Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นิราศนรินทร์ - Coggle Diagram
นิราศนรินทร์
ลักษณะคำประพันธ์
นิราศนรินทร์แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 143 บท โดยมีร่ายสุภาพขึ้นต้น 1 บท ผู้แต่งประณีตในการคัดสรรคำและความหมาย ร้อยกรองเป็นบทโคลงที่ไพเราะ ทั้งยังมีสัมผัสอักษรแพรวพราวตามขนบของคำโคลง อาจกล่าวได้ว่า แทบไม่มีโคลงบทไหนเลย ที่อ่านแล้วไม่รู้สึกถึงความไพเราะงดงาม อย่างไรก็ตาม ด้วยสำนวนภาษาที่เก่าถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงมีคำศัพท์จำนวนไม่น้อยที่เข้าใจยาก
-
ร่ายสุภาพ
ร่ายเป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่กำหนดจำนวนบทหรือบาท ผู้แต่งจะแต่งยาวเท่าไรก็ได้ แต่ต้องเรียงคำให้คล้องจองกันตามข้อบังคับเท่านั้น
ร่ายที่นิยมแต่งในวรรณกรรมไทยมี ๔ ชนิดคือ ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น ร่ายโบราณ และร่ายยาว
ลักษณะบังคับของร่ายสุภาพ
- คณะและพยางค์ ร่ายสุภาพบทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป แต่ละวรรคมี ๕ คำ
- จะแต่งกี่วรรคก็ได้ แต่ตอนจบต้องจบด้วยโคลงสองสุภาพ
- สัมผัส ร่ายสุภาพมีการส่งสัมผัสท้ายวรรค และมีสัมผัสรับตรงคำที่ ๑ , ๒ , ๓ คำใดคำหนึ่งจนถึงตอนท้าย พอจะจบก็ส่งสัมผัสไปยังบทต้นของโคลงสองสุภาพ ต่อจากนั้น ก็บังคับสัมผัสตามแบบของโคลงสอง จึงถือว่าจบร่ายแต่ละบท ส่วนสัมผัสในนั้นไม่บังคับ มีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร
- คำเอกคำโท มีบังคับคำเอกคำโทเฉพาะที่โคลงสองสุภาพตอนท้ายบทเท่านั้น
- คำสร้อย ร่ายสุภาพแต่ละบท มีคำสร้อยได้เพียง ๒ คำ คือ สองคำสุดท้าย
-
บทวิเคราะห์ด้านการแต่ง
๑) การใช้คำ กวีใช้คพที่งดงามทั้งรูป ความหมายและเสียงที่ไพเราะ โดยเฉพาะร่ายสดุดีที่มีลักษณะเด่น๑.๑) เลือกสรรคำที่เหมาะกับเนื้อเรื่อง๑.๒) การเลือกสรรคำที่มีเสียงเสนาะ- สัมผัส- การเล่มคำ
๒) ภาพพจน์ ๒.๑) การเปรียบเทียบเกินจริง คือการกล่าวเกินจริง เพื่อให้ได้คุณค่าทางด้านอารมณ์เป็นสำคัญ ๒.๒) การใช้บุคคลวัต กวีใช้คำสมมุติต่างๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์ให้มีกิริยาอาการความรู้สึกเหมือนมนุษย์
-
ประวัติผู้แต่ง
ผู้แต่งนิราศนรินทร์ คือ นายนรินทรธิเบศร์ มีนามเดิมว่า อิน ได้แต่งนิราศเรื่องนี้เมื่อคราวตามเสด็จสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์ยกกองทัพหลวงไปปราบพม่า ซึ่งยกลงมาตีเมืองถลางและชุมพร ในช่วงต้นรัชกาลที่ 2 นิราศเรื่องนี้ผู้แต่งไม่ได้ระบุชื่อเอาไว้ แต่เรียกกันโดยทั่วไปตามชื่อผู้แต่ง ว่า “นิราศนรินทร์”
เนื้อหา
