Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีของอิริคสัน - Coggle Diagram
ทฤษฎีของอิริคสัน
ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพของอิริคสัน
ความไว้วางใจ-ความไม่ไว้วางใจ (แรกเกิด-1ปี)
เด็กไม่สามารถช่วยตนเองได้
การดูแลเอาใจใส่ในเรื่องการกินอยู่และการปฏิบัติต่อเด็กด้วยความรักความเข้าใจ จะทำให้เด็กพัฒนาความรู้สึกไว้วางใจต่อโลกและผู้คน
เด็กที่ถูกทอดทิ้งละเลยไม่ได้รับความรักความเอาใจใส่หรือได้รับการปฏิบัติอย่างขาดความเข้าใจในธรรมชาติความต้องการของเด็ก
ทำให้เด็กพัฒนาความรู้สึกไม่ไว้วางใจต่อโลกและผู้คน กลายเป็นความก้าวร้าวแยกตัวจากสังคมและจะมีปัญหาในการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างเมื่อได้เป็นผู้ใหญ่
ความเป็นอิสระ-ความละลายสงสัย (1ปี-3ปี)
เด็กเติบโตแข็งแรงขึ้น สามารถทำกิจกรรมง่ายๆ
เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ และมี่ความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งที่ตนเองสนใจ
พ่อแม่ควรเข้าใจความต้องการอิสระของเด็ก และสนับสนุนให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง เมท่อเด็กเติบโตจะทำให้เด็กมีความกล้าคิดกล้าทำ
พ่อแม่ต้องดูแลไม่ให้เด็กทำในสิ่งที่ผิดและเป็นอันตราย
อธิบายให้เด็กเข้าใจว่าสิ่งใดทำได้ สิ่งใดทำไม่ได้
การดูแลเด็กอย่างเข้มงวดเกินไป หรือปกป้องอย่างถนุถนอมเกินไป
จะทำให้เด็กละลายและขาดความมั่นใจในการทำสิ่งต่างๆ
การริเริ่ม-การรู้สึกผิด(3-5ปี)
เริ่มรู้จักความคิดและจินตนาการ
เด็กมีความต้องการค้นคว้าสิ่งแปลกใหม่และเริ่มที่จะซุกซน
ผู้ใหญ่ควรเข้าใจเด็กและเปิดโอกาสให้เด็กแสดงความคิดตามความสนใจเพื่อให้เด็กมีความคิดริเริ่ม
การที่เด็กเล่นซุกซน รื้อค้นสิ่งต่างๆแล้วถูกผู้ใหญ่ดุ ลงโทษอย่างไม่มีเหตุผล
จะทำให้เด็กรู้สึกผิดและเริ่มมีพฤติกรรมเฉยชากับสิ่งต่างๆ
4.ความขยันมั่นเพียร-ความรู้สึกด้อย (6-12ปี)
เริ่มเข้าโรงเรียนมีกิจกิจกรรมทางสังคมและมีกลุ่มเพื่อน
ต้องการที่จะได้ด้รับการยอมรับและการชื่นชมจากสังคม
ถ้าผู้ใหญ่ ช่วยอธิบาย แนะนำ ยกย่องชื่นชมเมื่อเด็กทำได้ดี
ช่วยให้เด็กรู้สึกดีและภาคภูมิใจในตนเอง ซึ่งจะทำให้เด็กพยายามทำงานให้สำเร็จ
เด็กที่ล้มเหลวจากการทำกิจกรรมต่างๆ เพราะขาดการแนะนำช่วยเหลือจากผู้ใหญ่
จะพัฒนาความรู้สึกด้อย รู้สึกว่าตนไร้ความสามารถ
เด็กจะเป็นคนไม่กล้าและไม่อยากทำกิจกรรม
ไม่มีความอดทน ไม่สู้งาน บางคนบ้างาน ซึ่งการจากความรู้สึกด้อยจึงมีพฤติกรรมบ้างาน
การรู้จักตนเองมีเอกลักษณ์-การสับสนไม่รู้จักตนเอง (13-20ปี)
วัยรุ่นเป็นวัยที่เรียนรู้การเป็นผู้ใหญ่
สิ่งสำคัญสำหรับการเป็นวัยรุ่นคือการค้นหาคำตอบได้ว่า ฉันเป็นใคร
ช่วยให้รู้จักตนเอง รู้บทบาทหน้าที่ต่อสังคม
รู้จักควบคุมตนเองให้อยู่ในกำเกณฑ์ของสังคมได้
วัยรุ่นเป็นวัยที่คาบเกี่ยวกับวัยผู้ใหญ่ ต้องการความคิดและการตัดสินใจอย่างอิสระของตนเองเหมือนผู้ใหญ่
ผู้คนคาดหวังให้วัยรุ่นปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ของสังคม จึงทำให้วัยรุ่นมีความขัดแย้งในใจ
วัยรุ่นมีเอกลักษณ์รู้จักตนเอง แก้ไขปัญหาความขัดแย้งในใจได้
วัยรุ่นสับสนไม่รู้จักตนเอง จะแก้ปัญหานี้ไม่ได้
มีพฤติกรรมอย่างอิสระ ไม่รู้จักตนเอง
