Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเลือกทำเลที่ตั้งและลักษณะของเรือนไทย4ภาค, นายณัฐสิทธิ์ จันตา เลขที่9 ม…
การเลือกทำเลที่ตั้งและลักษณะของเรือนไทย4ภาค
ภาคกลาง
การเลือกทำเลที่อยู่
เป็นที่ราบลุ่มที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย การตั้งบ้านเรือนจึงมักสร้างอยู่ตามริมแม่น้ำเป็นแนวยาวไปตลอดทั้งสองฝั่งของลำน้ำ
ลักษณะเรือนไทย
เรือนเดี่ยว เป็นเรือนสำหรับครอบครัวขนาดเล็กมีเรือนนอนหนึ่งหลังแยกกับเรือนครัวและเชื่อมด้วยชาน
เรือนหมู่ เป็นเรือนหลายหลังเชื่อมต่อกันด้วยชาน ประกอบด้วยเรือนหลักของพ่อแม่ และเรือนนอนของลูกที่แต่งงานแล้ว ซึ่งอาจปลูกเพิ่มไว้ด้านหน้า หรือหากเป็นเรือนของผู้มีฐานะมาก นิยมวางผังใหญ่โต เรียกว่า “เรือนคหบดี” นอกจาก เรือนนอน ก็มี หอกลาง ตั้งอยู่กลางชานสำหรับใช้นั่งเล่น รับแขก หรือจัดพิธี ในขณะที่ “หอนก” ใช้สำหรับเลี้ยงนก “หอพระ” ใช้สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปต่าง ๆ ลักษณะที่มีร่วมกันของเรือนไทยภาคกลาง คือเป็นเรือนไม้เนื้อแข็งใต้ถุนสูงเพื่อหนีน้ำหลาก ใช้งานอเนกประสงค์ หรือเลี้ยงสัตว์ มีหลังคาจั่วทรงสูงและอ่อนโค้ง ประดับด้านจั่วด้วยปั้นลมไม้ทำเป็น “เหงา” หรือ “หางปลา” และมีชานกว้างมาก รวมถึงมี “ระเบียง” เป็นพื้นที่กึ่งภายนอกเชื่อมต่อระหว่างชานเข้าสู่ในตัวเรือน
ภาคเหนือ
การเลือกทำเลที่อยู่
ชาวเหนือนิยมตั้งถิ่นฐานบริเสณที่ราบลุ่มริมแม่น้ำระหว่างหุบเขาเมื่อมีเมืองขยายตัวขึ้น จึงต้องมีการจัดการระบบชลประทานที่เรียนว่า ฝาย เพื่อให้มีน้ำพอใช้ในการเกษตร
ลักษณะเรือนไทย
“เรือนกาแล” เป็นเรือนสำหรับผู้มีฐานะ หรือผู้นำชุมชน แตกต่างจากเรือนสามัญชนตรงที่จะก่อสร้างด้วยความประณีต มีแบบแผนการสร้างเป็นระเบียบชัดเจน และมีการประดับ “กาแล” ซึ่งเป็นไม้แกะสลักสวยงามบนยอดจั่ว เรือนกาแลเป็นเรือนไม้เนื้อแข็ง ยกใต้ถุนสูงไม่มาก มักเป็นเรือนแฝด นิยมสร้างหลังหนึ่งใหญ่กว่าอีกหลังตามความเชื่อ มีหลังคาใหญ่ ชายคาคลุมเรือนเกือบทั้งหมด มีหน้าต่างน้อย ผนังผายออก มักมี “ฝาไหล” เป็นฝาไม้กระดานที่เลื่อนเปิด – ปิดได้เพื่อช่วยรับลมเข้าบ้าน และมีครัวไฟแยกออกไปเป็นสัดส่วน มี “เติ๋น” เป็นพื้นที่กึ่งเปิดโล่งอเนกประสงค์สำหรับใช้นั่งเล่น ซึ่งมีตำเเหน่งอยู่ระหว่างห้องกับ “นอกชาน” ที่เป็นพื้นที่เปิดโล่ง
