Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม - Coggle Diagram
การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม
ความหมายการฝึกอบรม
การฝึกอบรม หมายถึง กระบวนการในอันที่จะทําให้ผู้เข้ารับการ ฝึกอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ ความชํานาญ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อันจะเป็นผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ ของการฝึกอบรม การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม จึงหมายถึง การกําหนด ว่าจะทําให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และ ทัศนคติ ในเรื่องอะไรบ้าง โดยเทคนิค และวิธีการอย่างใด และจะต้อง ใช้เวลามากน้อยเพียงใด จึงจะทําให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดการ เรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ตามวัตถุประสงค์
การสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม
การจะสร้างหลักสูตรฝึกอบรมอย่างถูกต้องตามหลักการ ฝึกอบรม สําหรับการพัฒนากลุ่มบุคลากร ในตําแหน่งใด ตําแหน่ง หนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย หรือสําหรับบุคลากรซึ่งจะต้อง ปฏิบัติงานใดงานหนึ่งเหมือนๆ กัน ถึงแม้ว่าบุคลากรนั้น จะต้อง อยู่ในต่างๆ หน่วยงานกันก็ตาม ควรจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ถึง 9 ขั้นตอน
ขั้นที่1 ทบทวนความจำเป็นในการฝึกอบรม
ถึงแม้ว่าจะได้มีการวิเคราะห์หาความจําเป็นในการฝึกอบรมมาแล้วก็ตาม ก่อนจะสร้างหลักสูตรฝึกอบรม จําเป็นต้องมีการทบทวนปัญหา ที่ได้กําหนดไว้ว่าเป็นความจําเป็นในการฝึกอบรมนั้นว่า มีปัญหาอะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับบุคลากร ในตําแหน่งงานใด ระดับใดบ้างมีจํานวนเท่าใด เหมาะสมสําหรับการส่งไปเข้ารับการฝึกอบรมภายนอก หรือมีจํานวนมาก เพียงพอ ที่จะจัดการฝึกอบรมในองค์การหรือหน่วยงานให้โดยเฉพาะ (ดังที่ เรียกกันว่า In-house training) เมื่อคิดว่ามีบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จําเป็นต้อง เข้ารับการฝึกอบรม ซึ่งเห็นว่าควรจะจัดขึ้นในจํานวนที่เหมาะสมแล้ว จึง เตรียมการในขั้นตอนต่อไป
ขั้นที่2 ระบุภาระกิจที่เป็นปัญหาหรือต้องการพัฒนา
หากต้องการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมให้สอดคล้องตรงกันกับความจําเป็นในการฝึกอบรม ของบุคลากรซึ่งดํารงตําแหน่งหนึ่ง ตําแหน่งใด เช่น ตําแหน่งพนักงานขับรถยนต์ หรือ ตําแหน่งเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลโดยเฉพาะ ผู้สร้างหลักสูตรจําเป็นจะต้องเข้าใจ ถึงความ แตกต่างในความหมายของคําว่า งาน หน้าที่ และ ภารกิจ เสียก่อน
ขั้นที่3 การกำหนดวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม
วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม หมายถึง "สิ่งที่กําหนดว่าในโครงการ ฝึกอบรมนั้นจะต้องเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของผู้เข้ารับ การฝึกอบรมให้ เป็นไปในลักษณะใดและระดับใด จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาที่เป็นความ จําเป็นในการฝึกอบรมได้
ขั้นที่4 การกำหนดหัวข้อวิชา
ความหมายของหัวข้อวิชา หัวข้อวิชา หมายถึง เนื้อหาสาระของเรื่องที่ต้องการจะให้ผู้เข้ารับ การอบรมเกิดความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และความสามารถ การกําหนด หัวข้อวิชา จึงหมายถึง การระบุว่า ภารกิจหรือหน้าที่ที่เป็นความจําเป็นใน การฝึกอบรมนั้น ควรจะนําวิชาอะไรบ้าง มาช่วยแก้ไขปัญหา หรือ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ขั้นที่5การกำหนดวัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชา
วัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชา หมายถึง ข้อความที่ระบุว่า ในวิชาที่ทําการฝึกอบรม นั้น ต้องการให้ผู้เข้าอบรมเกิดการเรียนรู้ หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในลักษณะ อย่างไร ภายหลังการฝึกอบรมในวิชานั้นแล้ว
ขั้นที่6 การกำหนดแนวอบรม
แนวการอบรม หมายถึง สิ่งที่ระบุว่า ภายในหัวข้อวิชานั้นประกอบด้วย เนื้อหาอะไรบ้าง ไม่ว่า จะเป็นทฤษฎี แนวคิด หลักการ หรือแนวปฏิบัติใดก็ตาม ที่จะทําให้ผู้เข้าอบรมเกิดความรู้ ความ เข้าใจ ทัศนคติ หรือความสามารถตรงตามวัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชา
ขั้นที่7การกำหนดเทตนิคฝึกอบรม
เทคนิคการฝึกอบรม หมายถึง "วิธีการที่จะทําให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจมีทัศนคติที่ถูกต้องเหมาะสม และ/หรือเกิดความชํานาญในเรื่องใดเรื่อง หนึ่ง จนเกิดการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมนั้น
ขั้นที่8การกำหนดระยะเวลาของหัวข้อวิชาและหลักสูตร
หมายถึง ช่วงเวลาที่กําหนดไว้ว่าจะสามารถทําให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความ เข้าใจ ทัศนคติ และทักษะ จนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชาหรือหลักสูตร ฝึกอบรม
ขั้นที่9การเรียงลำดับหัวข้อวิชา
หมายถึง การกําหนดว่า หัวข้อวิชาใดควรจะทําการฝึกอบรมก่อน และหัวข้อ วิชาใดควรจะทําการอบรมภายหลัง อันจะ ทําให้ผู้เข้าอบรมเกิดการเรียนรู้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