มีพัฒนาการที่มีเอกลักษณ์และมีอิสระรู้จักตนเองได้ ถ้าผู้ใหญ่เข้าใจวัยรุ่นแล้วช่วยเหลือให้มีประสบการณ์ทางสังคม
การที่ผู้ใหญ่ไม่เข้าใจแล้วใช้วิธีอบรมที่เข้มงวด อย่างไม่มีเหตุผล
จะทำให้มีความเข้าใจสูง
มีพฤติกรรมต่อต้านผู้ใหญ่และสังคม
อาจทำให้วัยรุ่นแสดงหาประสบการณ์ผิดๆและกลุ่มเพื่อนเดียวกันจะนำไปสู่การเป็นวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมที่มีปัญหา
ความผูกพัน-ความโดดเดี่ยว (21-15ปี)
วัยผู้ใหญ่ตอนต้น เริ่มทำงาน รับผิดชอบต่อชีวิตตนเอง
ต้องการมีเพื่อนที่ไว้ใจ สามารถปรึกษาได้
คนที่มีลักษณะของความไว้วางใจและมีเอกลักษณ์ของตน
รู้สึกเสียสละและมีน้ำใจเอื้อเฟื้อ จึงสามารถสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นได้
คนที่มีลักษณะของความไม่ไว้วางใจ สับสนไม่รู้จักตนเอง
หมกมุ่นกับความต้องการของส่วนตัว สับสนไม่รู้จักตนเอง
มองโลกในแง่ร้ายและเกิดความหวาดระแวง
ทำให้ไม่สามรถสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นได้
มีลักษณะความโดนเดี่ยวอ้างว้าง
ความรับผิดชอบ-การใฝ่สุขส่วนตน (25-60ปี)
เป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
ต้องการความสงบสุข ความมั่นคง และความก้าวหน้าในชีวิตของตน
คนที่รู้จักคนเอง สามารถรู้จักตนเองและพัฒนาครอบครัว การทำงาน อาชีพ ของตนได้
คนที่มีความสับสนในตนเอง และมีความโดเดี่ยว
จะมีความผูกพันแบบจอมปลอม
ไม่มีความเสียสละ ขาดความอดทนในการปฏิบัติหน้าที่ต่อครอบครัว
8.ความมั่นคง-ความท้อแท้สิ้นหวัง (60ปีขึ้นไป)
เป็นบุคลิกภาพของบุคคลใน7ขั้นที่ผ่านมา
อดีตที่ผ่านมามีสิ่งที่ดีเกิดขึ้นมากมายมากกว่าสิ่งที่ไม่ดี
บุคคลจึงมีความรู้สึกว่าชีวิตของตนนั้นมั่นคงสมบูรณ์แล้ว
คนที่มีพัฒนาการที่ดีจะยอมรับชีวิตที่ผ่านมาของตนได้
ยอมรับว่าทุกคนที่เกิดมานั้นต้องตาย โดยไม่กลัวความตายที่จะมาถึง
คนที่ล้มเหลวใน7ขั้นที่ผ่านมา
จะมีปัญหาชีวิตที่แก้ไขไม่ตกสะสมมากอดีต
อดีตที่ผ่านมาของตนมีแต่สิ่งที่ไม่น่าพอใจหรือเสียใจกับสิ่งที่ทำในอดีต
ทำให้บุคคลมีมีแต่ความท้อแท้ และสิ้นหวังในชีวิตบั้นปลาย
กลัวความตายและไม่อยากตาย เพราะชีวิตของตนยังไม่สมบูรณ์
เป็นช่วงวัยสุดท้ายของชีวิตคือวัยชรา
คำอธิบายทฤษฎีของอิริคสัน
อธิบายพัฒนาการของมนุษย์โดยมีพื้นฐานแนวคิด 5 ประการ
คนทั่วไปจะมีความต้องการพื้นฐานอย่างเดียวกัน
พัฒนาการของอีโก้หรืออัตตา (self) เป็นผลจากการที่บุคคลได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของตน
พัฒนาการจะเกิดขึ้นเป็นลำดับขั้นตอนอย่างมีแบบแผน
แต่ละลำดับขั้นจอนจะมีวิกฤติการณ์ (Crisis) ที่จะนำไปสู่การมีพัฒนาการทางบุคลิกภาพและพัฒนาการทางสังคมของบุคคล
ในแต่ละลำดับขั้นของพัฒนาการ บุคคลที่จะความต้องการพื้นฐานที่แตกต่างกันไปตามลำดับขั้นของพัฒนาการนั้นๆ
ทฤษฏีพัฒนาการของอิริคสัน พัฒนามาจากแนวคิดทัศนะของฟรอยด์เกี่ยวกับพัฒนาการ
อิริคสันมีทัศนะที่แคกต่างจากฟรอยด์
ฟรอยด์ ให้ความสำคัญกับ อิด และเห็นว่าพัฒนาการทางบุคลิกภาพของบุคคลขึ้นอยู่กับการได้รับความสุขความพอใจในวันเด็ก
อิริคสันให้ความสำคัญกับอีโก้ ซึ่งเป็นตัวควบคุมการคิด การใช้เหตุผลในการทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและการมีพฤติกรรมของบุคคล
อิริคสันเชื่อว่า พัฒนาการของอีโก้ที่เกิดขึ้นในแต่ละระดับของพัฒนาการ มีความสำคัญต่อพัฒนาการทางบุคลิกภาพ