใหม่ เป็นต้น
4.ขั้นตอนการปฎิบัติการ
สิ่งที่สำคัญที่สุดในช่วง OJT ก็คือขั้นตอนที่ลงมือปฎิบัติงานจริง ระยะปฎิบัติงานนั้นก็ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของแต่ละทักษะด้วย ขั้นตอนนี้ผู้ที่รับหน้าที่เป็นหัวหน้าหรือแม้กระทั่งพี่เลี้ยงควรดำเนินการตามแผนที่วางไว้ให้มากที่สุด ทั้งนี้เพื่อทดสอบศักยภาพให้ครบตามที่ได้วางไว้ ตลอดจนทำให้การประเมินผลมีความผิดพลาดน้อยที่สุดอีกด้วย
5.ขั้นตอนการติดตามและประเมินผล
ระหว่างการทำงานควรมีการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ และควรมีการวางระบบการประเมินผลการทำงานการทำ OJT ครั้งนี้อย่างชัดเจนด้วย โดยการประเมินอาจทำหลายครั้งระหว่างการทำ OJT ไปเรื่อยๆ หรือทำในขั้นตอนสุดท้ายก็แล้วแต่การวางแผนและความสะดวกของแต่ละหน่วยงาน แต่ควรมีหลักเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน มีกรอบเดียวกัน เข้าใจตรงกัน เพื่อให้ผลประเมินออกมาอย่างถูกต้องที่สุด เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำ OJT มากที่สุด
ข้อได้เปรียบสำหรับองค์กรในการทำ OJT
1.การเตรียมการไม่ยุ่งยากซับซ้อนและไม่เสียเวลา (Simplicity & Save Time)
2.ประหยัดงบประมาณ (Economy)
3.ได้ทำงานในสถานที่จริง (Actual Work Station)
4.สร้างผลผลิตและผลประกอบการได้ทันที (Immediate Productivity)
5.เรียนรู้ได้รวดเร็ว (Quick Learning)
6.เรียนรู้ได้หลายทักษะในคราวเดียวกัน (Muti-skill)
ข้อเสียเปรียบสำหรับองค์กรในการทำ OJT
1.สร้างผลเสียหรือผลกระทบต่อธุรกิจได้ง่าย
2.ไม่สามารถปกปิดความลับของบริษัทได้ เพราะต้องเปิดเผยทั้งหมดในการทำงานจริง
3.ใช้เวลาในการทำความเข้าใจนาน
4.ขาดประสิทธิภาพในการติดตามผลและประเมินผล
บุคคลสำคัญในการทำ OJT
ครูฝึก (Trainer) ที่อาจเป็นระดับหัวหน้างานคอยสอนการทำงาน และดูภาพรวมของการทำงานให้
พี่เลี้ยง (Mentor) ที่อาจเป็นระดับพนักงานด้วยกันเอง หรืออาจเป็นระดับอาวุโส (Senior) กว่า ที่จะคอยเป็นคู่คิด ที่ปรึกษา ตลอดจนสอนในรายละเอียดลงลึกขึ้นในกระบวนการทำงานจริง ณ เวลาทำงานจริง