Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
คุณภาพของเครื่องมือ, นางสาวเจตรินทร์ ผึ้งสาย รหัส 060 สังคมศึกษาปีที่ 3…
คุณภาพของเครื่องมือ
ความตรง
หมายถึง คุณลักษณะขั้นต้นของเครื่องมือ
ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สามารถวัด
คุณลักษณะต่างๆ หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการวัดได้อย่างถูกต้อง
หลักการ คือหากเครื่องมือชนิดใดก็ตามขาดความตรง
แม้จะมีคุณลักษณะอื่น ๆ อย่างครบถ้วนก็ไร้ประโยชน์
ที่จะนำเครื่องมือนั้นไปเก็บรวบรวมข้อมูล
Ex. สร้างข้อสอบวัดวิชาเลขเรื่องบวกลบตัวเลขไม่เกิน 3 หลัก
ก็จะออกข้อคำถามเกี่ยวกับวิธีบวกลบเลขไม่เกิน 3 หลัก แต่ถ้าสร้างข้อคำถามไปวัดแต่เลขคูณหารแล้วข้อสอบนั้น
ก็จะวัดไม่ตรงตามที่ต้องการก็จะกลายเป็นข้อสอบขาด
ความเที่ยงตรงในการบวก ลบเลข 3 หลัก แต่กลับไปเที่ยงตรง
ต่อการคูณหารเลข 3 หลักแทน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการจะวัด
ค่าความยาก
-
หลักการ ถ้ามีจำนวนคนที่ทำข้อสอบนั้น
ถูกมากก็ถือว่าข้อสอบนั้นง่าย ถ้าจำนวนคน
ที่ทำข้อสอบนั้นถูกน้อยก็ถือว่าข้อสอบนั้น มีความยากถ้าข้อสอบข้อนั้นมีคนตอบถูกบ้าง
ผิดบ้างแสดงว่าข้อสอบข้อนั้น
มีความยากปานกลาง
Ex. ถ้ามีผู้เข้าสอบทั้งหมด 100 คน มีคนตอบข้อสอบข้อนั้นถูก 90 คน แสดงว่าข้อสอบข้อนั้นมีความง่าย แต่ถ้ามีคนตอบข้อสอบข้อนั้นถูก 50 คน แสดงว่าข้อสอบข้อนั้นมีความยากปานกลาง และถ้าหากคนตอบข้อสอบข้อนั้นถูก 25 คน แสดงว่าข้อสอบข้อนั้นมีความยาก
ค่าอำนาจจำแนก
หมายถึง คุณสมบัติของข้อสอบ
ที่สามารถจำแนกผู้เรียนได้ตามความ
แตกต่างของแต่ละบุคคลว่าใครบ้างที่ เก่ง ปานกลาง หรืออ่อน ใครรอบรู้ หรือไม่รอบรู้
หลักการ คนเก่งจะต้องตอบข้อสอบข้อนั้นถูก คนที่ไม่เก่งจะต้องตอบข้อสอบข้อนั้นผิด ในข้อสอบแบบอิงกลุ่มแต่ถ้าเป็นข้อสอบ
แบบอิงเกณฑ์จะเป็นการจำแนกความรู้
ก่อนเรียนและความรู้หลังเรียน
Ex. หากให้นักเรียนทำข้อสอบ
ที่เหมือนกันนักเรียนที่ตอบถูก คือคนเก่งและนักเรียนที่ตอบผิด คือคนที่เก่งน้อยกว่าคนที่ตอบถูก
ค่าความเชื่อมั่น
หมายถึง คุณลักษณะของเครื่องมือ ที่สามารถวัดได้แน่นอน คงเส้นคงวา การวัดครั้งแรกได้ผลอย่างไรเมื่อทำ การวัดซ้ำหรือหลายๆครั้ง
สิ่งที่วัดจะได้ผลเช่นเดิม
หลักการ เมื่อทำการทดสอบรอบแรกไปแล้ว
ต้องเว้นระยะเวลาให้ห่างกันสักระยะหนึ่ง แล้วค่อยทำการทดสอบใหม่กับนักเรียน กลุ่มเดิม
Ex. เมื่อทำการทดสอบรอบแรกกับนักเรียนกลุ่มหนึ่ง ไปแล้วจึงเว้นระยะเวลาให้ห่างกันสักระยะหนึ่งจากนั้น ทำการทดสอบอีกครั้งกับนักเรียนกลุ่มเดิมแล้ว
ผลการวัดออกมาเหมือนกับครั้งแรกแสดงว่า
เครื่องมือชนิดนั้นมีความเชื่อมั่นหรือมีความคงที่ แน่นอน ในทางกลับกันถ้าหากการวัดผลครั้งที่ 2 ไม่เหมือนกับครั้งแรกแสดงว่าเครื่องมือชนิดนั้น
ไม่มีความเชื่อมั่นหรือไม่มีความคงที่แน่นอน
ความเป็นปรนัย
-
หลักการ คุณภาพข้อนี้ แบบทดสอบจะขาดไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดคุณภาพทางด้าน ความเชื่อมั่นสูงและความเที่ยงตรงของ การวัดด้วย กล่าวคือถ้าข้อคำถามแต่ละข้อ ของเครื่องมือถามได้ชัดเจนไม่ว่าใครอ่าน
ก็ตามจะเข้าใจได้ตรงกันว่าถามอะไร และการตรวจให้คะแนนต้องมีเกณฑ์
ในการให้คะแนนเมื่อได้คะแนนมาก็ แปลความหมายได้ชัดเจน เป็นต้น
Ex. ความชัดเจนของคำถาม เช่น “พืชใช้ส่วนใดปรุงอาหาร?” คำตอบที่ถูกต้องมีคำตอบเดียว คือ “ใบ”หรือ“ส่วนใด ของพืชที่มนุษย์นำมาใช้ปรุงอาหารรับประทานได้?”
“ใบ ดอก ผล รา ลำต้น” ก็จะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง
Ex. ความชัดเจนในการให้คะแนน เช่น ตอบถูกตรงตามเฉลย
ให้ 1 คะแนน ตอบผิด หรือไม่ตรงตามเฉลยให้ 0 คะแนน
ดังนั้น ไม่ว่าใครก็ตามที่ตรวจให้คะแนนแบบทดสอบปรนัย โดยใช้เฉลยและเกณฑ์การให้คะแนนที่กำหนดไว้ก็สามารถ
ตรวจให้คะแนนได้ตรงกัน
Ex. มีความชัดเจนในการแปลความหมายของคะแนน เช่นประเมินว่าผู้สอบมีพฤติกรรมที่ยอมรับได้ตามเกณฑ์
ที่กำหนดไว้หรือไม่ มักรายงานผลโดยตัดสินเป็น
ระดับคุณภาพ เช่น ผ่านเกณฑ์ ไม่ผ่านเกณฑ์
หรือผ่านระดับดี ผ่านระดับพอใช้ ไม่ผ่าน
-