Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเตรียมสมุนไพรสำหรับเครื่องสำอางและยา - Coggle Diagram
การเตรียมสมุนไพรสำหรับเครื่องสำอางและยา
แบบผงแห้ง
การเก็บสมุนไพรสด
การเก็บสมุนไพรถือว่าเป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีผลต่อปริมาณสารสําคัญและสรรพคุณทางยาของสมุนไพร เพื่อให้การเตรียมสมุนไพรมีความถูกต้องตามหลักวิชาการและภูมิปัญญาพื้นบ้าน ผู้แปรรูปสมุนไพรควรมีความรู้ในการเก็บสมุนไพรสด
การล้างสมุนไพรให้สะอาด
โดยเฉพาะส่วนที่ขุดจากดิน เช่น เหง้า หรือราก ต้องล้างดินออกให้หมด และผึ่งในถาด ตะแกรงโปร่ง ที่มีรูขนาดกลางเพื่อระบายน้ําให้สะเด็ดน้ํา หั่นให้มีขนาดเล็กลงวัสดุที่ใช้เป็นถาด ได้แก่ ถาดสแตนเลสเจาะรู กระด้งที่มีรูขนาดกลาง หรือแคร่ไม้ไผ่ที่สะอาด
อบหรือตากแห้ง
ใช้อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส
ผึ่งให้แห้ง เหมาะสําหรับพืชที่มีน้ํามันหอมระเหย เช่น กะเพรา โหระพา มักใช้วิธีผูกเป็นมัดเล็กๆ แขวนที่เชือกหรือใส่กระด้ง กระจาดที่มีรูวางไว้ในที่โปร่งไม่โดนแดดส่องถึงโดยตรง มีลมพัดผ่านเกือบตลอดเวลา (ไม่สามารถทําได้ในภาคใต้เนื่องจากความชื้นในอากาศสูง พืชแห้งช้าจะขึ้นราได้ง่าย) ใช้อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส
ตู้อบแสงอาทิตย์ประหยัดพลังงาน แต่มีข้อเสีย คือ ต้องได้รับแสงแดดโดยตรง ซึ่งอาจทําลายสารสําคัญบางชนิด
ตู้อบลมร้อนพลังงานไฟฟ้า แก๊ส ถ่าน ไม้ หรือแกลบ ข้อดี คือ อุณหภูมิสม่ำเสมอ แต่ราคาตู้อบค่อนข้างแพง
การบดเป็นผง
อาจใช้เครื่องมือบดได้หลายชนิด เช่น ครกหิน ครกบดยาชนิดบดด้วยมือ หรือเครื่องบด ไฟฟ้าขนาดเล็ก ระดับอุตสาหกรรม หลังจากผ่านเข้าเครื่องบดแล้วให้นําไปผ่านแร่ง เพื่อแยกผง ยาที่มีความละเอียดสม่ำเสมอไปดําเนินการต่อ ความละเอียดของผงยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ใช้เป็นผงในเครื่องสําอางผ่านแร่งเบอร์ 60 ขึ้นไป ใช้สําหรับสกัดให้บดหยาบ ไม่จําเป็นต้องผ่าน แร่ง หากใช้เครื่องบดที่มีตะแกรง ต้องใช้ตะแกรงหยาบที่สุด โดยใช้ตะแกรงขนาดไม่เกินเบอร์ 20
แบบสารสกัด
การต้ม
ชั่งสมุนไพรสดหรือแห้ง
เติมน้ำ3-4เท่าของน้ำหนัก
นำกากมาต้มซ้ำเช่นเดิม
การคั้นน้ำสด
น้ำคั้นผลไม้
น้ำคั้นใบหรือเหง้า
การเคี่ยวในน้ำมันหรือการหุงน้ำมัน
น้ำมันปาล์มหรือน้ำมันมะพร้าว สัดส่วนที่ใช้ให้ใช้ สมุนไพรสดหรือแห้ง1-
2เท่าของน้ำหนักน้ำมันพืช
การสกัดด้วยแอลกอฮอล์
การสกัดแบบต่อเนื่อง
การสกัดแบบชงโดยใช้ PERCOLATOR
การหมัก(Maceration)