เป็นการคร่ำครวญและพรรณนาความรู้สึกอาลัยอาวรณ์ ที่มีต่อหญิงคนรัก และเล่าถึงการเดินทาง เมื่อผ่านภูมิประเทศต่างๆ เริ่มจากคลองขุด ถึงวัดแจ้งเข้าคลองบางกอกน้อย และล่องเรือไปจนถึงอ่าวไทย แล้วขึ้นบกที่เพชรบุรี
ตัวอย่างคำประพันธ์
อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤๅ
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร- เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์ ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
บังอบายเบิกฟ้า ฝึกฟื้นใจเมือง ๚ะ
ความหมายคือ
(กรุงศรีอยุธยาแตกไปแล้ว แต่กลับลอยลงมาจากสวรรค์อีกหรืออย่างไร มีปราสาทพระราชวังอันงดงามตระการตา ด้วยบุญบารมีของพระมหากษัตริย์ช่วยทะนุบำรุงพระศาสนาให้รุ่งเรือง ปัดเป่าทุกข์ให้แก่ไพร่ฟ้าชาวประชา)
นักวรรณคดีมักเปรียบเทียบโคลงบทนี้ กับโคลงดั้นจากโคลงกำสรวล ซึ่งขึ้นบาทแรกด้วยสำนวนคล้ายกัน ดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นบทชมพระนครเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ผู้แต่งอาจชื่นชมโคลงจากโคลงกำสรวล ซึ่งชื่นชมพระนครเมื่อครั้งยังรุ่งเรือง
เนื้อเรื่องย่อ
นิราศนรินทร์คำโคลงเริ่มเรื่องด้วยร่ายสุภาพยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ แล้วกล่าวถึงความเจริญของบ้านเมือง จากนั้นจึงรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านไป โดยนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ได้ออกเดินทางเริ่มต้นจากคลองขุดผ่านวัดแจ้ง คลองบางกอก (ใหญ่) วัดหงส์ วัดสังข์กระจาย บางยี่เรือ (คลอง) ด่านนางนอง บางขุนเทียน บางบอน บางหัวกระบือ โคกขาม คลองโคกเต่า มหาชัย ท่าจีน บ้านบ่อ นาขวาง คลองสามสิบสองคด คลองย่านซื่อ แม่กลองปากน้ำ (ออกทะเล) บ้านแหลม คุ้งคดอ้อย เพชรบุรี ชะอำ ห้วยขมิ้น ท่าข้าม เมืองปราณ (บุรี) สามร้อยยอด ทุ่งโคแดง (ทุ่งวัดแดง) อ่าวนางรม (อ่าวประจวบ) บางสะพาน ขามสาวบ่าว อู่แห้ง เขาหมอนเจ้า โพสลับ ลับยักษ์ เมืองแม่น้ำ อู่สะเภา หนองบัว แก่งตุ่ม แก่งคุลาตีอก แก่งแก้ว (แก่งแก้วสงสาร) แก่งนางครวญ ปากน้ำ (ร่วม) เขาเพชร จนถึงตระนาว (ตะนาวศรี) เป็นที่หมายปลายทาง
บทวิเคราะห์ด้านสังคม
นิราศนรินทร์คำโคลงมีเนื้อหาสาระที่จรรโลงวัฒนธรรมนิราศนรินทร์คำโคลงมีคุณค่าที่สะท้อนให้เห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยรัชการที่ ๒นิราศนรินทร์คำโคลง เป็นตัวอย่างของโคลงนิราศชั้นเยี่ยมที่เปี่ยมด้วยความไพเราะและมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ เหมาะสำหรับเยาวชนจะนำไปเป็นแบบอย่างในการประพันธุ์โคลงที่มีเนื้อหาพรรณอารมณ์ ความรัก และธรรมชาติ รวมทั้งรูปแบบทางฉันทลักษณ์ของร้อยกรองไทยได้เป็นอย่างดี