ภาคอีสาน
การเลือกทำเลที่อยู่
การเลือกสถานที่ตั้งบ้านเรือนแตกต่างกันไปตามสถานที่คือ มีทั้งที่ราบลุ่ม ใกล้แม่น้ำ ที่ดอนมีน้ำซับ หรือชายป่า
ลักษณะเรือนไทย
เฮือนเกย เป็นเฮือนเดี่ยว แต่ยื่นขยายชายคาหลังคาด้านหนึ่งยาวออกไปคลุมพื้นที่ใช้สอย ส่วนที่ยื่นออกไปนี้เรียกว่า “เกย”
เฮือนแฝด เป็นเฮือนหลังคาทรงจั่วสองเรือนสร้างชิดกัน และใช้โครงสร้างร่วมกัน โดยมีเฮือนหนึ่งเป็นเฮือนนอน มีผนังครบทุกด้าน เรียก “เฮือนใหญ่” อีกเฮือนอาจมีผนัง 3 ด้าน ใช้เชื่อมระหว่างชานภายนอกกับเฮือนนอน
เฮือนโข่ง คล้ายเฮือนแฝด แต่แยกโครงสร้างออกจากกัน ทำให้เกิดช่องทางเดินตรงกลางเชื่อมต่อพื้นที่ โดยสามารถรื้อแยกเฮือนโข่งไปปลูกในที่ใหม่ได้ เฮือนอีสานมักมีเฮือนไฟเป็นส่วนทำครัวแยกออกไปต่างหาก มีหลังคาลาดชันน้อยกว่าภูมิภาคอื่น ๆ และมักพบลายตะเว็น (ตะวัน) ประดับตามความเชื่อ
ภาคใต้
การเลือกทำเลที่อยู่
ในภาาคใต้จะมีฝนตกชุกและมีน้ำลำคลองหลายสาย แต่ชาวใต้ก็อาศัย น้ำบ่อหรือน้ำพัง
ลักษณะเรือนไทย
เรือนไทยมุสลิมภาคใต้เป็นเรือนไม้ ใต้ถุนสูง แต่ไม่ใช้ประโยชน์ใต้ถุนมากนัก มีหลังคา 3 แบบ เรียกว่า “ลีมะ” (ปั้นหยา) “บลานอ” (มนิลา) และ “แมและ” (จั่ว) รูปแบบที่พบส่วนใหญ่เป็นแบบบลานอ ที่น่าสนใจคือภายในเรือนมักจะเปิดโล่งต่อเนื่องถึงกันหมด รวมถึงครัวที่อยู่หลังบ้าน กั้นเพียงห้องนอน หรือห้องละหมาดขนาดไม่ใหญ่ พื้นที่เปิดโล่งนั้นแบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วนตามการใช้งาน ได้แก่ ส่วนรับแขก เป็นพื้นที่ใต้หลังคาปีกนกที่ยื่นยาวออกมา เป็นส่วนแรกของการเข้าสู่ตัวเรือน แขกจะอยู่แต่ภายในพื้นที่นั้น ไม่ก้าวล้ำเข้าไปมากกว่านี้
เรือนไทยพุทธภาคใต้เป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงหลังคาใหญ่เป็นทรงปั้นหยาและจั่ว ภายในมักจะกั้นห้องอย่างมิดชิด ไม่เปิดโล่งเท่าเรือนไทยมุสลิม โดยจะแบ่งเป็นห้องนอน มีโถงเชื่อมต่อทำหน้าที่เป็นส่วนนั่งเล่นและรับแขก ส่วนครัวจะอยู่ด้านหลัง องค์ประกอบเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรือนพื้นถิ่นที่พบในไทย เพราะยังมีเรือนพื้นถิ่นรูปแบบอื่นที่แตกต่างกันไปตามอิทธิพลที่ไม่เหมือนกันในแต่ละจังหวัด
นายณัฐสิทธิ์ จันตา เลขที่9 ม 4/12