Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบการจัดอาหารสำหรับผู้ป่วย - Coggle Diagram
ระบบการจัดอาหารสำหรับผู้ป่วย
อาหารที่บริการแก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาลมีหลายลักษณะ ซึ่งแตกต่างจากอาหารคนปกติทั่วไปอาหารแบ่งเป็น
อาหารทั่วไป (General diet)
อาหารบำบัดโรคหรืออาหารเฉพาะโรค (Therapeutic diet)
อาหารทางสายให้อาหาร (Tube feeding)
• อาหารทั่วไป
อาหารธรรมดา (Regular diet) สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องใช้อาหารบำบัดโรคและใช้เป็นหลักในการดัดแปลงเป็นอาหารบำบัดโรคในแต่ละวัน
ลักษณะอาหาร คล้ายกับอาหารคนปกติทั่วไป เพียงแต่รสต้องไม่จัด
อาหารที่ควรเลี่ยงและข้อควรระวัง อาหารที่ย่อยยาก เหนียว มีรสจัดมาก อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ อาหารหมักดอง บางชนิด เช่น ปูเค็ม ปลาร้า เป็นต้น
ตัวอย่างอาหารธรรมดา
มื้อเช้า : ข้าวต้มปลา ไข่ลวก นมถั่วเหลือง
มื้อเที่ยง : ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าหมู กล้วยบวชชี
มื้อเย็น : ข้าวสวย แกงจืดเต้าหู้ ผัดพริกขิงหมู ผลไม้
อาหารอ่อน (Soft diet)
สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาการเคี้ยว-กลืน เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารผ่าตัดรอผลการวินิจฉัยโรค ระหว่างพักฟื้น หรือผู้สูงอายุ
ลักษณะอาหาร เป็นอาหารเปื่อย นุ่ม เคี้ยวง่าย ย่อยง่ายและรสค่อนข้างจืด เช่น โจ๊ก ข้าวต้มเครื่อง ข้าวต้ม
อาหารที่ควรเลี่ยงและข้อควรระวัง อาหารที่มีเปลือกแข็ง มีเมล็ด มีใยอาหารมาก ธัญพืชที่มีกากมาก อาหารทอด ที่มีไขมันสูง อาหารหมักดอง อาหารที่เหนียวและรสจัด
ตัวอย่างอาหารอ่อน
มื้อเช้า : โจ๊กหมู ไข่ลวก นมสด
มื้อเที่ยง : ก๋วยเตี๋ยวนำหมูสับ น้ำผลไม้ไม่มีเส้นใย
มื้อเย็น : ข้าวต้ม ปลานึ่ง ผัดฟักทองใส่ไข่ ผลไม้
อาหารน้ำใส (Clear liquid diet)
สำหรับผู้ป่วยที่มีการอักเสบอย่างรุนแรง บริเวณอวัยวะที่เกี่ยวกับการย่อยอาหาร เช่น ท้องร่วงอย่างรุนแรงหรือหลังการผ่าตัด
ลักษณะอาหาร เป็นน้ำเหลวใส ไม่มีกาก เช่น ซุปหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีกากของผัก ไม่มีเนื้อสัตว์ หรือนมผสม ในอาหารและหากเป็นน้ำผลไม้ ต้องกรองเอาใยและเนื้อผลไม้ออกก่อน
อาหารที่ควรเลี่ยงและข้อควรระวัง เนื่องจากอาหารน้ำใสเป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ำ ไม่เพียงพอกับความ ต้องการของร่างกาย ดังนั้น ควรให้ใช้ในระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ ๓-๔ มื้อ/วัน และควรให้ครั้งละไม่มาก
ตัวอย่างอาหารน้ำใส
มื้อเที่ยง : น้ำซุปใส (ไก่) น้ำขิง
มื้อเย็น : น้ำซุปใส (ผัก) น้ำผลไม้กรอง
มื้อเช้า : น้ำข้าวกรอง น้ำหวาน
นางสาวกรรฑิมา มิถุนดี เลขที่1