Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วงดนตรีไทย - Coggle Diagram
วงดนตรีไทย
วงมโหรี
-
-
ลักษณะการจัดวง
วงมโหรี เป็นวงดนตรีไทยที่มีวิวัฒนาการสืบเนื่องมาอย่างยาวนาน จัดเป็นการ ประสมวงที่มีความสมบูรณ์ในด้านเสียงสูงสุด กล่าวคือ เป็นการรวมเอาเครื่อง ดนตรีทำทำนองของวงปี่พาทย์ที่มีเครื่องตี คือ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอก เหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ร่วมกับเครื่องดนตรีในวง เครื่องสายที่มีเครื่องดีด คือ จะเข้ เครื่องสี คือ ซอด้วง และซออู้ และเครื่องเป่า คือ ขลุ่ย เอาไว้ด้วยกัน การนำเอาวงปี่พาทย์และวงเครื่องสายมารวมกันนี้ ทำให้ วงมโหรีเป็นการรวมกันของเครื่องดนตรีทุกตระกูล คือ ดีด สี ตี และเป่า มา รวมอยู่ในวงเดียวกันได้อย่างลงตัว ละเอียดอ่อน และละเมียดละไม มีแนวทาง การบรรเลงที่นุ่มนวล ไพเราะ
วงเครื่องสาย
-
การใช้งาน
เหมาะสำหรับการบรรเลงในอาคาร นิยมใช้บรรเลงในงานมงคล เช่น พิธีมงคลสมรสและงานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น และมิได้ใช้บรรเลงสำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์
ลักษณะการจัดวง
ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย อันได้แก่เครื่องสี (ซอด้วงและซออู้) และเครื่องดีด (จะเข้) เป็นหลัก มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า (ขลุ่ย) เป็นส่วนประกอบ
ใช้โทนรำมะนาบรรเลงจังหวะหน้าทับ และใช้ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ร่วมบรรเลงประกอบจังหวะ วงเครื่องสายเป็นวงดนตรีประเภทที่ใช้บรรเลงขับกล่อมเพื่อความบันเทิงเริงรมย์
วงปี่พาทย์
-
การใช้งาน
ปี่พาทย์ครอบคลุมวัฒนธรรมด้านเครื่องดนตรี ความเชื่อ ค่านิยม ขนบนิยม ประเพณี และระเบียบปฏิบัติ วงปี่พาทย์ สามารถนำไปบรรเลง – ขับร้องในกิจกรรมต่างๆ ทั้งในส่วนของงานพระราชพิธี งานพิธีกรรมของราษฎร ประกอบการแสดงโขน หนังใหญ่ ละคร หุ่นกระบอก ลิเก และเป็นดนตรีเพื่อการฟัง นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงในงานอวมงคล เช่น งานสวดพระอภิธรรมศพและงานฌาปนกิจศพฯลฯ
ลักษณะการจัดวง
วงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งประกอบด้วยเครื่องเป่า คือ ปี่ ผสมกับเครื่องตี ได้แก่ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก และยังมีเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า ปี่พาทย์นี้บางสมัยเรียกว่า "พิณพาทย์" วงปี่พาทย์อาจจำแนกประเภทแตกต่างกันไป แต่ที่พอจะรวบรวมได้ มีทั้งสิ้น 8 แบบ