Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การวัดผลประเมินผลการให้การศึกษา แก่พ่อแม่เด็กปฐมวัย - Coggle…
บทที่ 7 การวัดผลประเมินผลการให้การศึกษา
แก่พ่อแม่เด็กปฐมวัย
ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับการวัดผลและประเมินผล
ก่อนให้การศึกษาแก่พ่อแม่ผู้ให้การศึกษาแกพ่อแม่ควร
ได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นฐานความรู้และประสบการณืเดิม
ของพ่อแม่ เพื่อนำไปจัดเตรียมเนื้อหาและประสบการณ์ให้แก่พ่อแม่อย่างเหมาะสม
ดังนั้น เนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึง ความหมาย ความสำคัญ
จุดมุ่งหมาย ประเภทการวัดผลและประเมินผลของการให้การศึกษาแก่พ่อแม่เด็กปฐมวัย
ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับการวัดผลประเมินผล
การวัด
เพื่อจะได้ทราบว่าสิ่งที่วัดนั้นมีคุณภาพหรือไม้นักการศึกษาหลายท่าน
สุจินต์ วิศวธีรานนท์
การวัดผลเป็นกระบวนการในการกำหนด
จำนวนตัวเลข ปริมาณ อันดับ ข้อมูล และลักษณะให้กับวัตถุสิ่งของ
และบุคคลของสิ่งนั้นๆ
สมหวัง พิธิยาวัฒน์
การวัดเป็นการกำหนดค่าที่เป็นตัวเขลเพื่อแทน
คุณสมบัติของวัสดุสิ่งของหรืออื่นๆ ตามเกณฑ์ของคุณสมบัติเหล่านั้น
บุณธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์
กล่าวว่าในทางปฏิบัติ การวัด หมายถึง กระบวนการแปร มีลักษณะเป็นนามธรรมให้เป็นข้อมูลทางสถิติปริมาณหรือหรือเชิงคุณภาพ
ลำพอง บุญช่วย
กล่าวว่า การวัด หมายถึง กระบวนการที่นำมาได้ซึ่งตัวเลข จำนวนหรือปริมาณ ซึ่งจำนวนหรือปริมาณนั้นมีความหมายแทนพฤติกรรมอย่างหนึ่งหรือแทนผลงานที่แต่ละคนแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบการเร้าออกมาปริมาณอะไรก็ตามที่ได้มาและเป็นคำตอบของคำถามที่ลงท้ายด้วยคำว่า “เท่าไร " ถือว่าเป็นสิ่งที่ได้จากการวัดผลทั้งนั้น
สรุป
การวัดผล หมายถึง กระบวนการในการวัด โดยการใช้วิธีการต่างๆทั้งที่เป็นเครื่องมือและเทคนิคเพื่อที่จะได้ปริมาณหรือตัวเลข
ระดับการแบ่งกลุ่ม
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์
กล่าวว่าระดับการวัด (Scale) หมายถึง การวัดหรือการกำหนดจำนวนตัวเลขให้กับวัตถุหรือเหตุการณ์เรื่องราวต่างๆตามกฎเกณฑ์บางประการนั้นได้แบ่งชนิดหรือระดับการวัดไว้เป็น 4 ระดับ
การวัดระดับแบ่งกลุ่ม เป็นการวัดที่เป็นวิธีการง่ายที่สุด
เพียงจัดประเภทหรือคุณสมบัติที่เหมือนกันไว้ใน
กลุ่มเดียวกันคุณสมบัติต่างกัน
ก็จัดไว้คนละกลุ่ม แต่ไม่เกี่ยวกับจำนวน
การวัดระดับอันดับ เป็นการวัดที่ให้รายละเอียดมากขึ้น
กล่าวคือนอกจากแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มและมีความเท่าเทียมกันแล้ว
ก็ยังสามารถจัดลำดับอัตราความแตกต่างระหว่างกลุ่มได้อีก
การวัดระดับแบ่งช่วงเป็นการวัดอันดับครบถ้วน
และสามารถกำหนดความห่างระหว่างสิ่งที่วัด
ได้แน่นอนและระยะห่างแต่ละจำนวมกับจำนวนถัดไปนั้นเท่ากัน
การวัดระดับอัตราส่วน เป็นการวัดที่มีคุณสมบัติ
ของการวัดระดับช่วงครบทุกประการและมีคุณสมบัติ
ที่จุดเริ่มต้นตามธรรมชาติคือมีจุดสูญแท้อย่างแท้จริง
การประเมินผล
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
กล่าวว่า การประเป็นผลเป็นกระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งของ หรือการกระทำใดๆ
อนันต์ ศรีโสภา
กล่าวว่า การประเมินผลเป็นกรรมวิธีของการวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลและการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
โกรนลันต์
กล่าวว่า การประเมินผลเป็นกระบวนการพิจารณาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของผู้เรียนกับจุดประสงค์
ของการเรียนการสอนอย่างมีระบบ
ความสำคัญของการวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลที่ใช้ในการศึกษา มักเป็นการประเมินกระบวนการปฏิบัติงานทุกขั้นตอนทุกกิจกรรมที่จัดขึ้น เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้จากแนวคิดของ
ประสงค์ นจินดา
ผู้เรียบเรียงได้นำมาสรุปถึงความสำคัญของการวัดและประเมินผล
จะช่วยชี้ให้เห็นว่าจุดมุ่งหมายของการดำเนินงานการให้การศึกษาแก่พ่อแม่นั้นเหมาะสมหรือไม่เป็นไปได้ เพราะการดำเนินงานแต่ละครั้งจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายไว้อย่างชัดเจน
จะช่วยให้ทราบว่าการให้การศึกษาแก่พ่อแม่บรรลุจุดมุ่งหมายหรือไม่เพียงใด ทั้งระหว่างให้การศึกษาและเมื่อสิ้นสุดการให้การศึกษา
ช่วยให้เห็นข้อบกพร่องในระหว่างการให้การศึกษาแก่พ่อแม่แต่ละขั้นตอนซึ่งจะใช้เป็นหลักในการปรับปรุงการให้การศึกษาครั้งต่อไป
ช่วยกระตุ้นเร้าให้ผู้เกี่ยวข้องกับการให้การศึกษาแก่พ่อแม่ทุกฝ่ายตื่นตัวในการปรับปรุงงานและรีบดำเนินงานให้เสร็จทันเวลาที่กำหนด
ช่วยควบคุมการดำเนินงานการให้การศึกษาแก่พ่อแม่ให้มีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ที่มีการวัดผลและประเมินผลในขณะดำเนินงานจะมีตัวบ่งชี้ถึงผลของงาน หากพบปัญหาก็ได้แก้ไข จึงเป็นการลดความสูญเปล่าในการใช้ทรัพยากรทั้งวัสดุงบประมาณและบุคลากรด้วย
ช่วยเป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจดำเนินการ
ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิธีการการให้การศึกษาแก่พ่อแม่ที่เหมาะสมในครั้งต่อ ๆ ไปเพราะผลที่ได้จากการประเมินระหว่างการให้การศึกษาและสิ้นสุดของงาน
สรุป
จะเห็นได้ว่าการวัดและประเมินผลการให้การศึกษาแก่พ่อแม่ มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อกระบวนการให้การศึกษาทุกขั้นตอนโดยที่การวัดและประเมินผลทำหน้าที่ติดตามผลการดำเนินการและทำให้เกิดการแก้ไขปรับปรุงซึ่งจะส่งผลไปสู่กระบวนการให้การศึกษาแก่พ่อแม่ให้มีประสิทธิภาพ